Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Digestive System II : Accessory gland - Coggle Diagram
Digestive System II : Accessory gland
Salivary glands
น้ำลาย มีการสร้าง 2 แบบ
1.Continuous ( สร้างออกมาอย่างต่อเนื่อง )
2.Intermittently ( สร้างน้ำลายออกมาไม่ตลอด ไม่ต่อเนื่อง จะออกมาก็ต่อเมื่อมีเหตุการณ์เฉพาะ )
หน้าที่
สร้างน้ำลาย ทำให้ช่องปากไม่แห้งและหล่อลื่นช่องปาก
ช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรต
ในน้ำลายมีความเข้มข้น
ของ bicarbonate สูง
ทำให้เวลาฟันขึ้นใหม่ๆ จะมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสมาปกป้องไม่ให้ผุหรือถูกทำลายไป
เมื่อฟันเริ่มผุแล้ว bicarbonateจะช่วยซ่อมแซ่ม/ชะลอการผุของฟันได้
มี 2 กลุ่ม
minor salivary gland
หลั่งน้ำลายออกมาตลอดเวลา
ส่วนใหญ่เป็น mucous gland : ริมฝีปาก , เพดาน,กระพุ้งแก้ม และลิ้น
Major salivary gland
หลั่งน้ำลายออกมาไม่ตลอด ไม่ต่อเนื่อง
มี capsule แทรกเข้าไปในต่อม ทำให้ต่อมแบ่งออกเป็น lobule
มี 3 ต่อม
Parotid glands
มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดา major salivary gland
pure serous ( มี serous cell เป็นส่วนใหญ่ )
มีลักษณะเป็น triangle ( เป็น 3 เหลี่ยม), lobulated ( เป็นกระเปาะ/ ก้อนๆ)
อยู่ทางด้านหน้ากกหู
Secretory granules ใน serous cell มี amylase อยู่มาก
เนื้อเยื่อเกี่ยวพันของต่อมมี plasma cell อยู่มาก ทำหน้าที่สร้าง IgA (สร้าง immunoglobulin)
Submandibular glands
มี serous demilune ล้อมรอบ mucous tubule (cell ใน serous demilune สร้าง lysozyme)
Seromucous ( มีทั้ง serous cell และ mucous cell)
มีขนาดคล้ายถั่ว walnut
อยู่บริเวณ posterior border of mylohyoid muscle
Sublingual glands
ส่วนที่เป็น serous มักปรากฎเป็น serous demilune
เป็นต่อมที่เล็กที่สุดใน Salivary gland
เป็น seromucous ( มี mucous มากกว่า serous )
มีลักษณะคล้าย almond
พบบริเวณใต้ลิ้น
Secretory cell
มี 2 ประเภท
Serous cells
เป็น protein-secreting cells
สร้าง secretion แล้วเก็บไว้ใน zymogen granule ซึ่งอยู่ที่ cytoplasm ตอนบนของ cell
Organelle ส่วนใหญ่ (มี rER และ free ribosome เยอะ)
จึงทำให้เซลล์ติดสีม่วง
nucleus มีขนาดใหญ่ อยู่ที่ฐานของ cell
ตรงกลางมี lumen แต่มองไม่เห็น
Myoepithelial cell
ช่วยขับหรือบีบน้ำลายออกมาจากกระเปาะเพื่อส่งไปตามท่อ
Mucous cells
เป็น mucous-secreting cells
สร้าง mucus เก็บสะสมใน mucinogen granule ซึ่งอยู่ที่ cytoplasm ตอนบนของ cell
nucleus แบนติดฐานเซลล์
ตรงกลางมี lumen แต่มองไม่เห็น
Serous demilune
มีลักษณะเป็นรูปเสี้ยวพระจันทร์ หรือครัวซองท์
พบในต่อมน้ำลาย submandibular และ sublingual gland
Serous cells เหล่านี้สร้าง lysozyme
lysozyme มีฤทธิ์ทำลาย cell wall ของ bacteria จึงทำให้น้ำลายมีคุณสมบัติในการทำลาย bacteria ได้
คลุมตอนปลายของ mucous tubule
ท่อลำเลียงน้ำลายของ major salivary gland
Secretory portion
เป็นบริเวณที่ทำหน้าที่สร้างน้ำลายแล้วปล่อยออกมาสู่ท่อ
Intercalated duct
ท่อที่มีขนาดเล็กที่สุด
บุด้วย Simple cuboidal epithelium
อยู่ใน lobule
Striated duct
มีหน้าที่ในการขับน้ำลายทำให้มี mitochondria สูง
บุด้วย simple cuboidal epithelium
อยู่ใน lobule
nucleus กลมใหญ่ มีลายอยู่ที่ฐานของ cell
Interlobular duct
มี CNT ล้อมรอบต่อม
บุด้วย stratified columnar epithelium
Pancreas Histology
Pancreas
เป็น exocrine gland (สร้างน้ำย่อย) และ endocrine gland (สร้าง hormones)
มี capsule (Dens CNT) หุ้มรอบตับอ่อน เนื้อเยื่อเกี่ยวพันจาก capsule ยื่นแทรกเข้าไป ทำให้แบ่งต่อมเป็น lobule ได้
Exocrine gland
เป็นส่วนที่สร้างน้ำย่อย
ประกอบด้วย
pancreatic acinar cell
ที่ส่วนบนของ cell พบ zymogen granule ติดสีชมพู ภายใน granule บรรจุ enzymes
เป็น protein-secreting cell
เซลล์เรียงตัวเป็นวงกลมใน lumen ของ acini
ท่อลำเลียง
ท่อลำเลียงน้ำย่อย หลั่งของเหลวที่มี bicarbonate ion สูง เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวท่อ
intercalated duct (ต่อมาจากส่วนที่สร้างน้ำย่อย)
intralobular duct (ไม่มีลายที่ฐานของcell)
interlobular duct (อยู่ระหว่าง lobule)
pancreatic duct (เป็นท่อที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า)
Endocrine gland
สร้าง Hormones มีลักษณะเป็นกลุ่ม บริเวณนั่นติดสีจาง เรียกว่า Islets of Langerhans
Liver
สารอาหารที่ถูกดูดซึมจากลำไส้จะถูกเปลี่ยนแปลง และถูกเก็บสะสมไว้ที่ตับในรูป glycogen หรือ triglyceride
ที่ขั้วตับ (portal hepatis)
Hepatic portal vein (นำเลือดเข้าตับ)
มีออกซิเจนน้อย สารอาหารมาก(ส่วนใหญ่มี glucose อยู่เยอะ)
hepatic portal vein นำเลือดออกจากกระเพาะอาหาร,ลำไส้,ตับอ่อน,ถุงน้ำดี,ม้าม
Hepatic artery (นำเลือดเข้าตับ)
มีออกซิเจนมาก มีสารอาหารน้อย
hepatic duct ( นำน้ำดีออกจากตับ)
Lymph vessel ( นำน้ำเหลืองออกจากตับ)
การแบ่งเนื้อตับ (liver parenchyma)
Hepatic (liver) lobule
( แบ่งตามการไหลของเลือด)
ตรงกลาง lobule มี central vein ขอบ lobule บางจุดมี portal space พบ portal triad
Portal triad
hepatic artery
Portal vein
Bile duct
ใน hepatic lobule มีแถวของ cell ตับ เรียก hepatic cord
Hepatic cord ที่อยู่ชิดกัน ถูกแยกด้วย sinusoid ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนสารระหว่างเลือดกับเซลล์ตับ
Kupffer cells
เป็น macrophage ที่อยู่ในตับ เกาะที่ผนังด้านในของ sinusoid
หน้าที่
ทำลาย cell เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุ และย่อย Hb
ทำลายเชื้อโรคที่อยู่ในเลือดใน sinusoid
เกี่ยวข้องกับภูมิต้านทานของตับ
Portal lobule
(แบ่งตามการไหลของน้ำดี)
รูปร่างเป็น Triangular ตรงกลางมี portal triad
Hepatocytes
(Cell ตับ)
มี mitochondria มาก
rER สร้างโปรตีนหลายชนิด
sER
กำจัดสารพิษต่างๆ
สร้างน้ำดี
สร้าง cholesterol
สร้าง glycogen
cell ตับสามารถแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนได้ ทำให้ตับกลับมามีขนาดเท่าเดิมได้ภายหลังได้รับอันตรายทำให้ cell ตับตาย
Hepatic acinus (แบ่งตามความใกล้ไกลของบริเวณหลอดเลือด)
รูปร่างเป็นขนมเปียกปูน
แบ่งเนื้อตับออกเป็น zone I,II,III
ในภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ : cell ตับใน zone III ตายก่อน
มีสารพิษอยู่ในกระแสเลือด : cell ตับใน zone I ตายก่อน
Bile duct system
cell ตับสร้างน้ำดี (bile) แล้วเทลงสู่ท่อเหล่านี้
1.bile canaliculi
เป็นช่องว่างแทรกระหว่าง cell ตับ 2 cell ที่อยู่ติดกัน
2.bile ductule
hepatic duct อยู่ที่ขั้วตับ
bile duct อยู่ที่ portal space
Gallbladder
มีลักษณะเหมือนลูกแพร์
เก็บน้ำดี ทำให้น้ำดีเข้มข้นโดยการดูดซึมน้ำออกจากน้ำดี และขับน้ำดีเข้าสู่ทางเดินอาหารเมื่อจำเป็นต้องใช้
ชั้น mucosa
พบ Fold จำนวนมาก
บุด้วย Simple columnar epithelium
ไม่มี muscularis mucosae
ชั้นกล้ามเนื้อ
เป็นชั้นบางๆของ smooth muscle เรียงตัวไม่เป็นระเบียบ
ชั้น adventitia และ serosa
ผนังด้านที่อยู่ใต้ตับถูกคลุมด้วยชั้น adventitia
ผนังส่วนที่เหลือถูกคลุมด้วยชั้น serosa