Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Acute ischemic Stroke - Coggle Diagram
Acute ischemic Stroke
Patient Profile :
-
-
-
PI : ญาติให้ประวัติ 1 วันก่อนมารพ. ผู้ป่วยตื่นนอนมีอาการอ่อนแรงซีกขวา ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด เป็นขึ้นมาทันที เดินไม่ได้ต้องเกาะ ไม่มีปวดศีรษะ last seen normal 28/8/65 เวลา 2000 น. ญาตินำส่งรพ. แรกรับที่ ER T 36.2, PR 62/min, RR 20/min, BP 155/99 mmHg, O2 sat 99% E4V5M6 motor power ซีกขวา gr.3 ซีกซ้าย gr.5 ปากเบี้ยวพูดไม่ชัด CT brain : hypodensity lesion at Lt. basal ganglia แพทย์พิจารณาให้ ASA 300 mg 1 tab stat ให้ 0.9% NSS IV rate 80 cc/hr และ admit เพื่อติดตามอาการ
U/D :U/D : DM, HT, DLP,HIV
Diagnosis
พยาธิสภาพของโรค
โรคหลอดเลือดสมองเกิกจากการขาดเลือด (ischemic stroke) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือเกิดการตีบตันของหลอดเลือดขนาดใหญ่และหลอดเลือดขนาดเล็กในสมอง และเกิดจากการอุดตันของลิ่มเลือดที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือด
- การตีบตันของหลอดเลือดในสมอง ส่วนใหญ่มักจะสัมพันธ์กับภาวะหลอดเลือดแข็งตัว (atherosclerosis) และความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นเวลานาน โดยภาวะหลอดเลือดแข็งตัวจะทำให้รูของหลอดเลือดแดงในสมองมีขนานเล็กลง จนเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้อย่างเพียงพอ การตีบตันของหลอดเลือดสมองสามารถเกิดขึ้นได้ทุกแห่งของหลอดเลือดสมอง โดยจะพบมากบริเวณหลอดเลือดแดงส่วนกลาง (middle cerebral arteries)
- การอุดตันของหลอดเลือดสมองที่เกิดจากลิ่มเลือดที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือด ต้นกำเนิดลิ่มเลือดมักเกิดจากหัวใจ ภาวะโรคหัวใจที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดในกระแสเลือด ได้แก่ ภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว (atrial fibrillation) โรคลิ้นหัวใจ (vulvular heart disease) หรือจากการใส่ลิ้นหัวใจเทียม และภายหลังการผ่าตัดหัวใจ นอกจากนี้ยักเลิดจากการอุดตันของหลอดเลือดสมองที่เกิดจากสิ่งอุดกั้นอื่นๆ ที่ลอบในกระแสเลือด เช่น ฟองอากาศ ชิ้นส่วนของไขมันที่เกิดภายหลังจากการได้รับบาดเจ็บ หรือกระดูกหัก
-
-
ปัญหา
-
2. Risk for fall
ข้อมูลสนับสนุน
motor power Rt. gr. 3 ทั้งแขน-ขา, Lt. gr. 5 ทั้งแขน-ขา
-
-
การแก้ไข/ป้องกัน
- แนะนำให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันบนเตียง (Bed rest)
- ประเมินความเสี่ยงในการเกิดพลัดตกหกล้มทุกเวร
- จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้ป่วยได้พักผ่อน
- ปรับเตียงระดับต่ำที่สุดและล็อคล้อเตียงเพื่อป้องกันการเลื่อนตำแหน่ง
- ยกไม้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้งหลังให้การพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
- จัดแก้วน้ำ เครื่องใช้ต่างๆที่จำเป็นและผู้ป่วยใช้บ่อยไว้ด้านซ้ายของเตียงผู้ป่วย
- ช่วยเหลือกิจกรรมที่จำเป็นตามความเหมาะสม
3. Viral precaution
-
-
การแก้ไข/ป้องกัน
- ให้การพยาบาลโดยยึดหลัก Standard precautions
ในการให้การพยาบาลที่มีการสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลทุกครั้ง เช่น ถุงมือ หน้ากากอนามัย face shield เป็นต้น
-
- ส่งเวร เกี่ยวกับการติดเชื้อของผู้ป่วยเพื่อให้พยาบาลและทีม รวมทั้งพนักงานทำความสะอาด ระมัดระวังในการสัมผัสผู้ป่วยเพื่อลดการแพร่กระจายเชื่อ
4. Anxiety
-
-
การแก้ไข/ป้องกัน
- สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความไว้วางใจในการบอกข้อมูลต่างๆ
- ประเมินความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งผู้ป่วยและญาติ
- อธิบายเหตุผลของการพยาบาลทุกครั้งที่ให้การพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุผลของการพยาบาล
- อธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงพยาธิสภาพของโรค แนวทางการรักษาของแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความจำเป็นของการรักษา
- เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติ มีส่วนร่วมตัดสินใจในการรักษา เพื่อช่วยลดความวิตกกังวล
- พูดคุยให้กำลังใจ พร้อมทั้งแจ้งความก้าวหน้าการรักษาเป็นระยะเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดกำลังใจในการรับการรักษา
- ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล พูดจาไพเราะ และเคารพในความเป็นบุคคลของผู้ป่วย
- แนะนำให้ผู้ป่วยและญาติพูดคุยและซักถามในสิ่งที่สงสัยกับแพทย์เจ้าของไข้หรือพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจกลไกการเกิดโรค และสามารถปฏิบัติตนเองได้อย่างเหมาะสม
5. Discharge planning
ข้อมูลสนับสนุน
อาการผู้ป่วยก่อนจำหน่าย ตื่นรู้สึกตัวดี ไม่สับสน ถามตอบรู้เรื่อง E4V5M6 motor power Rt. gr. 1 ทั้งแขน-ขา, Lt. gr. 5 ทั้งแขน-ขา ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด
ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเป็น DM, HT, DLP, HIV
-
การแก้ไข/ป้องกัน
วางแผนจำหน่ายผู้ป่วยร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพในการให้ความรู้และฝึกทักษะที่จำเป็นแก่ผู้ป่วย ครอบครัวและผู้ดูแลก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลให้ครอบคลุม ตามหลัก D-M-E-T-H-O-D
D = Diagnosis ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค สาเหตุ อาการ การป้องกัน การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องกับผู้ป่วยและญาติ ดังนี้
ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง การดูแลตนเอง สัญญาณอันตราย (FAST) ที่ต้องมาพบแพทย์ และการป้องกันการกลับเป็นซ้ำโดยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เป็นต้น
ฝึกทักษะในการปฏิบัติตนเมื่อกลับบ้าน การรับประทานยา และ อาการข้างเคียงของยาการฟื้นฟูสภาพ การทำกายภาพบำบัด เป็นต้น โดยให้ภรรยาของผู้ป่วยช่วยเหลือในการทำกายภาพบำบัด การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การเตรียมอาหาร ยาและสุขวิทยาส่วนบุคคลให้กับผู้ป่วย
-
M = Medicine
แนะนำการรับประทานยาตามแผนการรักษาของแพทย์ ซึ่งผู้ป่วยต้องรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Aspirin) เพิ่มจากยาที่ผู้ป่วยรับประทานเดิม อธิบายผลข้างเคียงจากการรับประทานต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร จึงควรรับประทานหลังอาหารทันที และเลือดออกผิดปกติ เป็นต้น
แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาเบาหวานและไขมันในเลือดสม่ำเสมอ เนื่องจากโรคเบาหวานและไขมันในเลือดสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงในการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองได้
แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาต้าน HIV สม่ำเสมอ โดยผู้ป่วยสามารถรับยาต้าน HIV ได้จากศูนย์สาธารณสุข 26 เหมือนเดิม
E = Environment การปรับสภาพบ้าน และสิ่งแวดล้อม เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ในการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน
-
-
D = Diet
แนะนำเรื่องการรับประทานอาหาร การควบคุมระดับน้ำตาล งดอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน น้ำหวาน น้ำอัดลม อาหารทอด อาหารมัน ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ลำไย ทุเรียน
เน้นการรับประทานผัก เนื่องจากให้สารอาหารที่มีน้ำตาลน้อยและมีเส้นใยสูง ช่วยขัดขวางการดูดซึมของน้ำตาลและไขมัน
การรักษา :
การรักษาด้วยยา
ยาลดความดันโลหิต ผู้ป่วยบางรายต้องใช้ยาลดความดันโลหิตร่วมด้วยเพื่อป้องกันภาวะเลือดออกในสมองในระยะยาว
ยาลดไขมันในเลือด หากระดับไขมันในเลือดสูงผู้ป่วยจะต้องใช้ยาลดไขมันในเลือดเพื่อป้องกันไขมันสะสมกลายเป็นคราบพลัคเกาะที่ผนังหลอดเลือด
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด โดยเฉพาะผู้ที่มีอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ มีอาการใจสั่น และผู้ที่มีลิ่มเลือดที่ขา หรือผู้ที่เคยมีประวัติการเกิดลิ่มเลือด อาจต้องใช้ยาชนิดอิ่นๆ เพื่อป้องกันการก่อตัวของลิ่มเลือดในอนาคต
ยาต้านเกร็ดเลือด เป็ฯยาที่ช่วยป้องกันการก่อตัวของเกล็ดเลือด ทำให้การอุดตันลดลง ยาในกลุ่มนี้ที่นิยมใ้ ได้แก่ แอสไพริน
ยาละลายลิ่มเลือด เพื่อกำจัดลิ่มเลือดที่อุดตันอยู่ ซึ่งจะทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกมากขึ้น หากผู้ป่วยถูกนำตัวส่งรพ.ภายใน 4.5 ชม. และไม่มีความเสี่ยงเลือดออกในสมอง
การผ่าตัดรักษา
การผ่าตัดเปิดหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (Carotid endarterectomy) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะหลอดเลือดตีบอย่างรุนแรง
-