Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาหลังคลอดโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง - Coggle Diagram
การพยาบาลมารดาหลังคลอดโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
ความหมาย
ระยะหลังคลอด หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่หลังคลอดรกจนถึง 6 สัปดาห์หลังคลอด ซึ่งเป็นระยะเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะต่างๆ กลับเข้าสู่ภาวะปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์
การแบ่งระยะ
ระยะแรก (Immediate puerperium) คือ ระยะหลังคลอด 24 ชั่วโมงแรก
ระยะหลัง (Late puerperium) คือ ระยะหลังจากระยะแรกจนถึง 6 สัปดาห์
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของมารดาหลังคลอด
ระบบสืบพันธุ์
มดลูก Uterus
หลังคลอดมดลูกจะมีการเข้าสุ่อู่ Involution of uterus อาศัยกระบวนการ 2 อย่าง คือ
การย่อยสลายตัวเอง (Autolysis or self digestion) เกิดจากการลดระดับของฮอร์โมนEstrogen และ Progesterone
ขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อมดลูก ( Ischemia or localized anemia ) เกิดจากการบีบรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก
น้ำคาวปลา
เมื่อรกและเยื่อหุ้มทารกแยกตัวออกจากเยื่อบุมดลูกเรียบร้อย แล้ว 2 วันต่อมาเยื่อบุมดลูกจะแบ่งตัวออกเป็น 2 ชั้น
ชั้นที่อยู่ติดกับกล้ามเนื้อมดลูก เรียกว่า Decidua basalis เป็นชั้นที่รองรับการเกิดใหม่ของเยื่อบุมดลูก
ชั้นที่อยู่ติดกับโพรงมดลูก เรียกว่า Decidua spongiosa ชั้นนี้จะมีการเปื่อยและย่อยสลายหลุดออกมาปนกับน้ำเลือด เม็ดเลือดขาวแบคทีเรีย รวม เรียกว่า น้ำคาวปลา
ปากมดลูก
หลังคลอดทันทีปากมดลุกจะมีลักษณะนุ่มมากและไม่เป็นรูปร่าง Malleable ทั้งปากมดลูกด้านในและด้านนอก
ช่องคลอด
หลังคลอดเยื่อพรหมจารี Hymen มีการฉีกขาดอย่างถาวรเป็นติ่งเนื้อเล็กๆ กะรุ่งกะริ่งเป็นหลายแฉก เรียกว่า Carunculae myrtiformes or Myrtiform caruncles
ฝีเย็บ
หลังคลอดจะมีอาการปวดบริเวณฝีเย็บ จะมีลักษณะบวม หลอดเลือดฝอยฉีกขาด Labia minora และ labia majera
ระบบฮอร์โมน
จากรก Placental hormones
ระดับ HPL จากรกในพลาสมาจะลดลงอย่างรวดเร็ว คือภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอดจะไม่ตรวจพบฮอร์โมน
จากต่อมใต้สมอง Pituitary hormones
ระดับ Prolactin ในกระแสเลือดจะสูงขึ้นเรื่อยๆในขณะตั้งครรภ์ และจะสูงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งในการให้บุตรดูดนมในแต่ละวัน
ระบบทางเดินปัสสาวะ
เกิดการบาดเจ็บของท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะจะบวม หลังคลอดใหม่ๆ จึงมักถ่ายปัสสาวะลำบาก
ระบบไหลเวียนโลหิต
ค่า Hemoglobin Hematocrit จะต่ำลง
ระบบทางเดินอาหาร
หลังคลอดระบบทางเดินอาหารเกือบปกติ ควรกระตุ้นให้มารดาหลังคลอด ดื่มน้ำมากกว่า 10 แก้ว และอาหารที่กากใยมากๆ
ระบบผิวหนัง
เส้นกลางท้อง ฝ้าที่หน้า และรอยแตก (Striae gravidarum) จะจางลง
ผลของการเปลี่ยนแปลงในทางลดลง
ความอ่อนเพลีย
สูญเสียพลังงานในระยะคลอด
น้ำหนักลด
เมื่อทารกและรกคลอดออกมาน้ำหนักของมารดา จะลดลงประมาณ 5-6 กิโลกรัม
สัญญาณชีพ
อุณหภูมิ
มีการเปลี่ยนแปลงตามสาเหตุ Reactionary Fever จะลดลงสู่ปกติใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
ชีพจร
อัตราการเต้นของหัวใจลดลงเล็กน้อย
ความดันโลหิต
มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
การเปลี่ยนแปลงในทางก้าวหน้า
การหลั่งน้ำนม
เต้านม หลังคลอด ฮอร์โมนProgesterone และ ฮอร์โมน Estrogen จะลดระดับลง ทำให้ Prolactin สามารถออกฤทธิ์ในการสร้างน้ำนม
การดูดนม Suckling จะทำให้ Prolactin เพิ่มขึ้น เพื่อสร้างน้ำนมใหม่ขึ้นมาเก็บไว้ นอกจากนี้ยังกระตุ้นการหลั่ง Oxytocin ให้มีการหลั่งน้ำนม
การตกไข่และการมีประจำเดือน
ไม่ได้เลี้ยงบุตรด้วยนมตนเอง จะมีการตกไข่ในช่วง 10-11สัปดาห์หลังคลอด และจะกลับมามีประจำเดือนครั้งแรกในช่วง 7-9 สัปดาห์หลังคลอด
เลี้ยงบุตรด้วยนมตนเองจะกลับมามีประจำเดือนในช่วง 30-36 สัปดาห์หลังคลอด แต่การตกไข่ จะแตกต่างกันไปตามระยะเวลาที่ให้นมบุตรดูดนม
การปรับตัวด้านจิตสังคมและบทบาทการเป็นมารดาหลังคลอด
รูบิน ได้แบ่งกระบวนการเป็น 3 ระยะ ดังนี้
1.ระยะที่มีพฤติกรรมพึ่งพา ( Taking-in phase)
ระยะ 1-2 วันหลังคลอด จะมุ่งที่ตนเองและต้องการพึ่งพาผู้อื่น สนใจแต่ความต้องการ และความสุขสบายของตนเองมากกว่าที่จะนึกถึงบุตร
ระยะพฤติกรรมระหว่างพึ่งพาและไม่พึ่งพา
( Taking-hold phase)
ระยะนี้ใชเวลาประมาณ 10 วัน มารดามีประสบการณ์มากขึ้น มีการปรับตัวกับชีวิตใหม่ ได้พักผ่อนเพียงพอและฟื้น จากการสูญเสียพลังงานในระยะคลอด
ระยะพฤติกรรมพึ่งพาตนเอง (Letting-go-phase)
เป็นระยะที่แม่กลับบ้านแล้ว ต้องมีคนช่วยรับผิดชอบเพราะเป็นภาระงานที่หนัก
การเปลี่ยนแปลงอารมณ์และจิตใจ
Postpartum Blue
สามารถหายเองได้
Postpartum Depression
ควรปรึกษาจิตแพทย์
Postpartum Psychosis
การรักษาจะเน้นในการใช้ยา
การปรับตัวต่อบทบาทการเป็นมารดา
ความพึงพอใจของมารดาที่มีต่อประสบการณ์ในระยะเจ็บครรภ์และขณะคลอด
ความพึงพอใจของมารดาต่อสภาพชีวิต และฐานะทางครอบครัว
การรับรู้ถึงการมีส่วนร่วมในการดูแลบุตรของสามี
ความพึงพอใจในการเลี้ยงดูบุตร
สัมพันธภาพระหว่างสามี
บทบาทการเป็นบิดา
การจัดหาเลี้ยงครอบครัว
ปกป้องคุ้มครองภรรยาในระยะหลังคลอด
การเลี้ยงดูบุตร