Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลมารดาและทารกในระยะที่ 2, 3, และ 4 ของการคลอด, นางสาวณัฐมน บุญแซม…
การดูแลมารดาและทารกในระยะที่ 2, 3, และ 4 ของการคลอด
การเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาและจิตสังคมในระยะที่ 2 ของการคลอด
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา
การหครัดตัวของมดลูก
่
ถี่มากขึ้น ทุก 1.5 - 2 นาที หดรัดตัวนาน 60 - 90 วินาที ความรุนแรงระดับ +3 ส่วนนำของ
ทารกเคลื่อนต่ำลงไปถ่างขยายปากช่องทางคลอดให้ยืดขยายออก เกิด Ferguson's reflex ไปกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัวดีขึ้น
แรงเบ่ง
ผู้คลอดจะรู้สึกอยากเบ่ง เพราะส่วนนำเคลื่อนต่ำลงมากดกับพื้นเชิงกรานและทวารหนัก แรงเบ่งนี้มีความสำคัญมากที่จะช่ายขับทรกออกมา
การยึดขยายของพื้นเชิงกราน
ส่วนนำที่เคลื่อนลงมาจะกดกับทวารหนัก ทวารหนักจะยื่นโปงออกมาและเปิดขยายกว้างจนมองเห็นผนังด้านหน้าของทวารหนัก ฝีเย็บโป่ง ตึง บาง ผิวเป็นมัน ส่วนนำค่อย ๆ เคลื่อนต่ำปรากฎให้เห็นทางช่องคลอด
การเปลี่ยนแปลงที่ตัวทารก
ถุงน้ำจะแตก ผนังมดลุก
สัมผัสกับทารกและหดรัดมากขึ้น ยอด
มดลูกจะถูกดึงรั้งมาข้างหน้า โดย Round Ligament ซึ่งมีการหดรัดตัวร่วมไปด้วย ทำให้แรงตันดังกล่าวผ่าน แนวยาวของลำตัวเด็กตรงกับช่องทางคลอด เป็นการเพิ่ม Fetal axis pressure ทำให้ทารกอ
กันมากขึ้น เป็นผลให้ทารกเคลื่อนผ่านลงมาในช่องเชิงกรานตามกลไกการคลอด
การเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคม
การรับรู้ของผู้คลอด
รู้สึกผ่อนคลายลงในช่วงระยะเวลว
หนึ่ง การรัดตัวของมดลูกที่รุนแรงขึ้น ผลักตันให้ทารกเคลื่อนต่ำลงมา ทำให้ผู้คลอดรู้สึกถึงแรงยึดขยายของฝี
เย็บอย่างมาก ดความกลัว ผู้คลอดที่ถูกทิ้ง
ให้อยู่คนเดียวจะรู้สึกวิตกกังวล จึงควรมีผู้อยู่เป็นเพื่อนผู้คลอดในระยะนี้
ความเจ็บปวด
ปวดและตึงเครียดสูงสุด พยายามเบ่ง ทุรนทุราย เหนื่อย อ่อนเพลีย เจ็บปวดมากบริเวณปากช่องคลอดและ
ฝีเย็บมากที่สุด
พฤติกรรมการแสดงออก
ส่งเสียงดัง ท้อแท้หมดหวัง โกรธ ก้าวร้าว รู้สึกร้อน และอยากที่ถอดเสื้อ พยาบาลควรกั้นม่าน
การพยาบาลมารดาและทารกในระยะที่ 2 ของการคลอด
การประเมินสุขภาพของมารดาและทารก
การประเมินสภาวะทั่วไป
สัญญาณชีพ ชีพจรมากกว่า 100 ครั้ง/นาที หรือความดันโลหิตสูงกว่า 130/90 mmHg หรือต่ำกว่า 90/60 mmHg ควรประเมินทุก 15 นาที และรายงายแพทย์
ถ้ากระเพาะปัสสาวะเต็ม กระตุ้นให้ผู้คลอดปัสสาวะ ถ้าผู้คลอดถ่ายปัสสาวะเองไม่ได้ ควรสวนปัสสาวะให้อย่างปราศจากเชื้อ ปัสสาวะเต็มในระยะนี้ จะทำให้คลอดช้ากว่าปกติ เป็นสาเหตุให้คลอดยาก
ประเมินความอ่อนเพลีย ถ้าอ่อนเพลียมาก ปรึกษาแพทย์เพีอพิจารณาให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และใช้ผ้าเย็นเข็ดหน้า คอ และแขน เพื่อให้ผู้คลอดสดชื่นขึ้น
ประเมินการขาดสารน้ำ โดยสังเกตว่ามีริมฝีปากแห้งมากหรือไม่ ควรดูแลให้ได้รับสารน้ำทดแทนอย่างเพียงพอ
การประเมินการดำเนินการคลอด
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก ระยะนี้มดลูกควรมีการหดรัดตัวทุก 1.5 - 2 นาที การหดรัดตัว 60 - 90 วินาที และความรุนแรงประมาณ 3+ คอยสังเกตว่ามีการหดรัดตัวของมดลูกตลอดเวลาไม่มีระยะพัก และมี Bandl's ring หรือไม่
ประเมินการเคลื่อนต่ำของส่วนนำ ครรภ์แรกการเคลื่อนต่ำของส่วนนำ ไม่น้อยกว่า 1 เชนติเมตร/ชั่วโมง และในครรภ์
2 เซนติเมตร/ชั่วโมง
ประเมินการหมุนภายในของศีรษะทารกโดยการตรวจภายใน
ประเมินระยะเวลาของการคลอด ในครรภ์แรกใช้
เวลา 1 - 2 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง และในครรภ์หลัง 30 นาที - 1 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมง
ประเมินการเบ่งของผู้คลอด ถ้าผู้คลอดเบ่งแล้วมีลักษณะดังต่อไปนี้ แสดงว่าผู้คลอดเบ่งอย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้คลอดเบ่งเมื่อมดลูกหดรัดตัว
ผู้คลอดสูดลมหายใจเข้าเต็มที่แล้วกลั้นหายใจก่อนออกแรงเบ่ง
ขณะเบ่งทวารหนักตุงและถ่างขยาย
มองเห็นส่วนนำปรากฎทางช่องคลอดมากขึ้นเรื่อย ๆ
ประเมินสภาพทั่วไปของผู้คลอด
การประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์
รฟัง FHS ทุก 5 นาที ในรายที่มีข้อ
บ่งชี้ว่าทารกอยู่ในภาวะอันตราย ควรฟังทุกครั้งที่มดลูกคลายตัว ถ้าทารกมีภาวะขาดออกซิเจน FHS จะช้าลงในระยะนี้ ถ้า FHS น้อยกว่า 110 ครั้ง/นาที หรือมากกว่า 160 ครั้ง/นาที หรืออาจพบลักษณะของ FHR pattern เป็น late หรือ variabletion ควรรายงานแพทย์
การประเมินจิตสังคมของมารดา
ผู้คลอดมีความวิตกกังวล ความกลัว และมีพฤติกรรมเหมาะสมหรือไม่
การประเมินและการดูแลทารกแรกเกิดทันที
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง โดยใช้ลูกสูบยางดูดเสมหะหรือสิ่งข้างๆที่อยู่ในปากคอและจมูกออกให้หมด
ประเมินภาวะสุขภาพ
ประเมิน APGAR Score
เพื่อประเมินอาการแสดงของทารกแรกเกิดทันที 5 ด้านได้แก่สีของผิวหนังอัตราการเต้นของหัวใจการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นการเคลื่อนไหวของทารกและการหายใจคะแนนรวมทั้งหมด 10 คะแนนประเมินนาทีที่ 1 หลังจากคลอดพ้นปากช่องคลอดทั้งตัวและอีกครั้งเมื่อ 5 นาทีหลังคลอดเพื่อบ่งบอกสภาวะทารกที่เปลี่ยนไปเพื่อประเมินการตอบสนองของทารกต่อการช่วยชีวิต
ประเมินสภาวะทั่วไป
สังเกตลักษณะทั่วไปของทารกว่าเจริญเติบโตเหมาะสมกับอายุครรภ์หรือไม่ ดูความผิดปกติหรือความพิการประเมินสัญญาณชีพ ชั่งน้ำหนักและวัดความยาวของลำตัว วัดรอบอกและเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นรอบวงศีรษะ
การดูแลทารกแรกเกิดทันที
ตาทารกอาจติดเชื้อได้ถ้ามีเชื้อ Gonococci อยู่ในช่องคลอดเมื่อทารกผ่านช่องทางคลอดอาจทำให้เชื้อเข้าสู่ตาและเกิดตาอักเสบถ้ารักษาไม่ทันอาจทำให้ตาบอดได้ ดังนั้นจึงต้องป้ายตาดูแลตาโดยใช้ยาปฎิชีวนะ 1% Terramycin ointment หรือ 0.5% Erythromycin
การจำแนกทารก (identification) ติดข้อมือทารก เป็นเครื่องหมายที่แจ้งให้ทราบว่าเป็นบุตรของผู้ใดก่อนย้ายทารกออกจากเตียงคลอดเพื่อป้องกันความสับสนและผิดพลาด
ควบคุมอุณหภูมิ โดยหลังคลอดเช็ดตัวทารกให้แห้งโดยเฉพาะศีรษะที่มีเลือดมาเลี้ยงมาก ให้ทารกนอนบนที่นอนที่ปูด้วยผ้าที่อุ่น ให้อยู่ใต้เครื่องเรเดียนวอเมอร์ สวมเสื้อผ้าหรือห่อตัวทารกให้อบอุ่น
ทำความสะอาดร่างกาย โดยเช็ดไขบริเวณศีรษะ หลัง ข้อพับ และขาหนีบด้วยน้ำมันมะกอก เช็ดเลือดและน้ำคร่ำตามลำตัวออกด้วยน้ำอุ่นและค่อยอาบน้ำสระผมเมื่อย้ายไปยังห้องทารกแรกเกิด ตกแต่งสะดือใหม่โดยใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% หรือ 2% ทิ้งเจอไอโอดีน ใช้ทำความสะอาดและสังเกตว่ามีเลือดซึมหรือไม่ ถ้ายังไม่ได้รับการหยอดตาก็ควรหยอดตาหรือป้ายตาในระยะนี้
ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก โดยให้มารดาสัมผัสอุ้มบุตรทันทีหลังคลอดภายใน 30-45 นาทีและให้ทารกเริ่มดูดนมมารดา
การดูแลมารดาและทารก และการช่วยคลอดปกติ
การดูแลมารดาและทารก
พยาบาลตามกระบวนการคลอด
บันทึกการหดรัดตัวของมดลูกทุก 15 นาที
ขณะเบ่งสังเกตการเคลื่อนต่ำของส่วนนำจนกระทั่งศีรษะเงยออกมาและการหมุนภายในของศีรษะของทารก
ดูแลผู้คลอดให้เบ่งอย่างมีประสิทธิภาพโดยหายใจเข้าเต็มที่แล้วกชั้นหายใจแล้วเบ่ง ไม่ขยับก้นไปมาและไม่เปล่งเสียงออกจากปาก
ให้กำลังใจผู้คลอดและกล่าวชมเชยภายหลังการเบ่งแต่ละครั้ง
ดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่าง ถ้าปัสสาวะไม่ได้เองควรสวนทิ้งให้แบบปราศจากเชื้อ
เพื่อตอบสนองความต้องการทั่วไป
ดูแลความสุขสบายทั่วไปเช็ดหน้าเช็ดแขนด้วยน้ำเย็นให้รู้สึกสุขสบายขึ้น สังเกตุอาการขาดน้ำถ้ามีอาการให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือด บรรเทาความเจ็บปวดโดยให้นอนตะแคงเมื่อมดลูกขายตัว หรือประคบร้อนบริเวณหัวเหน่า หรืออาจใช้น้ำอุ่นๆราดฝีเย็บจะช่วยให้ผู้คลอดสบายขึ้น
สนับสนุนในระยะเบ่งคลอด
ประคับประคองจิตใจผู้คลอด อยู่เป็นเพื่อน ปลอบโยนให้กำลังใจ
การช่วยคลอดปกติ
การเตรียมสถานที่และเครื่องมือเครื่องใช้
ดูแลห้องคลอดให้สะอาดอยู่เสมอ เครื่องมือที่ใช้ในการทำคลอดที่ผ่านการทำให้สะอาดปราศจากเชื้อแล้ว จัดวางไว้บนโต๊ะสำหรับเครื่องมือทำคลอด
การเตรียมผู้คลอด
เมื่อส่วนนำโผล่ให้เห็นทางช่องคลอดเพิ่มมากขึ้นและไม่ผุบกลับเข้าไป เห็นขนาดเท่าไข่ไก่ จัดท่าให้ผู้คลอดเพื่อช่วยคลอดทารก
ท่ายกศีรษะและลำตัวสูงขึ้นประมาณ 45 ถึง 60 องศา เรียกว่า ท่ากึ่งนั่ง ท่านี้จะช่วยเพิ่มแรงเบ่งทำให้สุดลมหายใจเข้าออกสะดวก ขณะเบ่งก้มหน้าลงให้คางจรดอก ช่วยให้มีการทำงานร่วมกันดีระหว่างกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อทวารหนัก ทำให้เกิดแรงอัดดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้นมีแรงผักดันมากขึ้น ท่านี้เป็นท่าที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
เตรียมผู้ทำคลอด
เพื่อป้องกันการนำเชื้อเข้าสู่ช่องคลอดโดยสวมถุงมือปราศจากเชื้อป้องกันไม่ให้ผู้ทำคลอดสัมผัสกับเลือดและสารคัดหลั่งจากผู้คลอด โดยใส่แว่นตา สวมผ้าปิดปากปิดจมูก ใส่ผ้ายางกันเปื้อนใส่เสื้อกาวน์ และสวมรองเท้าบูท
การทำความสะอาดอวัยวะเพศภายนอก
เพื่อให้บริเวณคลอดปราศจากเชื้อแบคทีเรียโดยใช้ forceps คีบสำลีชุบน้ำยาฆ่าเชื้อหรือน้ำต้มสุกทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ฝีเย็บ และหน้าขาทั้งสองข้าง
คลุมผ้าสะอาดให้ผู้คลอด
ปูผ้ารองคลอด สวมถุงขา คลุมผ้าหน้าท้องตั้งแต่หน้าท้องถึงหัวเหน่า และเตรียมผ้า safe perineum
ช่วยเหลือการคลอด
การตัดฝีเย็บ
ชนิดของการตัดฝีเย็บมี 2 แบบ 1) medio-lateral episiotomy เป็นการตัดเฉียง 45 องศา ซ่อมแซมยากกว่า แผลหายแล้วไม่ค่อยสวย เจ็บแผลหลังคลอดเสียเลือดมากกว่า มีการฉีกขาดต่อถึง third degree ได้น้อยกว่า 2) median episiotomy คือการตัดแนวกลางลงไป แผลซ่อมแซมง่ายกว่าแผลติและสวยกว่าไม่ค่อยเจ็บแผลเสียเลือดน้อยกว่ามีการฉีกขาดต่อถึง third degree ได้บ่อยกว่า
วิธีการตัดฝีเย็บ เวลาที่เหมาะคือเมื่อมองเห็นศีรษะทารกโผล่ที่ปากช่องคลอดประมาณ 4 เซนติเมตร ฝีเย็บจะตุงบาง เป็นมันใสพร้อมที่จะขาด ไม่จำเป็นต้องฉีดยาชาเพราะผู้คลอดมีความรู้สึกเจ็บมากบริเวณนั้นอยู่แล้ว การตัดฝีเย็บทำสองระยะ ระยะแรกตัดผ่านผิวหนัง ระยะที่สองตัดเยื่อบุช่องคลอด ตัดพร้อมขณะที่ผู้คลอดเบ่งเพื่อให้ฝีเย็บบาง ตัดง่าย และเสียเลือดน้อย เพราะศีรษะทารกมากดก่อนตัด นิ้วชี้และนิ้วกลางอยู่ระหว่างศีรษะทารกกับฝีเย็บเพื่อป้องกันไม่ให้ศีรษะทารกถูกตัด โดยต้องดูให้พ้นบริเวณผิวหนังสีคล้ำรอบทวารหนัก ตัดครั้งเดียวให้กว้างพอ โดยประมาณให้ศีรษะทารกผ่านออกมาได้
การทำคลอดศีรษะ
นิยมวิธี modified ritgen’s maneuver เมื่อศีรษะคลอดแล้วเช็ดตาทารกด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุก จากนั้นช่วยทำ restitution และ external rotation และดูดเมือกจากปากและจมูกจนหมด
การทำคลอดไหล่
หมุนศีรษะให้กระดูกท้ายทอยอยู่ด้านเดียวกับหลังจากนั้นทำคลอดไหล่หน้าหรือไหล่บนก่อน และดูบริเวณฝีเย็บด้วยเพราะอาจฉีกขาดได้ ข้อควรระวังคือการดึงศีรษะทารกให้นมลงเพื่อทำคลอดไหลบนห้ามใช้นิ้วเกี่ยวล็อกคอทารกขณะดึงเพราะอาจทำให้คอร์สทารกถูกยืดออกมากและทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทและตรวจดูว่ามีสายสะดือพันคอหรือไม่ ถ้ามีสายสะดือพันคอให้ใช้นิ้วสอดใต้สายสะดือดึงลงมาให้หย่อนแล้วรูดผ่านทางด้านหน้าของทารกในกรณีที่สายสะดือสั้นและตึง รูดผ่านลำตัวทารกไม่ได้ ให้ใช้นิ้วรูดสายสะดือลงให้พ้นไหล่ ถ้าสายสะดือพันคอ 2 รอบต้องใช้ครีม 2 ตัวหนีบสายสะดือและตัดสายสะดือ จากนั้นทำคลอดไหล่ตามปกติ
ทำคลอดลำตัว
เมื่อไหล่คลอดแล้ว ให้ดึงตัวทารกออกมาช้าๆ มือขวาจับศีรษะท้ายทอยและลำคอ มือซ้ายรองรับลำตัวจนทารกคลอดออกมาทั้งตัว จึงวางทารกหันหน้าออกจากช่องคลอด ระวังไม่ให้สายสะดือตึง บันทึกเวลาที่ทารกเกิด รีบเช็ดตัวทารกให้แห้งป้องกันการสูญเสียความร้อน
ผูกและตัดสายสะดือ
การผูกสายสะดือให้หนีบใส่สะดือด้วย cord clamp คีบห่างจากขั้วสะดือประมาณ 2-3 เซนติเมตร แล้วใช้คลินิกอันหนึ่งหนีบสายสะดือให้ห่างจาก cord clamp 3 เซนติเมตร ก่อนหนีบรีดเลือดที่จะหนีบไปทางมารดาก่อนเพื่อไม่ให้เลือดกระเด็นเวลาต่อสายสะดือ
ก่อนตัดเสื้อสายสะดือด้วย 2% ทิงเจอร์ไอโอดีนตัดห่างจากบริเวณแคมป์ 1 เซนติเมตรหลังตัดใช้สำลีใช้สะดืออีกครั้งและบีบใต้บริเวณที่ตัดเพื่อดูว่าสายสะดือถูกรัดแน่นหรือไม่ ถ้ารัดแน่นจะไม่มีเลือดไหลออกจากสายสะดือ
การพยาบาลมารดาในระยะที่ 3 ของการคลอด
การเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา
การลอกตัวของรกมีสองแบบคือ 1)Schultz’s mechanism 2)Duncan’s mechanism อาการแสดงของรกลอกตัว คือ มดลูกจะหดรัดตัวแข็งเปลี่ยนรูปร่างจากยาวรีมาเป็นกรมลอยตัวสูงขึ้นถึงระดับสะดือ แล้วมีการเคลื่อนต่ำของสายสะดือ ประมาณ 8-10 เซนติเมตร และมี vulva sign มีเลือดจำนวนเล็กน้อยออกมาให้เห็นทางช่องคลอด
กลไกที่ทำให้เลือดหยุดคือเมื่อมดลูกหดรัดตัวจะเป็นการบีบหลอดเลือดให้หักงอ ทำให้เลือดบริเวณที่รกลอกตัวหยุดอย่างรวดเร็ว กลไกนี้เรียกว่า living ligature action
การเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆของร่างกาย
อัตราการเต้นของหัวใจจากค่อยๆลดลง อุณหภูมิร่างกายจะยังคงสูงขึ้นเล็กน้อย อัตราการหายใจกลับสู่ภาวะปกติ การเคลื่อนไหวของลำไส้และการดูดซึมอาหารเริ่มดีขึ้น
การเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคม ระยะนี้ผู้คลอดผ่อนคลาย รู้ว่าความเจ็บปวดกำลังจะหมดสิ้นลง ผู้คลอดถามถึงเพศของบุตร มีการเผชิญกับความจริงในการเป็นผู้ให้กำเนิดและการพัฒนาสัมพันธภาพที่ดีกับทารก ระยะนี้จึงควรส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดากับบุตร ได้สัมผัสบทตามที่ต้องการและตอบคำถามที่ผู้คลอดถามให้กระจ่าง
การคลอดรก
คลอดเองตามธรรมชาติโดยผู้คลอดเบ่งคลอดรคด้วยตัวเอง ถ้าผู้คลอดเบ่งไม่ออก ผู้ช่วยๆทำคลอด
วิธีช่วยทำคลอดรกมี 3 วิธี 1)modified crade’ maneuver 2)Brant-Andrew maneuver 3)controlled cord traction
การตรวจรก
ต้องตรวจทุกครั้งหลังทำคลอดรกแล้วเพื่อให้แน่ใจว่ารกและเยื่อหุ้มทารกคลอดออกมาครบสมบูรณ์และเพื่อตรวจหาความผิดปกติของรก มีวิธีดังนี้คือ การตรวจสายสะดือ การตรวจรกด้านทารก การตรวจเยื่อหุ้มทารก การตรวจรกด้านมารดา การตรวจรกที่ผิดปกติ
การดูแลมารดา
ประเมินอาการแสดงของรกลอกตัว การหดรัดตัวของมดลูก ประเมินสภาพทั่วไปของผู้คลอด
เพื่อให้การคลอดรกดำเนินไปตามปกติ หลังทารกคลอดสังเกตการหดรัดตัว ถ้ามดลูกหดรัดตัวไม่ดีควรรายงานแพทย์เพื่อให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก สังเกตกระเพาะปัสสาวะ ถ้าปัสสาวะเต็มควรสวนออกไม่ให้ขัดขวางการลอกตัวของรก และสังเกตอาการแสดงของรกลอกตัว
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการตกเลือดก่อนรกคลอด ให้บันทึกสัญญาณชีพภายหลังทารกคลอดโดยเฉพาะความดันโลหิตและชีพจร สังเกตการหดรัดตัวของมดลูก สังเกตปริมาณเลือดที่ออกจากช่องคลอดและฝีเย็บ สังเกตุอาการซีด
เพื่อป้องกันการตกเลือดหลังรกคลอด ทำคลอดรกและเยื่อหุ้มทารกอย่างถูกวิธี ไม่พยามทำคลอดรกก่อนที่รกจะลอกตัวโดยสมบูรณ์ ไม่พยายามดึงสายสะดือก่อนที่รกจะลอกตัว และไม่ดึงสายสะดือในขณะที่มดลูกไม่แข็งตัว
การใช้ยาเพิ่มการหดรัดตัวของมดลูก
Uterotonin ที่มักให้สำหรับ Active management คือ Pitonin หรือ Syntocinon ซึ่งเป็น
สาร Oxytocin สังเคราะห์ โดยอาจให้ 10 - 20 unit ในสารน้ำเพื่อหยดเข้าเส้นเลือดดำ ตั
การฉีกขาดและการซ่อมแซมฝีเย็บ
การประเมินระดับการฉีกขาดของแผลฝีเย็บ
ระดับ 1 ฉีกขาดเฉพาะเยื่อบุช่องคลอด ระดับ 2 ฉีกขาดเพิ่มเติมจากระดับที่ 1 มาถึงชั้นกล้ามเนื้อสีเย็บ ระดับ 3 ฉีกขาดต่อจากระดับที่ 2 และลงลึกไปถึงกล้ามเนื้อรอบรู้ทวารหนักชั้นนอก และระดับ 4 ฉีกขาดต่อจากระดับที่ 3 ลึกลงมาถึงช่องทวารหนัก
การเย็บซ่อมแผลฝีเย็บ
ใช้หลักการปราศจากเชื้อ สวมถุงมือปราศจากเชื้อทำความสะอาดฝีเย็บและอวัยวะสืบพันธุ์ก่อนเย็บแผล เย็บให้ลึกพอถึงก้นแผลเพื่อหยุดไม่ให้มีเลือดออกใต้บาดแผลที่เย็บและเย็บให้ได้รูปตามกายวิภาคของอวัยวะสืบพันธุ์และช่องคลอด
การพยาบาลมารดาในระยะที่ 4 ของการคลอด
การประเมินภาวะสุขภาพมารดาในระยะ 2 ชม. หลังคลอด
โดยประเมินการหดรัดตัวของมดลูก สังเกตการหดตัวเป็นระยะ ๆ ควรมีการหดรัดตัวดีเป็นก้อนกลมแข็งและมีระดับยอดมดลูกภายหลังคลอดทันทีต่ำกว่าระดับสะดือประมาณ 1 นิ้ว และประเมินการฉีกขาดของหนทางคลอด ประเมินเลือดที่ออกทางช่องคลอดไม่ควรเกิน 100 ML ใน 2 ชั่วโมงหลังคลอด และประเมินการมีก้อนเลือดคั่งของแผลฝีเย็บหลังการเย็บแผลเสร็จ ประเมินสภาพกระเพาะปัสสาวะว่าเกิดภาวะปัสสาวะคั่งหรือไม่ และประเมินสภาวะทั่วไปของหญิงหลังคลอด ได้แก่ สัญญาณชีพ อาการเหนื่อยอ่อนเพลีย อาการกระหายน้ำ อาการปวดมดลูกและปวดแผลฝีเย็บ อาการหนาวสั่น และประเมินสัมพันธภาพระหว่างมารดาและบุตร
การดูแลมารดาระยะ 2 ชม. หลังคลอด
เพื่อตอบสนองความต้องการทั่วไปของมารดาหลังคลอดโดยการดูแลความสุขสบายทั่วไป ดูแลให้มารดาได้รับน้ำและอาหารอ่อนๆอย่างเพียงพอ ให้มารดาพักผ่อนอย่างเพียงพอ ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง ให้ร่างกายได้รับความอบอุ่น สังเกตการปวดมดลูกและปวดแผลฝีเย็บ
ป้องกันการตกเลือดในระยะ 2 ชั่วโมงหลังคลอดโดยการตรวจดูการหดตัวของมดลูกทุก 15-30 นาที ถ้ามดลูกหดรัดตัวไม่ดีควรช่วยคลึงมดลูกและวางกระเป๋าน้ำแข็งบริเวณหน้าท้องและตรวจดูการฉีกขาดของช่องทางคลอดและฝีเย็บ ทำการเย็บซ่อมแซมบบาดแผล และตรวจดูปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอดควรประเมินทุก 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง และบันทึกสัญญาณชีพ ดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่างอยู่เสมอ และสังเกตอาการของการมีก้อนเลือดคั่งที่แผลฝีเย็บ และให้ได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอ
เพื่อส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา โดยภายหลังรกคลอดหรือระหว่างเย็บแผลฝีเย็บควรนำบุตรมาให้มารดาได้โอบกอดสัมผัสบุตรภายในเวลา 45 นาทีหลังคลอด กระตุ้นให้ทารกหัดดูดนม และเปิดโอกาสให้มารดาหลังคลอดได้ระบายความรู้สึกเกี่ยวกับการคลอด
นางสาวณัฐมน บุญแซม 63010123 ปี 3 เซค 03
เอกสารอ้างอิง : เอกสารประกอบการเรียนการสอน รายวิชา 10230159 การพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1