Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษที่ 3 - Coggle Diagram
กรณีศึกษที่ 3
ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
การเจ็บครรภ์คลอดที่เกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ก่อน 37 สัปดาห์ หรือ 259 วัน นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย โดยมีการหดรัดตัวของมดลูกอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 4 ครั้งใน 20 นาที หรือ 8 ครั้งใน 60 นาที ร่วมกับปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงชัดเจน โดยปากมดลูกเปิดอย่างน้อย 1 เซนติเมตร หรือปากมดลูกบางตัวตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
พบมดลูกหดรัดตัวสม่ำเสมออย่างน้อย 4 ครั้งใน 20 นาที หรือ 8 ครั้งใน 60 นาที ร่วมกับปากมดลูกเปิดตั้งแต่ 1 เซนติเมตร หรือปากมดลูกบางตัวตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ผลการตรวจช่วยในการวินิจฉัย หรือใช้ในการทำนายล่วงหน้า การวัดความยาวของปากมดลูกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง อายุครรภ์ 22-34 สัปดาห์ปากมดลูกมีความยาวเฉลี่ย 35 มิลลิเมตร ร่วมการตรวจลักษณะความบางของปากมดลูกซึ่งจะพบมีการโปงของถุงน้ำเข้าไปใน endocervical canal เรียกว่า funneling โดยลักษณะความหนาบางของปากมดลูกจะเปลี่ยนลักษณะรูปร่างเป็น T, Y, V และ U ตามลำดับ ซึ่งสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 16-24 สัปดาห์ ดังนั้นถ้าความยาวลดลงเหลือน้อยกว่า 25 มิลลิเมตรร่วมกับลักษณะความหนาบางของปากมดลูกเปลี่ยนไป จะใช้เป็นตัวทำนายภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้
การซักประวัติ
พบลักษณะเหมือนการเจ็บครรภ์จริง ซึ่งต้องแยกจากการเจ็บและ Braxton Hick contraction
การพยาบาล
ดูแลให้หญิงตั้งครรภ์ที่ตรวจพบว่าไม่ มีการหดรัดตัวของมดลูกหรือมีการหดรัดตัว ของมดลูกไม่สมํ่าเสมอมากกว่า 10 นาทีต่อครั้งนอนพักบนเตียง ช่วยเหลือกิจกรรมประจําวันต่างๆ บนเตียง จัดสภาพแวดล้อมให้สงบให้พักผ่อน ติดตามประเมินการหดรัดตัวของมดลูกอย่างน้อย ทุก 4 ชั่วโมง
ดูแลให้หญิงตั้งครรภ์ที่ตรวจพบว่าไม่มีการหดรัดตัวของมดลูกหรือมีการหดรัดตัวของมดลูกไม่สมํ่าเสมอมากกว่า 10 นาทีต่อครั้ง ได้รับยาป้องกันการหดรัดตัวของมดลูกชนิดรับประทาน ตามแผน การรักษา เพื่อป้องกันการหดรัด ตัวของมดลูก
ดูแลให้หญิงตั้งครรภ์ที่ตรวจพบว่ามีการหดรัดตัวของมดลูกอย่างสมํ่าเสมออย่างน้อย 1 ครั้ง ในทุก 10 นาทีได้รับยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูกตามแนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลรักษา หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
แนะนำให้มารดาหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา กาแฟ เป็นต้น
สาเหตุ
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์
ความผิดปกติของรก มีภาวะรกเกาะต่ำ หรือรกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะครรภ์แฝดน้ำหรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด และปัจจัยอีกด้านหนึ่ง คือด้านทารกในครรภ์เช่น ทารกในครรภ์มีความผิดปกติภาวะครรภ์แฝดสอง หรือมากกว่า เป็นต้น
ปัจจัยด้านสตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางด้านอายุรศาสตร์ สูติศาสตร์มีการติดเชื้อนอกมดลูก ความผิดปกติของมดลูก เคยมีประวัติคลอดก่อนกำหนดมาก่อนหรือสตรีตั้งครรภ์มีการใช้สารเสพติด
ภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า (Fetal Growth Restriction or Intrauterine growth restriction)
ทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า ค่าเปอร์เซนต์ไทล์ที่10 ของอายุครรภ์นั้นๆ อาจจะมีการอ้างถึงค่า 5 หรือ 3 เปอร์เซนต์ไทล์2,3 บ้างแต่ไม่แพร่หลาย พบว่าร้อยละ 70 ของทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 10 เปอร์เซนต์ไทล์ เป็นทารกปกติที่มีขนาดเล็ก (small for gestational age, SGA) เท่านั้นและไม่มีความเสี่ยงต่อการตายหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยทางพันธุกรรม รก โรคประจำตัวของมารดา หรือปัจจัยร่วมอื่นๆ
สาเหตุ
ปัจจัยจากรก
ความผิดปกติของรกทำให้เกิดการเจริญเติบ โตช้ของทารกในครรภ์ได้ เช่น circumvalate placenta, partial placental abruption , placenta accrete , placenta infarction
ปัจจัยด้านมารดา
มารดาที่มีขนาดตัวเล็ก (constiutional small ) มักให้กำเนิดทารกขนาดเล็ก มารดาที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 100 ปอนด์มีโอกาสให้กำเนิดทารกที่มีขนาดเล็กเป็น 2 เท่าของมารดาที่มีน้ำหนักปกติ
โรคของหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โดยเฉพาะกรณี ที่มีภาวะ prccclampsia แทรกซ้อนมักจะทำให้เกิดทารกเจริญเติบโดช้ำในครรภ์ โรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการจับออกซิเจนของเม็ด
ภาวะโกชนาการ มีผลกระทบต่อการตั้งครรก็ น้ำหนักที่ขึ้นน้อยระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้เกิดความเสี่ยงของทารกเจริญเติบโตช้ในครรภ์ น้ำหนักของมารดาที่ขึ้นน้อยกว่า 10 กิโลกรัม ตลอดการตั้งครรก็หรือน้อยกว่า 0.27 กิโลกรัมต่อสัปดาห์พบความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ IUGR เพิ่มขึ้น
ประวัติอดีต ปัจจัยทางสังคม มีผลต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่ดี เช่น การแท้งเอง ทารกตายในครรภ์พบมีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตช้าของทารกในการตั้งครรภ์ครั้งใหม่ มารดาที่มีประวัติการคลอด
สารเสพติด การได้รับรังสี บุหรี่ เหล้า ยาบางชนิดเช่นยากันชัก phenytoin rimethadion ทำให้เกิดทารกรูปพิการรวมทั้งการเจริญเดิบโตช้ในกรรภ์ โดยมารคากลุ่มนี้มักมีภาวะทุพโกชนาการ สุขภาพและสิ่งเวคล้อมไม่ดี รวมทั้งมีการฝากครรภ์ที่ไม่ดีหรือไม่ฝากครรภ์ร่วมด้วย
ปัจจัยจากตัวทารก
ทารกรูปพิการแต่กำเนิด (congenital malformation) พบการเจริญเติบโตช้ำในครรภ์ได้สูงถึงร้อยละ 22 ทารกที่มีความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือดมักเกิดกาวะ IUGR ได้บ่อย
การติดเชื้อของทารกในกรรภ์ พบการติดเชื้อจากไวรัส แบกที่เรีย โปรโตซัว หรือ spirochete ร่วมด้วยประมาณร้อยละ 5 เชื้อที่พบบ่อย คือ rubella และ cytomcgalovirus
ความผิดปกติของโครโมโซม หลอดเลือดใน tertiary stcm vili ของรกในทารกที่เป็น autosomal trisomies จะมีจำนวนลดลงทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของรกลดลง การเจริญเดิบ โตและการพัฒนาของเซลล์ลดลง
การตั้งครรก็แฝด ทารกแฝดทั้งแฝดสอง แฝดมากกว่าสองพบการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ได้และน้ำหนักแรกคลอดจะน้อยกว่าทารกครรภ์เดี่ยวที่อายุครรภ์เดียวกัน
การวินิจฉัย
การซักประวัติและการตรวจร่างกาย
ประวัติเศรษฐานะทางสังคมที่ไม่ดี ประวัติการใช้ยาหรือสารเสพติด ประวัติการตั้งครรภ์ครั้งก่อนซึ่งมีผลการคลอดที่ไม่ดี ประวัติโรคทางพันธุกรรม รวมทั้งประวัติความเจ็บป่วยต่าง ๆ โรคทางอายุรกรรม
การตรวจร่างกาข น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ กรวัดระดับขอดมดลูกจากกระดูกหัวเหน่า
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อกันหาความผิดปกติของทารกเจริญเติบโตช้ในครรภ์ชนิด symmetrical IUGR ซึ่งอาจมีสาเหตุจากความผิดปกติของโครไมโซม โดยทารกกลุ่มนี้มักพบรูปพิการชนิดต่าง ๆ ซึ่งวินิจฉัยได้โดยคลื่นเสียงความถี่สู
การตรวจคิ้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อวัคขนาดของทารก (feal biomeric)
การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงตรวจวัดปริมาณน้ำคร่ำ
การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงคอพเลอร์ หลอดเลือดที่ใช้ประเมินคือหลอดเลือคแดงมดลูก (uterine artery) หลอดเลือดแดง สายสะดือ (umbilical artery) และหลอดเลือดแดง (middle cerebral)
การพยาบาล
แนะนำการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำบริสุทธิ์อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว นอนหลับพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี ไม่ใช้สารเสพติด และไปฝากครรภ์ตามนัดสม่ำเสมอ
ให้มารดาเน้นความสำคัญของการนับลูกดิ้น ตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์เป็นต้นไป ถ้าลูกดิ้นน้อยกว่า 3 ครั้งใน 1 ชั่วโมงหลังมื้ออาหารแต่ละมื้อที่ให้นับ ต้องรีบมาโรงพยาบาลทันที เพราะลูกอาจมีความผิดปกติเกิดขึ้น
การตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่น (teenage or
adolescent pregnancy)
การตั้งครรภ์ในสตรีที่อายุต่ำกว่า 20 ปี สามารถแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ วัยรุ่นตอนต้นอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 14 ปี วัยรุ่นตอนกลาง อายุ 15-17 ปี และวัยรุ่นตอนปลาย อายุ 18-19 ปี ซึ่งการตั้งครรภ์ในช่วงวัยรุ่นตอนต้น และตอนกลาง จะส่งผลกระทบต่อสตรีมีครรภ์และทารกมากกว่าช่วงวัยรุ่นตอนปลาย
สาเหตุ
สภาพครอบครัว
การขาดความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์หรือความล้มเหลวในการคุมกำเนิดด้วยวิธีต่างๆ
การถูกข่มขืนโดยบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลอื่น
การที่สตรีมีประจำเดือนครั้งแรกเร็ว ท้าให้มีการตกไข่เร็วจึงสามารถตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่อายุน้อย
การพยาบาล
ตรวจหาอายุครรภ์ที่ถูกต้อง คัดกรองความผิดปกติของทารกในครรภ์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
ตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี และให้การรักษาที่เหมาะสมเพื่อลดการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก
คำแนะนำเกี่ยวกับภาวะโภชนาการที่เหมาะสม
การดูแลสภาพจิตใจ ให้กำลังใจและคำปรึกษากับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจระหว่างการตั้งครรภ์
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างเช่น การสูบบุหรี่ การใช้ยาหรือสารเสพติด
การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ (unwanted pregnancy)
สาเหตุ
ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย
ปัจจัยทางสังคม เช่น การตั้งครรภ์นอกสมรส ถูกขมขืนหรือถูกล่อลวงทางเพศ
ปัจจัยทางครอบครัว เช่น ถูกสามีทอดทิ้ง สามีมีภรรยาอยู่แล้ว สามีเสียชีวิต
ปัจจัยทางด้านสุขภาพของมารดาและทารก เช่น มารดามีโรคประจำตัวหรือเป็นโรคทางจิตเวช
การพยาบาล
ประเมินความรู้สึกของสตรีตั้งครรภ์ต่อการตั้งครรภ์
ครั้งนี้
การให้คำปรึกษาทางเลือก (Option counseling) ซึ่งเป็นกระบวนการประเมิน การตัดสินใจอย่างระมัดระวังบนฐานข้อมูลที่เพียงพอ