Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเลี้ยงงูบอลไพธอน, น.ส. อรุณลักษณ์ อรรถธนนันต์ 1651309237, อ้างอิง:,…
การเลี้ยงงูบอลไพธอน
ทำความรู้จักบอลไพธอน
-
-
เป็นงูหลามที่เล็กที่สุดในโลก ไม่มีพิษ ความยาวเมื่อโตเต็มที่เฉลี่ย 1.5 เมตร น้ำหนักเฉลี่ย2-3 กิโลกรัม
-
-
-
-
-
งูตัวผู้จะเข้าสู่ช่วงเจริญพันธุ์เมื่ออายุ2ปี ส่วนตัวเมียจะอยู่ที่3ปี นั่นทำให้งูตัวเมียอาจมีราคาสูงกว่าสักหน่อย
อุปกรณ์ที่จำเป็น
กล่องเลี้ยง
สามารถใช้ได้ทั้งกล่องพลาสติกฝาล็อคบ้านๆ กล่องอะคริลิกใส ไปจนถึงตู้กระจก ใดๆก็ตาม ขอให้เป็นกล่องที่ฝาปิดล็อคได้มิดชิดเพื่อป้องกันงูหลุดออกไป และเจาะจูระบายอากาศไว้ให้เพียงพอ เพื่อไม่ให้งูดันกล่อง
-
รองพื้นในกล่องเลี้ยง
-
กระดาษใช้แล้ว
ราคาถูก หาง่าย สามารถเปลี่ยนได้ง่าย แต่ต้องเปลี่ยนบ่อยเพราะสกปรกง่าย ไม่ซึมซับและไม่เก็บกลิ่นเมื่องูขับถ่าย และต้องเลือกกระดาษที่หมึกไม่เป็นพิษกับงู
แผ่นรองซึมซับ
รองรับการขับถ่ายของงูได้ดี เปลี่ยนได้ง่ายเมื่องูขับถ่าย แต่มีราคาค่อนข้างสูงหากต้องใช้เปลี่ยนบ่อยครั้ง
ขี้เลื้อย
ราคาถูก ซึมซับกลิ่นได้ดี สามารถตักทิ้งเป็นจุดๆได้ แต่ต้องเลือกขี้เลื่อยที่ไม่เป็นอันตรายกับงู และต้องระวังงูกลืนขี้เลื่อยเข้าไปเป็นแผลในปาก หรือหายใจเอาฝุ่นขี้เลื่อยเขาไป
-
ถ้วยน้ำ
สำหรับเพิ่มความชื้นในที่เลี้ยง ควรเป็นถ้วยที่มีน้ำหนักหรือก้นแบนเพื่อไม่ให้งูดันจนล้ม แต่ก็ต้องใหญ่พอให้งูสามารถเอาตัวลงแช่ได้เมื่อจะลอกคราบ และควรเปลี่ยนน้ำในถ้วยทุก2-3วันให้งูด้วย
Hide Box
อะไรก็ตามที่ให้งูซ่อนตัวได้ เช่นกล่องลัง กล่องพลาสติกตัดทางเข้าเอาไว้ หรือซื้อสำเร็จรูปที่ร้านขายได้
-
-
-
รายละเอียดการดูแล
ที่อยู่
เตรียมกล่องเลี้ยงที่เหมาะสม นำรองพื้นที่เตรียมไว้มาปูรอง ใส่ถ้วยน้ำและ Hide box ในมุมที่ต้องการ เป็นอันเรียบร้อยในการจัดบ้านงู
-
กล่องเลี้ยงที่เล็กหรือใหญ่เกินไปอาจทำให้งูเครียดได้ ควรเปลี่ยนกล่องให้มีขนาดเหมาะสมกับงู โดยดูจากความยาวลำตัว ถ้างูยาวจนลำตัวสามารถวนได้รอบกล่องเดิมใช้ที่อยู่ก็ควรเปลี่ยนให้ใหญ้ขึ้น
อย่าลืมที่จะเปลี่ยนรองพื้นและทำความสะอาดกล่องเลี้ยงเมื่อในกล่องนั้นเริ่มดูสกปรก สัก1-2เดือนครั้ง หรือหากใช้รองพื้นจำพวกแผ่นซึมซับหรือกระดาษ ก็ควรเปลี่ยนรองพื้นทุกครั้งที่งูขับถ่าย
หากอยู่ในห้องแอร์ ควรวางกล่องงูไว้ในที่ๆหลบแอร์ และควรมีไฟยูวีให้งูกกด้วย แต่ก็ต้องระวังไม่เปิดไฟจ่อใส่กล่องเลี้ยงจนเกินไป เพราะอาจทำให้งูขาดน้ำเนื่องจากอากาศร้อน หรืองูอาจร้อนจนเสียชีวิตได้
หากเพิ่งรับงูมาเลี้ยง ควรปล่อยให้งูอยู่ในกล่องที่เราจัดขึ้นสักอาทิตย์หนึ่งให้คุ้นชินกับสถานที่ใหม่ ก่อนจะเริ่มให้อาหารหรือจับเขามาเล่น
การให้อาหาร (หนูแช่)
นำหนูในจำนวนที่จะให้งูออกมาวาง 1-2ชม.ให้คลายตัว จากนั้นใช้ไดร์เป่าผมเป่าหนูห่างๆ ให้หนูพออุ่นๆเหมือนมีชีวิต และใช้ฟอเซปคีบให้งู
ห้ามเป่าหนูให้ร้อนจัดจนสุก หรืออุ่นหนูด้วยไม่โครเวฟ หรืออุ่นหนูทันทีที่เอาออกมาจากช่องแช่แข็ง หนูที่ร้อนจนสุกจะลวกตัวเมื่องูกินเข้าไป ส่วนการอุ่นหนูในไมโครเวฟหรืออุ่นระหว่างที่หนูยังเย็นอยู่จะทำให้หนูท้องแตกได้
-
หากเป่าหนูจนหนูเย็นแล้วงูยังไม่ยอมกิน สามารถเป่าซ้ำได้ 2-3 ครั้ง หากเกินกว่านั้นให้ทิ้งหนูตัวนั้นเลย และงดการให้อาหารในครั้งนี้ไป อย่าฝืนให้หนูที่เน่าเสียเพราะงูอาจป่วยได้ หรือหนูที่เก็บไว้นานจนพุงเริ่มเป็นสีม่วงก็ไม่ควรให้เช่นกัน
ไม่แนะนำให้ใช้มือเปล่าในการให้อาหาร แม้งูบอลจะไม่ดุ แต่ก็ฉกพลาดบ่อยมากและอาจโดนมือเราได้ เนื่องจากงูสายตาไม่ดี
งูขับถ่ายเฉลี่ยสัปดาห์ละครั้ง หรือขึ้นอยู่กับความถี่ที่เราให้อาหาร ส่วนใหญ่งูจะให้เวลา 2-3 วันในการย่อยและถ่าย หากต้องการ สามารถให้อาหารครั้งถัดไปต่อได้ทันทีเมื่อเห็นงูขับถ่ายแล้ว
บางครั้งงูบอลก็อาจหยุดกินอาหารเอาดื้อๆ มีตั้งแต่หลายอาทิตย์จนถึงแรมปี บางครั้งก็อาจเเป็นเพราะช่วงฤดูหนาว เป็นเพราะความเครียด หรือบางครั้งก็หยุดกินไม่มีสาเหตุเลย นั่นเป็นนิสัยปกติของงูบอล แต่ถ้างูไม่ยอมกินอาหารนานมากๆ ให้สันนิษฐานว่างูอาจป่วยและควรพาไปเช็คกับสัตวแพทย์
-
ห้ามให้ไก่ชิ้นหรือเนื้ออื่นๆกับงูเด็ดขาด เนื่องจากสารอาหารจะไม่ครบ รวมถึงห้ามจับหนูในบ้านมาให้ด้วยเนื่องจากมีเชื้อโรคที่ทำให้งูป่วยได้
โรคที่พบได้บ่อยในงูบอล
หวัด
เกิดจากความชื้นในกล่องเลี้ยงสูงเกินไป หรืออากาศในที่เลี้ยงเปลี่ยนแปลงกะทันหันบ่อย บางครั้งก็เกิดจากงูที่แช่น้ำนานเกินไปจนเป็นหวัดเอง จุดสังเกตคือนำลายที่ยืดเป็นสายหรือเป็นฟองเมื่องูอ้าปาก
เมื่องูเป็นหวัด ให้พางูไปให้ยากับสัตว์แพทย์ และลดความชื้นในที่เลี้ยงลงโดยการนำถ้วยน้ำออกในช่วงกลางคืนจนกว่าจะหายดี
การป้องกัน คอยดูอุณหภูมิและความชื้นในที่เลี้ยงเสมอ หมั่นดูพฤติกรรมงูบ่อยๆ หากอากาศร้อนก็อย่าปล่อยให้งูแช่น้ำนานเกินไปและหาวิธีลดความร้อนแบบอื่นแทน ไม่ต้องจับงูอาบน้ำบ่อย 2-3 เดือนครั้งหรือเมื่องูเริ่มมีกลิ่นตุก็พอ
โรคปากเน่า (mouth rot)
เกิดจากงูเป็นแผลในปากและติดเชื้อ แผลในปากอาจเกิดได้จากขี้เลื้อยในกล่องทิ่มปาก หรืองูที่ฉกอาหารพลากไปโดนเหล็กของที่คีบฟอเซปแทนก็อาจเกิดแผลได้ หากละเลยอาจทำให้งูเสียชีวิต จุดสังเกตคือปากบวม ประกบไม่สนิท มีหนองอยู่ข้างในปาก
-
การป้องกัน เลือกให้รองพื้นในกล่องที่ไม่มีส่วนแหลมคมที่เข้าปากงูได้ หรือนำตัวงูออกมาให้อาหารนอกกล่องเลี้ยงแทนเลย และระวังไม่ให้งูฉกพลาดมาโดนฟอเซป รวมถึงการดูแลกล่องเลี้ยงให้สะอาด เมื่อเห็นงูขับถ่ายก็เก็บทันที
-
งูดันกล่องจนเป็นแผล
หากงูไม่สบายใจเมื่ออยู่ในกล่องเลี้ยง งูจะพยายามดันกล่องออกมา หากกล่องล็อคไม่ดีงูก็หลุดออกมาได้ แต่หากกล่องล็อคดี งูอาจดันไปเรื่อยๆจนจมูกเป็นแผลติดเชื้อและเสียชีวิตได้
หากเราเผลอปล่อยงูดันกล่องจนเป็นแผลไปแล้ว ให้พาไปรักษากับสัตว์แพทย์ และคอยระวังความสะอาดไม่ให้แผลติดเชื้อ งูจะค่อยๆสมานแผลเองผ่านการลอกคราบหลายๆครั้ง แต่ทางที่ดีคือควรสังเกตว่ากล่องเลี้ยงเราขาดอะไร หรืองูขาดอะไร เพื่อป้องกันไม่ให้งูดันกล่องแต่แรก
การเข้าหางู
ไม่ควรอุ้มจับงูหากกำลังอยู่ในช่วงเข้าคราบ หรือเพิ่งให้อาหารไป ควรรอให้งูลอกคราบก่อน หรือรอ2-3วันให้งูย่อยอาหารก่อนเพื่อไม่ให้งูขย่อน
งูบอลไม่ชอบให้จับหัว ฉะนั้นจึงควรเข้าหาทางด้านหลังของงู นอกจากนี้เมื่องูอยู่บนมือแล้ว การขยับตัวให้ช้าลงเพื่อไม่ให้งูตกใจก็เป็นสิ่งที่ดี
ควรมั่นใจว่าเราไม่ได้รบกวนระหว่างที่งูกำลังนอนอยู่ อาจลองเคาะกล่องเลี้ยงหรือ Hide Box ที่งูอยู่เล็กน้อยเพื่อให้งูรู้ตัวก่อนก็ได้ จากนั้นก็สามารถหยิบตัวงูออกจากกล่องมาไว้บนมือเรานิ่งๆได้เลย
การนำงูมาไว้บนมือบ่อยๆจะทำให้งูคุ้นชินกับเราได้ แต่ก็ไม่ควรจับบ่อยหรือนานเกินไป การนำงูออกมาวันละ15-20นาที อาทิตย์ละ3-4ครั้งก็ถือว่าโอเค เพราะงูไม่ใช่สัตว์สังคมที่ต้องการให้อุ้มจับมากนัก
หากจำเป็น ก็สามารถจับงูทั้งวันก็ได้ ขึ้นอยู่กับนิสัยของงูที่เลี้ยงด้วยว่าเครียดง่ายมากแค่ไหน พึงรำลึกเสมอว่าการเอางูมาเล่นนานๆอาจทำให้งูเครียดได้และไม่ใช่งูทุกตัวที่โอเคกับการขาดพื้นที่สงบๆตลอดวัน ไม่แนะนำให้ทำบ่อย และหลังจากการจับเล่นทั้งวันแล้วก็ต้องให้งูได้พักผ่อนยาวๆชดเชยด้วย
หากในบ้านมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆในบ้าน แนะนำให้เก็บให้มิดชิดก่อนนำงูออกมา และควรล้างมือทุกครั้งทั้งก่อนและหลังการจับงู
หากมือเราเพิ่งจับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมา แล้วมาจับงูทันที บางครั้งงูอาจเข้าใจผิดว่ากลิ่นนั้นคือกลิ่นอาหารและเผลอกัดมือเรา
ปกติแล้วเมื่องูรู้ว่ามือของเราไม่ใช่อาหาร งูก็จะปล่อยเองในทันที แต่หากงูไม่ยอมปล่อย ให้เอาอะไรฉุนๆ เช่นแอลกอฮอล์ ป้ายที่จมูกงู หรือเอาหัวงูลงจุ่มน้ำ งูก็จะปล่อย
แผลฟันงูบอลนั้นเหมือนก้างปลาหรือเข็มทิ่มๆเป็นรูบนมือ เจ็บน้อยกว่าหมากัดแมวข่วน มีเลือดออกเป็นปกติ สามารถล้างน้ำทาแอลกอฮอล์ให้สะอาดเหมือนทำแผลทั่วไปได้เลย
คอยสังเกตพฤติกรรมของงูเมื่ออยู่บนมือ หากงูเริ่มเลื้อยเร็วขึ้น เลื้อยหนีเรา สะบัดลิ้นไวหรือช้ากว่าปกติมากๆ นั่นอาจแปลว่างูกำลังเครียดและควรนำเขาลงกล่องได้แล้ว
ตัวเลือกสุดท้ายของงูบอลเมื่อรู้สึกเครียดคือการฉก หากเห็นงูชูหัว เกร็งคอเป็นตัว S งูกำลังอยู่ในท่าพร้อมจู่โจม ซึ่งนั่นแปลว่างูกำลังเครียดและไม่สบายใจมากๆกับอะไรก็ตามที่เราทำให้เขาอยู่ ทางที่ดีคือเก็บงูลงกล่องและอย่าเพิ่มไปยุ่งกับเขา
การลอกคราบ
เมื่องูเข้าคราบ สีตัวจะหม่นลงและตาจะขุ่น ทำให้สายตาแย่ลงมาก เป็นช่วงที่งูอ่อนแอและเครียดได้ง่าย จึงไม่ควรเข้าไปยุ่งกับงูมากนักในช่วงนี้ งูอาจตัวขุ่นแบบนั้นได้ราวหนึ่งอาทิตย์ และเมื่อตากลับมาใส นั่นแปลว่างูกำลังจะลอกคราบในอีกไม่นาน
เมื่อเติบโตจนผิวหนังเก่าไม่รองรับขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้นได้ งูก็จะลอกคราบเพื่อเอาผิวหนังเก่าออก งูอาจลอกคราบเฉลี่ย1-2เดือนครั้ง ในงูเด็กอาจมีบ่อยกว่านั้นบ้าง
-
คราบของงูบ่งบอกสุขภาพได้ งูที่สุขภาพดีจะลอกคราบออกเป็นชิ้นเดียวไม่ขาด และเมื่องูลอกคราบแล้วควรเก็บคราบออกทันทีเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค
หากความชื้นในที่เลี้ยงต่ำ อาจทำให้งูลอกคราบไม่สะดวก หรือลอกแล้วยังมีคราบติดอยู่ ให้นำงูไปแช่ในน้ำตื้นๆ จะช่วยให้คราบนิ่มขึ้นและลอกได้ง่าย
การขับถ่าย
-
โดยปกติงูจะขับฉี่หรือก้อนยูริคออกมา2-3วันหลังย่อยอาหารเสร็จ และจะอึทีเดียวประมานเดือนละครั้ง บางตัวก็ชอบปล่อยของเสียในถ้วยน้ำหรืออึหลังจากที่ลอกคราบ แล้วแต่นิสัยของงูแต่ละตัว
ควรเก็บของเสียของงูทันทีเมื่อเห็นว่างูขับถ่ายเพื่อป้องกันเชื้อโรค เผลอเลื้อยทับก็ต้องพางูไปล้างตัวด้วย
-
เลี้ยงงูบอลไพธอนดียังไง?
-
-
-
ปัจจุบันถูกเพาะพันธุ์มาให้มีหลายสีและลวดลายให้เลือกเลี้ยง รวมถึงเราเองก็สามารถเลี้ยงเพื่อเพาะพันธุ์งูบอลขายเป็นอาชีพได้
-
-
-
-
-
-
-
-