Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เรื่อง เอกภพ - Coggle Diagram
เรื่อง เอกภพ
ดาราศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับดวงดาวต่าง ๆ รวมทั้งโลกที่เราดำรงชีวิตอยู่
มนุษย์สังเกตลักษณะ ตำแหน่งและการโคจรของดาวและกลุ่มดาวเพื่อ นำไปใช้ประโยชน์ในการนำทางหรือบอกทิศการเดินทาง
ปรากฏการณ์ที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์คือ การเกิดฤดูกาล
กาแล็กซีมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 100,000 ปีแสง
ระยะทาง 1 ปีแสง หมายถึง ระยะทางที่แสงเดินทางได้ในอวกาศเป็นเวลานาน 1 ปี หรือประมาณ 9.5 ล้านล้านกิโลเมตร
กำเนิดเอกภพเริ่มนับจากจุดที่เรียกว่า บิกแบง (Big Bang)
ปัจจุบันเอกภพประกอบด้วยกาแล็กซี จำนวนแสนล้านแห่ง ระหว่างกาแล็กซีเป็นอวกาศที่เวิ้งว้างกว้างไกล เอกภาพจึงมีขนาดใหญ่มาก
เอกภพมีขนาดของรัศมีไม่น้อยกว่า 15,000 ล้านปีแสงและมีอายุประมาณ 15,000 ล้านปี
บิกแบงเป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงการระเบิดใหญ่ ที่ทำให้พลังงานส่วนหนึ่งเปลี่ยนไปเป็นเนื้อสาร มีวิวัฒนาการต่อเนื่องจนเกิดเป็นกาแล็กซี เนบิวลา ดาวฤกษ์ ระบบสุริยะ โลก ดวงจันทร์ มนุษย์และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ
ขณะเกิดบิกแบง มีเนื้อสารเกิดขึ้นในรูปของ อนุภาคพื้นฐานชื่อ ควาร์ก อิเล็กตรอน นิวทริโนและโฟตอน ซึ่งเป็นพลังงาน
ประจุไฟฟ้ารวมของเอกภพมีค่าเป็นศูนย์เนื่องจากอนุภาค และปฏิอนุภาคในเอกภพมีประจุไฟฟ้าตรงข้าม กันเมื่อเกิดการหลอมรวมกันจะเกิดเป็นพลังงานและอนุภาค ยังคงมีจำนวนเหลืออยู่จะก่อกำเนิดเป็นเนื้อ สารหรือสะสารในเอกภพ
หลังเกิดบิกแบงเพียง 10ยกกำลัง -6 วินาที อุณหภูมิของเอกภพลดลงเป็น สิบล้านล้านเคลวิน ทำให้ควาร์กเกิดการ รวมตัวกันกลายเป็นโปรตอนและนิวตรอน
หลังเกิดบิกแบงเพียง 3 นาที อุณหภูมิของเอกภพลดลงเป็น ร้อยล้านเคลวิน ทำให้โปรตอนและนิวตรอน รวมตัวกันกลายเป็นนิวเคลียสของฮีเลี่ยม
หลังเกิดบิกแบงเพียง 300,000 ปี อุณหภูมิของเอกภพลดลงเป็น 10,000 เคลวิน ทำให้นิวเคลียสของ ไฮโดรเจนและฮีเลียมดึงอิเล็กตรอนเข้ามาอยู่ในวงโคจรเกิดเป็นอะตอมของไฮโดรเจนและฮีเลียมตามลำดับ
การเกิดกาแล็กซีต่าง ๆ จะเกิดหลังบิกแบง 1,000 ล้านปีภายในกาแล็กซีมีธาตุไฮโดรเจนและฮีเลียม เป็นสารเบื้องต้น
ปรากฏการณ์อย่างน้อย 2 อย่างที่สนับสนุนทฤษฎีบิกแบงคือการขยายตัวของเอกภพและอุณหภูมิพื้นหลัง ของอวกาศ ซึ่งปัจจุบันลดลงเหลือ 2.73 เคลวิน
กาแล็กซีหมายถึง อาณาจักรหรือระบบดาวฤกษ์จำนวนนับแสนล้านดวง อยู่รวมกันด้วยแรงโน้มถ่วงระหว่างดวงดาวกับหลุมดำที่มีมวลมหาศาล ซึ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางของกาแล็กซี
โลกของเราเป็นส่วนหนึ่งของกาแล็กซีที่ชื่อว่ากาแล็กซีทางช้างเผือก
มีกาแล็กซีที่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าได้แก่ กาแล็กซีแอนโดรเมดา กาแล็กซีแมกเจลแลนใหญ่และกาแล็กซีแมกเจลแลนเล็ก
เราสามารถสังเกตเห็นทางช้างเผือกปรากฏเป็นแนวฝ้าขาวจาง ๆ ขนาดกว้าง 15 องศา พาดผ่าน เป็นทางยาวรอบท้องฟ้า โดยเฉพาะท้องฟ้า ในทิศทางของกลุ่มดาวแมงปล่อง กลุ่มดาวคนยิงธนู กลุ่มดาวนกอินทรี และกลุ่มดาวหงษ์
ระบบสุริยะของเราอยู่หางจากศูนย์กลางของกาแล็กซีประมาณ 30,000 ปีแสงและมีดาวฤกษ์ไม่น้อยกว่า แสนล้านดวงในกาแล็กซีนี้
กาแล็กซีทางช้างเผือกมีลักษณะรูปร่างคล้ายกังหัน คือมีบริเวณกลางสว่างและมีแขนโค้งรอบนอก ระยะจากขอบหนึ่งผ่านจุดศูนย์กลางไปยังอีกขอบหนึ่งยาวประมาณ 100,000 ปีแสง
กาแลกซีเพื่อนบ้านแอนโดรเมดาเป็นกาแล็กซีรูปกังหันหรือสไปรัลอยู่ห่างจากโลกประมาณ 2.4 ล้าน ปีแสง อยู่ในกลุ่มดาวแอนโดรเมดา
กาแล็กซีแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
1. กาแล็กซีกังหันหรือสไปรัล
กาแล็กซีกังหันมีแกนหรือบาร์สไปรัล
กาแล็กซีรูปไข่
กาแล็กซีไร้รูปร่าง