Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทําละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทําละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ความรับผิดของนายจ้าง
ความผิดของลูกจ้างที่นายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วยนั้น จะต้องเป็นการกระทำในลักษณะที่อยู่ในทางการที่จ้าง
นายจ้างกับลูกจ้างนั้น มีความสัมพันธ์กันตามสัญญาจ้างแรงงาน (ป.พ.พ. มาตรา 575) นายจ้างจะต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้าง ก็แต่เฉพาะในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างกระทําไปในทางการที่จ้างนั้น ซึ่งมีหลักเกณฑ์ดังนี้
ลูกจ้างกระทําละเมิดในทางการที่จ้าง
2 ลูกจ้างกระทําละเมิดในระหว่างที่เป็นลูกจ้าง
ลูกจ้างกระทําละเมิดต่อบุคคลอื่น ไม่ใช่ต่อนายจ้าง
การเป็นนายจ้างและลูกจ้างนั้น ย่อมต้องเป็นไปตามมาตรา มาตรา๕๗๕ อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้
ตามมาตรา 425 นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
มาตรา 426 นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
การที่ลูกจ้างกระทําไปนั้น ต้องเป็นการปฏิบัติให้งานที่จ้างลุล่วงไป และเหตุเกิดขึ้น เป็นผลจากการปฏิบัติงาน นั้น มิใช่แต่เพียงเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ลูกจ้างกําลังปฏิบัติงานที่จ้างอยู่เท่านั้น ดังนั้น แม้จะอยู่ในระหว่างเวลา ที่ลูกจ้างกําลังปฏิบัติงาน ถ้าเกิดเหตุขึ้น มิใช่ผลจากการปฏิบัติงาน
ตัวอย่าง เช่น ลูกจ้างมีหน้าที่ขับรถยนต์บรรทุก โดยผู้จ้างบรรทุกจะจ้างกับเจ้าของรถหรือคนขับก็ได้ ถ้าลูกจ้างรับจ้างบรรทุกของไปแล้วขับรถชนคนตาย ถือว่าเป็นการทําละเมิดในทางการที่จ้าง ซึ่งเจ้าของรถผู้เป็นนายจ้างต้องรับผิด ชอบร่วมด้วย การที่ลูกจ้างรับจ้างแล้วไม่บอกนายจ้าง หรือคิดจะเอาค่าจ้างเสียเอง ก็ไม่เป็นการนอกหน้าที่ อัน จะเป็นเหตุให้พ้นความรับผิด
สิทธิไล่เบี้ย
เมื่อตัวการใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายไปแล้วย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากตัวแทนได้ ตามมาตรา 427 ประกอบมาตรา 426 โดยมีอายุความ 10 ปี
การใช้สิทธิไล่เบี้ยของนายจ้าง
ไล่เบี้ยได้เฉพาะค่าสินไหมทดแทนที่ ใช้แก่ผู้เสียหายไปแล้ว รวมถึง ดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิดจนถึงวันชําระ เสร็จ
ค่าฤชาธรรมเนียม ค่าทนายไม่ไช่ค่า สินไหมทดแทนจึงไล่เบียไม่ได้
แต่ถ้าศาลพิพากษาให้นายจ้างต้อง ร่วมรับผิดจ่ายค่าฤชาธรรมเนียมนายจ้างต้องจ่ายเพิ่ม
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
การในผลแห่งละเมิดที่ตัวแทนได้กระทำ มาตรา 425 "นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น"
มาตรา 426 "นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น"
มาตรา 427 "บทบัญญัติในมาตราทั้งสองก่อนนั้น ท่านให้ใช้บังคับแก่ตัวการและตัวแทนด้วย โดยอนุโลม"
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
มาตรา 428 บัญญัติว่า “ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความ เสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างการทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่า จ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ผู้รับจ้างจำต้องยอมให้ผู้ว่าจ้างหรือตัวแทนของผู้ว่าจ้างตรวจตราการงานได้ตลอดเวลาที่ทำอยู่นั้น
ผู้รับจ้างส่งมอบการที่ทำไม่ทันเวลาที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาก็ดีหรือถ้าไม่ได้กำหนดเวลาไว้ในสัญญาเมื่อล่วงพ้นเวลาอันควรแก่เหตุก็ดี ผู้ว่าจ้างชอบที่จะลดสินจ้างลง หรือถ้าสาระสำคัญแห่งสัญญาอยู่ที่เวลา ก็ชอบที่จะเลิกสัญญาได้
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
กรณี ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความ เสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างการทำการงานที่ว่าจ้าง ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดต่อการนั้น
“ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความ เสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างการทำการงานที่ว่าจ้าง
เว้นแต่ผู้ว่า จ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทําละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและ ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทําละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทําละเมิดของคนไร้ความสามารถ
มาตรา 429 บัญญัติว่า “บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิด ในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะ พิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทาอยู่นั้น
บิดามารดารับผิด เหตุที่กฎหมายให้บิดามารดารับผิดเพราะบิดา มารดามีหน้าที่ควบคุมดูแลและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ตามมาตรา ๑๕๖๔
ให้บิดามารดาหรือผู้อนุบาลร่วมรับผิดด้วยนี้ หมายถึง ว่าผู้เสียหายจะเลือกฟ้องบิดามารดาหรือผู้อนุบาลให้รับผิดโดยเฉพาะ โดยไม่ ต้องฟ้องผู้ไร้ความสามารถซึ่งเป็นผู้ทำละเมิดด้วย หรือจะ ฟ้องให้ร่วมรับผิดกับผู้ไร้ความสามารถด้วยก็ได้
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทําละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา๔๓๐"ครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอืนซึงรับดูแลบุคคลผู้ไร้ ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดีชัวครังชัวคราวก็ดีจําต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ ความสามารถในการละเมิดซึงเขาได้กระทําลงในระหว่างทีอยู่ในความ ดูแลของตนถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนันๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตาม สมควร"
ครูบาอาจารย์
บุคคลที่ให้การศึกษาอย่างใดอย่างหนึ่ง จะมีสินจ้างหรือไม่ก็ได้
หากมีนักเรียนทําละเมิด คนที่จะรับผิดเฉพาะในขณะทําละเมิดต้องมีหน้าที่รับดูแลด้วย ซึ่งอาจเป็นผู้อํานวยการ ผู้จัดการ อาจารย์ใหญ่ ครูผู้ปกครอง ครูประจําชั้น
จะต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลด้วยและเหตุละเมิดเกิดในระหว่างการรับดูแล
นายจ้าง
นายจ้างต้องรับผิดในเหตุละเมิดที่ผู้ไร้ความสามารถทําระหว่างที่อยู่ใน
ความควบคุมดูแลของนายจ้า
นายจ้างมีหน้าที่อบรมสั่งสอนฝึกฝนลูกจ้างให้ฝึกวิชาชีพประเภทที่เรียกว่า
ลูกมือฝึกหัด
ผู้มีความสัมพันธ์กับผู้ไร้ความสามารถตามสัญญาจ้างแรงงาน