Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 3 - Coggle Diagram
กรณีศึกษาที่ 3
ภาวะถุงน้ำคร้ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
ประวัติเคยเกิดภาวะ PPROM มีความเสี่ยงสูงถึง 3 เท่าที่จะเกิดซ้ำอีก
การอักเสบติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ (chorioamnionitis) หรือการติดเชื้อในโพรงมดลูก เป็นสาเหตุส้าคัญของ PPROM อาจเป็นเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส รวมทั้งการ ติดเชื้อซ่อนเร้น (occult) ในน้้าคร่ำด้วย
การติดเชื้อในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ส่วนล่าง การติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์ เช่น Chlamydia trachomatis เป็นต้น
การติดเชื้อเรื้อรังของระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้มดลูกมีการหดรัดตัวเพิ่มขึ้น
การตั้งครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้้า ทำให้มดลูกถูกยืดขยายมาก ความดันภายในโพรงมดลูกเพิ่มขึ้น
ความผิดปกติของปากมดลูก เช่น ปากมดลูกปิดไม่สนิท คอมดลูกสั้น ประวัติเคยท้า cervical conization เป็นต้น รวมทั้งความผิดปกติของมดลูกแต่กำเนิด
การทำหัตถการบางอย่าง เช่น การเจาะถุงน้ำคร่ำ การเย็บผูกปากมดลูก การเจาะตรวจเนื้อรก เป็นต้น
ภาวะรกเกาะต่ำ (placenta previa) รกลอกตัวก่อนกำหนด (abruption placentae)
ทารกในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าก้น ท่าขวาง ทำให้ส่วนนำปิดส่วนล่างของเชิงกรานไม่สนิทดี แรงดันที่โพรงมดลูกจะดันมาที่ถุงน้ำคร่ำโดยตรง ท้าให้ถุง น้ำคร่ำแตกได้ง่าย
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ
ผลต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ
มีโอกาสเกิดการติดเชื้อในระยะหลังคลอดได้สูง
รกลอกตัวก่อนกำหนด (placental abruption)
มีอัตราการผ่าตัดคลอดเพิ่มขึ้น
ผลต่อทารก
ภาวะสายสะดือพลัดต่ำ (prolapsed cord)
เกิดการคลอดก่อนกำหนด
อัตราการเสียชีวิตของทารกหลังคลอดสูงขึ้น (neonatal death)
แนวทางการรักษา
ยืนยันการแตกของถุงน้ำคร่ำว่ามีการแตกจริง จากการชักประวัติ การตรวจร่างกาย หรือ การตรวจทางห้องปฏิบัติการต่าง ๆ
หากพบภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด หรือ ทารกมีภาวะคับขันจากภาวะสายสะดือถูกกด ดูแลให้คลอดอย่างรีบด่วนโดยไม่คำนึงถึงอายุครรภ์
ประเมินอายุครรภ์ที่แน่นอนและหากทารกไม่มีภาวะแทรกซ้อนรีบด่วน ให้พิจารณาการคลอดตามอายุครรภ์
แนวทางการวินิจฉัย
การซักประวัติ
ลักษณะ สี กลิ่น และปริมาณของน้ำคร่ำที่ไหลออกมา
วันและเวลาที่ถุงน้ำคร่ำแตก
อายุครรภ์ เพื่อประเมินความสมบูรณ์ของปอดทารก และโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น
การตรวจร่างกาย
Sterile speculum examination
Coughing หรือ valsalva
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Nirazine paper test
Fern test
Nile blue test
การตรวจพิเศษ
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
การพยาบาล
ให้นอนพักบนเตียงเพื่อลดการไหลของน้ำคร่ำ
ประเมินสัญญานชีพทุก 4 ชั่วโมง
ประเมินลักษณะสี กลิ่น และปริมาณของน้ำคร่ำที่ออกมาจากผ้าชับน้ำคร่ำ
เฝ้าระวังการติดเชื้อในโพรงมดลูก เช่น ผู้คลอดมีไข้มากกว่า 38 องศาเชลเซียส ร่วมกับการกดเจ็บที่มดลูก มีอัตราการเต้นของหัวใจทั้งผู้คลอดและทารกเร็วผิดปกติ เป็นต้น
ประเมินเสียงหัวใจทารกทุก 4 ชั่วโมง แนะนำให้ผู้คลอดบันทึกการดิ้นของทารก
ประเมิน NST เป็นระยะในรายที่ต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อดูแลแบบประคับประคอง
ดูแลทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์และเปลี่ยนผ้ารองชับน้ำคร่ำบ่อยครั้ง
หลีกเลี่ยงการตรวจทางช่องคลอดโดยไม่จำเป็น
ดูแลการได้รับยาตามแผนการรักษาและสังกตภาวะแทรกช้อนจากยา เช่น ยาปฏิชีวนะ ยากลุ่ม corticosteroid เป็นต้น
ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และรายงานแพทย์เมื่อพบภาวะผิดปกติ
เตรียมผู้คลอดให้พร้อมต่อการคลอดทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ หากต้องยุติการตั้งครรภ์ที่เป็นผลมาจากการติดเชื้อ หรือภาวะแทรกช้อนต่าง ๆ เช่น การเกิดสายสะดือพลัดต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด เป็นต้น
ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
สาเหตุด้านมารดา
มีประวัติคลอดก่อนก้าหนด
มีประวัติการแท้ง มีอายุน้อยกว่า 18 ปี หรือมากกว่า 35 ปี
มีน้้าหนักก่อนการตั้งครรภ์น้อยกว่า 50 กิโลกรัม และส่วนสูงน้อย
มีการใช้สารเสพติด
การได้รับการกระทบกระเทือนทางหน้าท้อง หรือการผ่าตัดทางหน้าท้อง เช่น การผ่าตัดไส้ติ่ง
มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต
มีการติดเชื้อต่างๆ เช่น ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ปอดบวม
มีการยืดขยายของมดลูกมาก เช่น ครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้้า
มีความผิดปกติของมดลูก เช่น มีประวัติการผ่าตัดที่มดลูก ปากมดลูกไม่แข็งแรง
สาเหตุด้านทารก
ทารกมีท่าผิดปกติ
มีการติดเชื้อของทารก
มีความผิดปกติของทารกแต่ก้าเนิด
มีการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ช้ากว่าปกติ
ทารกเสียชีวิต
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ
ผลต่อสตรีตั้งครรภ์
ท้องผูก กล้ามเนื้ออ่อนแรง น้ำหนักลด วิตกกังวล ซึมเศร้า
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก
ผลต่อทารก
ภาวะแทรกซ้อนในระยะแรก RDS, IVH, NEC, hyperbilirubinemia, Infection
ภาวะแทรกซ้อนในระยะหลัง เช่น Bronchopulmonary dysplasia, Cerebral palsy, cerebral atrophy
เสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงถึง 15 เท่า เมื่อเทียบกับทารกครบกำหนด
แนวทางการรักษา
ดูแลแบบประคับประคอง ลดการยืน เดิน งดยกของหนัก
ดูแลให้ได้รับยา ได้แก่ ยากลุ่มยับยุ้งการหดรัดตัวของมดลูก ยากระตุ้นความสมบูรณ์ของปอดทารก และยาปฏิชีวนะ
แนวทางการวินิจฉัย
การซักประวัติ
พบลักษณะเหมือนการเจ็บครรภ์จริง ซึ่งต้องแยกจากการเจ็บครรภ์เตือนและ Braxton Hick contraction
การตรวจร่างกาย
พบมดลูกหดรัดตัวสม่ำเสมออย่างน้อย 4 ครั้งใน 20 นาที หรือ 8 ครั้ง ใน 60 นาที ร่วมกับปากมดลูกเปิดตั้งแต่ 1 เซนติเมตร หรือปากมดลูกบางตัวตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจ estriol
fetal fbronectin (fFN)
การวัดความยาวของปากมดลูกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
การพยาบาล
แนะนำนอนพักบนเตียง
แนะนำให้นอนตะแคงซ้ายเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกได้มากขึ้น
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกทุก 2-4 ชั่วโมง แต่ละครั้งนานอย่างน้อย 10 นาที
ประเมินเสียงหัวใจทารกทุก 24 ชั่วโมง
ประเมินสัญญานชีพทุก 4 ชั่วโมง
งดการตรวจทางช่องคลอด งดสวนอุจจาระ หลีกเลี่ยงการกระตุ้นปากมดลูก
ในกรณีที่สตรีตั้งครรภ์มีถุงน้ำคร่ำแตก ดูแลและป้องกันการติดเชื้อ ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์บ่อยครั้ง
ภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า (Fetal Growth Restriction or Intrauterine growth restriction)
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
Symmetrical FGR
ภาวะทุพโภชนาการ หรือสตรีมีครรภ์มีน้้าหนักก่อนคลอดน้อยกว่า 45 กิโลกรัม หรือน้้าหนักไม่เพิ่มขณะตั้งครรภ์
การได้รับรังสีโดยเฉพาะในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
ยาและสิ่งเสพติด
สาเหตุทางพันธุกรรม ทารกในครรภ์ที่มีความผิดปกติของโครโมโซม เช่น trisomy 13,18 หรือ 21, Turner’s syndrome, multiple sex chromosome xxx เป็นต้น
ทารกพิการแต่ก้าเนิด โดยเฉพาะทารกที่มีความพิการของระบบหัวใจและหลอดเลือด
การติดเชื้อของทารกในครรภ์ เชื้อที่ท้าให้เกิดภาวะ FGR ได้แก่ เชื้อไวรัส เช่น rubella เชื้อแบคทีเรีย เช่น tuboculosis เชื้อโปรโตซัว เช่น malaria เชื้อกลุ่ม spirochete เช่น syphilis เป็นต้น
สภาพแวดล้อม เช่น สตรีมีครรภ์ที่อาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่สูง ท้าให้ทารกในครรภ์มีภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง
Asymmetrical FGR
สตรีมีครรภ์เป็นโรคหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ โรคเบาหวาน โรคของระบบภูมิคุ้มกัน
สตรีมีครรภ์เป็นโรคที่เกี่ยวกับเม็ดเลือดแดงในการจับออกซิเจน เช่น โรคโลหิตจาง โรคหัวใจที่มีภาวะเขียว เป็นต้น
สตรีมีครรภ์เป็นโรคไตเรื้อรัง
ภาวะครรภ์แฝด
ความผิดปกติของรกและสายสะดือ เช่น infected placenta, chronic abruption placenta
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ
ผลต่อสตรีตั้งครรภ์
เมื่อทารกมีภาวะเจริญเติบโตช้า ส่งผลให้ในระยะคลอดทารกอาจมีภาวะ fetal distress ทำให้ต้องสิ้นสุดการตั้งครรภ์ด้วยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
สูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลทารกที่เจริญเติบโตช้าในระยะหลังคลอด
มีความวิตกกังวลในการเลี้ยงดูทารก
ผลต่อทารก
ช่วงแรกคลอดทารกจะมีภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ การเกิดภาวะ fetal distress ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดภาวะสำลักน้ำคร่ำแรกคลอด เสี่ยงต่อการติดเชื้อและแคลเซียมในเลือดต่ำ
ทารกที่มีภาวะ perinatal asphyxia ในระยะยาว
การพยาบาล
แนะนำให้สตรีตั้งครรภ์รับประทานอาหารอย่างถูกสุขอนามัยและครบส่วน เพิ่มโปรตีนให้มากขึ้น
แนะนำให้สตรีตั้งครรภ์พักผ่อนอย่างเพียงพอ เน้นการนอนตะแคงซ้ายเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงทารกได้ดีมากขึ้น
แนะนำให้สตรีตั้งครรภ์นับลูกดิ้น
หมั่นชั่งน้ำหนักตัวอยู่เสมอ
แนวทางการวินิจฉัย
การซักประวัติ
การตรวจร่างกาย
การตรวจครรภ์ พบว่าขนาดของมดลูกเล็กกว่าอายุครรภ์ 3 เซนติเมตรขึ้นไป
การชั่งน้ำหนักของสตรีมีครรภ์ พบว่า น้ำหนักเพิ่มขึ้นน้อย หรือไม่มีการเพิ่มขึ้นของน้ำหนัก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เจาะเลือดเพื่อค้นหาสาเหตุ ได้แก่ CBC, FES, BUN, Cr, HBsAg, VDRL, Anti HIV และ TORCH titer
การตรวจพิเศษ
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
การตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่น (teenage or adolescent pregnancy)
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
สัมพันธภาพในครอบครัวไม่ดี
การเปลี่ยนแปลงของสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ และค่านิยมต่าง ๆ ทำให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย ๆ ในอัตราที่มากขึ้น
ระดับการศึกษาหรือสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจต่ำ
การดื่มสุราหรือการใช้สารเสพติดต่าง ๆ
การถูกข่มขืน
แนวทางการวินิจฉัย
ซักประวัติและตรวจร่างกายทุกระบบ
การพยาบาล
แสดงความสนใจ เอาใจใส่ ให้ความเห็นใจและเข้าใจปัญหาและความต้องการของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น
ให้คำปรึกษาและแนะนำทางเลือกในการตั้งครรภ์
ให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และจิตใจขณะตั้งครรภ์ พัฒนาการและการเจริญ เติบโตของทารกในครรภ์ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในขณะตั้งครรภ์
หลังคลอดเฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดจากกล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวไม่ดี หรือจากการตัดผีเย็บกว้างและลึกกว่าปกติในกรณีที่ช่องทางคลอดแคบหรือทารกในครรภ์ตัวโต
สังเกตอาการผิดปกติที่ควรมาโรงพยาบาล ได้แก่ อาการไข้ ปวดมดลูก น้ำคาวปลาเป็นสีแดง ตลอดไม่จางลง และมีกลิ่นเหม็นเน่า มีเลือดสด ๆ ออกทางช่องคลอดจำนวนมาก เต้านมอักเสบ บวมแดง และมีการกดเจ็บ ถ่ายปัสสาวะ แสบขัด ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ตาพร่ามัว มีภาวะซึมเศร้า หากสังเกต พบอาการผิดปกติดังกล่าวนี้ให้รีบมาโรงพยาบาลทันที
งดการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังคลอด
ให้คำแนะนำท่อนกลับบ้านเน้นเรื่องการวางแผนการเลี้ยงดูบุตร การวางแผนครอบครัวและการคุมกำเนิดที่เหมาะสม
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ
ผลต่อสตรีตั้งครรภ์
การเจริญเติบโตของร่างกายหยุดชะงัก หรือเพิ่มน้อยกว่าปกติ
สตรีวัยรุ่นบางคนประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ทำให้วินิจฉัยการตั้งครรภ์ได้ล่าช้า เนื่องจากไม่คิดว่าเกิดการตั้งครรภ์
ถ้าเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้วางแผน และไม่สามารถยอมรับการตั้งครรภ์ได้
กลายเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ สตรีวัยรุ่นบางคนอาจไปทำแท้ง
ผลต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยจากภาวะทุพพโภชนาการของมารดา
การคลอดก่อนกำหนดหรือเกินกำหนด
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
ทารกได้รับการดูแลไม่เหมาะสมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ บางคนถูกทารุณกรรมหรือถูกทอดทิ้ง
การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ (unwanted pregnancy)
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยทางครอบครัว เช่น ถูกสามีทอดทิ้ง สามีมีภรรยาอยู่แล้ว สามีเสียชีวิต เป็นต้น
2.ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย การตั้งครรภ์ เป็นอุปสรรคต่อการท้างาน เป็นต้น
ปัจจัยทางสังคม เช่น การตั้งครรภ์นอกสมรส ถูกชมขืนหรือถูกล่อลวงทางเพศ การตั้งครรภ์เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การขายบริการทางเพศ เป็นต้น
ปัจจัยทางด้านสุขภาพของมารดาและทารก เช่น มารดามีโรคประจำตัวหรือเป็นโรคทางจิตเวช มารดาติดเชื้อหัดเยอรมันหรือเชื้อเอซไอวี ทารกในครรภ์มีความผิดปกติหรือพิการแต่กำเนิด เป็นต้น
ความล้มเหลวจากการคุมก้าเนิด ซึ่งอาจเกิดจากการใช้ไม่ถูกต้อง ลืมใช้ หรือใช้ถูกต้องแต่วิธีนั้นมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดต่ำ
6.การใช้สารเสพติดในสตรีมีครรภ์ (drug addicted pregnancy)
แนวทางการวินิจฉัย
ซักประวัติและประเมินทางด้านจิตสังคม
การพยาบาล
ให้ความรู้เรื่องการวางแผ่นครอบครัว เพศศึกษาอย่างถูกต้อง การป้องกันการตั้งครรภ์และการคุมกำเนิดอย่างเหมาะสมกับสตรีวัยรุ่น
เมื่อมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ให้คำปรึกษาสตรีและครอบครัวอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะสตรีที่มีการตั้งครรภ์ปกติและต้องการทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลง โดยแนะนำแหล่งช่วยเหลือสนับสนุนต่าง ๆ
สตรีภายหลังการยุติการตั้งครรภ์ ควรให้การดูแลเพื่อป้องกันภาวะแทรกช้อนจากการทำแท้ง คำแนะนำการปฏิบัติตัวภายหลังการแท้ง ส่วนสตรีที่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการทำแท้ง ตามภาวะแทรกช้อนที่เกิดขึ้น
ก่อนกลับบ้าน ให้คำแนะนำเรื่องการมาตรวจตามนัด การวางแผนครอบครัว และการคุมกำเนิดที่เหมาะสมกับสตรี แต่ละราย อันตรายจากการทำแท้งที่ไม่เหมาะสม และแหล่งช่วยเหลือสนับสนุนเมื่อมีปัญหาที่ไม่ สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ
สตรีตั้งครรภ์บางคนตัดสินใจฆ่าตัวตาย เนื่องจากคิดว่าการตั้งครรภ์เป็นตราบาปและไม่สามารถหาทางออกให้กับชีวิตได้
สตรีตั้งครรภ์บางคนปล่อยยให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไปจนคลอด เมื่อคลอดบุตรแล้วยังหาทางออกไม่ได้ จึงตัดสินใจฆ่าบุตร หรือทอดทิ้งบุตร
มีการทำแท้ง ซึ่งอาจถูกกฎหมายหรือผิดกฎหมาย ถ้าทำโดยแพทย์จะเกิดภาวะแทรกซ้อนค่อนข้างน้อย ถ้าทำด้วยตนเองหรือคลินิกเถื่อนมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนมาก เช่น แท้งค้าง ตกเลือด ติดเชื้อ
การใช้สารเสพติดในสตรีมีครรภ์ ( drug addicted pregnancy)
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ
ผลต่อสตรีตั้งครรภ์
ภาวะความดันโลหิตสูงร่วมกับการตั้งครรภ์ ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด และการติดเชื้อในขณะคลอด เกิดการติดเชื้อจากการฉีดสารเสพติดเข้าทางหลอดเลือดดำโดยเฉพาะเชื้อ hepatitis B และ HIV พบอุบัติการณ์ของโรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์สูงขึ้น
ผลต่อทารก
ทารกแรกเกิดมมีน้ำหนักน้อยจากภาวะทุพโภชนาการของมารดา, การคลอดก่อนกำหนดหรือเกินกำหนด, ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์, อัตราตายปริกำเนิดสูง
การพยาบาล
ให้การยอมรับในสภาพของสตรีตั้งครรภ์ที่ใช้สารเสพติด ให้กำลังใจแก่สตรีตั้งครภ์และครอบครัว
ประเมินภาวะแทรกซ้อนของสตรีตั้งครรภ์ การประเมินสัญญาณชีพ การเพิ่มของน้ำหนัก ความสูงของยอดมดลูก การดิ้นและเสียงหัวใจทารกในครรภ์ ตรวจคัดกรองความผิดปกติและประเมิน การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์โดยการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง และประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์ สามี หรือญาติให้เห็นความสำคัญของการมาฝากครรภ์ตามนัด
แนะนำการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
มักพบในกลุ่มที่มีอายุน้อย มีปัญหาครอบครัว และฐานะยากจน เนื่องจากสตรีกลุ่มนี้มักขาดความรู้ที่ถูกต้อง และพบว่าสตรีที่สูบ บุหรี่และดื่มสุรามักจะมีการใช้สารเสพติดมากขึ้น
แนวทางการวินิจฉัย
การซักประวัติ
พบอาการและอาการแสดงของการใช้สารเสพติดชนิดต่าง ๆ หรือสตรีมีครรภ์เป็นผู้ให้ข้อมูลเรื่องการใช้สารเสพติด
การตรวจร่างกาย
พบร่องรอยของการใช้สารเสพติด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
พบสารเสพติดในปัสสาวะ