Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 11 การออกแบบการสุ่มตัวอย่าง, นางสาวกัญญารัตน์ ดีวัล รหัส 102 …
บทที่ 11
การออกแบบการสุ่มตัวอย่าง
คำว่า" ประชากร " (population) ในการวิจัย หมายถึง สมาชิกทั้งหมดของสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการจะศึกษา เช่น คน สัตว์ วัตถุ สิ่งของ พฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ต่างๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
ประชากรที่มีจำนวนจำกัด (finite population) หมายถึงประชากรที่สามารถนับจำนวนสมาชิกได้ว่ามีอยู่เท่าไหร่
ประชากรที่มีจำนวนไม่จำกัด (infinite population) หมายถึง ประชากรที่ไม่สามารถนับจำนวนสมาชิกได้ว่ามีอยู่เท่าไหร่หรือไม่สามารถนับจำนวนสมาชิกได้ครบถ้วน
กลุ่มตัวอย่าง" (sampl)
สมาชิกบางส่วนของสิ่งที่นักวิจัยต้องการจะศึกษา ซึ่งสมาชิกบางส่วนนี้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมดหรือเป็น “ตัวอย่างเป็นสับเซตของประชากร”
ความจำเป็นหรือเหตุผลที่ต้องมีการสุ่มตัวอย่าง
ข้อจำกัดทางด้านทรัพยากร
ความเสียหายจากการวัดหรือการจัดเก็บข้อมูล
ความถูกต้องแม่นยำ
สรุปข้อดีและข้อเสียของการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ข้อดี คือ ได้ข้อมูลครบถ้วน(ประชากร)
ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย(กลุ่มตัวอย่าง)
ข้อเสีย คือ เสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก (ประชาชน)
เกิดความคลาดเคลื่อนในการสุ่มตัวอย่าง (กลุ่มตัวอย่าง)
กระบวนการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง
การนิยามประชากรที่จะทำการสุ่มตัวอย่าง
ถ้าเราต้องการศึกษาถึงเงินเดือนของอาจารย์มหาวิทยาลัย เราก็จะต้องนิยามขอบเขตของประชากรที่เราต้องการศึกษาว่าจะรวมอาจารย์มหาวิทยาลัยทุกตำแหน่งในทุกคณะหรือไม่ และจะรวมถึงผู้บริหารวิทยาลัยด้วยหรือไม่
การจัดทำรายงานของหน่วยที่จะทำการศึกษาทั้งหมด
การวิจัยเชิงสำรวจ หากเราต้องการสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนของแต่ละหมู่บ้านในตำบลแห่งหนึ่ง ก็ควรจะมีบัญชีรายชื่อของหัวหน้าครัวเรือนทั้งหมดที่จะทำการศึกษา
การเลือกตัวอย่างที่เป็นตัวแทน
หลังจากที่นักวิจัยได้นิยามประชากรที่จะทำการสุ่มตัวอย่างและจัดทำรายการของหน่วยที่จะทำการศึกษาทั้งหมดแล้ว นักวิจัยจะต้องกำหนดวิธีในการเลือกตัวอย่างให้เหมาะสมกับธรรมชาติของประชากรที่จะสุ่ม การเลือกตัวอย่างเป็นวิธีที่ง่าย แต่ก็มีข้อผิดพลาดที่พบบ่อย
การได้รับตัวอย่างที่มีขนาดเพียงพอ
การศึกษาคะแนนเชาวน์ปัญญาของเด็ก ถ้าหากเราเลือกตัวอย่างเด็กเพียง 2 คนจาก 100 คน มาทำการศึกษาผลที่ได้อาจจะไม่เป็นตัวแทนของกลุ่มทั้งหมด เพราะฉะนั้นจึงมีคำถามว่า "จำนวนตัวอย่างเท่าใดจึงจะเพียงพอ" ซึ่งก็ไม่มีกฎตายตัวแต่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
หลักการออกแบบการสุ่มตัวอย่าง (Sampling Design)
การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (Sample Size)
ขนาดของประชากร (N)
โดยทั่วไปถ้าประชากรมีขนาดใหญ่มากเพียงใด ขนาดกลุ่มตัวอย่างจะใหญ่ตามไปด้วย
ความแปรปรวนของลักษณะในประชากรที่ศึกษา
ถ้าประชากรมีลักษณะของสิ่งที่ต้องการศึกษาผันแปรหรือมีความแตกต่างระหว่างน้อยหรือมาก ยิ่งมีความจำเป็นที่จะต้องใช้กลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ขึ้น
ระดับความมั่นใจหรือความเชื่อมั่นของการสรุปอ้างอิงผลการศึกษา
ถ้าผู้วิจัยต้องการความเชื่อมั่นต่อผลสรุปที่ได้จากการสำรวจสูงเพียงไร ยิ่งมีความจำเป็นที่จะต้องใช้กลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ขึ้นมากเพียงนั้น
ขนาดความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้เกิดขึ้น
เป็นขนาดความแตกต่างระหว่างค่าที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างกับค่าที่แท้จริงของประชากรขนาดความคลาดเคลื่อนนี้นิยมคิดเป็น ร้อยละ (%) ของค่าที่แท้จริงเช่น
1 - 5%
วิธีการสุ่มตัวอย่าง (Sampling Methods)
การสุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น
การเลือกตัวอย่างแบบกำหนดโควตา เป็นการเลือกตัวอย่าง โดยนักวิจัยกำหนดหรือจำแนกประชากรออกเป็นส่วนตามคุณลักษณะหรือตัวแปรที่ใช้ในการจำแนก
การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง หรือการเลือกตัวอย่างโดยใช้วิจารณญาณ
การเลือกตัวอย่างแบบก้อนหิมะ การเลือกตัวอย่างวิธีนี้ใช้ในกรณีที่ตัวอย่างมีลักษณะพิเศษมีเงื่อนไขหรือ
ความชำนาญพิเศษ
การเลือกตัวอย่างโดยการบังเอิญ หรือการเลือกตัวอย่างตามความสะดวก
การสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น (Probability Sampling)
การสุ่มตัวอย่างแบบยกกลุ่ม
การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ
ทำบัญชีรายชื่อของสมาชิกทุกหน่อยในประชากร
การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น
เป็นการสุ่มตัวอย่างประชากรแบบแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มย่อยหรือชั้น ตามตัวแปรจำแนกที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษา
การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย
จับสลาก
ใช้ตารางเลขสุ่ม
การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
นางสาวกัญญารัตน์ ดีวัล รหัส 102
การศึกษาปฐมวัย ปี 4 ห้อง 1