Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเยี่ยมบ้านมารดาหลังคลอด - Coggle Diagram
การเยี่ยมบ้านมารดาหลังคลอด
วัตถุประสงค์ของการยี่ยมบ้านมารดาหลังคลอด
เพื่อให้มารดาหลังคลอดและครอบครัวเกิดความมั่นใจสามารถเพิ่งพาตนเองในการดูแลตนเองและทารกที่บ้านได้
เพื่อประเมินปัญหาทางกาย จิต สังคม (Bio-Psycho-Social Assessment) ที่แท้จริงของมารดาหลังคลอดและครอบครัวที่จะนำไปสู่การจัดทำแผนการดูแล
เพื่อทำความรู้จักและสารต่อความสัมพันธ์อันดีกับมารดาหลังคลอดและครอบครัวในระยะยาวจนกลายเป็นความผูกพันที่ดีระหว่างมารดา เด็กและสังคม
ขั้นตอนการเข้าเยี่ยมบ้าน
วางแผน (Plan) ร่วมกับทีมงานทั้งก่อนและหลังการเยี่ยมบ้าน เตรียมข้อมูลแผ่นพับสุขศึกษา แผนที่บ้านและอุปกรณ์ เมื่อกลับจากการเยี่ยมบ้านควรสรุปการเยี่ยมบ้านรวมถึงการวางแผนการดำเนินงานครั้งต่อไป
มีหลักการ (Medical management) ประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการแพทย์ให้เข้ากับวิถีชีวิตเฉพาะตัวของแต่ละบ้าน รวมไปถึงรู้จักการแก้สถานการณ์เฉพาะหน้าได้
ไม่ระรานความสงบสุข (Identification of patient's needs) ควรประเมินความต้องการของมารดาหลังคลอดและครอบครัวและโทรศัพท์ติดต่อก่อนการเข้าเยี่ยมบ้าน ว่าต้องการให้ทีมเยี่ยมบ้านไปเยี่ยมบ้านหรือไม่ หากพบว่ามารดาและครอบครัวไม่สะดวก ควรสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับมารดาหลังคลอด หาข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีอื่น
ขจัดทุกข์ให้เป็นระยะ (Continuing patient-centred care) ดูแลมารดาหลังคลอดและเด็กเป็นศูนย์กลาง สนใจความคิด ความรู้สึก ภารกิจประจำวัน และความคาดหวังแนะนำทางเลือกในการแก้ไขปัญหา
พบปะเมื่อต้องการ (Participation family conference) เปิดโอกาศให้มารดาหลังคลอดมีช่องทางติดต่อเมื่อต้องการความช่วยเหลือ เช่น ให้เบอร์โทรศัพท์ไว้
เน้นการสร้างเสริมและป้องกัน (Risk evaluation and health promotion) ควรสังเกตสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมสมาชิกในบ้านว่า มีพฤติกรรมในบ้านที่สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ควรชื่นชมและแสดงออกให้สมาชิกในบ้านทราบ และหากมีสิ่งที่เป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพควรให้คำแนะนำอย่างเหมาะสมพร้อมแนะนำแนวทางการแก้ไข
ผลิกผันตามสถานการณ์ (Reassessment of care plan) ควรเยี่ยมบ้านโดยคำนึงถึงว่าอาจต้องเปลี่ยนแผนการดูแลทุกครั้งที่ไปประเมิน แผนการดูแลและความถี่ของการเยี่ยมบ้านปรับเปลี่ยนตามปัญหาที่สลับซับซ้อนของมารดาหลังคลอด
อย่าอยู่นานถ้าไม่จำเป็น (Evaluation of quality of care) การเยี่ยมบ้านที่เหมาะสมไม่ควรอยู่นานเกิน 1 ชั่งโมง
ร่วมประสานกันเป็นทีม (Teamwork) สมาชิกในทีมรับรู้ปัญหาร่วมกันก่อนไปเยี่ยมบ้าน คำนึงถึงประเด็นทางจิตสังคมของมารดาหลังหลอด
กระเป๋าเยี่ยมบ้าน
เครื่องมือที่ควรเตรียมเมื่อไปเยี่ยมบ้าน ได้แก่ แฟ้มครอบครัว (Family Folder) แผนที่บ้าน เบอร์ผู้รับการเยี่ยม เครื่องมือวัดความดันโลหิต หูฟัง เทปวัดความยาว ชุดเครื่องมือตรวจหูและตา ปรอทวัดไข้ ไม้กดลิ้น สำลี แอลกอฮอล์ ชุดทำแผล ถุงมือ เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดแบบพกพา แผ่นพับสุขศึกษา ถุงใส่ขยะ เป็นต้น รวมไปถึงยาเป็นบางชนิด อุปกรณ์ถ่ายภาพเพื่อติดตามแผล ถ่ายภาพขณะเยี่ยมบ้าน
เมื่อถึงบ้านแล้วทำอะไร
ทักทายสร้างสัมพันธ์ภาพอันดีกับมารดาหลังคลอดและครอบครัว
สังเกต ประเมิน สภาพแวดล้อมภายในบ้าน
ทำการประเมินบ้านตามหลัก IN-HOME-SSS ดังนี้
I=Immobility ประเมินว่ามารดาหลังคลอด สามารถทำกิจกรรมได้มากน้อยเพียงใด
N=Nutrition ประเมินว่ามารดาหลังคลอดมีภาวะโภชนาการอย่างไร อาหารที่มารดาหลังคลอดรับประทาน ปริมาณที่รับประทาน นิสัยการรับประทาน มีการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา การใช้สารเสพติดหรือไม่ การรับประทานอาหารที่เสริมน้ำนม อาหารที่อุดมด้วยแคลเซี่ยมและธาตุเหล็ก
H=Housing ประเมินสภาพบ้านว่ามีลักษณะอย่างไร ภายในบ้าน เช่น แออัด โปร่งสบาย สะอาด บริเวณรอบบ้านมีรั้วขอบชิดหรือไม่ เพื่อนบ้านมีลักษณะอย่างไร ความสัมพันธ์กับมารดาหลังคลอดและครอบครัวเป็นอย่างไร
O=Other people ประเมินว่าบทบาทหน้าที่ของชมาชิกในบ้านเป็ฯอย่างไร มีผลต่อมารดาหลังคลอดอย่างไรหากมีเหตุฉุกเฉินขึ้นใครเป็นคนตัดสินใจแทน
E=Examination ประเมินว่ามารดาหลังคลอดสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้มากน้อยเพียงใด
M=Medication ประเมินการรับประทานยาของมารดาหลังคลอด สอบถามว่ามีการรับประทานยาเพิ่มเติมหรือไม่ เพื่อทราบพฤติกรรมการดูแลตนเองของมารดาหลังคลอด
S=Safety ประเมินความปลอดภัยภายในบ้าน เพื่อช่วยให้มารดาหลังคลอดและครอบครัวปรับสภาพภายในบ้าน ที่อาจเป็นอันตรายได้ เช่น แนะนำให้เปลี่ยนตำแหน่งปลั๊กไฟให้พ้นจากมือเด็ก เป็นต้น
S=Spiritual ประเมินความเชื่อ ค่านิยมของคนในบ้านจากศาสนวัตถุในบ้าน หรือจากการพูดคุยกับมารดาหลังคลอดและครอบครัวโดยตรง
S=Service ให้ญาติใกล้ชิดอยู่ด้วยขณะเยี่ยมบ้านเพื่อให้เข้าใจตรงกันในการวางแผนการดูแล รวมไปถึงทราบวัตถุประสงค์ในการไปเยี่ยมบ้าน ทราบช่องทางการติดต่อกับทีมสุขภาพ ทราบถึงสถานบริการณ์สาธารณสุขอื่นๆในละแวกบ้านที่สามารถไปใช้บริการได้