Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาหลังคลอดโดย เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง - Coggle Diagram
การพยาบาลมารดาหลังคลอดโดย
เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของมารดาหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงของระบบอวัยวะสืบพันธุ์
ปากมดลูก
ระยะหลังคลอดบริเวณจากปากช่องคลอดจนกระทั่งถึงมดลูกส่วนล่าง (Lower uterine segment) ยังคงบวมเป็นเวลาหลายวัน
ส่วนของปากมดลูกจะอ่อนนุ่มมีรอยช้ำและมีรอยฉีกขาดเล็ก ๆ
แต่ปากมดลูกจะไม่คืนสู้สภาพเดิมเหมือนก่อนตั้งครรภ์ รูปากมดลูกที่เป็นรูปวงกลมเมื่อก่อนตั้งครรภ์จะเปลี่ยนแปลงเป็นรูปยาวรี ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงว่าเคยผ่านการคลอดมาแล้ว
ช่องคลอด ในระยะหลังคลอดขอบเยื่อพรหมจารีย์ (Hymenalring) จะขาดกระรุ่งกระริ่ง เรียกว่า (Caryculae myrtiforms) เป็นลักษณะเฉพาะบอกได้อย่างหนึ่งว่าสตรีนั้นเคยคลอดบุตรแล้ว
ช่องคลอด
ระยะหลังคลอดเยื่อพรหมจารี (Hymen) มีการฉีกขาดอย่างถาวรเป็นติ่งเนื้อเล็ก ๆ กะรุ่งกะริ่งเป็นหลายแฉก ซึ่งเรียกว่าคารันคูเล เมอร์ทิฟอร์ม หรือ เมอร์ทิฟอร์ม คารันเคิลส์ (Carunculae myrtiformes or Myrtiform caruncles) ช่องคลอดจะอ่อนนุ่มมาก รอยย่นภายในช่องคลอดจะลดน้อยลง เส้นผ่าศูนย์กลางของช่องคลอดจะกว้างกว่าระยะก่อนคลอด การแก้ไขการไม่กระชับของช่องคลอดโดยวิธีฝึกขมิบช่องคลอด (Kegel's exercises) อย่างสม่ำเสมอ
น้ำคาวปลา
ในช่วง 3 วันแรกหลังคลอด น้ำคาวปลามีลักษณะเป็นสีแดงเข้ม เรียกว่า โลเคียรูบรา (Lochia rubra) ประกอบด้วย น้ำเลือดเป็นส่วนใหญ่ มีเยื่อบุมดลูกชั้นสปอนจิโอซา และเมื่อกปนเล็กน้อย นอกจากนั้นอาจจะมีขี้เทาบุตร ขนอ่อนบุตรและไขบุตรปนด้วยก็ได้ โดยลักษณะของน้ำคาวปลาจะต้องไม่มีเลือดเป็นก้อน ๆ ปนออกมา
วันที่ 4-9 หลังคลอด น้ำคาวปลาจะเริ่มเปลี่ยนจากสีแดงเข้มกลายเป็นสีแด่งจาง ๆ หรือสีชมพู และจะจางลงเรื่อย ๆ จนกลายเป็นสีน้ำตาล เรียกว่า โลเคียซิโรซา (Lochia serosa) น้ำคาวปลาชนิดนี้ ประกอบด้วยเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง เมือกแบคทีเรีย และเศษของเยื่อบุมดลูก
วันที่ 10-14 หลังคลอด สีน้ำคาวปลาจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีขาว เรียกว่า โลเคียแอลบา (Lochia alba) ประกอบด้วยเม็ดเลือดขาวและเมือกเป็นจำนวนมาก อาจมีเศษของเยื่อบุมดลูกและแบคทีเรียต่าง ๆ เล็กน้อย
ฝีเย็บ
ในระหว่างระยะที่ 2 ของการคลอด กล้ามเนื้อบริเวณผนังเชิงกราน (Pelvic floor) จะบางและยืดโดยแรงกดจากศีรษะบุตร แรงกดนี้จะมีมากในมารดาครรภ์แรก และในมารดาที่คลอดบุตรตัวใหญ่ ซึ่งมักจะช่วยได้ โดยการตัดฝีเย็บ (Episiotomy) และเย็บซ่อมแซมฝีเย็บ ดังนั้น มารดาหลังคลอดจะมีอาการปวดบริเวณฝีเย็บและแผลจะหายเป็นปกติภายใน 5-7 วัน สำหรับมารดาหลังคลอดที่มีการยืดขยายของกล้ามเนื้อฝีเย็บ แต่ช่องคลอดแคบเกินไปอาจทำให้เกิดการหย่อนสมรรถภาพของกล้ามเนื้อบริเวณนี้ เกิดภาวะเรคโตซิล (Rectocele) หรือซีสโตซิล (Cystocele) ขึ้น
มดลูก
ในระยะหลังคลอดมดลูกจะมีการเข้าอู่ (Involution of uterus) โดยการที่ มดลูกมีการหดรัดตัวกลับเข้าสู่สภาวะปกติในอุ้งเชิงกราน การกลับคืนสู่สภาพเดิมของมดลูก อาศัยกระบวนการ 2 อย่าง คือ
มดลูกขาดเลือดไปเลี้ยง (Ischemia or Iocalized anemia) ในระยะหลังคลอดเลือดไปเลี้ยงมดลูกลดลง เนื่องจากมีการหดรัดตัวและคลายตัวขอใยกล้ามเนื้อมดลูก จึงบีบกดเส้นเลือดในโพรงมดลูก เมื่อเลือดไปเลี้ยงมดลูกลดลง จึงทำให้มดลูกมีขนาดเล็กลง ทำให้เกิดการเหี่ยวฝ่อของเยื่อบุภายในโครงมดลูกและสลายถูกขับออกมาทางน้ำคาวปลา
การย่อยตัวเอง (Autolysis or self digestion) เนื่องจกหลังคลอดระดับ ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโพรเจสเตอโรนลดลง ทำให้มีการหลั่งเอ็นไซม์ย่อยโปร์ตีน (Proteolytic enzyme) ออกมาย่อยโปรตีนเส้นใยในส่วนไซโตพลาสซึม (Cytoplasm) ของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูก ให้เปลี่ยนเป็นสารประกอบโปรตีน (Protein Components) จากนั้นสารประกอบโปรตีนจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและถูกขึ้บออกทางปัสสาวะในเวลาต่อมา
การเปลี่ยนแปลงของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
ระบบการไหลเวียนโลหิต
การเปลี่ยนแปลงของปริมาตรเลือด
เริ่มตั้งแต่ 6-10 wks. ของการตั้งครรภ์ สูงสุดเมื่ออายุครรภ์ 28-32 wks และคงอยู่จนกระทั่งคลอด
ปริมาณเลือดจะเพิ่มรู้อยละ 30-50 (ประมาณ 1.5 L)
ระบบเลือดปริมาณเลือด (Blood volume)
จะลดลงทันทีจากการสูญเสียเลือดภายหลั่งคลอดโดยปริมาณเลือดจะลดลง ค่า Hb และ Hct จะต่ำลง
การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเม็ดเลือดขาว
เพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสแรก แต่ เป็นการเพิ่มเม็ดเลือดขาว ชนิด neutrophil
การทำงานของ T-cell และ natural killer ลดลง ทำให้การตั้งครรภ์เป็นภาวะที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และอาจเสี่ยงต่อการติดเชื่อได้
ระบบทางเดินอาหาร
หลังคลอดระบบทางเดินอาหารจะกลับสู่สภาพเกือบจะปกติ
เมื่อพ้น 1 สัปดาห์ไปแล้วฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนจึงจะลดระดับลงเหลือเท่ากับปกติก่อนตั้งครรภ์
การเจ็บปวดบริเวณแผลฝีเย็บ หรือ เป็นริดสีดวงทวารหนัก ก็จะทำให้มารดาไม่กล้าเบ่งถ่ายอุจจาระเนื่องจากกลัวเจ็บแผล ทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ง่าย
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ขณะบุตรผ่านช่องทางคลอด ออกมาจะทำให้เกิดการบาดเจ็บของท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะกระเพาะปัสสาวะจะบวม และมักมีอาการบวมและชำรอบ ๆ รูเปิดของท่อปัสสาวะ
มารดาหลังคลอดใหม่ ๆ จึงมักถ่ายปัสสาวะลำบาก
หลังคลอดภายในสัปดาห์แรกปีสสาวะจะออกมาก เพื่อลดปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ให้กลับสู่ภาวะปกติ วันที่ 2-5 หลังคลอดอาจถ่ายปัสสาวะถึง 3,000 มิลลิลิตรต่อวัน
ระบบผิวหนัง
ผิวหนังของมารดาหลังคลอดมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโพรเจสเตอโรนลดลง
ทำให้บริเวณลานนม หัวนม ต้นขาด้านในเส้นกลางท้อง (Linea nigra) และฝ้าที่หน้า (Facial chloasma) ซึ่งมีสีเข้มขึ้นขณะตั้งครรภ์ก็จะจางลง แต่รอยแตก (Striae gravidarum) บนหน้าท้องมารดาหลังคลอดสามารถเห็นได้ชัดเจนกว่าขณะตั้งครรภ์
ระบบฮอร์โมน
ฮอร์โมนจากรก (Placental hormones)หลังคลอดระดับของฮอร์โมนจากรกในพลาสมาจะลดลงอย่างรวดเร็ว คือภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอดจะตรวจไม่พบฮอร์โมน (Human placental lactogen = HPL)
หลังคลอดฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง และจะลดลงต่ำสุดในวันที่ 7 หลังคลอด
ระดับฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน (Progesterone) ในพลาสมาจะลดลง
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (Pituitary hormones) ระดับ (Prolactin) ในกระแสเลือดจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะตั้งครรภ์
ในมารดาที่ไม่ได้เลี้ยงบุตรด้วยน้ำนมตนเอง ระดั่บของฮอร์โมนโพรแลคทินจะค่อย ๆ ลดลงจนเท่ากับระดับก่อนตั้งครรภ์ภายใน 2 สัปดาห์หลังคลอด
ส่วนในมารดาที่เลี้ยงบุตรด้วยนมตนเองระดับของฮอร์โมนโพรแลคทินจะสูงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งในการให้บุตรดูดนมมารดาในแต่ละวัน
สัญญาณชีพ
ชีพจร
อัตราการเต้นของชีพจรในระยะหลังคลอดจะลดลงกว่าเดิมเล็กน้อย คือจะอยู่ ในช่วง 60-70 ครั้งต่อนาที
ความดันโลหิต
มีการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าความดันโลหิตลดลง โดยไม่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงท่า อาจเกิดจากการเสียเลือด
อุณหภูมิ
มีการเปลี่ยนแปลงตามสาเหตุ Reactionary Fever ซึ่งเกิดจากการขาดน้ำ เสียพลังงานในการ คลอดประมาณ 37.8 องศา แต่ไม่เกิน 38 องศา แล้วจะจดลงสู่ปกติใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด ระยะนี้มีสาเหตุมาจากเนื้อเยื่อถูกทำลาย (Tissue injury) และการสูญเสียน้ำและเลือดมาก หากมารดาหลังคลอดดื่มน้ำอย่างพอเพียงจะทำให้ไข้ลดและมีอุณหภูมิเป็นปกติ
ผลของการเปลี่ยนแปลงในทางทดลอง
น้ำหนักลด
ขณะตั้งครรภ์จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 10-12 กิโลกรัม เมื่อบุตรและรกคลอดออกมา น้ำหนักตัวของสตรีตั้งครรภ์จะลดลงประมาณ 5-6 กิโลกรัม และช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอดน้ำหนักตัวจะลดลงอีกประมาณ 2-4 กิโลกรัม จากการขับปีสสาวะและเหงื่อ จนเมื่อถึง 6 สัปดาห์หลังคลอดก็จะมีน้ำหนักตัวคงที่เหมือนระยะก่อนตั้งครรภ์
ความอ่อนเพลีย
ระยะหลังคลอดมารดามักอ่อนเพลีย ต่อเนื่องมาจากในระยะท้ายของการตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักของร่างกายเพิ่มขึ้น และสูญเสียพลังงานในระยะคลอด หลังคลอดทันทีมารดาจึงอ่อนเพลีย และมักง่วงนอน
การเปลี่ยนแปลงในทางก้าวหน้า
การหลั่งน้ำนม
ในระยะหลังคลอดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนจะลุดระดับลง ทำให้โปรแลคติน สามารถออกฤทธิ์ในการสร้างน้ำนม
การดูดนม (suckling) จะทำให้ระดับโปรแลคตินเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างน้ำนมใหม่ขึ้นมาเพื่อเก็บไว้ นอกจากนี้ยังกระตุ้นการหลั่งออกซิโตซินให้มีการหลั่งน้ำนม
การตกไข่และการมีประจำเดือน
มารดาหลังคลอดที่ไม่ได้เลี้ยงบุตรด้วยนมตนเองจะมีการตกไข่ในช่วง 10-11 สัปดาห์หลังคลอด และจะกลับมีประจำเดือนครั้งแรกในช่วง 7-9 สัปดาห์หลังคลอด
ส่วนมารดาหลังคลอดที่เลี้ยงบุตรด้วยนมตนเองจะกลับมีประจำเดือนในช่วง 30-36 สัปดาห์หลังคลอด แต่การตกไข่ จะแตกต่างกันไปตามระยะเวลาที่ให้บุตรดูดนม
การดูแลและส่งเสริมสุขภาพมารดาหลังคลอด
Postpartum Assessment : BUBBLE HE
Episiotomy
ตรวจดูลักษณะของการติดเชื้อ การมีก้อนเลือดคั่ง การติดและการหายของแผล การเย็บซ่อมแซมฝีเย็บ ถ้าผูกไหมบริเวณผิวหนังแน่นมากอาจทำให้แผลบวมมากได้ นอกจากนี้ อาจใช้การประเมินด้วยวิธี REEDA คือ ดูอาการแดง(Redness) อาการบวม (Edema) อาการ เลือด (Ecchymosis) มีน้ำหรือหนอง (Discharge) และลักษณะขอบแผล (Approximation)
Homans' sign
ประเมินว่ามีหลอดเลือดดำอักเสบและอุดตัน (Thrombophlebitis andthromboembolism) จากการที่บริเวณขารู้สึกเจ็บและหนัก โดยให้มารดาหลังคลอดเหยียดขาและดันปลายเท้าเข้าหาลำตัวให้น่องตึง กล้ามเนื้อน่องจะกดหลอดเลือด ทำให้รู้สึกปวดมาก ถ้ามีอาการ แสดงเช่นนี้ เรียกว่า Homans' sign positive
Bowel elimination
ปกติระยะแรกหลังคลอด การเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง การขับถ่ายอุจจาระจะเป็นปกติใน 2-3 วัน ถ้าไม่ถ่ายอุจจาระอาจเพราะท้องผูก เนื่องจากขาดน้ำ กลัวเจ็บแผล ฝีเย็บ ริดสีดวงทวาร หรือการอักเสบของฝีเย็บ
Emotional status
การประเมินด้านจิตใจ การปรับตัวของมารดาหลังคลอดปกติ 1-2 วันแรก จะมีพฤติกรรมพึ่งพาผู้อื่น สนใจแต่ความต้องการของตัวเอง หลังจากนั้นถึง 10 วัน ตัวเองลดน้อยลง จะเริ่มพึ่งพาตนเองและสนใจทารกมากขึ้น ระยะต่อมาจะพึ่งพาตนเองเต็มที่ ถ้า ความสนใจแต่ ปรับตัวไม่ได้จะมีภาวะอารมณ์เศร้า (Postpartum blues) โดยมีอาการ ร้องไห้ หงุดหงิด อธิบาย เหตุผลไม่ได้ รับประทานอาหารไม่ได้ นอนไม่หลับ คลื่นไส้ อาเจียน
Uterus
ประเมินการหดรัดตัว ตำแหน่ง ระดับของยอดมดลูก การลดระดับของยอดมดลูก และอาการปวดมดลูก ถ้ามดลูกนุ่ม ระดับของยอดมดลูกสูงกว่าปกติ อาจเกิดจากกระเพาะปัสสาวะเต็ม หรือก้อนเลือดคั่งในมดลูก ถ้าระดับของยอดมดลูกไม่ลดลง อาจก่อให้เกิดการตกเลือดหรือติดเชื้อหลัง คลอดได้ ถ้าคลำมดลูกแล้วรู้สึกเจ็บปานกลางหรือมาก อาจเนื่องจากมีการอักเสบของเยื่อบุมดลูก
Lochia
น้ำคาวปลา คือ สิ่งที่ขับออกมาจากแผลภายในโพรงมดลูกตรงตำแหน่งที่รกเคยเกาะอยู่ จะมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของแผลที่มีการซ่อมแซม เพื่อเกิดเป็นเยื่อบุผนังมดลูกตามปกติ จำนวนน้ำคาวปลาจะแตกต่างกันในแต่ละวัน จาก Lochia rubra เป็น serosa และ alba ตามลำดับ นอกจากนี้ยังประเมินจำนวนน้ำคาวปลา สามารถคะเนได้โดยดูน้ำคาวปลาที่เปื้อนผ้าอนามัย ถ้าชุ่มผ้าอนามัย 1 ผืน ประมาณ 50 มิลลิลิตร
Breast
ประเมินลักษณะ ขนาดของเต้านม และขนาดของยกทรงที่สวมปกติเต้านมจะมีอาการคัดตึง คลำไม่พบก้อน ถ้ามีอาการคัดตึงใน 2-3 วันหลังคลอดมักเกิดจากการคั่งของเลือดและน้ำเหลือง เต้านมจะแข็ง กดเจ็บ หัวนมตึงและสั้นลง ถ้าหลัง 3-4 วันไปแล้ว เกิดจากการคั่งของน้ำนม หัวนม ตรวจดูการแตกแยกเป็นแผล หัวนมสั้น หัวนมบอด หรือหัวนมบุ๋ม
Bladder
ประเมินเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะเต็ม สังเกตได้จากผนังหน้าท้อง ส่วนล่างเหนือหัวหน่าวโป่ง และยอดมดลูกลอยสูงขึ้นหรือเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งของหน้าท้อง การที่กระเพาะปัสสาวะเต็มจะขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก เป็นสาเหตุของการตกเลือดหลังคลอด
การปรับตัวด้านจิตสังคมและบทบาทการเป็นมารดาหลังคลอด
พฤติกรรมของมารดา :
ระยะพฤติกรรมระหว่างพึ่งพาและไม่พึ่งพา (Taking-hold phase)
ระยะนี้ใช้เวลา ประมาณ 10 วัน มารดามีประสบการณ์มากขึ้น มีการปรับตัวกับชีวิตใหม่ ได้พักผ่อนเพียงพอและฟื้น จากการสูญเสียพลังงานในระยะคลอด มารดาจะค่อย ๆ แข็งแรงขึ้น รู้สึกสบาย สนใจตนเองน้อยลงและสนใจบุตรมากขึ้น มารดาจะพึ่งพาตนเองมากขึ้น เริ่มดูแลตนเอง สนใจเกี่ยวกับการให้นมบุตร
ระยะพฤติกรรมพึ่งพาตนเอง (Letting-go-phase)
เมื่อมารดาสามารถทำหน้าที่ "พัฒนกิจของการเป็นมารดา" ได้มากแล้วก็จะเข้าสู่ระยะพึ่งพาตนเอง ส่วนมากมักเป็นระยะที่มารดากลับบ้านแล้ว มารดาต้องปรับตัวต่อบุตรที่ต้องการการพึ่งพาและช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ทั้งมารดาและสามีต้องช่วยกันปรับในเรื่องของงานบ้าน ต้องมีคนช่วยรับผิดชอบเพราะเป็นภาระงานที่หนัก
ระยะที่มีพฤติกรรมพึ่งพา (Taking-in phase)
ระยะนี้อาจใช้เวลา 1-2 วัน มารดาหลังคลอด จะมุ่งที่ตนเองและต้องการพึ่งพาผู้อื่นสนใจแต่ความต้องการและความสุขสบายของตนเอง มากกว่าที่จะนึกถึงบุตร พฤติกรรมของมารดาอาจเฉื่อยชาไม่ค่อยเคลื่อนไหว พูดมากแต่ไม่ค่อยกล้าลงมือทำ ลังเลที่จะตัดสินใจ
แนวทางการพยาบาลเพื่อส่งเสริมบทบาทการเป็นมารดา
ในระยะก่อนแต่งงาน
พยาบาลควรให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็ก และหน้าที่การเป็นมารดาโดยสอดแทรกในบทเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และพยาบาลควรมีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้ คำแนะนำในเรื่องการคุมกำเนิด การตั้งครรภ์ การคลอดบุตร การเลี้ยงดูบุตร และการทำหน้าที่เป็นมารตาแก่เด็กในวัยรุ่นที่เริ่มมีความสนใจในเพศตรงข้าม เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงก่อนตัดสินใจแต่งงาน
ในระยะตั้งครรภ์
ควรให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ การเตรียมตัวเพื่อการคลอด และการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่บทบาทการเป็นมารดา
ในระยะหลังคลอด
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังคลอด การเลี้ยงดูบุตร อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและจิตใจ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำหน้าที่ในบทบาทการเป็นมารดา
เปิดโอกาสให้มารดาอยู่ใกล้ชิดบุตร และให้การเลี้ยงดูบุตรภายหลังจากได้รับคำแนะนำแล้ว โดยพยาบาลคอยให้การดูแลอย่างใกล้ชิด
ให้กำลังใจ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความมั่นใจในการเป็นมารดา เพราะในระยะแรกของการปรับตัวมารดาจะเกิดความสับสน วิตกกังวล ดังนั้นสิ่งใดที่มารดายังไม่เข้าใจ หรือทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร พยาบาลควรสอน ทบทวน และเปิดโอกาสให้มารดาได้ฝึกหัดทำในวันต่อไป
เปิดโอกาสให้มารดาได้พูดคุยและปรึกษาปัญหา ระหว่างมารดาที่เริ่มเข้าสู่บทบาทใหม่ด้วยกันเป็นกลุ่ม โดยมีพยาบาลเป็นผู้คอยให้คำปรึกษา และตอบคำถามเพื่อให้มารดาเกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ
จัดเวลาและสถานที่ให้เหมาะสม และเป็นส่วนตัวเพื่อให้บิดามารดาและบุตรคนก่อน ได้อยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวเพื่อสร้างความคุ้นเคย ก่อนที่จะนำบุตรกลับบ้าน และพยาบาลควรอธิบายให้สามีเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงและความต้องการทางด้านจิตใจของภรรยาภายหลังคลอด เพื่อให้สามีเข้าใจสามารถให้กำลังใจและประดับประคองช่วยเหลือภรรยาได้อย่างเหมาะสม
บทบาทการเป็นมารดา
แบ่งได้เป็น 4 ด้าน
การปรับตัวเข้าสู่บทบาทใหม่
การสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างมารดา-บิดาและบุตร
การจัดแบ่งหน้าที่รับผิดชอบของสมาชิกในครอบครัวให้เหมาะสม
การวางแผนครอบครัว เป็นสิ่งจำเป็น
การปรับตัวต่อบทบาทการเป็นมารดา
สัมพันธภาพระหว่างสามี
การรับรู้ถึงการมีส่วนร่วมในการดูแลบุตรของสามี
ความพึงพอใจของมารดาที่มีต่อประสบการณ์ในระยะเจ็บครรภ์และขณะคลอด
ความพึงพอใจของมารดาต่อสภาพชีวิต และฐานะทางครอบครัว
ความมั่นใจของมารดาในการปฏิบัติ พัฒนากิจตามบทบาทการเป็นมารดา
ความพึงพอใจในการเลี้ยงดูบุตร
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวสู่บทบาทการเป็นมารดา
การปรับตัวเพื่อเป็น "มารดา" จะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
บุคลิกภาพและการเลี้ยงดูที่ได้รับในวัยเด็ก
ประสบการณ์ในการเลี้ยงดูเด็ก
อายุ
การศึกษา
รายได้
สัมพันธภาพในชีวิตสมรส
ภาวะอารมณ์เศร้า
ในระยะ 10 วันแรกหลังคลอดจะพบมารดาที่มีความรู้สึกเศร้ามากถึงร้อยละ 80 ของมารดาหลังคลอด ส่วนมากมักเกิดอาการ ในช่วง 3-4 วันแรกหลังคลอด มีปัจจัยหลายประการ ที่อาจส่งเสริมความรู้สึกเศร้า ซึ่งเชื่อว่าเกิดจาก
ต้องแยกจากครอบครัว
อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย ทั้งบุคคล สถานที่ และระบบของโรงพยาบาล
มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ลดต่ำลงมากใน 3-5 วันแรกหลังคลอด
มีความไม่สุขสบายและรำคาญ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
ความเหน็ดเหนื่อย ไม่ได้พักผ่อนเพียงพอ มารดาหลังคลอดควรได้พักผ่อนมาก ๆ
ความรู้สึกสูญเสียด้านร่างกายในระยะหลังคลอด เพราะเคยมีบุตรอยู่ในครรภ์ถึง 9 เดือน
ความรู้สึกว่าตนเองสูญเสียความสำคัญ
ความรู้สึกไม่มั่นใจ ต่อการปรับตัวรับบทบาทของการเป็นมารดา
ความรู้สึกสูญเสียความงาม