Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อาการระบบหัวใจและหลอดเลือด - Coggle Diagram
อาการระบบหัวใจและหลอดเลือด
อาการเจ็บหน้าอก (Chest Pain)
Noncardiac
Psychogenic
โรคหายใจเกิน
(Hyperventilation syndrome)
หายใจเร็วมากเกินไปจะทำให้สมดุลกรดด่างในเลือดผิดปกติจนเกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม เกร็งชาทั่วตัว แล้วยิ่งผู้ป่วยฝืนหายใจเร็วขึ้น จะยิ่งทำให้อาการแย่ลง ภาวะนี้มักจะพบในกลุ่มวัยรุ่นที่อยู่ในอารมณ์เครียด กดดัน
Gastrointestinal
โรคกรดไหลย้อน (GERD)
จะมีอาการเจ็บแบบแสบร้อนตั้งแต่บริเวณลิ้น ขึ้นมากลางอก บางรายอาจแสบร้อนขึ้นมาถึงใน
ลำคอ เมื่อทานอาหารอิ่มหรือนอนราบแล้วมักมีอาการมากขึ้น
Pulmonary
โรคปอดรั่ว
(pneumothorax)
มีอาการเจ็บแน่นในอกได้แต่มักจะเจ็บอกที่ข้างซ้ายหรือขวาข้างใดข้างหนึ่งชัดเจน ร่วมกับหายใจไม่อิ่มเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ทีละน้อยตลอดเวลา
โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด
(Pulmonary embolism)
การเดินทางไกลแล้วต้องนั่งอยู่กับที่โดยไม่ค่อยมีการขยับขาติดต่อกันหลายชั่วโมง ร่วมกับมีภาวะขาดน้ำเป็นปัจจัยเสริม ทำให้
เลือดข้นหนืดแล้วเกิดเป็นลิ่มเลือดที่ขาวิ่งเข้าสู่ปอดได้ทำให้คนไข้มีอาการเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม เจ็บแน่นในอก
Nuromusculoskeletal
โรคกระดูกซี่โครงอักเสบ
(costochondritis)
อาการเจ็บกลางอกค่อนไปทางช้ายหรือขวาก็ได้ มักมีอาการเจ็บแบบแปลบ ๆ เกร็ง ๆ ฉับพลันที่ผนังหน้าอก
บอกตำแหน่งที่เจ็บเป็นจุด ๆ ได้ชัดเจน
Cardiac
Ischemic
หัวใจวาย/หัวใจล้มเหลว
(Congestive Heart failure/CHF)
สาเหตุ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคไต โรคปอดเรื้อรั งเบาหวาน โลหิตจางรุนแรง โรคเหน็บชา โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) การให้น้ำเกลือเร็วเกินไป
อาการ
ระยะแรก หอบเหนื่อยโดยเฉพาะเวลาออกแรงมากหรือทำงานหนัก ๆ และอาจมีไอ หายใจลำบากในตอนดึก ๆ ช่วงหลังเข้านอนแล้ว จนต้องลุกขึ้นนั่ง บางคนอาจมีอาการหอบคล้ายเป็นหืด ต้องลุกไปสูดหายใจที่ริมหน้าต่าง จึงรู้สึกค่อยยังชั่ว บางคนอาจรู้สึกจุกแน่นอึดอัดในท้องหรือลิ้นปี ปวดบริเวณชายโครงด้านขาว บวมที่ข้อเท้า
เมื่อเป็นมากขึ้น หอบเหนื่อยมากขึ้น แม้ทำงานเพียงเล็กน้อย หรืออยู่เฉย ๆ ก็รู้สึกหายใจลำบาก อ่อนเพลีย นอนราบไม่ได้ ต้องนอน หรือนั่งพิงหมอนสูง ๆ (หมอนหลายใบ)ปัสสาวะออกน้อย หรือบางคนอาจปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน เท้าบวมขึ้น และอาจมีท้องมาน (Ascites) โดยมากมักจะไม่บวมที่หน้า หรือหนังตา
โรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
(Ischemic heart disease/IHD)
หรือโรคหลอดเลือดโคโรนารี
(coronary artery disease/CAD)
เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง เมื่อมีภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจต้องการออกซิเจนมากขึ้น เช่น การออกแรงมาก ๆ ก็จะทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกเป็นครั้งคราว โดยที่ยังไม่มีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจเกิดขึ้น เรียกว่า โรคหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ (angina pectoris)
ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจมีการตายเกิดขึ้นบางส่วน เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้เลย ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง ซึ่งมักจะมีภาวะช็อกและหัวใจวายร่วมด้วย เรียกว่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial infarction/M)
Non-Ischemic
เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
(Pericarditis)
อาจมีอาการคล้ายกับภาวะหัวใจขาดเลือด และมีอาการคงอยู่ไม่เกิน 3 สัปดาห์
อาการใจสั่น
(Palpitation)
สาเหตุ
การออกกำลังกายอย่างหนัก อาจทำให้หัวใจเต้นเร็ว
การรับประทานยาบางชนิด เช่น สุโดเอฟีดีน ทีโอฟิลสิน ยากระตุ้นบีต้า แอนติสปาสโมดิก อะมิทริปไทลิน
ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
ความเครียด วิตกกังวล โรคแพนนิค
5.การได้รับคาเฟอีนมากเกิน
มีไช้ ติดเชื้อ
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia)
ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism)
หัวใจเต้นผิดจังหวะ
สาเหตุ
หัวใจเต้นช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที เรียกว่า หัวใจเต้นช้า (bradycardia)
อาจพบเป็นปกติในนักกีฬา หรือคนที่ร่างกายฟิต
อาจพบผิดปกติที่พบบ่อยในคนที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดหรืออาจเกิดจากพิษของยา เช่น ได้จอกซิน (digoxin)หรือ ลาน็อกซิน (Lanoxin)ยาปิดกั้นบีต้า เช่น โพรพราโนลอล
หัวใจเต้นเร็วกว่า 140 ครั้งต่อนาที จังหวะไม่สม่ำเสมอและแรงไม่เท่ากัน
พบบ่อยในคนที่เป็นโรคหัวใจรูมาติก โรคหัวใจขาดเลือด คอพอกเป็นพิษ
ประเภท
ภาวะหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ (Tachycardia) PR>140 bpm
ภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia) PR < 40 bpm
ภาวะหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ (Irregular cardiac rhythm)
อาการ
อัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติ จะทำให้มีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น วูบ หน้ามืด เป็นลม
หมดสติ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตแบบกะทันหัน
อัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติ จะทำให้มีอาการใจสั่น หัวใจเต้นแรง เจ็บแน่นหน้าอก
หน้ามืด เสี่ยงต่อภาวะหัวใจวาย และเสียชีวิตเฉียบพลัน