Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์ กรณี 6 - Coggle…
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์
กรณี 6
ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (Abruptio placentae หรือ placental abruption)
ความหมาย
ภาวะที่มีการลอกหรือแยกตัวจากผนังมดลูกของรกที่เกาะในตำแหน่งปกติ หลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ โดยรกอาจลอกตัวเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด ทำให้เกิดการตกเลือดก่อนคลอด และส่งผลให้อัตราการเจ็บป่วยและอัตราตายของหญิงตั้งครรภ์และทารกเพิ่มขึ้น
การพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะ hypovolemic shock เนื่องจากสูญเสียเลือด จากการเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
สังเกตระดับความรู้สึกตัวและอาการผิดปกติจาก
การเสียเลือดหลังผ่าตัด เช่น อาการกระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็วแต่เบา
ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพ 15 นาที 4 ครั้ง 30 นาที 2 ครั้ง 1 ชั่วโมง จนกว่าจะคงที่และ
ประเมินทุก 4 ชั่วโมง
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำทดแทนตามแผน
การรักษา Acetar 1,000 ml IV drip 30 drop/min
บันทึกปริมาณสารน้ำที่ร่างกายได้รับและปริมาณ
ปัสสาวะออกไม่ควรน้อยกว่า 30 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง
ภาวะทารกตายในครรภ์ (Dead fetus in utero : DFIU)
ความหมาย
ทารกตายในครรภ์ องค์การอนามัยโลก (WHO : World Health Organization) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เป็นทารกที่ตายแล้วทุกราย ก่อนที่การคลอดจะเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งทารกนั้นต้องไม่หายใจ หัวใจไม่เต้น คลำชีพจรที่สายสะดือไม่ใด้ ไม่มีการเคลื่อนไหวแขนขา ลำตัว หรือศีรษะ แต่สำหรับในประเทศกำลังพัฒนา จะหมายถึงการตายของทารกในครรภ์ ตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์
ขึ้นไป หรือน้ำหนักทารกตั้งแต่ 1,000 กรัมขึ้นไป
Early fetal death ตายก่อน 20 สัปดาห์
Intermediate death ตายระหว่าง 20-28 สัปดาห์
Late fetal death ตายตั้งแต่ 28 สัปดาห์ขึ้นไป
การพยาบาล
หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวเกิดความรู้สึกโศกเศร้าเนื่องจากสูญเสียทารก
เมื่อทราบว่าทารกตายในครรภ์ ให้ข้อมูลกับทีมสุขภาพทุกคน
อนุญาตให้บิดาหญิงตั้งครรภ์อยู่ด้วยกันในห้องที่เป็นสัดส่วน
อยู่เป็นเพื่อนกับบิดาหญิงตั้งครรภ์ เปิดโอกาสให้ระบายความรู้สึก
จัดให้พยาบาลคนเดิมดูแล และประคับประคองจิตใจของบิดาหญิงตั้งครรภ์และปรับปรุงแผนการพยาบาล
เป็นสื่อกลางประสานงานระหว่างหญิงตั้งครรภ์ครอบครัว แพทย์และจิตแพทย์ ในการให้ข้อมูลกับผู้ป่วยเป็นระยะๆ เปิดโอกาสให้พูดคุย ระบายความรู้สึกและวางแผนการ
รักษาร่วมกัน
หญิงตั้งครรภ์ที่ถูกกระทำความรุนแรง
ความหมาย
ความรุนแรงในหญิงตั้งครรภ์ (abuse during pregnancy) หมายถึง พฤติกรรมหรือการกระทำใดๆ ก็ตามที่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทั้งกาย วาจา จิตใจ และทางเพศ การจำกัดกีดกันเสรีภาพทั้งในที่สาธารณะและในการดำเนินชีวิตส่วนตัว ซึ่งเป็นผลให้เกิดความทุกข์ทรมานต่อหญิงตั้งครรภ์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เป็นการกระทำทุกรูปแบบจากบุคคลในครอบครัว สามีหรือคู่ครองที่ก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บทางร่างกาย ทางจิตใจ ทางเพศและทางจิตสังคมของหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่พบได้ในสังคมทุกเชื้อชาติ ชนชั้น เศรษฐานะ ระดับการศึกษาและภาวะสุขภาพไม่เว้น แม้สตรีนั้นจะอยู่ในภาวะตั้งครรภ์
การทำร้ายร่างกาย
การข่มเหงทางเพศ
การทำร้ายจิตใจโดยวาจาหรืออารมณ์ (verbal or emotional abuse)
การพยาบาล
หญิงตั้งครรภ์มีความบอบช้ำของร่างกายเนื่องจากถูกสามีทำร้ายร่างกาย
ประเมินบาดแผลบนร่างกาย
ประคบด้วยความเย็นในทันทีที่ได้รับบาดเจ็บชนิดฟกช้ำพร้อมกับการกดเบาๆตรงบริเวณฟกช้ำ
ประมาณ 5-10 นาที อาจทำเช่นนี้ซ้ำกัน 2-3 ครั้ง
สร้างสัมพันธภาพที่ดีเพื่อให้เกิดความไว้วางใจและให้ความสนใจรับฟังอย่างตั้งใจและเชื่อในสิ่งที่หญิงตั้งครรภ์พูดเมื่อหญิงตั้งครรภ์เปิดเผยข้อมูลพยาบาลควรสะท้อนความคิดและความรู้สึก
วางแผนความปลอดภัยร่วมกับหญิงตั้งครรภ์ (Develop a safety plan)