Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลมารดาและทารกในระยะที่ 2 3 และ 4 ของการคลอด, นางสาวมนัญชยา…
การดูแลมารดาและทารกในระยะที่ 2 3 และ 4 ของการคลอด
การพยาบาลมารดาและทารกในระยะที่ 2 ของการคลอด
การประเมินภาวะสุขภาพของมารดาและทารก
การประเมินสภาวะทั่วไป
สัญญาณชีพ
สภาพกระเพาะปัสสาวะ
ประเมินความอ่อนเพลีย
ประเมินอาการขาดสารน้ำ
ประเมินความเจ็บปวด
การประเมินการดำเนินการคลอด
การประเมินการหดรัดตัวของมดลูก ต้องคอยสังเกตว่ามีการหดรัดตัวของมดลูกตลอดเวลาไม่มีระยะพัก
ประเมินการเคลื่อนตำ่ของส่วนนำ
ประเมินการหมุนภายใน Internal rotation
ประเมินระยะเวลาของการคลอด
Stage of descent ระยะที่ทารกเคลื่อนต่ำลงมา นับเวลาตั้งแต่ปากมดลูกเปิด จนถึงศีรษะเคลื่อนต่ำลงมาที่ฝีเย็บ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที
Stage of perineum ศีรษะทารกปรากฎที่ฝีเย็บ จนกระทั่งศีรษะคลอดออกมา
ประเมินอาการเบ่งของผู้คลอด
เบ่งเมื่อมดลูกหดรัดตัว
สูดลมหายใจเข้าเต็มที่แล้วกลั้นหายใจออกก่อนออกแรงเบ่ง
เบ่งถวารหนักตุงและถ่างขยาย
มองเห็นส่วนนำปรากฎทางช่องคลอดมากขึ้นเรื่อยๆ
ประเมินสภาพทั่วไปของผู้คลอด
การประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ โดยการฟัง FHS ทุก 5 นาที
การประเมินจิตสังคมของมารดา
การช่วยคลอดปกติ
การเตรียมสถานที่และเครื่องมือเครื่องใช้
สถานที่ ต้องให้สะอาดอยู่เสมอ
เครื่องมือในการทำคลอด ได้แก่ ผ้าต่างๆ มักห่อรวมกันเป็นชุด ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อแล้ว
ชุดผ้าในการทำคลอด
อ่างหรือชามคลอด ลูกสูบยางสำหรับดูดจมูกในจมูกและปากเด็ก
ที่รัดสะดือ กรรไกรตัดฝีเย็บ ตัดสายสะดือ คีมหนีบสายสะดือ เครื่องมือเย็บแผล
การเตรียมผู้คลอด
เตรียมท่าคลอดท่ายกศีรษะและลำตัวสูงขึ้น ประมาณ 45-60 องศา หรือเรียกว่าท่ากึ่งนั่ง ยกตัวสูงขึ้น 90 องศา
ท่านั่งยอง เพิ่มแรงเบ่งจากแรงโน้มถ่วงของโลก กลัามเนื้อเชิงกรานยืดขยายเส้นผ่านศูนย์กลางของช่องออกกว้างขึ้น 0.5-2 เซนติเมตร
ท่านั่งคุกเข่าและโน้มตัวไปข้างหน้า ส่วนนำมีการหมุนและเคลื่อนตำ่ได้ดี แต่แรงเบ่งจะน้อยกว่าท่านั่งยอง ไม่สะดวกต่อการฟัง FHS
การเตรียมผู้ทำคลอด
ครรภ์แรก เมื่อผู้คลอดเบ่งเห็นส่วนนำโผล่ทางปากช่องคลอด และหยุดเบ่งแล้วไม่ผลุบหายเข้าไป
ครรภ์หลัง เมื่อผู้คลอดเริ่มเบ่งเห็นส่วนนำ
ขั้นตอนในการเตรียมตัวสำหรับผู้ทำคลอด
ฟอกมือและแขนจนถึงเหนือบริเวณข้อศอกด้วยนำ้ยาฆ่าเชื้อ หรือนำ้สบู่
เมื่อล้างมือเสร็จแล้วให้ยกมือและแขนให้สูงกว่าระดับเอว
เช็ดมือด้วยผ้านึ่งสะอาดปราศจากเชื้อ
สวมเสื้อกาวน์ ถุงมือปราศจากเชื้อโรค
ทำความสะอาดอวัยวะเพศภายนอก
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและจิตสังคมในระยะที่ 2 ของการคลอด
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา
การหดรัดตัวของมดลูก โดยมดลูกหดรัดตัวถี่มากขึ้น ทุก 1.5-2นาที หดรัดตัวนาน 60-90 วินาที ความรุนแรงระดับ 3+ ส่วนนำเคลื่อนลงไปถ่างขยายปากช่องทางคลอดให้ยืดขยายออก เกิด Ferguson's reflex ไปกระตุ้ยให้รัดตัวมากขึ้น
แรงเบ่ง มีความสำคัญมากที่จะช่วยขับทารกออกมา แรงนี้สามารถเพิ่มความดันในโพรงมดลูกได้มากกว่าในระยะที่1 1-2 เท่าโดยมีความดันในโพรงมดลูกประมาณ 110-130 มิลลิเมตรปรอท
การยืดขยายของพื้นเชิงกราน ผนังช่องคลอดส่วนบนและพื้นเชิงกรานส่วนบนถูกดึงรั้งขึ้นด้านบน ผนังช่องคลอดส่วนล่าง และพื้นเชิงกลางส่วนล่างจะถูกดึงลงด้านล่าง ทำให้ทวารหนักจะยื่นโป่งออกมาและเปิดขยายกว้าง เมื่อส่วนนำเคลื่อนต่ำลงมามาก ๆ จะทำให้ฝีเย็บโป่ง ตึง บาง ผิวเป็นมัน ต่อไปส่วนน้ำทะลุจะค่อยๆ คลอดผ่านกล้ามเนื้อพื้นเชิงกลางส่วนร่างออกมา
การเปลี่ยนแปลงที่ตัวทารก ถ้าถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก ถุงน้ำจะแตก น้ำคร่ำบางส่วนไหลออกมา ทำให้ผนังมดลูกสัมผัสกับทารกมากขึ้นมดลูกจะถูกกระตุ้นโดยตัวทารกทำให้ มีการหดรัดตัวมีกำลังแรงขึ้น ผ่านตามแนวยาวของลำตัวเด็กตรงกับช่องทางคลอด เป็นการเพิ่ม Fetal axis pressure ทำให้ทารกอยู่ในทรงก้นมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคมในระยะที่ 2 ของการคลอด
การรับรู้ของผู้คลอด ทารกเคลื่อนต่ำลงมา ผู้คลอดจะรู้สึกถึงแรงยืดขยายของบริเวณฝีเย็บอย่างใมาก เหมือนกำลังจะขาด ทำให้เกิดความกลัว
ความเจ็บปวด เจ็บปวดและตึงเครียดพยายามเบ่งเอาทารกออกมา ทุรนทุราย เหนื่อย และอ่อนเพลีย
พฤติกรรมการแสดงออก พยายามส่งเสียงดัง รู้สึกท้อแท้หมดหวัง แสดงถึงความโกระ ความก้าวร้าว อาจจะดิ้นไปมาสนใจตนเองมากกว่าทารกในครรภ์
การพยาบาลมารดาในระยะที่ 3 ของการคลอด (การลอกตัวของรก การทำคลอดรก การตรวจรก และการใช้ยาเพิ่มการหดรัดตัวของมดลูก
การลอกของตัวรก
มดลูกจะหดรัดตัวลดขนาดลงและลอยขึ้นทางหน้าท้องจากการที่มดลูกขนาดลง โพรงมดลูกเล็กลง ทำให้ขนาดของรกไม่สมดุลกับบริเวณที่รกเกาะ รกเกิดการห่อตัวจากการตึงรั้งของกล้ามเนื้อมดลูก และเกิดการแยกตัวบริเวณชั้น เส้นเลือดบริเวณตรงกลางรกฉีกขาด เกิดเป็นก้อนเลือดค้างอยู่ด้านหลังรก ส่วนของ Deciduas จะลอกออกมากับรกด้วย
กลไกการลอกตัวของรกมี 2 แบบ คือ
Schultz’s mechanism รกจะเริ่มลอกตัวบริเวณตรงกลางรกก่อน ทำให้มีก้อนเลือดค้างหลังรก
Duncan‘s mechanism รอกบริเวณริมรก จะมองเห็นเลือดไหลออกทางช่องคลอดได้
อาการแสดงของรกลอกตัว
Uterine sign มดลูกจะหดรัดตัวแข็ง อาจลอยตัวสูงขึ้นถึงระดับสะดือ ลอกตัวค้างอยู่ส่วนล่างของมดลูก
Cord sign จะมีการเคลื่อนตำ่ของสายสะดือ ประมาณ 8-10 เซนติเมตร สายสะดือที่อยู่นอกช่องคลอดโผล่ออกมายาวขึ้น
Vulva sign เลือดเล็กน้อยไหลออกมาให้เห็นทางช่องคลอด พบในรายที่รกลอกตัวแบบ Duncan‘s mechanism
การเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆของร่างกาย
ระบบไหลเวียนเลือด
อุณหภูมิร่างกาย
ระบบทางเดินหายใจ
ระบบทางเดินอาหาร
การคลอดรก
ภายหลังตรวจพบว่ารกลอกตัวไม่สมบูรณ์และประเมินพบว่ามดลูกหดรัดตัวแข็งดี ให้ผู้อยู่เหนือบริเวณกระดูกหัวหน่าว และฝ่ามือวางอยู่บริเวณมดลูกและยอดมดลูก บอกให้ผู้คลอดออกแรงเบ่งคลอดรก จับสายสะดือยกขึ้นแต่ไม่ควรดึงสายสะดือ
ปฏิบัติคล้ายวิธีแรก ขณะที่มือหนึ่งกดบริเวณยอดมดลูก อีกมือหนึ่งใช้ clamp จับปลายสายสะดือม้วนสายสะดือขึ้น จับ clamp และสายสะดือที่ม้วนขึ้นพอตึงๆ มือ ขณะเดียวกันบอกให้ผู้คลอดเบ่ง สิ่งที่ต้องระวังคือ ไม่ดึงสายสะดือถ้ามดลูกไม่แข็ง
วิธีช่วยทำคลอดรก
Modified Crade’ maneuver อย่าดันยอดมดลูกลงมาทางช่องคลอด
Brant-Andrew maneuver ใช้มือที่ถนัดกดบริเวณท้องน้อยเหนือรอยต่อกระดูกหัวหน่าว ดันยอดมดลูกส่วนบนขึ้นไปเล็กน้อย
Controlled cord traction คือ การดึงสายสะดือ เพื่อให้รกคลอดออกมา ตรวจดูให้แน่ใจว่ามดลูกหดรัดตัวเป็นก้อนแข็ง ข้างหนึ่งจับสายสะดือ ดึงให้ตึง ให้รกคลอดออกมา
การใช้ยาเพิ่มการหดรัดตัวของมดลูก
Expectant management การดูแลเฝ้าติดตามดูกระบวนการคลอดรกแบบธรรมชาติ
Active management เป็นการดูแลที่ช่วยให้รกลอกตัวเร็วและคลอดออกมาเร็ว หลังจากที่ไหล่หน้าคลอด ผูกรัดและตัดสายสะดือทันทีภายหลังทารกคลอด
Uterotonin มักใช้ Pitonin หรือ Syntocinon เป็นการเร่งคลอด ในระยะที่ 1 และ 2
การพยาบาลมารดาในระยะที่ 4 ของการคลอด
ประเมินสุขภาพมารดาในระยะ 2 ชั่วโมงหลังคลอด
การประเมินการหดรัดตัวของมดลูก สังเกตการหดรัดตัวเป็นระยะๆ เฝ้าระวังเรื่องมดลูกคลายตัวเป็นพิเศษ โดยเฉพาะมารดาหลังคลอด
มีประวัติมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
ครรภ์หลัง โดยมีการตั้งครรภ์ครั้งที่ 4 เป็นต้นไป
มดลูกมีการยืดขยายมากกว่าปกติ เช่น กรณีมีครรภ์แฝด มีภาวะนำ้คร่ำมากผิดปกติ
ได้รับการชักนำให้เกิดการคลอด หรือเร่งคลอด
คลอดอย่างรวดเร็วมากเกินไป
มีภาวะคลอดนาน
ประเมินการฉีกขาดของการคลอด
ประเมินเลือดที่ออกจากช่องคลอด ในระยะที่ 4 ของการคลอด
ประเมินการมีก้อนเลือดคั่ง ของแผลฝีเย็บ
บ่นเจ็บปวดบริเวณฝีเย็บมาก
ฝีเย็บบวมไม่เท่ากัน
สังเกตเห็นผิวหนังบริเวณแผลฝีเย็บมีสีเขียวม่วง
แผลฝีเย้บตึงมาก
รู้สึกตึงหรือถ่วงบริเวณก้น
ประเมินสภาพกระเพาะปัสสาวะ ในระยะหลังคลอดอาจเกิดภาวะปัสสาวะคลั่งได้
ประเมินสภาวะทั่วไปของหญิงหลังคลอด ดังนี้
สัญญาณชีพ
อาการเหนื่อยอ่อนเพลียและความต้องการพักผ่อน
อาการปวดมดลูกและปวดฝีเย็บ อาการปวดมดลูก
อาการหนาวสั่น
การประเมินสัมพันธภาพระหว่างมารดาและบุตร
การฉีกขาดและการซ่อมแซมฝีเย็บ
การเย็บซ่อมแซมฝีเย็บ
จัดให้ผู้คลอดนอนหงาย ชันขาทั้ง 2 ข้าง หรือวางพาดบนขาหยั่ง
จัดเตรียมเครื่องมือสำหรับเย็บแผลประกอบด้วย Needle holder Arterial clamp Tooth forceps และ กรรไกรตัดไหม
ประเมินสภาพบาดแผล
สอดผ้าสำหรับอุดห้ามเลือด
ฉีดยาชาที่บริเวณรอบแผลฝึเย็บในกรณีที่ยังไม่ได้ฉีดยาชาก่อนตัดฝีเย็บ
เย็บซ่อมแซมเยื่อบุผนังช่องคลอด โดยใช้เข็มกลม
เย็บกล้ามเนื้อของฝีเย็บ
เย็บผิวหนังของฝีเย็บ
เมื่อเย็บแผลเสร็จแล้ว ให้เอาผ้าสำหรับอุดห้ามเลือดออก คลึงมดลูกไล่ก้อนเลือดอีกครั้งทำความสะอาดบาดแผล
เอกสารอ้างอิง : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา สาขาวิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์. (2565). เอกสารประกอบการเรียนการสอน รายวิชา 10230159. (หน้า 112-158). ชลบุรี
นางสาวมนัญชยา วิเชียรทวี รหัสนิสิต 63010086 เซค 03