Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
ผู้ป่วยรับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
ผู้ป่วยควรเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น และมีกำลังใจเสมอ
เลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
รับประทานอาหารสุก สด สะอาด
เมื่อมีไข้ต้องรับพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยาทานเอง
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลข้างเคียงของการทำเคมีบำบัด
พักผ่อนให้เพียงพอเนื่องจากการให้ยาเคมีบำบัดส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย
สังเกตอาการผิดปกติเช่น อาการคลื่นใส้อาเจียนมาก มีอาการปวดบวมแดงร้อนบริเวณที่ให้ยาเคมีบำบัด
ผลข้างเคียง
น้ำหนักลดลง
มีแผลหรือมีเชื้อราในช่องปากและลำคอ
บริเวณแขนข้างที่ให้ยาเคมีบำบัด มีอาการบวม แดง แสบ หรือดำคล้ำ
มีอาการคลื่ไส้อาเจียนรุนแรง ร่วมกับอาการท้องเสีย
มีอาการหน้ามืด ใจสั่น แน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ ปวดศีรษะ
ปัสสาวะมีเลือดปน เจ็บเวลาปัสสาวะ
มีไข้สูงมากกว่าหรือเท่ากับ 38 องศาเซลเซียส
ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษา
การพักผ่อนนอนหลับ ควรนอนอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง ถ้านอนไม่หลับให้แจ้งแพทย์หรือพยาบาลทราบ
การออกกำลังกายตามสภาพของร่างกาย และทำอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และการไหลเวียน ของโลหิตดีขึ้น
รักษาความสะอาดทั่วไปของร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า เพราะผู้ป่วยที่รักษาด้วยรังสี จะอ่อนเพลียและภูมิต้านทานต่ำ ถ้าร่างกายสกปรกจะเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย
ผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะ ปวดตามร่างกาย หรือมีอาการผิดปกติต่างๆ เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บปาก เจ็บคอ กลืนลำบาก ผิวหนังอักเสบ ให้แจ้งแพทย์ หรือพยาบาลทราบเพื่อหาทางช่วยเหลือ
ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2,000-3,000 cc น้ำช่วยให้ร่างกายชุ่มชื้น และระบายความร้อนออกจากร่างกาย
ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ CBC สัปดาห์ละครั้ง เพื่อประเมินภาวะสุขภาพขณะรับการฉายรังสี
อาหาร ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ วิตามินสูง โปรตีนสูงย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา นม ไข่ ตับสัตว์ ถั่วต่างๆ ผัก ผลไม้ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงระยะเรื้อรัง ซึ่งมักเกิดขึ้นหลังได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีเสร็จสิ้นไปแล้วนานหลายเดือนจนถึง หลายปี ซึ่งเกิดจากการฉายรังสีทำให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือด ฝอย เช่น ถ้าฉายรังสีบริเวณอุ้งเชิงกรานจะมีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือลำไส้อักเสบแบบเรื้อรังหรือช่องคลอด ตีบตัน เป็นต้น
ผลข้างเคียงเฉียบพลัน พบตั้งแต่เริ่มการรักษาไปจนถึงภายใน 8 สัปดาห์หลังการฉายรังสี ซึ่งเกิดขึ้นกับบริเวณที่ฉายรังสี เช่น การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสี การเกิดอาการอ่อนเพลีย ภูมิต้านทานต่ำจากเม็ดเลือด ขาวลดจำนวนลง
การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
ด้านจิตวิญญาณ : ช่วยให้ได้รับความรัก/ให้ความรัก/การอภัยจากบุคคลที่รักและบุคคลในครอบครัว
ด้านจิตใจ : ลดอาการวิตกกังวล ความกังวลอาการซึมเศร้าและสับสน
ด้านสังคมและเศรษฐกิจ : ส่งเสริมและเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว
ด้านกาย : ดูแลบรรเทาอาการรบกวน ได้แก่ เหนื่อยหอบ ปวด ท้องมาน หายใจลำบาก เบื่ออาหาร คลื่นไส้/อาเจียน
การดูแลแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care คือ การดูแลที่มีมุ่งเน้นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว โดยลดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ การดูแลแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care สามารถให้การรักษาควบคู่กับการรักษาหลักเช่นการรักษาโรคมะเร็ง ผู้ป่วยก็ยังได้รับการรักษาแบบมาตรฐาน เช่นการรับเคมีบำบัด การรับการรักษาการฉายรังสี โดยไม่ได้ไปจำกัดการรักษาที่ผู้ป่วยควรได้รับ แต่ในระยะท้ายที่สภาวะร่างกายของผู้ป่วยอาจไม่เหมาะสมกับการรักษาเดิม