Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อน ในขณะตั้งครรภ์ กรณี 1 - Coggle…
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อน
ในขณะตั้งครรภ์
กรณี 1
ภาวะแท้ง
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1) การแท้งเอง (Spontaneous abortion)
1.แท้งคุกคาม (threatened abortion)
อาการและอาการแสดง เช่น
มีเลือดออกกะปริบกะปรอยทางช่องคลอด
คลำมดลูกได้โตเท่าอายุครรภ์
การวินิจฉัยโรค เช่น
ทดสอบการตั้งครรภ์(pregnancy test) ได้ผลบวก หรือตรวจด้วยคลื่นเสี่ยงความถี่สูง(Ultrasonography) พบว่าทารกยังมีชีวิตอยู่
ตรวจภายในพบปากมดลูกปิด คลำมดลูกได้โตเท่าอายุครรภ์
แท้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
อาการและอาการแสดง
ปวดท้องมากขึ้น อาจมีอาการปวดถ่วงและปวดหลัง อาจปวดเป็นพักๆ
เลือดออกทางช่องคลอดเพิ่มมากขึ้น อาจออกเป็นก้อนเลือด
ตรวจภายในพบปากมดลูกเปิด อาจเห็นถุงน้ำคร่ำแตก หรือมีชิ้นส่วนของทารก หรือรกมาอุดตรงปากมดลูก
การวินิจฉัยโรค
จากการตรวจภายในพบปากมดลูกเปิด อาจพบถุงน้ำคร่ำแตก หรือมีชิ้นส่วนของทารกและรกอุดอยู่ที่ปากมดลูก
จากประวัติอาการและอาการแสดง
3.แท้งไม่ครบ
อาการและอาการแสดง
มีเลือดออกทางช่องคลอดร่วมกับมีชิ้นส่วนของทารกออกมา
มีอาการปวดท้องเป็นพักๆเนื่องจากมดลูกมีการหดรัดตัว
การวินิจฉัยโรค
จากการซักประวัติการมีเลือดออกทางช่องคลอดร่วมกับมีส่วนของทารกออกมา
ตรวจภายในพบปากมดลูกเปิดและพบส่วนของรกหรือเยื่อหุ้มทารกค้างอยู่ในช่องคลอดหรือปากมดลูก
4.แท้งครบ
อาการและอาการแสดง
ตรวจภายในพบปากมดลูกปิด ถ้าแท้งครบภายหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ อาจพบปากมดลูกเปิดเล็กน้อย และหลังจากนั้นปากมดลูกก็จะปิด
คลำมดลูกได้ขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์
การวินิจฉัยโรค
จากประวัติที่มีเลือดออกทางช่องคลอดพร้อมกับมีทารกและรกออกมาครบ หลังจากนั้นมีเลือดออกทางช่องคลอดน้อยลง
ตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงไม่พบถุงน้ำ ทารก และรกในโพรงมดลูก
5.แท้งค้าง
อาการและอาการแสดง
อาการคลื่นไส้อาเจียน คัดตึงเต้านมหายไป หลังจากที่เคยมีอาการเหล่านี้มาก่อน มดลูกมีขนาดเล็กลง เด็กเคยดิ้นแล้วหยุดดิ้น หรือเด็กไม่ดิ้นหลังจากอายุครรภ์ 18 สัปดาห์ในครรภ์แรก และหลังจากอายุครรภ์ 16 สัปดาห์ในครรภ์หลัง
ฟังเสียงหัวใจทารกไม่ได้ยิน
การวินิจฉัยโรค
ตรวจปัสสาวะเพื่อหาฮอร์โมน 𝜷hCG ได้ผลลบ
ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงพบถุงน้ำเล็กกว่าอายุครรภ์ มีการเกยกันของกระโหลดศีรษะทารก (spalding's sign) และไม่พบการเต้นหัวใจทารก
6.แท้งอาจิณ
อาการและอาการแสดง
ปวดหน่วงท้องน้อย
ถุงน้ำคร่ำแตก
การวินิจฉัยโรค
ตรวจเลือดเพื่อ ดูระดับฮอร์โมนต่างๆ เช่น ไทรอยด์ฮอร์โมน ฮอร์โมนเพศ เช่น โปรแลค ติน (Prolactin) ตรวจหาโรคเบาหวาน ตรวจระดับแอนติบอดี/Antibody (สารภูมิต้านทาน ) เพื่อดูโรคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย ที่อาจเป็นสาเหตุแท้งซ้ำได้ เช่น โรค Antiphospholipid antibody syndrome
ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตราซาวด์) บริเวณอุ้งเชิงกราน เพื่อประเมินความผิดปกติของมดลูกและรังไข่
7.แท้งติดเชื้อ
อาการและอาการแสดง
อาการไข้สูง มากกว่า 38 องศาเซลเซียส
ปวดท้องน้อยและกดเจ็บ มีเลือดหรือสารคัดหลั่งออกทางช่องคลอดมีกลิ่นเหม็นเน่า หรือมีภาวะ shock
การวินิจฉัยโรค
การตรวจเพาะเชื้อก่อโรค
การตรวจคลื่นความถี่สูง
2) การชักนำให้เกิดการแท้งหรือการทำแท้ง (induced abortion)
การทำแท้งรักษา (therapeutic abortion)
การทำแท้งผิดกฎหมาย (criminal หรือ illegal abortion)
การแท้งติดเชื้อ(septic abortion)
สาเหตุ
การตั้งครรภ์ที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรือชีวิตของสตรีมีครรภ์ เช่น โรคหัวใจที่เคยมีภาวะหัวใจวาย ความดันโลหิตสูงรุนแรง หรือมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น
ทารกในครรภ์มีความผิดปกติ เช่น พิการอย่างรุนแรง ปัญญาอ่อน Hydrops fetalis หรือทารกในครรภ์ที่มารดาได้รับเชื้อหัดเยอรมันในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เป็นตัน
การตั้งครรภ์ที่เกิดจากถูกข่มขืนกระทำชำเรา
ความไม่พร้อมของหญิงตั้งครรภ์ หรือครอบครัวในการเลี้ยงดูทารก
การพยาบาล
มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการขูดมดลูก
-สังเกตปริมาณเลือดที่ออกจากช่องคลอด และประเมินอาการปวดท้อง
-บันทึกสัญญาณชีพทุก 15 นาที 4 ครั้ง ทุก 30 นาที 2 ครั้ง ทุก 1 ชั่วโมงจนสัญญาณชีพคงที่จึงบันทึกทุก 4 ชั่วโมง
-ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
ภาวะครรภ์แฝดน้ำ (Hydramnios หรือ Polyhydramnios)
ความหมาย
การตั้งครรภ์ที่มีปริมาณของน้ำคร่ำมากกว่า 2,000 มิลลิลิตร หรือ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง พบว่า ค่าที่วัดแอ่งลึกที่สุดของน้ำคร่ำ (Single deepest pocket, SDP) มากกว่าหรือเท่ากับ 8 เซนติเมตร หรือมีค่า amniotic
fluid index (AFI) มากกว่า 24 เซนติเมตร
การพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากเจ็บครรภ์คลอดและมีน้ำคร่ำมากกว่าปกติ
-จัดให้นอนตะแคงซ้ายและยกศีรษะสูงเล็กน้อย
-ให้พักผ่อนบนเตียงช่วยทำกิจกรรมและปฏิบัติกิจวัตรประจำวันบนเตียง
แนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อบรรเทาอาการไม่สุขสบายเช่นการหายใจที่ลดการออกแรงโดยการหายใจเข้าออกลึกๆช้าๆและใช้เทคนิคการผ่อนคลายการสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมสบายพอสมควรไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดครับหรือแน่นกระชับจนเกินไป
Preterm Labor : ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ความหมาย
การเจ็บครรภ์คลอดที่เกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ก่อน 37 สัปดาห์ หรือ 259 วัน นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย โดยมีการหดรัดตัวของมดลูกอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 4 ครั้งใน 20 นาที หรือ 8 ครั้งใน 60 นาที ร่วมกับปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงชัดเจน โดยปากมดลูกเปิดอย่างน้อย 2 เซนติเมตร หรือปากมดลูกบางตัวตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป
การพยาบาล
-ซักถามถึงกิจกรรมก่อนมีอาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ การเดินทางไกล การยกของหนักการยืนเป็นเวลานาน การทำงานบ้านที่หนัก การเดินขึ้นบันได และการไม่ได้หยุดพักเมื่อรู้สึกเหนื่อย หากหญิงตั้งครรภ์มีกิจกรรมดังกล่าวควรแนะนำให้หยุดหรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมดังกล่าวจนกระทั่งอายุครรภ์ 37 สัปดาห์และให้คำแนะนำการปฏิบัติตน
ดูแลให้ได้รับยายับยั้งการเจ็บครรภ์คลอด ยากระตุ้นการเจริญของปอดทารก และยาปฏิชีวนะ
ตามแผนการรักษา
Adalat 10 mg oral q 15 min x 4 dose
-Adalat CR 60 mg oral OD x 5 Day
-Bricanyl 2.5 mg (5 amp) ผสมใน 5% D/W 500 ml (1 ml = 5 ug) IV drip 30 d/min
-Bricanyl ½ amp SC q 4 hrs. หลัง Off Inhibit IV
-Dexamethasone 6 mg q 12 hrs. x 2 day
Dystocia / Difficult labor / Dysfunctional labor : ภาวะคลอดยาก
ความหมาย
การคลอดผิดปกติที่มีความก้าวหน้าของการคลอดล่าช้า โดยทั่วไปมีสาเหตุมาจาก
ความผิดปกติของแรง (abnormal powers) ได้แก่ แรงจากการหดรัดตัวของมดลูกและแรงเบ่งของมารดา
ความผิดปกติของช่องทางคลอด (abnormal passages) ได้แก่ ช่องทางคลอดส่วนกระดูกเชิงกรานผิดปกติ และช่องทางคลอดอ่อนผิดปกติ
ความผิดปกติของทารกในครรภ์ (abnormal passengers) ได้แก่ ส่วนนำ ท่าของทารก ขนาดรูปร่าง และทารกที่มีพัฒนาการที่ผิดปกติ
การพยาบาล
ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจน เนื่องจากทารกอยู่ในท่าผิดปกติมีโอกาสเกิดสายสะดือพลัดต่ำ
ถ้าตรวจพบว่าทารกอยู่ในท่าขวางและถุงน้ำยังไม่แตก ควรดูแลให้นอนบนที่เตียง งดการสวนอุจจาระ การตรวจภายในเพราะอาจทำให้ถุงน้ำแตก และรีบรายงานแพทย์
ประเมินเสียงหัวใจทารกอย่างต่อเนื่องและดูแลให้ผู้คลอดได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
FGR (fetal growth restriction) or IUGR (intrauterine growth restriction) : ภาวะทารกโตช้าในครรภ์
ความหมาย
ตามคําจํากัดความของ ACOG practice bulletin ปี 2013 หมายถึง ภาวะที่ทารกมี Estimated fetal weight ที่น้อยกว่าเปอร์เซ็น ไทล์ที่ 10 เมื่อเทียบกับอายุครรภ์นั้นๆ หรือทารกที่มีการเติบโตช้าผิดปกติโดย เน้นถึงภาวะทุพโภชนาการเป็นหลัก ไม่ได้คํานึงถึงขนาดของทารกเพียงอย่างเดียว
การพยาบาล
ทารกเสี่ยงต่อภาวะ fetal distress ในระยะคลอด เนื่องจากมีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์
ให้ข้อมูลแก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวถึงสาเหตุ ผลกระทบทั้งต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก แผนการรักษา รวมทั้งการปฏิบัติตัวในระยะตั้งครรภ์ เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัว ได้ระบายความรู้สึก ตอบข้อซักถาม จนสตรีตั้งครรภ์เข้าใจและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตัวในระยะตั้งครรภ์