Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
2106 อาญา 1 (บทบัญญัติทั่วไป) - Coggle Diagram
2106 อาญา 1
(บทบัญญัติทั่วไป)
การใช้กมอาญา
ลักษณะเฉพาะ
ผู้กระทำไม่ต้องรับผิดอาญา หากไม่มีกมในขณะนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้
ย้อนหลังเป็นโทษมิได้ (ม.2 ว.1)
แต่ย้อนหลังเป็นคุณได้ (ม.2 ว.2)
ถ้อยคำในกม บัญญัติชัดเจน
เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่คลุมเครือ
ต้องตีความโดยเคร่งครัด
ความหมาย
บัญญัติว่าการกระทำใด หรือไม่กระทำใด = ความผิด
กำหนดโทษไว้
ม.2 "No Crime nor Punishment
without Law"
บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญา ต่อเมื่อ
ได้กระทำการ
เคลื่อนไหว
หรือ ไม่เคลื่อนไหว
อันกมที่ใช้ขณะกระทำนั้น
บัญญัติเป็นความผิด
และกำหนดโทษไว้
ว.1 กมอาญาจะย้อนหลังให้ผลร้ายมิได้
ถ้าขณะกระทำผิด ยังไม่มีกม
ต่อมา ออกกมว่าเป็นความผิด จะถือว่าผู้นั้นกระทำผิด มิได้
ว.2 กมอาญาย้อนหลังเป็นคุณ
กมใหม่ บัญญัติภายหลังว่าการกระทำนั้น
ไม่เป็นความผิดแล้ว
ผลดีตกแก่ผู้กระทำผิด
หลุดพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิด
ถ้ามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ
ถือว่าไม่เคยต้องคำพิพากษา
ถ้ายังรับโทษ
การลงโทษสิ้นสุดลงทันที
ม.3 ถ้ากมที่ใช้ในขณะกระทำผิด
แตกต่างกับกมที่ใช้ภายหลังกระทำความผิด
(ยังผิดอยู่ แต่โทษมีการเปลี่ยนแปลง)
ให้ใช้ส่วนที่เป็นคุณ ไม่ว่าในทางใด
แต่ถ้าคดีถึงที่สุดแล้ว รับโทษครบแล้ว
ไม่ได้รับประโยชน์
คดียังไม่ถึงที่สุด
ถ้ากมใหม่ โทษเบากว่า
ให้ใช้กมใหม่ที่เป็นคุณกว่าเลย
เรียงประเภทของโทษ ตามม.18
(ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน)
หรือดูอัตราโทษชั้นสูง ว่าอันไหนเบากว่า / จำหรือปรับ เบากว่า ทั้งจำทั้งปรับ / ไม่มีโทษขั้นต่ำ เบากว่า มีโทษขั้นต่ำ / ต้องเจตนาถึงจะผิด เบากว่า แค่ประมาทถึงจะผิด / ความผิดอันยอมความได้ / อายุความที่สั้นกว่า
ว.2 คดีถึงที่สุดแล้ว แต่ยังไม่รับโทษ
หรือกำลังรับโทษ
(อนุ 1) ไม่ใช่โทษประหารชีวิต
ถ้ายังไม่ได้รับโทษ
ถ้าโทษตามคำพิพากษา
หนักกว่า โทษตามกมในภายหลัง
ศาลกำหนดโทษใหม่ตามกมภายหลัง
ถ้ากำลังรับโทษอยู่
ศาลอาจกำหนดโทษใหม่ น้อยกว่าโทษขั้นต่ำ
ของกมภายหลังได้
ถ้ารับโทษพอควรแล้ว ศาลปล่อยได้
(อนุ 2) โทษประหารชีวิต
แต่ถ้าโทษใหม่ไม่ถึงขั้นประหาร
ยึดเอาโทษที่หนักที่สุดของโทษใหม่
(ที่ไม่ใช่ประหาร)
(อนุ 1) ต้องมีคนมาร้องขอ หรือศาลเห็นเอง
ส่วน (อนุ 2) ไม่ต้องมีใครมาร้องขอ ศาลต้องดำเนินการเอง
การวินิจฉัยความรับผิดทางอาญา
ม.60 การกระทำโดยพลาด :<3:
ผู้ใดเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง
แต่ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไป
ให้ถือว่า ผู้นั้นกระทำโดยเจตนา
แก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น
(เจตนาโอน เพราะยังมีเจตนาชั่วอยู่ ยังไงก็ผิด)
เป็นเรื่องการโอนเจตนา
เป็นเจตนาประเภทเดียวกัน
(คน --> คน / สิ่งของ --> สิ่งของ)
(2/64) ถ้าเจตนาฆ่าคน แล้วดันโดนสัตว์ ต่อให้ตาย
ก็ไม่ใช่เจตนาฆ่าสัตว์ มันโอนเจตนาไม่ได้ --> แต่คือประมาท + ทำให้เสียทรัพย์ (ซึ่งก็ไม่ต้องรับผิดทางอาญาอยู่ดี เพราะไม่มีกมบัญญัติไว้แบบนี้)
เช่น แดง ตั้งใจยิง ดำ แต่ดำหลบทัน กระสุน ถูกขาวตาย
แดง --> เจตนาฆ่าดำ --> โอนเป็น --> เจตนาฆ่าขาว แทน
ดำ --> ไม่ตาย --> ถือว่า แดงผิดแค่ฐาน เจตนาพยายามฆ่าดำ
แต่ขาว --> ตาย --> แม้แดงไม่เจตนา
แต่ม. 60 ถือว่า มีเจตนาฆ่าขาว (เป็นเจตนาโอน)
แต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นเพราะฐานะของบุคคลหรือเพราะความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับบุคคลที่ได้รับผลร้าย
มิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับเพื่อลงโทษผู้กระทำให้หนักขึ้น
หลักเกณฑ์
ต้องมีบุคคล 3 ฝ่าย
1) มีผู้กระทำ = ต้องรับผิด
2) ผู้ถูกกระทำคนแรก = ผู้ที่ผู้กระทำ
มีเจตนากระทำต่อ (ม.59)
3) ผู้ที่ได้รับผลร้ายจากการกระทำโดยพลาด = เจตนาพลาด (ม.60)
2) ผลร้ายที่เกิดขึ้นโดยพลาดต้อง
เป็นผลประเภทเดียวกับเจตนาเดิมที่กระทำ
ก. เจตนาฆ่า ข. แต่โดน ค. ตาย --> ใช่
ก. เจตนาฆ่า ข. แต่ลูกปืนโดนกระจกบ้านนาย ค. แตก --> ไม่นับ
ก. เจตนาขว้างก้อนหินใส่รถ นายข. แต่เลยไปถูกรถนายค. ที่จอดใกล้ ๆ แทน --> ใช่
3) ต้องถือเจตนาเดิมของผู้กระทำเป็นหลัก ในวินิจฉัยผลร้ายที่เกิดจากกระทำโดยพลาด
ก. เจตนาทำร้าย ข. โดยใช้มีดฟันแขนข. ขาด แต่ปลายมีดดันโดนคอของนาย ค. ตายด้วย
เจตนาเดิมนาย ก. แค่ทำร้าย ข. ดังนั้น เจตนาโอน ไปนาย ค. ก็ต้องเป็นแค่เจตนาทำร้าย ค. เฉย ๆ ด้วย
แค่ ค.ดันตาย เพราะฉะนั้น ก็จะผิดฐานฆ่า ค. ตาย โดยไม่เจตนา (ไม่ได้เจตนาโอนมา เพราะผลไม่เหมือนเจตนาเดิม)
และมีความผิดฐานทำร้าย ข. ได้รับบาดเจ็บสาหัส
(2/65) ถ้าการกระทำ เป็น ย่อมเล็งเห็นผล เช่น ยิงคนขี่ MC แต่รู้ว่าคนซ้อนโดนแน่ ๆ --> เป็นเจตนา ม.59 วรรค 2 ทันที ไม่ใช่กระทำโดยพลาด ของม.60
ม.61 การกระทำโดยสำคัญผิดในตัวบุคคล/ทรัพย์
(เข้าใจผิด คิดว่าอีกคนหนึ่งเป็นอีกคนหนึ่ง) :<3:
ผู้ใดเจตนาจะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง
แต่ได้กระทำต่ออีกบุคคลหนึ่งโดยสำคัญผิด
ต้องสำคัญผิดใน บุคคลต่อบุคคล ทรัพย์ต่อทรัพย์
แดงต้องการทุบรถดำ แต่เข้าใจผิดว่ารถของขาว เป็นของดำ เลยทุบกระจกรถขาวจนแตก
แดงรับผิด ฐานทำให้เสียทรัพย์โดยสำคัญผิด (ม.61)
แดง ต้องการฆ่าดำ แต่เข้าใจว่าหมาของดำเป็นนายดำ ยิงหมาตาย
ถือว่าไม่มีเจตนาทำให้เสียทรัพย์โดยสำคัญผิด
(2/64) ลิ้นจี่ ต้องการฆ่านายแคนตาลูป แต่เข้าใจผิดยิงองุ่น จนบาดเจ็บเพราะคิดว่าเป็นแคนตาลูป แล้วโดนส้ม บาดเจ็บทับหมาของแตงโม
องุ่น: พยายามฆ่า โดยเจตนา โดยสำคัญตัวผิดในตัวบุคคล (ม. 80, 59, 61)
ส้ม: พยายามฆ่า โดยพลาด (ม.80, 60)
แตงโม: ไม่ผิด เพราะไม่มีอาญากำหนด เสียทรัพย์โดยประมาท
(S/63) หม้อทอดไร้น้ำมันถูกจ้างให้มาฆ่าพัดลมไอเย็น ตอนถามว่าใครคือพัดลมไอเย็น
แต่พัดลมไอเย็น รู้ตัวก่อน ชี้ไปที่เครื่องซักผ้าฝาบน หม้อทอดเลยยิงเครื่องซักผ้าตาย
ก็ยังถือว่า ผิดฐานฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ม.289(4), 59 และโดยสำคัญผิดในตัวบุคคลด้วย ม.61
และไม่สามารถเป็นข้อแก้ตัวได้ด้วย
(2/56) เอก ซุ่มยิงจะฆ่านายดำ แต่เห็นคนชุดดำเดินผ่าน ด้วยความประมาท ไม่ดูให้ดีเลยยิงจนตาย แต่สุดท้ายคนนั้นคือ นายโท น้องของนายเอกเอง
โจทย์มีใส่ประมาท เพื่อหลอก ซึ่งจะอ้างประมาทไม่ได้ เพราะเจตนาตอนแรก จะฆ่าคน
ผู้นั้นจะยกเอาความสำคัญผิด เป็นข้อแก้ตัว
ว่ามิได้กระทำโดยเจตนาหาได้ไม่
ผลทางกม
ทำกับใคร ถือว่าเจตนาทำกับคนนั้นแล้ว
ถ้าไม่สำเร็จก็เป็นพยายาม
แม้จะสำคัญผิดโดยประมาท ยิงผิดคน เพราะไม่ทันดูหน้าให้ดี ๆ แต่ไม่ให้รับผิดฐานประมาท แต่ให้รับผิดโดยเจตนาเลย เพราะมันเจตนาที่จะฆ่าตั้งแต่แรก
ไม่ต้องรับผิดต่อคนที่ตั้งใจจะทำตอนแรก เพราะผลไม่ได้เกิดกับคนนั้น
ม.62 สำคัญผิดในข้อเท็จจริง :<3:
ว.1 ข้อเท็จจริงใด ถ้ามีอยู่จริงจะทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด
หรือทำให้ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ หรือได้รับโทษน้อยลง
แม้ข้อเท็จจริงนั้น จะไม่มีอยู่จริง แต่ผู้กระทำสำคัญผิดว่ามีอยู่จริง
ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิด / หรือได้รับยกเว้นโทษ /หรือ ได้รับโทษน้อยลง แล้วแต่กรณี
ต่างจาก ม. 59 ว.3 แต่ถ้าเป็น ม.59 ว.3 ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริง
อันเป็นองค์ประกอบความผิด จะถือว่าประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผล มิได้ แปลว่าไม่เจตนา
แต่ ม. 62 ว.1 = คือเจตนาเลย แต่สำคัญผิดเฉย ๆ
แต่ ผู้กระทำสำคัญผิด ในข้อเท็จจริง / ว่ามีอยู่จริง
แยกผลทางกม
เป็น 3 กรณี
การกระทำไม่เป็นความผิด (เทียบคู่กับ 68 ป้องกัน)
(ส่วนใหญ่เป็นโจทย์ ป้องกันเพราะนึกว่าเป็นคนร้าย แต่จริง ๆ คือคนดี)
สำคัญผิดว่า มีอำนาจกระทำได้ตามกมอื่น
ป้องกันโดยสำคัญผิด
(62 Vs 68)
เอาปืนยิงน้องชายที่แอบหนีเที่ยว แล้วปีนเข้าบ้าน นึกว่าเป็นโจร
สามี คิดพิเรน ปลอมตัวเป็นคนร้าย เข้ามาปลุกปล้ำภรรยา ทดสอบจิตใจภรรยา ภรรยาสู้ หยิบไฟฉายขว้างทุบหัวสามี หัวแตก --> ไม่ผิดตาม ม. 62
แต่ถ้าเป็นโจรจริง
ก็อ้างป้องกัน ม.68 ได้ ไม่มีความผิด
ลูกยิงพ่อ เพราะนึกว่าเป็นโจรมาขโมยเครื่องสูบน้ำ ตะโกนถามแล้วก็ไม่ตอบ (เพราะพ่อเมา)
แพทย์ทำแท้งให้หญิงมีครรภ์ โดยสำคัญผิด
ทำได้ ถ้าโดนข่มขืน หรือเป็นโรคร้ายแรงมีผลต่อแม่
แต่เอาใบแจ้งความใบรับรองแพทย์ปลอมมาบอกหมอ
สำคัญผิดว่าผู้เสียหายยินยอม
ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ (เทียบคู่กับ 67 จำเป็น)
(ส่วนใหญ่โจทย์เป็นโดนขู่ด้วยอาวุธปลอม ต้องทำผิดไม่งั้นจะตาย)
กระทำความผิดด้วยความจำเป็น ม.67
ก. เอาปืนปลอมมาขู่ ให้ตีหัวนาย ข.
เลยต้องทำเพราะสำคัญผิดว่าเป็นของจริง อาจจะเกิดภยันตรายต่อตนเอง เลยต้องทำ
เอาปืนปลอมมาขู่ ธนาคาร พนักงานเลยทำผิดโดยการเอาเงินให้โจร ไม่งั้นตัวเองจะโดนฆ่า
สามีภรรยากระทำผิดต่อทรัพย์ ม.71
ถือว่ามีความผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ
สามีเจตนาจะขโมยสร้อยของภรรยา แต่จริง ๆ ภรรยาไม่มีสร้อย ที่เห็นเป็นของแม่ยาย --> สำคัญผิดในข้อเท็จจริง มีความผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ ตามม. 71, 62
ผู้กระทำรับโทษน้อยลง (เทียบคู่กับ 72 โทสะ)
บันดาลโทสะ
ภรรยาหมั่นไส้คนข้างบ้าน เลยบอกสามีว่า เพิ่งโดนคนข้างบ้านข่มขืน --> สามีนึกว่าตนเองถูกข่มเหง ไปกระทืบคนข้างบ้าน
สามี ผิดฐานทำร้ายร่างกาย
แต่โทษน้อยลงจากการสำคัญผิดในข้อเท็จจริง ม.62
ภรรยา ผิดฐานผู้ใช้ เทียบเท่าเป็นตัวการ
ลักทรัพย์บิดา ม.71
ถือว่ายอมความได้ หรือถ้าไม่ยอมความศาลจะตัดสินน้อยกว่าเท่าใดก็ได้
ลูกขโมยสร้อยพ่อ แต่ที่ขโมยนั้นเป็นของเพื่อนพ่อต่างหาก
ป้องกันเกินขอบเขตโดยสำคัญผิด
ผู้กระทำ "รู้ข้อเท็จจริง" อันเป็นองค์ประกอบความผิดครบถ้วน
ว.2 ให้ผู้กระทำรับผิดฐานกระทำโดยประมาท ในกรณีที่กมบัญญัติไว้โดยเฉพาะการกระทำนั้นผู้กระทำจะต้องรับโทษ แม้กระทำโดยประมาท
ตอนกลางวัน นึกว่าขโมยเข้าบ้าน แล้วไปยิงเค้า
ทั้งที่ดูอีกนิดนึงก็รู้แล้วว่าเป็นใคร
กลายเป็นผิด ในฐานประมาทเลย
เอาปืนปลอมมาขู่ แต่ดูปลอมมาก แค่มองดี ๆ ก็รู้แล้ว
แต่ก็ยังทำผิดตามที่เค้าขู่
เราผิดในฐานประมาท
การไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด
แก้ตัวว่าไม่มีเจตนาได้ (ม.59 ว.3)
เจตนายิงสัตว์ในพุ่มไม้ แต่ความเป็นจริง คนอยู่ในพุ่มไม้
ผล = ไม่ผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
แต่ถ้าประมาท ต้องรับผิดประมาท ม.62 (2) เช่น ป่าอยู่ใกล้หมู่บ้านเลย หรือไปกับเพื่อนหลายคน แยก ๆ กันล่า ต้องระมัดระวังบ้าง
แต่ถ้าไม่มีใครได้ผลร้าย ก็ไม่โดนข้อหาประมาท
กระทำชำเรา เด็ก 14 เพราะนึกว่า 18 ปี
เจตนายิงสุนัขตนเอง แต่จริง ๆ เป็นของคนอื่น
เอาหนังสือคนอื่นทุ่มน้ำ เพราะนึกว่าเป็นหนังสือตัวเอง
เอากระเป๋าคนอื่นไป เพราะนึกว่าเป็นของตัวเอง
ผล = ไม่ผิดเพราะไม่มีเจตนา
จากม. 62 (2) ถ้าประมาท ก็ต้องรับผิดเหมือนฐานประมาท ม.59 ว.3
แต่ก็ไม่ต้องรับผิด เพราะไม่มีกมบัญญัติว่าประมาท (กระทำชำเรา / ทำลายทรัพย์สินผู้อื่น / ลักทรัพย์ผู้อื่น เป็นความผิด
ม.63 คสพระหว่าเหตุและผล
โครงสร้าง
ครบองค์ประกอบภายนอก
การกระทำความผิด
ขั้นตอนการกระทำ
1) คิดที่จะกระทำ
(คิดว่าจะฆ่า)
2) ตกลงใจที่จะกระทำ
(ตัดสินใจที่จะฆ่าละ)
3) ตระเตรียมการ
(ปกติยังไม่ผิด เช่น เตรียมปืน, ขึ้นลำกล้องละ)
(แต่ถ้ากมบัญญัติ บางกรณี ถือว่ามีความผิดเลย เข่น เตรียมวางเพลิง เผาทรัพย์ ลอบปลงพระชนม์)
4) ลงมือกระทำ
2 more items...
ข้อ 1 กับ 2 เป็น "ภายใน" /ต้องรู้สำนึกละ
ข้อ 3 เป็น "ภายนอก"
กมบัญญัติชัดแจ้ง ว่าเป็นความผิด
ฝ่าฝืนกม / ลงมือกระทำ = ผิด
บางกรณีแค่ ตระเตรียมก็อาจจะผิด ถ้ากมบัญญัติ เช่น
เข้าเป็นสมาชิกอั้งยี่
สมคบกับซ่องโจร
ผู้กระทำ
ผู้กระทำความผิดโดยตรง
ทำเอง
ฟัน ยิง ตี ตบ ลัก วิ่ง ชิง ปล้น
ใช้สัตว์
หมา ช้าง งู เป็นเครื่องมือ
ใช้คนอื่นที่ไม่มีการกระทำ
โดนสะกดจิต โดนดึงมือไปเขกหัว (โดยไม้รู้สำนึก)
ผู้กระทำความผิดโดยอ้อม
ใช้ผู้อื่นเป็นเครื่องมือ
หลอกใช้บุคคลอื่นให้กระทำผิด
(ผู้หลอก รู้สำนึก แต่ผู้ถูกหลอก ไม่มีเจตนา
เพราะไม่รู้ข้อเท็จจริง ทำโดยไม่รู้ถึงความผิด = Innocent Agent)
นาย ก หลอกพยาบาล ข. ว่าเป็นยาบำรุง เพื่อให้ นาย ค.กิน แต่ที่จริง คือยาพิษ จนตาย
(นาย ก. = เจตนาฆ่า
พยาบาล ข. = มีการกระทำ (โดยรู้สำนึก) แต่ ขาดเจตนา!!!
ผู้ร่วมในการกระทำผิด
ตัวการ (ม.83)
ผู้ใช้ (ม.84)
ผู้สนับสนุน (ม.86)
วัตถุแห่งการกระทำผิด
(อาจเป็นเหตุเพิ่มโทษ
ต้องรับโทษหนัก เช่น เหตุฉกรรจ์)
ผู้อื่น = บุคคล
ทรัพย์ = สิ่งของ
มีการกระทำ
(โดยรู้สำนึก= อยู่ภายใต้
สภาพบังคับของจิตใจ)
เคลื่อนไหว
มีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเคลื่อนไหว
ไม่เคลื่อนไหว
งดเว้น
ม.59 ว.8
งดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผล
(มีหน้าที่ต้องทำ เพื่อไม่ให้เกิดผล แต่ไม่ทำตามหน้าที่นั้น = งดเว้น --> ค.ผิด)
ตัวอย่างหน้าที่
ตามที่กม บัญญัติ
3 more items...
2, อันเกิดจากการยอมรับโดยเฉพาะ เจาะจง
1 more item...
อันเกิดจากการกระทำก่อน ๆ ของตน
1 more item...
จากความสัมพันธ์พิเศษเฉพาะเรื่อง
1 more item...
ละเว้น
ไม่กระทำ/ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
หน้าที่ทั่วไปที่กมบัญญัติไว้
(แต่ไม่ใช่หน้าที่เพื่อป้องกันผล)
ม.374 ละเว้นไม่ทำหน้าที่พลเมืองดี
เห็นคนอื่นตกอันตราย เราพอช่วยได้
แต่ไม่ไปช่วย / ไม่ช่วยคนจมน้ำ (ลหุโทษ)
แต่ถ้าเป็นลูกจมน้ำ จะกลายเป็น งดเว้น ทันที
มีหน้าที่ที่กมบัญญัติเฉพาะ แต่ไม่ปฏิบัติ เช่น เจ้าพนักงานไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ (ม.157)
ไม่ไปช่วยระงับเพลิงตามที่เค้าเรียก
ครบองค์ประกอบภายใน
(ม. 59)
เจตนา
ม.59 ว.1
1) บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญา
ก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา
2) เว้นแต่
จะได้กระทำโดยประมาท (เช่น ม.291, 300, 225, 205)
ก็ถือว่าผิดอาญา
หรือ ในกรณีที่ กมบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง ให้ต้องรับผิด
แม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา
(หรือไม่ประมาท เช่น ลหุโทษ ม.104)
ม.59 ว.2 :<3:
กระทำโดยเจตนา ได้แก่
1) กระทำโดยรู้สึกสำนึก
ในการที่กระทำ
2) และในขณะเดียวกัน ผู้กระทำ
ประสงค์ต่อผล
คือ มุ่งหมายจะให้เกิดผลขึ้น
หรือต้องการให้มีผลสำเร็จ
2 more items...
หรือ ย่อมเล็งเห็นผล
ของการกระทำนั้น
มิได้มุ่งหมายให้เกิดผลโดยตรง
แต่ย่อมเล็งเห็น (คาดหมาย) ว่าผลจะเกิดขึ้นได้
และไม่แยแส ต่อผลนั้นด้วย
4 more items...
ม. 59 ว.3
ถ้าผู้กระทำ มิได้รู้ข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบของความผิด
จะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้ (= ไม่เจตนานั่นแหละ)
องค์ประกอบความผิด =
เกณฑ์ที่กม กำหนดไว้สำหรับความผิด
แต่ละความผิด เช่น
วางเพลิงเผาทรัพย์ ม. 217
ต้องประกอบด้วย 1) ผู้ใด 2)วางเพลิงเผา
3)ทรัพย์ของผู้อื่น 4) เจตนา
1 more item...
ปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ ม.107
1)ผู้ใด 2)ปลงพระชนม์ 3)พระมหากษัตริย์ 4) เจตนา
1 more item...
(1/64) เสือต้องการฆ่าช้าง โดยการวางยาพิษ แต่ตอนแรกช้างยังไม่ตาย แต่นายเสือเข้าใจผิดคิดว่าตายแล้ว เลยเอาไปแขวนคอเพื่ออำพรางคดี สุดท้ายช้างตายจริง
แม้ว่าการแขวนคอ ดูจะเข้ากับม.59 ว.3 ที่บอกว่าไม่เจตนาฆ่าคน เพราะตอนแขวนคอไม่รู้ข้อเท็จจริง ว่าช้างยังไม่ตาย แต่!! ถือว่า การกระทำตอนหลังนั้น เป็นเหตุแทรกแซงที่ไม่เกินความคาดหมายของเสือ ที่เจตนาฆ่าช้างตั้งแต่แรก
2 more items...
ถือว่า ผู้กระทำ ประสงค์ต่อผล หรือ เล็งเห็นผล มิได้
ไม่รู้ = ไม่มีเจตนา / รู้เท่าไหร่ = ยิ่งเจตนาเท่านั้น
(1/65) ล้อมรั้วช็อตไฟฟ้า แต่มีคนมาจับแล้วตาย
ถือว่า เจตนา ทำร้ายร่างกาย
ถ้าคนโดนเป็นผู้บริสุทธิ์
2 more items...
ประมาท
ม. 59 ว.4 กระทำโดยประมาท :<3:
ได้แก่
1) กระทำความผิด มิใช่โดยเจตนา
ต้องมีการกระทำที่รู้สำนึก
ต้องไม่เจตนา
คือ ไม่ประสงค์ต่อผล
หรือ ไม่เล็งเห็นผล
2) แต่กระทำโดย ปราศจากความระมัดระวัง
ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น
จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์
วิสัย
สภาพ"ตัวผู้กระทำ" =
Subjective
เช่น เด็ก ผู้ใหญ่ คนพิการ ผู้หญิง ผู้ชาย คนธรรมดา วิกลจริต การศึกษา
พฤติการณ์
สภาพ"ภายนอก" =
Objective
ถนน อากาศ แสงสว่าง ความลาดชัน สภานที่
3) และผู้กระทำ อาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้
แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
ผู้กระทำมีความสามารถระวังได้ แต่
ไม่ยอม ระมัดระวัง
ระวังแต่ไม่พอ เนื่องจาก
วิสัย
พฤติการณ์
มีบางกมบัญญัติให้ต้องรับผิด แม้กระทำโดยประมาท
ไม่มีเจตนาหรือประมาท แต่กมให้รับผิด
ความผิดเด็ดขาดตามประมวลกมอาญา
ม. 109
ลหุโทษ --> ภาค 3 ม.367-398
ความผิดเด็ดขาดตามกฎหมายอื่น
พรบ ต่าง ๆ --> แต่กำหนดโทษอาญา
เช่น กระเป๋าแบรนด์เนม
ม. 59 ว.5 การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้น โดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย
(S/63) ชนะชลขี่ MC เมขลาซ้อน แหกโค้ง เมขลาบาดเจ็บสาหัสหมดสติในพงหญ้า
แต่หนีไป ไม่ช่วย จนพลเมืองดีมาพบ ถึงรอด --> แม้บาดเจ็บสาหัส แต่ไม่ช่วยเหลือ เป็นการงดเว้น ที่เล็งเห็นได้ว่า ถ้าปล่อยไว้แบบนี้ อาจตายได้ = ฆ่า
แต่ไม่ตาย เลยมีความผิดฐาน พยายามฆ่า
มีความสัมพันธ์ระหว่างเหตุ-ผล
มาตรา 63
ประเภทความผิดทางอาญา
ความผิดในตัวเอง
(Mala in Se)
ผิดตามศีลธรรม จรรยา คนทั่วไปรู้ว่าผิด
ฆ่า ปล้น ข่มขืน
ความผิดเพราะกมห้าม
(Mala Prohibita)
ความผิดเฉพาะ / เชิงเทคนิค ไม่ผิดศีลธรรม
แต่ทำให้สังคมเรียบร้อยขึ้น
กมจราจร / กมคุ้มครองสัตว์ป่า
เหตุยกเว้นความผิด หรือยกเว้นโทษ หรือลดโทษ (เป็นคุณ)
ม.67 การกระทำโดยจำเป็น :<3:
ผู้ใดกระทำความผิดด้วยจำเป็น
ว.1 เพราะอยู่ในที่บังคับ หรือ
ภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ
1) การกระทำด้วยความจำเป็นเพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจ
ความจำเป็นบังคับ
เท่าที่จำเป็น
ถ้าไม่จำเป็น หรือทำเกินจำเป็น จะอ้างไม่ได้
อำนาจจากภายนอก
บังคับให้กระทำผิด
เข่น บุคคลอื่น สัตว์ เหตุการณ์ธรรมชาติ
หมาไล่กัดเรา เลยต้องทุบบ้านเค้า เพื่อหนีหมา
แต่ถ้ากระทำเพราะนับถือยำเกร็ง
จะอ้างจำเป็นไม่ได้
2) ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้
ไม่มีทางเลือกอื่น ต้องกระทำผิดตามที่ถูกบังคับ
ถ้าจริง ๆ ยังสามารถหลีกเลี่ยงได้ ขัดขืนได้
แล้วยังทำความผิด --> จะอ้างจำเป็นไม่ได้
3) ผู้กระทำมิได้ก่อเหตุขึ้นโดยความผิดตน
เช่น ไปยั่วยุเค้าก่อน พอเค้าจะโต้ตอบ เรารีบยิงใส่ก่อน --> จะจำเป็นไม่ได้
4) กระทำไม่เกินขอบเขต
ไม่เกินสมควรแก่เหตุ (ไปดู ม.69 ต่อ)
เปรียบเทียบภยันตรายที่จะได้รับ กับ
ความผิดที่กระทำ ว่าอันไหนร้ายแรงกว่า
เช่น ขู่ทำกับทรัพย์ แต่จำเป็นทำต่อชีวิต อันนี้เกินสมควรไป
ว.2 เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง และ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้
เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
1) มีภยันตราย
เกิดต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน เสรีภาพ ชื่อเสียง
กระทำต่อผู้อื่น มิใช่ผู้ก่อภัย
ไม่เท่ากับ ถ้ากระทำต่อผู้ก่อภัย คือป้องกัน
(1/64) ศักดิ์และศรี เห็นว่าโก๋ กำลังเล็งปืนจะยิงจอม
ศักดิ์โดดถีบจอมให้ล้มลงจนบาดเจ็บ
ส่วนศรีเอาปืนยิงข้อมือโก๋จนบาดเจ็บ
ศักดิ์ถีบจอม = เจตนาทำร้ายจอม แต่ไม่ต้องรับโทษผิด เพราะ อ้างกระทำด้วยความจำเป็น + พอสมควรแก่เหตุ (ไม่ใช่อ้างป้องกัน ม.68 เพราะไม่ได้ทำกับผู้ก่อภัย)
ศรียิงข้อมือโก๋ = เจตนาทำร้ายโก๋ แต่ไม่ต้องรับโทษผิด เพราะอ้างป้องกัน ตามม.68 ได้ + พอสมควรแก่เหตุ
เกิดจากคน สัตว์ ภัยธรรมชาติ
ไม่ได้เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกม
(1/64) เอกนอนละเมอ จะเอามีดแทงนายโท แต่ห้องคับแคบมาก และเลี่ยงไม่ได้ เลยเอาเก้าอี้ในห้องตีเอกจนได้รับบาดเจ็บ
เนื่องจากเอกละเมอ ไม่รู้สำนึก ตามม.59(2) ไม่ถือว่าเจตนา แปลว่าที่เอามีดแทง ไม่ใช่การประทุษร้ายอันละเมิดกม เหมือน ม.68 เป็นเพียงแค่ภยันตรายเท่านั้น = ถือว่าโท กระทำผิดด้วยความจำเป็น ม.67 แต่ยกเว้นโทษได้ เพราะไม่เกินสมควรแก่เหตุ
2) ภยันตราย ใกล้จะถึง
เกิดขึ้นเฉพาะหน้า
ต่อผู้กระทำผิดเอง หรือเกิดต่อผู้อื่นก็ได้
3) ไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นได้
ถ้ามีทางเลือกอื่น ที่ไม่จำเป็นต้องทำผิด
ต้องทำทางเลือกนั้นก่อน
เช่น ก. จะหลบคนร้าย ซ้ายมือเป็นบ้านคน ขวาเป็นสวนสาธารณะ ก็ควรเลือกไปทางขวาก่อน
ใช้วิธีถูกกมก่อน
ใช้วิธีที่เสียหายน้อยที่สุดก่อน
4) ภยันตรายนั้น ผู้กระทำมิได้ก่อขึ้น
เพราะความผิดตน
ถ้าผู้กระทำมีส่วนก่อให้เกิดความผิด
จะอ้างจำเป็นไมไ่ด้
ผู้กระทำต้องไม่ใช่ผู้ก่อนภยันตรายนั้นเอง
(S/63) นีเวียวางยาจะฆ่าวาสลีน แต่โดนเจอร์เก้นจับได้ วิ่งตามมา เพื่อจะยิงนีเวีย ตอนนีเวียหนี ไปชน MC ที่จอดอยู่เสียหาย
นีเวียจะอ่้างว่า การทำให้เสียทรัพย์นั้น เป็นการกระทำผิดโดยจำเป็นไม่ได้
เพราะตัวเองเป็นคนก่อเหตุทั้งหมดตั้งแรก
5) กระทำเพื่อให้ตนเอง หรือ ผู้อื่น พ้นภยันตราย
เจตนาพิเศษ
6) กระทำไม่เกินขอบเขต
วิถีทางที่น้อยที่สุด
ได้สัดส่วน
ถ้าการกระทำนั้น ไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว
ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
ผู้กระทำ จะมีความผิดตาม ม. 67
"แต่ไม่ต้องรับโทษ"
ถ้าทำเกินสมควรแก่เหตุ
ผิด ม. 69
"ศาลลงโทษน้อยกว่า เท่าใดก็ได้"
ม.68 ป้องกัน :<3:
ผู้ใดจำต้องกระทำการใด
เพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือผู้อื่น
ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้าย
อันละเมิดต่อกม
และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง
ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกม ผู้นั้นไม่มีความผิด
มีภยันตราย เกิดจากการประทุษร้ายละเมิดต่อกม
ภยันตราย = ภัยที่เป็นความเสียหายต่อสิทธิบุคคล
เช่น ชีวิต --> ฆ่า
ร่างกาย --> ทำร้าย
เสรีภาพ --> กักขัง
ชื่อเสียง --> ด่า เหยียดหยาม
ทรัพย์สิน --> ลัก บุกรุก
สิทธิ = ประโยชน์อันบุคคลพึงมี
ตามกมรับรอง คุ้มครองให้
เกิดจากประทุษร้ายที่ละเมิดกม
ผู้ก่อภยันตรายไม่มีอำนาจตามกม ที่จะกระทำได้
ละเมิดต่อกม = มิชอบด้วยกม
กม แพ่ง
เป็นชู้ภริยาผู้อื่น
1 more item...
กม อาญา
ตี ฆ่า เผา ลัก ยิง ตาย
ภยันตรายที่ผู้ประทุษร้าย มีอำนาจทำได้ตามกม
ผู้รับภัย ก็ไม่มีสิทธิอ้างป้องกัน
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ตามกม (กม ให้อำนาจเจ้าพนักงาน) --> ตำรวจโดยชอบด้วยกม แล้าเราจะไปตีหัวตำรวจแล้วหนีไป โดยอ้างป้องกันตัวไม่ได้
บิดา มารดา มีอำนาจทำโทษบุตร ตาม ปพพ 1567 --> ถ้าพ่อตีลูก แล้วลูกชกพ่อกลับ โดยอ้างป้องกันไม่ได้
ต้องเป็นการกระทำของมนุษย์เท่านั้น
ผู้ก่อภยันตรายต้องเป็นบุคคลเท่านั้น
คนอาจใช้สัตว์เป็นเครื่องมือก็ได้
เช่น ก. ยุให้หมาตนไปกัดข.
แล้ว ข. ยิงหมาตาย --> ข. อ้างป้องกันตัวได้ ฐานทำให้เสียทรัพย์ (ทำให้ไม่ผิดฐานที่ไปฆ่าหมาเค้า)
ผู้ที่จะอ้างป้องกันได้
ต้องไม่มีส่วนผิดในการก่อภยันตราย
ผู้ป้องกัน ต้องถูกกระทำอยู่ฝ่ายเดียว
ถึงจะมีสิทธิในการป้องกันตน
ผู้มีส่วนผิดในการก่อภยันตราย
จะอ้างป้องกันมิได้
1) ผู้ที่ก่อภัยขึ้น ตอนแรก เป็นต้นเหตุ
ก. ต่อยหน้า ข. ก่อน --> ข. จะเอาไม้ตีหัวก. กลับ
ก. จึงยิง ข. ตายเลย --> แบบนี้ ก.จะอ้างป้องกันมิได้
2) ผู้สมัครใจวิวาทกัน (สมัครใจต่อสู้ทำร้ายกัน)
คู่วิวาทต่อสู้กัน --> ฝ่ายที่เพลี่ยงพล้ำจะโต้ตอบ
โดยอ้างป้องกันมิได้
ถ้าเพียงด่าทอกัน ยังไม่ลงไม้ลงมือ
--> ยังไม่นับว่าเป็นการสมัครใจวิวาท
3) ผู้ที่ยินยอม ให้ผู้อื่นกระทำต่อตน
ก.ไปสักยันต์มา ก.ขอร้องให้ ข. เอามีดฟันตน!!!
ข. กำลังจะฟัน ก. แต่ ก. ดันกลัว เลยยิง ข. ตาย
--> แบบนี้ ก. จะอ้างป้องกันมิได้
4) ผู้ยั่วให้ผู้อื่นโกรธ
ก. เอาเท้าลูบหน้า ข. --> ข. โกรธ จึงจะต่อย ก.
แต่ ก. เอามีดฟัน ข. แบบนี้ ก.จะอ้างป้องกันมิได้
ภยันตรายที่ใกล้จะถึง
ถ้าภยันตรายอยู่ห่างไกล
ผู้รับภัยมีหนทางขจัดปัดเป่าภยันตรายได้ก่อน
จะอ้างป้องกันมิได้
(2/64) โก๋ เอามีดยาว 12 นิ้ว จะฟันเด่น เหลือแค่อีก 4 เมตรใกล้จะถึงตัว เด่นยิงสวน 1 นัด บาดเจ็บ
อ้างป้องกันพอสมควรแก่เหตุ / โดยชอบด้วยกมได้
ภัยไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นต่อตัวผู้รับภัยก่อน
(ไม่จำเป็นต้องถึงขั้นลงมือหรือขั้นพยายาม)
แค่อยู่ในขั้นตระเตรียมการ ก็อ้างป้องกันได้แล้ว
ชักปืนออกจากเอว
ยกปืนขึ้นมาเล็ง
ช่วงเวลาในการป้องกัน
ต้องเป็นการกระทำ --> ป้องกัน
--> ก่อนที่ภยันตรายจะสิ้นสุดลง
(ก่อน หรือ ขณะภยันตรายเกิด)
ถ้าภยันตรายสิ้นสุดแล้ว
เรากระทำ --> จะอ้างป้องกันได้
อาจจะเป็นบันดาลโทสะแทน
ผู้รับภัยไม่จำเป็นต้องหลบหนีภยันตราย
ผู้ครอบครองเคหะสถาน ไม่จำเป็นต้องหนี
ผู้กระทำผิดที่บุกรุกเข้ามาก่อภัยในเคหะสถาน
ผู้ครอบครองสามารถสู้และอ้างป้องกันได้
การป้องกันภยันตรายล่วงหน้า
ป้องกันก่อนภยันตรายจะมาถึงได้
เช่น ขึงรั้วแล้วปล่อยกระแสไฟฟ้าที่รั้ว
ถ้าคนตายเป็นผู้ร้ายจริง --> อ้างป้องกันได้
ถ้าคนตาย มิใช่คนร้าย --> อ้างป้องกันมิได้
กระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนเองหรือผู้อื่นให้พ้นภยันตรายนั้น
เพื่อป้องกันสิทธิ = เจตนาพิเศษ --> มูลเหตุจูงใจ
(สิทธิ คือ ประโยชน์อันบุคคลมีอยู่โดยกมรับรองคุ้มครองให้)
จะทำเพื่อแก้แค้น ไม่ได้
ป้องกันสิทธิตนเอง หรือผู้อื่นก็ได้
ผู้อื่น ไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์
กับผู้กระทำเลยก็ได้
เช่น ทุบกระจกรถที่จอดตากแดดช่วยทารก
เพราะพ่อแม่ประมาท จอดลืมทิ้งไว้
มีความผิดฐานเสียทรัพย์ก็จริง
แต่สามารถอ้างว่าเพื่อป้องกันสิทธิผู้อื่นได้
การป้องกันต้องกระทำต่อตัวผู้ก่อภัย
ถ้าทำต่อบุคคลที่สาม จะอ้างป้องกันไม่ได้
ถ้ากระทำต่อทรัพย์ที่ผู้ก่อภัยใช้เป็นเครื่องมือ --> อ้างป้องกันได้
การกระทำเพื่อป้องกัน แม้พลาดไปถูกบุคคลที่สาม ผู้กระทำก็อ้างป้องกันได้
เช่น ก. จะยิงข. โดยยกปืนเล็ง ข.แล้ว --> ข. จึงยิงสวนใส่ก. --> แต่ก. หลบทัน ลูกปืนโดน A ตาย
--> แบบนี้ ข. ยังอ้างป้องกันได้
เด่น ยิงโก๋ ที่วิ่งมาใกล้จะฟัน เพื่อป้องกันตัว
แต่โดนก้านที่ขี่ MC มาส่งโก๋ (2/64)
แม้เป็นเจตนาโอน ตาม ม.60 แต่ก็อ้างผลจากการกระทำเพื่อป้องกันได้ด้วย --> นายเด่นไม่ผิด ม.68 ประกอบ ม.60
การป้องกันต้องไม่เกิดกว่าเหตุ
(พอสมควรแก่เหตุ)
วิถีทางที่น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น
วิธีการขั้นต่ำที่สุด ที่จะทำได้
ไม่มีทางเลือกจะป้องกันด้วยวิธีการอื่น
ได้สัดส่วนกับภยันตราย
ดูอาวุธ
ถ้า ปืน-ปืน / มีด-มีด = ได้สัดส่วน
ถ้า มีด-ปืน / ชก-มีด = ไม่ได้สัดส่วน
โจทย์ปี 2/64 --> มีด 12 นิ้ว กับปืน 1 นัด = ยังป้องกันพอสมควรแก่เหตุได้
ม.69 ป้องกัน จำเป็น เกินสมควร :<3:
ตามม. 67 และ 68 ถ้าผู้กระทำได้กระทำไป
เกินสมควรแก่เหตุ
เกินกว่ากรณีแห่งความจะเป็น
เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำ
เพื่อป้องกัน
ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กมกำหนดไว้
สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
แต่ถ้าการกระทำนั้น เกิดขึ้นจากความตื่นเต้น ความตกใจหรือความกลัว ศาลจะไม่ลงโทษผู้กระทำก็ได้
:<3: ข้อแตกต่างระหว่าง ป้องกัน และ จำเป็น
ป้องกัน
1) กม ถือว่าผู้กระทำไม่มีความผิด
2) หากภยันตรายเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกม.
หากมีการกระทำต่อ "ผู้ก่อภัย" ถือเป็นการกระทำโดยป้องกัน
4) การกระทำโดยป้องกัน ผู้กระทำต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อ "ป้องกันสิทธิ"
จำเป็น
1) ถือว่าผู้กระทำมีความผิด
แต่ กม ยกเว้นโทษ
2) หากกระทำต่อ "บุคคลที่สาม"
ถือว่าเป็นการกระทำโดยจำเป็น
3) หากภยันตราย "ไม่ได้เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกม." ไม่ว่าจะเป็นการกระทำต่อผู้ก่อภยันตรายนั้น หรือต่อบุคคลที่สาม
ก็เป็นการกระทำโดยจำเป็น
4) การกระทำโดยจำเป็น ตามมาตรา 67(1)
เจตนาพิเศษ คือ "เพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้"
และมาตรา 67(2) เจตนาพิเศษ คือ "เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตราย"
ม.72 การกระทำโดยบันดาลโทสะ :<3:
โทสะ คือ โกรธ ฉุนเฉียว ขุ่นเคือง เคียดแค้น
ต่อสิ่งยั่วยุภายนอก
ปกติ ถ้าถูกยั่วให้โกรธ --> อดทนอดกลั้นๆ
แต่ถ้าร้ายแรงมาก จนทนไม่ไหว
--> เกิดบันดาลโทสะ --> ตอบโต้
หลักเกณฑ์
ผู้ใดบันดาลโทสะ
โดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง
ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
การข่มเหงเช่นนั้น เป็นเหตุให้ผู้กระทำผิด
บันดาลโทสะ
เป็นเหตุให้เกิดอารมณ์โกรธขึ้นมา
ไม่สามารถควบคุมสติ สัมปชัญญะได้
พิจารณาจาก "จิตใจของผู้กระทำผิด" เอง
ไม่เปรียบเทียบความรู้สึกของคนทั่วไป
แต่ เหตุอันไม่เป็นธรรม ร้ายแรงหรือไม่
อันนี้เปรียบกับคนทั่วไป
ข่มเหง
รังแก ด้วยใช้กำลังกายภาพ / วาจา
เสียดสี ด่าทอ / กริยา อาการ
(1ซ/63) สมศรียิงปืนใส่สามี จนสาหัส ที่จะไปแต่งงานกับสร้อยทอง ทั้งที่ขอร้องว่าอย่าทำ ตนเองอายชาวบ้านจะนินทา
การที่สามีไปแต่งงานกับหญิงอื่น ทั้งที่มีภรรยาชอบด้วยกมอยู่แล้ว
ถือว่าเป็นการทำให้อับอาย --> ข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอื่นที่ไม่เป็นธรรม สามารถอ้างบันดาลโทสะได้ เพื่อให้ศาลลงโทษน้อย
ร้ายแรง
ถ้าแค่เล็กน้อย จะอ้างไม่ได้
เหตุไม่เป็นธรรม
ไม่ว่าจะผิดหรือไม่ผิดกม ก็ไม่มีสิทธิจะทำได้
มี 4 ประการ
เหตุนั้นต้องเป็นการกระทำของบุคคล
ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ธรรมชาติ
การกระทำผู้ข่มเหงนั้น
เป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรม
การใช้อำนาจตามกม ไม่ใช่เหตุไม่เป็นธรรม
เช่น ตำรวจใช้อำนาจ ว่ากล่าวตักเตือน
ไม่มีสิทธิกระทำได้
ละเมิดหรือไม่ละเมิดกม ก็ได้
ทำชู้กับเมียผู้อื่น แม้มิได้จดทำเบียนกัน
เหตุอันไม่เป็นธรรมนั้นต้องร้ายแรง
เทียบความรู้สึก คนธรรมดา (วิญญูชน)
แต่อ้างความรู้สึกผู้กระทำผิดไม่ได้
ผู้ที่ถูกข่มเหง อาจมิใช่ผู้ได้รับผล
จากการข่มเหงโดยตรงก็ได้
(คนอื่นมาด่าญาติเรา แล้วเราทนไม่ได้ เป็นคนกระทำผิดแทน)
ผู้ถูกข่มเหง คือผู้กระทำผิด
มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน
กับครอบครัวหรือญาติ ที่ได้รับผล
ข่มเหงโดยตรง
พ่อ ลูก --> แม่
ลูก พ่อ --> แม่
ลุงป้าน้าอา
สามี ภรรยา
พ่อตา แม่ยาย
พ่อสามี ลูกสะใภ้
1 more item...
จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น
ต้องทำกับผู้ข่มเหงเท่านั้น
จะทำกับคนอื่นไม่ได้
และทำใน "ขณะบันดาลโทสะ"
ระยะเวลาต่อเนื่องอย่างกระชั้นชิด
ทันที หรือไม่ต้องทันทีก็ได้
แต่ต้องต่อเนื่องกัน ไม่ขาดตอน
เช่น นอนไปคืนหนึ่ง แล้วตื่นมารู้สึกโกรธ
จะอ้างบันดาลโทสะ ไม่ได้
จะอิงจากบุคคลทั่วไป ว่าระยะเวลาเท่านั้น
จะระงับโทสะได้หรือยัง
ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
โดยไม่ต้องคำนึงถึงขั้นต่ำของโทษที่กมกำหนดไว้ก็ได้ หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ยังได้
การกระทำความผิดหลายคน
ม.83 ตัวการ :<3:
ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้น
โดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
ร่วมกันกระทำผิด
ไม่ว่าตนเองจะทำมาก น้อยเพียงใด
เช่น ก กับ ข ร่วมกันไล่ตี A --> พอรุนแรงไป
ก บอก ข ว่าพอแล้วนะ --> แต่ ข ยังวิ่งไล่ตีต่อจน A ตาย
ความผิด: ก กับ ข เป็นตัวการร่วม แค่ทำร้ายร่างกาย
แต่ ข. ผิดฆ่าคนตาย คนเดียว เพราะ ก.ไม่ได้เป็นตัวการฆ่าคนตายร่วมด้วย
ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้น
เป็นตัวการ
การกระทำต้องเป็นความผิด
ถ้าแค่ตระเตรียม ปกติ ยังไม่ผิด
ต้องขั้นลงมือกระทำ ถึงจะผิด
ต้องร่วมกันกระทำ
มากน้อยแค่ไหนก็ได้
เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดเลย
ยกเว้นความผิดลักษณะเฉพาะตัวบางอย่าง
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
(ต้องเป็นเจ้าพนักงานถึงจะผิด)
ผู้ใหญ่บ้านร่วมกับราษฎรคนอื่น ๆ เรียกร้องเอาเงินจากราษฎร อ้างว่าเป็นค่าธรรมเนียม
ผู้ใหญ่บ้านผิด
แต่ราษฎรที่เข้าร่วม ไม่ผิดตามกมนี้ เป็นแค่ผู้สนับสนุน
หญิงใดทำแท้ง ผิด
ถ้าชายดูต้นทางให้่
ก็ไม่ถือว่าเป็นตัวการ
ผู้ใดเอาสารเสพติดเข้าร่างกาย ถึงจะผิด
ถ้ามีคนช่วยฉีดให้ ก็ไม่ผิดฐานเป็นตัวการ
แต่เป็นแค่ผู้สนับสนุน
แบ่งหน้าที่กันกระทำผิด
สตาร์ทรถรอ
ดูต้นทาง
พาหลบหนี
ร่วม "ขณะ" กระทำความผิด
คือ พร้อมช่วยเหลือได้ทันที
ในระยะเวลาที่ลงมือ
ระยะเวลาลงมือกระทำ
ทั้งสำเร็จ หรือแค่ พยายาม
บางกรณี นับตอนเตรียมการด้วย เช่น วางเพลิง
บางกรณี ร่วมกันก่อน --> อาจไม่ใช่ตัวการ --> เป็นแค่ผู้สนับสนุน
(2/64) หนึ่งร่วมวางแผนกับสองและสาม ข่มขืน แต่เป็นแค่คนหลอกผู้หญิงมาส่งให้เฉย ๆ แล้วกลับเลย ไม่ได้อยู่ตอนที่ข่มขืน = เป็นแค่
ผู้สนับสนุน (ม.86) เพราะเป็นการช่วยเหลือก่อนการกระทำความผิด
(2/64) สี่ร่วมวางแผนกับสองและสาม ข่มขืน แต่ไม่ได้ทำเอง ช่วงเวลานั้น เป็นคนดูต้นทางให้ = ก็นับว่าเป็นตัวการ (ม.83) เหมือนคนที่ข่มขืน
เพราะอยู่ร่วมขระกระทำผิด ในลักษณะพร้อมที่จะช่วยเหลือได้
ต้องอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ ด้วย ถ้าโจทย์บอกว่า เข้าไปในป่า อยู่ห่าง 500 เมตร หรือ 1 km จะไม่นับว่าเป็น ตัวการแล้ว ให้กลายเป็นผู้สนับสนุน แม้จะสตาร์ทรถรอ
มีเจตนากระทำความผิดด้วยกัน
ทุกคนต้องรู้ถึง
การกระทำผิดของกันและกัน
ประสงค์ถือเอาการกระทำของแต่ละคน
เป็นการกระทำของตนเอง
มุ่งหมายให้ความผิดสำเร็จ
"ดุจทำเอง" (ถึงแม้มิได้ลงมือด้วยตัวเอง)
ต้องระวางโทษตามที่กมกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
ม.84 ผู้ใช้ :<3:
ว.1 ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดไม่ว่าด้วย
การใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วาน หรือ ยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด
ผู้นั้นเป็น "ผู้ใช้ให้กระทำความผิด"
มีการ "ก่อ" ให้ผู้อื่นกระทำผิด
ก่อโดยตรง หรือ โดยอ้อม เช่น
ใช้ --> สั่งการ
บังคับ --> อำนาจ --> ไม่สมัครใจ
ขู่เข็ญ --> ทำให้กลัว
จ้าง --> จ่ายค่าตอบแทน
วาน --> ขอร้อง
ยุยงส่งเสริม --> สนับสนุน
วิธีอื่นใด --> ท้าทาย
(S/63) เตารีดไอน้ำ จ้าง หม้อทอดไร้น้ำมันไปฆ่า พัดลมไอเย็น
แต่พัดลมไอเย็นรู้ตัวก่อน ชี้ไปที่เครื่องซักผ้าฝาบน หลอกหม้อทอดว่าเป็นตนเอง
หม้อทอดยิงเครื่องซักผ้าตาย
พัดลมไอเย็น ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดด้วย "วิธีอื่นใด" = เป็นผู้ใช้ ตามม.84
และเมื่อผู้ถูกใช้กระทำความผิดลงแล้ว พัดลมไอเย็นจะรับโทษเสมือนตัวการทันที ตามม.84(3)
จะอ้างกระทำโดยความจำเป็น ม.67 (2) ก็ไม่ได้
เพราะสามารถเลี่ยงโดยวิธีอื่นได้
ส่วนเตารีดไอน้ำ เป็นผู้ใช้ ตรงไปตรงมา
ตาม ม. 289(4), 84 (3), 87 ด้วย
87 ไม่ได้สอน แต่คือ ถ้าผู้ถูกใช้ กระทำเกินขอบเขตที่ใช้
บังคับ ขู่เข็ญ = ให้ไปทำร้ายอีกคน ไม่งั้นจะยิง / ใครขวางชนเลย
โดยอ้อม เช่น ยั่วให้โกรธ / ท้าทายว่า ไม่กล้าทำหรอก / หลอกว่า ภรรยามีชู้ /หลอกว่าถูกข่มเหงรังแก /ช่วยสั่งสอนให้หน่อย
ข้อสังเกต เพิ่ม
ถ้าผู้อื่นมีเจตนาจะกระทำผิดอยู่ก่อนแล้ว
ไม่ถือว่าเป็นการ "ก่อ"
อาจจะเป็นแค่ผู้สนับสนุน
ถ้า ก ต้องการ(ฆ่า ดำ อยู่แล้ว แต่ ข. มาจ้าง ก.ให้ฆ่าดำพอดี กเห็นเป็นโอกาส จึงตกลงรับจ้าง --> แบบนี้ ข. ไม่ใช่ผู้ก่อ แต่เป็นแค่ผู้สนับสนุนเฉย ๆ
ข. เห็น ก. กำลังตีนายดำอยู่แล้ว นายข. เลย ตะโกนบอกว่า ตีเลยเอาให้ตาย สุดท้าย ก.ก็ตีจนนายดำตาย แต่แบบนี้ ข. ก็ไม่ใช่ผู้ใช้ เพราะ ก.มีเจตนาอยู่ก่อนแล้ว
ข้อสอบเก่า: ก.ได้ยินวัยรุ่น กำลังจะไปปล้นบ้านหลังหนึ่ง ก.รู้ว่าบ้านหลังนั้น มีพระสมเด็จ เลยบอกว่า ถ้าเจอพระให้เอามาขายตนนะ แบบนี้ ก. ก็ไม่ใช่ตัวการ
การก่อ คือ ก่อนให้คนอื่น ที่ไม่มีเจตนาทำผิด มามีเจตนาทำผิด
กรณีใช้ต่อ ๆ กันเป็นทอด ๆ
ก. จ้าง ข. ให้ไปหามือปืน มาฆ่า ค.
ถ้า ข. ยังไม่ทันหามือปืน เช่น เอาเงินไปหายซะก่อน แบบนี้ ทั้งก. และ ข. ยังไม่เป็นผู้ใช้ เพราะอยู่แค่ขั้นตระเตรียมการ ห่างไกลต่อผลมาก
หากข. จ้างมือปืนแล้ว ยังไม่ได้กระทำการ ก็ถือว่าเป็นผู้ใช้แล้ว ต้องรับผิด 1 ใน 3
(เป็นกม เอาไว้ขู่ ไม่ให้คนไปก่อ)
โดยที่มือปืน ยังไม่ผิด ถ้าไม่ได้กระทำ
มี "เจตนา" ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิด
ประสงค์ต่อผล
ก. จ้าง ข. ฆ่า ค.
เล็งเห็นผล
(พูดเล็งเห็นว่า จะต้องมีคนทำผิดแน่ ๆ)
บอกให้ช่วยสั่งสอนหน่อย
ต้องมีผล
คือมีความผิดได้กระทำลง
ต้องมีกระทำโดยเจตนา
ถ้า ก. จ้าง ข. ไปฆ่านายดำ แต่ระหว่างทาง ข. ประมาทขับรถแหกโค้ง ชนนายดำ พอดี แบบนี้ ก. ไม่ต้องรับโทษเสมือนตัวการ
เพราะข. ไม่ได้มีเจตนาฆ่า แต่เป็นประมาททำให้คนอื่นตาย
ก. จ้าง ข. แต่ ข. ตายก่อน / เปลี่ยนใจ / เอาตังค์มาคืน ไม่ได้กระทำ
ก. ก็ยังผิด 1 ใน 3 (จ้างเมื่อไหร่ ผิดเมื่อนั้น)
กรณี Innocent Agent
ไม่นับเป็นผู้ถูกใช้
ผู้กระทำที่ใช้บุคคลอื่นเป็นเครื่องมือ
ผู้ถูกใช้ไม่มีเจตนากระทำด้วย
คือ ต้องไม่รู้ข้อเท็จจริง
เช่น หลอกนางพยาบาลว่ายาพิษเป็นยาบำรุง
แล้วให้พยาบาลเอาไปให้คนไข้กิน --> คนไข้ตาย
ผู้ถูกใช้ไม่รู้ข้อเท็จจริง อันเป็น
องค์ประกอบความผิด
คนที่หลอก ถือว่าเป็น
ผู้กระทำผิดโดยอ้อม
เอง
ไม่ได้เป็นผู้ใช้
ดำต้องการลักใบยาสูบ จากไร่นายเอก ไปจ้างขาวและเขียว ตัดใบยาสูบ โดยที่หลอกสองคนนี้ว่าเป็นไร่ของดำเอง
ผู้ถูกใช้ ไม่มีเจตนากระทำผิด
นายดำ เป็นผู้กระทำผิดโดยอ้อมเอง
ใช้ ดญ. ป. ไปรับยาเสพติดให้แทน
คนใช้ เป็นผู้ครอบครองเอง ไม่ได้เป็นผู้ใช้
ก. หลอกตำรวจว่า ดำเป็นผู้ร้าย ตำรวจเชื่อ เลยจับดำไป
แบบนี้ ก. ไม่ใช่ผู้ก่อ เพราะตำรวจไม่มีเจตนา และการกระทำของตำรวจ ไม่เป็นความผิด
ก. ผิดฐานแจ้งความเท็จไป
ถ้าผู้ถูกใช้ ไม่มีคุณสมบัติ
เช่น จากม.161 เจ้าพนักงานปลอมเอกสาร
แดง ซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน ใช้ให้ดำที่เป็นนักเรียน ปลอมเอกสาร
ดำไม่ผิด ม.161 เพราะไม่ใช่เจ้าหน้าที่
แต่เป็นผู้สนับสนุนแทน
แดง ไม่ใช่ผู้ใช้ แต่เป็นตัวการเลย
ภรรยานักการเมือง ยุยงให้สามีรับสินบน /
ภรรยายุสามีตำรวจ เอาปืนหลวงไปจำนำ
ภรรยาไม่ต้องรับโทษ เหมือนตัวการ เพราะไม่ได้เป็นเจ้าพนักงาน
เป็นแค่ผู้สนับสนุน
การกระทำของผู้ถูกใช้ มีความผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ
(เพราะกม ถือว่าเป็นเหตุส่วนตัว)
ใช้เด็กไปลักทรัพย์
ใช้สามีไปลักทรัพย์ภรรยา
ยุลูกไปลักทรัพย์บิดา
ถ้า ก. จ้าง ข. ยิงนายดำ แต่ตอนขณะยิง ก. รับอาสาดูตนทาง หรือชี้ตัวให้ --> ก.ไม่ใช่ ผู้ใช้ละ กลายเป็นตัวการแทน (ความผิดเกิดกลืนกัน?)
ก. มายืมปืน ข. จะไปฆ่านายดำ
แต่ ข. จะอาสาเป็นคนชี้เป้าให้ ข. จากเดิมเป็นผู้สนับสนุน ก็กลายเป็นตัวการแทน
สรุปความผิดเกิดกลืนกันได้ ให้ตอบอย่างเดียว ว่าเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน
โทษของผู้ใช้
ว.2 ถ้าความผิดมิได้กระทำลง
ไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้ถูกใช้ไม่ยอมกระทำ
ยังไม่ได้กระทำ หรือ เหตุอื่นใด
ผู้ใช้ต้องระวางโทษเพียงหนึ่งในสาม
ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
ผู้ถูกใช้ไม่ยอมกระทำ
ไม่ยอมทำตั้งแต่ต้น
ยอมรับจะทำแต่เปลี่ยนใจภายหลัง
ผู้ถูกใช้ยังไม่ได้กระทำ
(ยอมรับว่าจะทำ แต่)
กำลังเตรียมตัวอยู่
อยู่ระหว่างเดินทางจะไปกระทำ
ความผิดมิได้กระทำเพราะเหตุอื่น
ถูกจับเสียก่อน
ผู้ใช้เปลี่ยนใจ
ผู้ใช้ ระวางโทษ หนึ่งในสาม ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
ว.3 ถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดนัั้น
ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ
ผู้ถูกใช้ไปกระทำความผิด ม.84 ว.3
ผู้ใช้ รับโทษเสมือนตัวการ (ผู้ถูกใช้)
ผู้ใช้กับผู้ถูกใช้ โทษเท่ากัน
และถ้าผู้ถูกใช้ เป็นบุคคลอายุไม่เกิน 18 ปี / ผู้พิการ ผู้ทุพพลภาพ / ลูกจ้างหรือผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ใช้ / ผู้ที่มีฐานะยากจน / หรือผู้ต้องพึ่งพาผู้ใช้เพราะเหตุเจ็บป่วยหรือไม่ว่าทางใด
ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้ใช้
กึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับผู้นั้น
ม.86 ผู้สนับสนุน :<3:
ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ
อันเป็นการช่วยเหลือ หรือ ให้ความสะดวก
ในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด
"ก่อนหรือขณะ" กระทำความผิด
แม้ผู้กระทำความผิด จะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม
"ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด"
มีการกระทำความผิด
ผู้สนับสนุนมีเจตนาช่วยเหลือ
ให้ความสะดวก
ตระเตรียมการ (บางฐานความผิด)
เช่น 219 วางเพลิง
ลงมือกระทำความผิด
สำเร็จ
พยายาม ก็ได้
ก. ยืมปืน ข. แต่พอถึงเวลาไม่ได้ฆ่า นายดำ เอาปืนมาคืน ข. ก่อน หรือ ตำรวจริบปืนก่อน ข้อหาไม่มีใบอนุญาตพกปืน
แบบนี้ ข ก็ยังไม่เป็นผู้สนับสนุน ต้องมีการกระทำเกิดขึ้นก่อน
ถ้าการกระทำนั้น ไม่ได้เป็นความผิดตั้งแต่แรก
ก. ต้องการฆ่าตัวตาย เลยยืมปืน ข. ต่อให้ยิงตาย ข ก็ไม่ผิดฐานสนับสนุน เพราะไม่มีกม. บัญญัติว่าฆ่าตัวตายเป็นความผิด
เปิดประตูหน้าต่าง เพื่ออยากให้โจรเข้ามาลักทรัพย์ แต่ไม่มีโจรมาเลย
แบบนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นผู้สนับสนุน
การกระทำช่วยเหลือ / ให้ความสะดวก เช่น
เปิดหน้าต่างทิ้งไว้ให้ โจรเข้าบ้าน
บอกทางหนีที่ไล่
ให้ยืมปืน, รถ ติดต่อเช่ารถให้ / ช่วยติดต่อรถแทรกเตอร์ เพื่อบุกรุกป่าสงวน
ให้สถานที่เตรียมตัวทำผิด, เอาสุนัขดุไปผูกที่อื่น
อาสาขี่ MC ไปหลอกสาว พามาส่งให้เพื่อนข่มขืน
แล้วขี่รถกลับเลย (2/64)
ตัดหลอดกาแฟ เพื่อเตรียมบรรจุ สารเสพติด
สนับสนุนเป็นทอด ๆ เช่น ก. ฝากปืน ให้ ข. ให้ ค. เพื่อให้มือปืนต่อ
สนับสนุนด้วยคำพูด เช่น ตีให้ตายเลย โดยที่เขาตีกันก่อนหน้าเราบอกอยู่แล้ว (เราไม่ใช่ตัวการ)
สนับสนุนเร้าใจ ให้ทำผิดหนักแน่นมากขึ้น
ให้คำแนะนำ ปรึกษา (จ้างมือคนไหนดี วาดรูปแผนที่บริษัทให้)
การช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวก
ก่อน หรือ ขณะ กระทำผิด
(1/64) ประชา วางแผนกับสมเดช เพื่อจะฆ่าชุมพร โดยประชาจะเป็นคนขับรถไปหลอกชุมพรออกจากบ้าน แต่พอไปถึงบ้าน สมเดชดันฆ่าชุมพรตายก่อน
ประชา ไม่ใช่ตัวการ ตามม.83 เพราะตอนยิง ประชาไม่ได้เข้าร่วมกระทำผิด
แต่ประชาผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน ตามม. 86 อยู่ดี เพราะถือว่่าได้ร่วมวางแผนมาแล้วตั้งแต่ต้น ถือว่าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำความผิดแล้ว
(2/64) หนึ่งร่วมวางแผนกับสองและสาม ข่มขืน แต่เป็นแค่คนหลอกผู้หญิงมาส่งให้เฉย ๆ แล้วกลับเลย ไม่ได้อยู่ตอนที่ข่มขืน = เป็นแค่
ผู้สนับสนุน (ม.86) เพราะเป็นการช่วยเหลือก่อนการกระทำความผิด
ถ้าหลัง --> จะไม่เป็นผู้สนับสนุน
ก. ขับรถยนต์กลับบ้าน เจอ ข. เพิ่งขโมยของมาพอดี เลยรับข. กลับบ้านด้วย
ก. ไม่ได้เป็นผู้สนับสนุน แต่ผิดรับของโจร เลย
ก. ขโมยวัวจากคอกของ ข. บังเอิญเจอค. เลยขอค. ช่วยต้อนวัวกลับบ้านให้หน่อย
ค. ไม่ใช่ผู้สนับสนุน แต่ผิดรับของโจรเหมือนกัน
น. ฟันผู้ตายแล้วหนี ผู้เสียหายเข้าไปประคองร่าง แต่จำเลยเอามีดมาฟันผู้เสียหาย ไม่ให้เอาร่างผู้ตายไปรพ.
ไม่ใช้ความช่วยเหลือก่อนหรือขณะที่ น. ฆ่าคนตาย จำเลยไม่ผิดฐานสนับสนุน น. ฆ่าคนตาย
หก ช่วย หนึ่งที่ปล้นปืนมาหลายวันแล้ว เอาไปขาย
หก ไม่ใช่ผู้สนับสนุน แต่ผิดฐานรับของโจร
ผู้กระทำผิด จะรู้หรือไม่รู้ ถึงการช่วยเหลือก็ตาม
(1/64) อรสาแอบได้ยินว่า สมเดชวางแผนจะฆ่าชุมพร
แต่รู้ว่าสมเดชยังไม่มีปืน เลยฝากปืนผ่านวัลลภ เอาไปให้สมเดช โดยที่สมเดชไม่รู้มาก่อนว่าเป็นปืนของอรสา
อรสาก็ผิดทางอาญา ฐานเป็นผู้สนับสนุน ม.86 อยู่ดี
ข. รู้ว่าดำ แอบซุ่มยิงโก๋อยู่
ข.จึงหลอกให้โก๋ เดินไปตามที่ดำแอบซุ่มอยู่ โดยที่ดำไม่รู้ว่า ข. แอบช่วยเหลือ
แตกต่างจากตัวการร่วมคือ
ตัวการร่วม --> ทุกคนประสงค์ การกระทำของแต่ละคน เป็นการกระทำของตนเอง
แต่ผู้สนับสนุน --> แค่ช่วยเหลือ ให้ความสะดวก
ผู้สนับสนุนต้องกระทำโดยเจตนา
นาย ก. มายืมปืน ข.
ข. ต้องรู้ว่า ก. จะเอาปืนไปฆ่าคน ถึงจะผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน
ข้อสอบเก่า: โก๋ เห็นนายดำคู่อริเดินมา บอกให้นางกี๋ภรรยา เอาปืนในห้องมา เพื่อจะฆ่านายดำ แต่นางกี๋ไม่อยากให้โก๋ฆ่านายดำ แต่ก็กลัวโก๋จะทำร้ายเลยเอาลูกกระสุนปืนออก นายโก๋เลยยิงนายดำไม่ตาย
โก๋ = พยายามฆ่า ที่ไม่สามารถบรรลุผลได้แน่แท้ (ม.81)
กี๋ = ไม่มีเจตนา = ไม่ผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน
ก. กับ ข. จะฆ่านายดำ โดยให้ข. ไปเรียกดำที่ประตูบ้าน
แจ๋วออกมาเปิดประตู ข. ขอให้แจ๋วไปตามดำออกมา โดยที่แจ๋วไม่รู้ว่า ก. กับ ข. จะฆ่านายดำ พอดำออกมา โดนก.ยิงตาย
ก. กับ ข. ก็เป็นตัวการ แบ่งหน้าที่กัน
แจ๋ว ไม่มีเจตนา ไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน
ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษ
ที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่สนับสนุนนั้น
อ.กุลทิตา ชอบถามมาตราท้าย ๆ
ม.288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 15-20 ปี
ม. 289 ผู้ใดฆ่า
""""
ต้องระวางโทษประหารชีวิต
(1) บุพการี
(2) เจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่
หรือเพราะเหตุที่จะกระทำ หรือได้กระทำการตามหน้าที่
(3) ผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน
(4) ผู้อื่นโดยไต่ตรองไว้ก่อน
(S/63) นีเวีย จะฆ่าวาสลีน โดยการใส่ยาเบื่อหนู ในน้ำดื่ม
แต่ไม่ทันได้ดื่ม
ถือว่าผิดฐาน พยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ม.289(40), 80, 59
(5) ผู้อื่น โดยทรมารหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย
(ุ6)
(7)