Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 - Coggle Diagram
พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
หมวด 3 ระบบการศึกษา
มาตรา 15 การจัดการศึกษามี สามรูปแบบ คือการศึกษาในระบบ การศึกษานอก ระบบการศึกษาตามอัธยาศัย
มาตรา 16 การศึกษาในระบบ มีสองระดับ คือการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา
มาตรา 17 ให้ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปีโดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่ 7 เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่ 16
มาตรา 18 การจัการจัดการศึกษาประถมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานให้จัดในสถานศึกษาดังต่อไปนี้
(1)สถานพัฒนาเด็กประถมวัย
(2) โรงเรียน
(3)ศูนย์การเรียน
มาตรา 19 การจัการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้ฉันในมหาวิทยาลัยสถาบันวิทยาลัยหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น
มาตรา 20 การจัการจัดการอาชีวศึกษาการฝึกอบรมวิชาชีพให้จัดในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน
มาตรา 21 กระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐจัดการศึกษาเฉพาะทางตามความต้องการและความชำนาญของหน่วยงานนั้นได้โดยคำนึงถึงนโยบายแล้วมันจะฐานการศึกษาของชาติ
หมวด 8 ทรัทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
มาตรา 60 ให้รัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้กับการศึกษาในฐานะที่มีความสำคัญสูงสุดต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศโดยจัดสรรเป็นเงินงบประมาณเพื่อการศึกษาดังนี้
(1)จัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคลที่เหมาะสมแก่ผู้เรียน
(2) จัดสรรทุนการศึกษาในรูปแบบของกองทุนกู้ยืมให้แก่ผู้เรียนที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย
(3) จัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาอื่นเป็นพิเศษให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความจำเป็นสำหรับผู้เรียน
(4)จัดสรรงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินการและงบลงทุนให้สถานศึกษาของรัฐ
(5) จัดสรรงบประมาณในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป
(6)จัดสรรกองทุนกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำให้สถานศึกษาเอกชน
(7) จัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการศึกษาของรัฐและเอกชน
มาตรา 62 ให้มีระบบการตรวจสอบติดตามและประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการใช้จ่ายงบประมาณการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับหลักการศึกษา
มาตรา 59 ให้สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลมีอำนาจในการปกครองดูแลบำรุงรักษาใช้และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษาทั้งที่เป็นราชพัสดุ
มาตรา 61 ให้รัฐจัดสรรเงินอุดหนุนการศึกษาที่จัดโดยบุคคลครอบครัวองค์กรและสถาบันสังคมอื่นตามความเหมาะสมและจำเป็น
มาตรา 58 ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณการเงินและทรัพย์สินทั้งจากรัฐบุคคลครอบครัวชุมชนองค์กรชุมชนเอกชนและสถาบันสังคมอื่นและต่างประเทศมาใช้จัดการศึกษาดังนี้
(1)ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาโดยจัดเก็บภาษีเพื่อการศึกษาตามความเหมาะสม
(2)ให้บุคคล ครอบครัว ชุมชนองค์กรชุมชนและสถาบัน สถาบันสังคมอื่นระดมทุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา และมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและจำเป็น
หมวด 5 การบริหารและการจัดการศึกษา
ส่วนที่ 2 การบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มาตรา 41 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใดระดับหนึ่งหรือทุกระดับตามความพร้อมความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่น
มาตรา 42 ให้กระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ส่วนที่ 3 การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชน
มาตรา 43 การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชนให้มีความอิสระโดยมีการกำกับติดตามการประเมินคุณภาพการศึกษาจากรัฐ
มาตรา 44 ให้สถานศึกษาเอกชน ตามมาตรา18(2) เป็เป็นนิติบุคคลและมีคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วย
ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ผู้รับใบอนุญาต
ผู้แทนผู้ปกครอง
มาตรา 45ให้สถานศึกษาเอกชนจัดการศึกษาได้ทุกระดับและทุกประเภทการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด โดยรัฐต้องกำหนดนโยบายและมาตรการที่ชัดเจนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของเอกชนในด้านการศึกษา
มาตรา 46 รัฐต้องให้การสนับสนุนด้านเงินอุดหนุน
การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี และสิทธิประโยชน์อย่างอื่น
ส่วนที่1 การบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐ
มาตรา 31กระทรวงมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท
มาตรา 32 การจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวงให้มีองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคลในรูปสภาหรืหรือในรูปคณะกรรมการ ได้แก่ สภาการศึกษาและคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรา 32/1 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนและกำกับการอุดมศึกษา
มาตรา 32/2 การจัดระเบียบราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา 33 สภาการศึกษามีหน้าที่
(1)พิจารณาเสนอแผนการศึกษา
(2)พิจารณาเสนอนโยบาย
(3)พิจารณาเสนอนโยบายแผนในการสนับสนุน
(4)ดำเนินการประเมินผลการจัดการศึกษา
(5)ให้ความเห็นหรือคำแนะนำเกี่ยวกับกฎหมายและกฎกระทรวง
มาตรา 34 คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบายแผนพัฒนามาตรฐานและหลักสูตรเเกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรา 35 องค์ประกอบของคณะกรรมการตาม
มาตรา34 ประกอบด้วย กรรมการโดยตำแหน่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนองค์กรเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มาตรา 35/1ให้มีคณะกรรมการการอุดมศึกษามีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบายและมาตรฐานการอุดมศึกษาทีสอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
มาตรา 36ให้สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคลและอาจจะเป็นส่วนราชการเป็น
หน่วยงานในกำกับของรัฐ
มาตรา 37 ในกรณีที่เขตพื้นที่พื้นที่การศึกษาไม่อาจบริหารและจัดการได้ตามวรรคหนึ่งอาจจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้
(1) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคล
(2)การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในรูปแบบ
การศึกษานอกระบบ
(3) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ
(4) การจัดการศึกษาทางไกลและให้บริการในหลายพื้นที่การศึกษา
มาตรา 38ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาให้มีคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแล
มาตรา 39ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารเเละการจัดการศึกษา ทั้งด้าน วิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป
มาตรา 40 ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา เพื่อทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษา
หมวด 1 บททั่วไปความมุ่งหมายและหลักการ
มาตรา 6 การจัการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจสติปัญญาความรู้และคุณธรรม
มาตรา 7 ในอีในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา 8 การจัการจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
(1)เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
(2)ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(3)การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
มาตรา 9 การจัการจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
(1)มีเอกภาพด้านนโยบาย
(2)มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา
(3)มี มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา
(4)มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู
(5)ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆมาใช้เพื่อการศึกษา
(6)การมีส่วนร่วมของบุคคลครอบครัวชุมชนองค์กรชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอกชนองค์กรเอกชนและสถาบันสังคมอื่นอื่น
หมวด 7 ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา 54 ให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูโดยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งของหน่วยงานทางการศึกษาในระดับการศึกษาของรัฐ
มาตรา 55 ให้ให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนค่าตอบแทนสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่น
มาตรา 53 ให้มีองค์กรวิชาชีพครูผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษามีฐานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหารของสภาวิชาชีพ
มาตรา 52 ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบกระบวนการผลิตการพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพที่เหมาะสม
มาตรา 56 การผลิตและพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาการพัฒนามาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
มาตรา 57 ให้หน่วยงานทางการศึกษาระดมทรัพยากรบุคคลในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยนำประสบการณ์ความรู้ความรอบรู้ความชำนาญและภูมิปัญญาท้องถิ่นของบุคคล
มาตรา 51/1 คำว่าคณาจารย์ในหมวดนี้ให้หมายความว่าบุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับวิญญาณของของรัฐ
หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาแบบเรียนตำราหนังสือทางวิชาการสื่อสิ่งพิมพ์วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิ์ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
มาตรา 68 ให้มีการระดมทุนเพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐและผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการด้านสื่อสารมวลชนเทคโนโลยีสาระสนเทศ รวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการใช้เทคโนโลยี
มาตรา 69 รัฐจะต้องจัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบายแผนส่งเสริมและประสานการวิจัยรวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียงและการสื่อสารในรูปแบบอื่นเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบนอกระบบและตามอัธยาศัย
มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและการพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษารวมทั้งการติดตามการตรวจสอบและประเมินผลการใช้สอยเพื่อการศึกษาเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและเหมาะสม
มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรทางด้านผู้ผลิตและผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเพื่อให้มีความรู้ความสามารถและทักษะในการผลิตให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
มาตรา 10 การจัการจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิ์ทิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
มาตรา 11 บิบิดามารดาหรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับตามมาตรา 17
มาตรา 12 นอกเหนืนอกเหนือจากรัฐเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบุคคลครอบครัวองค์กรชุมชนและสถาบันสังคมอื่นมีสิทธิ์ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งนี้ให้เป็นไปตามกำหนดในกระทรวง
มาตรา 13 บิบิดามารดาหรือผู้ปกครองมีสิทธิ์ได้รับสิทธิประโยชน์ดังต่อไปนี้
(1)การสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู
(2)เเงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุตร
(3)การลดหย่อนภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามกฎหมายกำหนด
มาตรา 14 บุคบุคคลครอบครัวชุมชนองค์กรชุมชนและสถาบันสังคมอื่นซึ่งสนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีสิทธิ์ได้รับสิทธิประโยชน์ตามควรแก่กรณีดังต่อไปนี้
(1)การสนับสนุนจากรัฐให้มีความรู้ความสามารถในการเลี้ยงดูบุตร
(2)เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฏหมาย
(3)การลดหย่อนภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามกฎหมาย
หมวด 6 มาตรฐานและการประกันมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
มาตรา 49 ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษามีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์วิธีการประเมินคุณภาพภายนอกและทำการประเมินผลการจัดการศึกษา
มาตรา 47 ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษาประกอบด้วยระบบการประกันคุณภาพภายในและภายนอก
มาตรา 50 ให้สถานศึกษาให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆ
มาตรา 48 ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา
มาตรา 51 ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดให้จะต้องปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อให้สถานศึกษานั้นปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนดให้
หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา
มาตรา 22 การจัการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
มาตรา 23 การจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัยต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้คุณธรรมกระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
(1) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม
(2)ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(3)ความรู้เกี่ยวกับศาสนา วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
(4)ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และภาษา
(5)ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไปนี้
(1)จัดเนื้อหาและกิจกรรมให้สอดคล้องกับผู้เรียน
(2)ฝึกทักษะกระบวนการคิดและการแก้ไขปัญหา
(3)จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง
(4)จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานความรู้ต่างๆ
(5)ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนจัดบรรยากาศในการสอน
(6)จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่
มาตรา 25 รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบได้แก่ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์เป็นต้น
มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากการพัฒนาของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน
มาตรา 27 ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทยความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ
มาตรา 28 หลัหลักสูตรการศึกษาระดับต่างๆรวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสำหรับบุคคลตามมาตรา 10 วรรคสองวรรคสามและวรรคสี่ต้องมีลักษณะที่หลากหลาย
มาตรา 29 ให้สถานศึกษาร่วมกับ บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชนและสถาบันสังคมอื่นส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีการศึกษา มีการแสวงหาความรู้
มาตรา 30 ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีความเหมาะสมในแต่ละระดับการศึกษา