Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อาการทางผิวหนัง - Coggle Diagram
อาการทางผิวหนัง
โรคผิวหนังอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อ
โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
อาการผื่นผิวหนังเป็นได้หลายรูปแบบ ที่พบบ่อย คือ ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นนูนแดง (erythematous plaque) ลอกเป็นขุย เป็น ๆ หาย ๆ ผู้ป่วยบางรายเป็นเฉียบพลันแล้วผื่นก็หายไป แต่บางรายก็เป็นผื่นเรื้อรัง ความผิดปกติอื่น ๆ ที่อาจพบได้ คือ ความผิดปกติที่เล็บ ข้ออักเสบ เป็นต้น ผู้ป่วยอาจมีอาการผิดปกติของเล็บหรือปวดข้อนำมาก่อน หรือเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับอาการผื่นที่ผิวหนัง
ผิวหนังอักเสบออกผื่น (Dermatitis)
-มีผื่นแดงบนผิวหนัง มักทำให้รู้สึกคัน
-ผิวแห้งแตกหรือผิวลอกเป็นขุย
-ผิวบวมแดงหรือหนาขึ้น ผิวหนังอาจเปลี่ยนเป็นสีคล้ำกว่าปกติ เช่น เป็นสีม่วง น้ำตาลเข้มหรือเทา
-เกิดตุ่มพุพอง และในบางครั้งอาจมีน้ำเหลืองไหลซึมออกมา
-รู้สึกแสบร้อน ผิวไวต่อแสง หรือมีอาการกดเจ็บบริเวณผิวหนังที่มีอาการ
ลมพิษ (Urticaria)
ㆍ ผื่นบวมนูน แดง (wheal and flare) มีขนาดไม่แน่นอน อาจคล้ายตุ่มยุง หรือมดกัดหรืออาจมีลักษณะคล้ายแผนที่ เกิดขึ้นที่บริเวณใดของร่างกายก็ได้
ㆍ บางรายอาจมีอาการบวมใต้ชั้นผิวหนังที่เรียกว่า แองจิโออีดีมา (angioedema) ร่วมด้วยเกิดบริเวณเนื้ออ่อน เช่น หนังตา ,ริมฝีปาก เป็นต้น
ㆍ อาการมักเกิดขึ้นทันทีทันใด มีอาการคันเด่น แต่ละผื่นมักจะจางหายไปภายใน 24 ชั่วโมงโดยไม่เหลือร่องรอยภายหลังผื่นยุบและผื่นมักจะเป็นๆหายๆ และย้ายตำแหน่งไปเรื่อยๆ
โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
โรคไฟลามทุ่ง (Erysipelas)
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Beta streptococcus group A แต่อาจพบเป็น group C, D หรือ G ได้ ส่วนgroup B มักพบในเด็กแรกเกิด นอกจากนี้ยังพบว่าเกิดจากเชื้อ Staphylococcus aureus และHaemophilus influenzae ได้
รูขุมขนอักเสบ (Folliculitis,Furuncles,Carbuncles)
เป็นการติดเชื้อของรูขุมขนจนเกิดเป็นผื่นแดง ไม่มีอาการหรืออาจคันหรือเจ็บ เล็กน้อย พบได้ในบริเวณที่มีต่อมขนเยอะ เช่น หนวด เครา รักแร้ เป็นต้น ส่วนมากมักจะหายเอง แต่บางครั้งอาจเกิดการอักเสบมากจนเป็นตุ่มหนอง แดงและเจ็บ เมื่อแตกออกจะมีหนองไหลออกมาได้ เรียกว่าฝี (Furuncles) ถ้าแผลลึกและกว้างมากจนมีรูหนองที่เชื่อต่อกันหลาย ๆ รู เรียกว่า Carbuncles หรือฝีฝักบัวนั่นเอง
โรคตุ่มพุพอง (Impetigo)
เป็นการติดเชื้อของชั้นหนังกำพร้า ส่วนใหญ่เกิดจากสุขอนามัยไม่ดี หรือ ละเลยบาดแผลเล็กๆ จะลุกลามจึงพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ส่วนมากบาดแผลเกิดขึ้นที่ใบหน้าบริเวณรอบจมูก เนื่องจากการแกะ เกา และตามแขน-ขา ทั่วไป
การตรวจทางผิวหนัง
รอยโรคปฐมภูมิ (Primary skin lesion)
-รอยโรคแบนราบ (Flat lesion) ไม่สามารถคลำได้ ได้แก่ จุด (macule), ผื่นราบ (patch)
-รอยโรคนูน (Raised lesion) สามารถคลำได้ ได้แก่ ตุ่ม (papule), ปิ้นหนา (plaque), ก้อนนูน (nodule), ถุงน้ำ (cyst), ปิ้นนูนแดง (wheal)
-รอยโรคตุ่มน้ำ (Fluid-filled lesion) มีของเหลวในรอยโรคอาจเป็นตุ่มน้ำ หรือหนอง ได้แก่ ตุ่มน้ำใสเล็ก (vesicle), ตุ่มน้ำใสใหญ่ (bulla), ตุ่มหนอง (pustule), ฝี (abscess)
รอยโรคทุติยภูมิ (Secondary skin lesion)
-รอยโรคพื้นผิวขรุขระ (Surface changed lesion) : สะเก็ด (scale), คราบ (crust), เกาขีดข่วน (excoriation), ผิวหนานูนเห็นเส้นผิวหนังชัดขึ้น (lichenification)
-รอยโรคยุบตัว (Depressed lesion) : ถลอกตื้น ๆ (erosion ), แผลลึก (ulcer), หนังกำพร้าบาง เป็นรอยย่น (atrophy), รอยแตกเป็นเส้นตรง เจ็บ ผลจากผิวหนังแห้ง หนา (fissure)
-รอยโรคนูน (Raised lesion) : แผลเป็น (scar)
โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา
เกลื้อน (Tinea versicolor)
เกิดตามผิวหนังที่มีต่อมไขมันมาก เหงื่อออกมาก ลักษณะผื่นเป็นดวง ผื่นมีสีขาว หรือสีน้ำตาล หรือสีชมพูแดง หรือเป็นวงรีเล็กๆหลายอัน แต่มักไม่คัน มีการขยายขนาดเป็นผื่นใหญ่ได้ และมักจะเกิดช่วงอากาศร้อนขณะที่มีเหงื่อออกเยอะ เช่น หลังเล่นกีฬ หรือออกกำลังกาย หรืออยู่กลางแดดเป็นเวลานาน
กลาก (Ringworm)
ศีรษะ เรียกว่า กลากที่ศีรษะ (tinea capitis) พบมากในเด็ก พบน้อยในผู้ใหญ่
ขาหนีบ เรียกว่า สังคัง (tinea cruris) พบมากในคนที่ร่างกายอับชื้นหรือมีเหงื่อออกมาก
ง่ามนิ้วเท้า เรียกว่า ฮ่องกงฟุต หรือน้ำกัดเท้า (athlete's foot/tinea pedis) พบในคนที่เท้าเปียกน้ำบ่อยๆ (เช่น ย่ำน้ำ) คนที่มีนิ้วเท้าบีบชิดกันตามธรรมชาติ ทำให้ง่ามนิ้วเท้าอับชื้นง่าย
เล็บ เรียกว่า โรคเชื้อราที่เล็บ (เล็บเป็นเชื้อรา) หรือโรคกลากที่เล็บ (tinea unguium) เกิดจากการลุกลามของกลากจากส่วนอื่น หรือได้รับเชื้อมาจากร้านเสริมสวย ซึ่งใช้เครื่องมือที่ไม่สะอาดทำเล็บ
ใบหน้า คอ ลำตัวแขนขา เรียกว่า กลากตามลำตัว (tinea corporis)
โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อไวรัส
โรคฝีดาษลิง (Monkeypox)
หูด (warts)
1.หูดชนิดทั่วไป (Common warts) พบได้บ่อยที่สุด มักจะพบในบริเวณ นิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อศอก ข้อเข่า ใบหน้า โดยลักษณะนูนเป็นตุ่มกลมแข็งผิวหยาบ ขรุขระ ออกเป็นสีเทา ๆ เหลือง ๆ หรือสีน้ำตาล มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-10 มิลลิเมตร
2.หูดคนตัดเนื้อ (Butcher's warts) พบที่มือ เป็นหูดที่เกิดจากการติดต่อจากคนสู่คน ท จึงมักพบได้ในผู้ที่มีอาชีพแล่เนื้อดิบ ลักษณะของหูดจะเหมือนกับหูดทั่วไป แต่จะมีขนาดใหญ่กว่าและมีผิวขรุขระมากกว่า
3.หูดที่ฝ่ามือฝ่าเท้า (Plamar warts and Plantar warts) มีลักษณะเป็นตุ่มกลม นูนเล็กน้อย ผิวขรุขระ อาจเกิดรวมกันเป็นกลุ่มจนทำให้ดูเป็นหูดที่มีขนาดใหญ่ได้ อาจจะเรียบหรือมีลักษณะนูนเล็กน้อย จนกระทั่งนูนออกมามาก มีผิวขรุขระ หยาบแข็งกว่าหนังธรรมดา
4.หูดชนิดแบนราบ (Plane warts, Flat warts)มีลักษณะนูนขึ้นจากผิวเพียงเล็กน้อย ผิวจึงค่อนข้างเรียบ ซึ่งต่างจากหูดทั่วไปที่มีผิวขรุขระ มักพบขึ้นบริเวณใบหน้า หน้าผาก หลังมือ และหน้าแข้ง
5.หูดหงอนไก่ (Condyloma accuminata)พบที่อวัยวะเพศภายนอกทั้งชายและหญิง มักติดต่อ,จากการมีเพศสัมพันธ์เป็นหลัก ลักษณะของดจะขึ้น เป็นติ่งเนื้องอกอ่อน ๆ มีสีชมพูหรือสีเนื้อ ผิวขรุขระ ซึ่งจะเริ่มจากรอยโรคเล็ก ๆ แล้วขยายตัวลุกลามใหญ่
ขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีลักษณะคล้ายหงอนไก่หรือดอกกะหล่ำ
พูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum) มีลักษณะเป็นตุ่มกลม ผิวเรียบเป็นมัน ตรงกลางมีรอยบุ๋ม ซึ่งเป็นหูดที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอมซีวี(Molluscum contagiosum virus)