Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน้าที่และมารยาทของชาวพุทธ - Coggle Diagram
หน้าที่และมารยาทของชาวพุทธ
หน้าที่ของชาวพุทธ
การเข้าร่วมพิธีกรรมทางพุทธศาสนา
พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา หมายถึง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับศาสนาหรือลัทธิประเพณีที่กำหนดขึ้นเป็นแบบอย่างสำหรับให้พุทธศาสนิกชนได้ยึดถือปฏิบัติ
ความสำคัญของการประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา
1.เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในสังคม
2.เป็นจุดนัดหมายให้ตั้งใจเริ่มต้นเตรียมตัวให้พร้อม
3.เป็นเครื่องควบคุมกาย วาจา และใจให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
4.เป็นอุบายที่ทำให้คนหมู่มากอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
การบรรรพชาและอุปสมบทในพระพุทธศาสนา
การบรรพชา แปลว่า
การเว้นจากความชั่วทุกอย่าง
อุปสมบท แปลว่า การเข้าถึงสภาวะอันสูง
หมายถึง การบวชเป็นภิกษุ
ประเภทของการบรรพชาและอุปสมบท
1.เอหิภิกขุอุปสัมปทา
2.ติสรณคมนูปสัมปทา
3.โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา
4.ปัญหาพยากรณูสัมปทา
5.ครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา
6.ทูเตนอุปสัมปทา
7.อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา
8.ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา
ประโยชน์ของการบรรพชาและอุปสมบท
1.เพื่อเรียนรู้พระธรรมวินัย ฝึกฝนพัฒนาตนเอง
2.เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไป
3.เพื่อฝึกฝนอบรมให้รู้จักอดทน อดกลั้น
4.เพื่อดำรงตนให้เป็นพลเมืองดีของสังคม
การบวชเป็นชี ธรรมจาริณี หรือเนกขัมมนารี
ชี หมายถึง สตรีผู้นุ่งขาวห่มขาว โกนผม โกนคิ้ว สมาทานและรักษาศีล๕
วิธีการบวช
1.ผู้ขอบวชต้องแต่งกายชุดขาว พร้อมสไบขาว
2.ตัวแทนผู้ขอบวชถวายธูปเทียนแพแด่พระสงฆ์จำนวน 1รูป หรือ 4รูปขึ้นไป
กราบ 3 ครั้ง
4.กว่าวคำบูชาพระรัตนตรัย
5.กล่าวคำอาราธนาศีล 8
6.รับไตรสรณคมณ์
7.สมาทานศีล 8
8.นำเครื่องสักการะไปถวายพระอาจารย์ รับฟังโอวาท เป็นอันเสร็จพิธี
ประโยชน์ของการบวช
1.เพื่อฝึกฝนอบรมตน
2.เพื่อเพิ่มพูนบุญกุศลให้ยิ่งๆขึ้นไป
3.เพื่อให้จิตสงบ ปราศจากความฟุ้งซ่าน
4.เพื่อปลดเปลื้องตนให้พ้นจากความทุกข์
การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และธรรมศึกษา
ความเป็นมาของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
เริ่มมาจากแนวคิดของพระพิมลธรรม องค์สภานายกมหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย หลังจากได้เดินทางไปดูงานด้านพระพุทธศาสนาที่ประเทศพม่าและศรีลังกา ได้พบเห็นการสอนพระพุทธศาสนาในวันอาทิตย์ และเห็นว่ามีผลดีมากเมื่อเดินทางกลับจึงนำแนวคิดมาดำเนินการเปิดสอนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๐๑ ที่มหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย
วัตถุประสงค์ของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
1.เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนา
2.เพื่อส่งเสริมความรู้ และปลูกฝังศีลธรรม วัฒนธรรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามให้กับเด็กและเยาวชน
3.เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ใกล้ชิดกับพระภิกษุและสามเณร
4.เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
ธรรมศึกษา
คือการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาสำหรับคฤหัสถ์
แบ่งการเรียนเป็น 3 ระดับ คือ ธรรมศึกษาตรี ธรรรมศึกษาโท ธรรมศึกษาเอก
วัตถุประสงค์ของการจัดธรรมศึกษา
1.เพื่อเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนเป็นที่คฤหัสถ์มีโอกาสศึกษาพุทธประวัติ ประวัติพุทธสาวก พระธรรม พระวินัยพุทธศาสนสุภาษิต ศาสนพิธีอย่างถูกต้อง
2.เพื่อเปิดให้คฤหัสถ์สามารถนำหลักธรรมมาแระยุกต์ในการดำเนินชีวิต
3.เพื่อความมั่นคงและแพร่หลายยิ่งๆขึ้นไปของพระพุทธศาสนา
4.เพื่อสร้างสังคมคุณภาพ รวมทั้งพัฒนาพระสงฆ์ให้มีความสามารถในการเผยแผ่หลักธรรม
การปลูกจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในสังคม
การบวช วิธีหนึ่งของการสร้างสมาชิกให้กับสังคมพุทธ
ศึกษาคำสอน แบะปฏิบัติตามคำสอน
เผยแผ่คำสอน
ปกป้องและรักษาพระพุทธศาสนา
การเข้าค่ายพุทธธรรม
ประโยชน์ของการเข้าค่ายพุทธธรรม
ปลูกฝังนิสัยที่ดีงามตามหลักพระพุทธศาสนา
2.รู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคม
3.เรียนรู้หลักธรรมและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอน
4.ได้ฝึกอบรมจิต ฝึกใช้ชีวิตครองตนถือเพศพรหมจรรย์
มารยาทชาวพุทธ
การแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย
พระรัตนตรัย หมายถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
วิธีแสดงความเคารพพระรัตนตรัย คือ การกราบด้วยวิธีเบญจางคประดิษฐ์ เป็นการกราบด้วยการให้อวัยวะทั้ง๕ส่วน จดกับพื้น คือ มือ๒ เข่า๒ หน้าผาก๑
ขั้นตอนการกราบพระรัตนตรัยมีดังนี้
ท่าเตรียม
ชาย นั่งท่าเทพบุตร เข่ายันพื้นห่างกันพอสมควร ปลายเท้าตั้งชิดกัน นั่งทับส้นเท้า
หญิง นั่งท่าเทพธิดา เข่ายันพื้นในลักษณะชิดกัน ปลายเท้าราบไปกับพื้น หงายฝ่าเท้าออก นั่งทับส้นเท้า
จังหวะที่๑ : ประนมมือระหว่างอก(อัญชลี)
จังหวะที่๒ ยกมือที่ประนมขึ้นพร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อย นิ้วหัวแม่มือจดกลางหน้าผาก(ปลายนิ้วชี้จะสูงกว่าศีรษะ) (วันทา)
2 more items...
การแสดงความเคารพต่อปูชนียสถาน
ปูชนียสถาน หมายถึง สถานที่อันควรแสดงความเคารพสักการะ ซึ่งได้แก่ ศาสนสถาน โบสถ์ วัด
วิธีแสดงความเคารพต่อปูชนียสถาน
๑.ถ้าเป็นสถานที่ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปมีพื้นที่เหมาะสมที่จะแสดงความเคารพได้อย่างสะดวก เช่น ในโบสถ์ วิหาร หรือศาลาการเปรียญ ให้ใช้วิธีการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์
๒.ถ้าเป็นสถานที่ที่ไม่เหมาะสมแก่การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ให้ใช้วิธีประนมมือไหว้
การแสดงความเคารพต่อปูชนียบุลคล
ปูชนียบุคคล หมายถึง บุคคลที่คสรแสดงความเคารพสักการะ ได้แก่ พระภิกษุ บิดา มารดา ครู อาจารย์ ผู้ที่ควรแสดงความเคารพทั่วๆไป วิธีแสดงความเคารพต่อปูชนียบุคคล ทำได้ดังนี้
๑.การกราบพระ
๑.๑ การกราบพระ ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูป หรือพระภิกษุ ใช้วิธีแสดงความเคารพเหมือนกัน คือกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์
๑.๒การกราบบิดา มารดา ครู อาจารย์ ให้ปฏิบัติดังนี้
๑.นั่งพับเพียบ
๒.เบี่ยงตัวหมอบลง ให้เข่าข้างหนึ่งอยู่ระหว่างแขนทั้งสองข้าง
๓.วางแขนทั้งสองราบลงกับพื้นตลอดครึ่งแขน คือจากศอกถึงมือ
๔.ประนมมือวางตั้งลงกับพื้นแล้วก้มศีรษะลงให้หน้าผากแตะสันมือ
๕.ทำครั้งเดียวไม่แบมือ แล้วทรงตัวนั่งขึ้น
๒.การไหว้
๒.๑การไหว้พระสงฆ์(ขณะยืน)
๑.ยกมือที่ประนมขึ้นจดหน้าผาก
๒.ให้ปลายหัวแม่มือจดระหว่างคิ้ว น้อมศีรษะลงให้ปลายนิ้วชี้จดตีนผม แนบมือให้ชิดหน้าผาก ค้อมตัวให้มาก
๓.ผู้ชาย ให้ยืนส้นเท้าชิด ปลายเท้าแยกเล็กน้อย ผู้หญิงก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าเพื่อยันพื้นกันล้ม ย่อตัวค้อมศีรษะงงไหว้ ไหว้ตรงๆ ไม่เอียงซ้ายหรือขวา
๒.๒การไหว้บิดามารดา(ขณะยืน)
๑.ยกมือที่ประนมขึ้นจดส่วนกลางของหน้า
๒.ให้ปลายนิ้วหัวแม่มือจดปลายจมูก ค้อมศีรษะให้ปลายนิ้วชี้จดระหว่างคิ้ว
๓.ผู้ชายให้ยืนส้นเท้าชิด ปลายเท้าแยกเล็กน้อย ค้อมแต่ส่วนไหล่และศีรษะ ผู้หญิงก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าย่อตัวลงไหว้ ค้อมศีรษะต่ำรับปลายนิ้ว
๒.๓ การไหว้ผู้ใหญ่
ยกมือที่ประนมจดส่วนล่างของหน้า ให้ปลายหัวแม่มือจดปลายคาง ให้นิ้วชี้จดจมูกส่วนบน ก้มศีรษะรับปลายมือให้พองาม
1 more item...
การปฏิสันถารตามหลักปฏิสันถาร
การปฏิสันถาร หมายถึง การต้อนรับแขก การทักทายปราศรัย ในสังคมไทย มีคำกล่าวว่า"เป็นธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ"คำกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่าเป็นมารยาทของคนไทย ซึ่งได้รัยอิทธิพลมาจากคำสอนตามหลักพระพุทธศาสนา ในทางพระพุทธศาสนามีคำสอนเรื่องการรับรองต้อนรับแขก หรือก่รปฏิสันถาร ๒ ดังนี้
๑.อามิสปฏิสันถาร คือ การต้อนรับด้วยสิ่งของ เช่น เมื่อแขกมาพบให้หาน้ำมารับรองก่อนแล้วก็รับรองด้วยอา
หารอื่นๆตามสมควร ในอดีตมีคำกล่าวทักทายกันติดปากว่า"ไปไหนมา กินข้าวหรือยัง มากินกันก่อน"แสดงให้เห็นว่า คนไทยให้ความสำคัญกับการต้อนรับแขกด้วยอาหาร มีความเอื้อเฟื้อเผื้อแผ่ มีน้ำใจ
๒.ธรรมปฏิสันถาร คือ การต้อนรับด้วยธรรม หมายถึง การต้อนรับที่ทำพอดีสมควรกับฐานะของแขก เช่น ถ้าแขกมาพบก็ต้องลุกขึ้นยืนต้อนรับ ถ้าแขกมีเรื่องเดือดร้อนใจมาขอคำปรึกษาก็ต้องเป็นผู้รับฟัง และให้คำแนะนำช่วยแก้ปัญหาตามแต่อัตภาพของตน
การปฏิสันถาร ถือเป็นมารยาทไทยที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกกับกาลเทศะ บุคคล สถานที่ อย่าให้ดูน้อยหรือมากจนเกินงามและแสดงออกด้วยความเต็มใจ จริงใจ