Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
The Working Success for the Nurses in the Ward, นางสาวสิริลัดดา จีนนำหน้า…
The Working Success for the Nurses in the Ward
Team management
การทำให้ทีมมีประสิทธิภาพ ดังนี้ {อ้างอิง ธรรมนิติ. (2563). เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : “Team management” 6 วิธีการบริหารทีมงานอย่างมีประสิทธิภาพ. สืบค้นเมื่อ23 สิงหาคม 2565. จาก
https://www.dst.co.th/index.php
. }
(1) Encourage teamwork (ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม)พยายามสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างกัน แสดงให้เห็นว่าทุกคนมีความสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งของทีม (2) Focus on solutions (มุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหา)ในสถานการณ์คับขัน อาจเกิดปัญหาในงานมากขึ้น จึงต้องอาศัยความรวดเร็ว เร่งรีบ เพื่อจัดการให้ทันสถานการณ์ (3) Always Give feedback (ให้ข้อเสนอแนะเสมอ)การให้ Feedback เป็นสิ่งสำคัญที่หัวหน้างานจำเป็นต้องทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสะท้อนการทำงาน (4) Build team confidence (สร้างความมั่นใจให้กับทีม)ในฐานะหัวหน้างานสิ่งสำคัญคือ การทำให้ทีมเห็นเป้าหมาย และสื่อสารเพื่อเกิดความเข้าใจร่วมกัน (5) Re-energize your team (เติมพลังให้ทีม) ในตอนเช้าก่อนเริ่มทำงาน ควรกล่าวทักทายให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของทีม (6) Rotate team functions (หมุนเวียนการทำงานของทีม) เปิดโอกาสให้คนในทีมได้สลับหน้าที่ เพื่อฝึกทักษะใหม่ และเพิ่มความหลากหลายในงาน
Record and report
ประโยชน์ในการทำงาน
1.สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ 2.เป็นเอกสารสำคัญที่แสดงให้เห็นความรับผิดชอบและความน่าเชื่อถือของบุคคล 3.เป็นหลักฐานจากการกระทำของบุคคลและสามารถใช้ในทางกฏหมาย 4.การปฏิบัติงานมีความสะดวก รวดเร็วขึ้น 5.สามารถประสานงานในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง 6.ระบบการทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
ลักษณะการบันทึกข้อมูลที่ดี
1.บันทึกตามความจริง ครบถ้วน ไม่ปลอมแปลงข้อมูล 2.ข้อมูลมีความโปร่งใสตรวจสอบได้ 3.มีความชัดเจนเป็นระบบ เน้นปัจจุบัน 4.งานที่มีการบันทึกเกิดความน่าเชื่อถือ
นำแนวคิดการบันทึกแบบชี้เฉพาะ (Focus Charting) ผสมผสานกับการบันทึกแบบ ละเว้น (Charting by Exception :CBE) โดยใช้การมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติจากการประชุมระดมสมอง และข้อเสนอแนะที่ได้มาพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาล หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์ โดยเน้นการสร้างคู่มือการใช้รูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลที่ชัดเจน ปรับ แบบฟอร์ม และวิธีการบันทึก ทำให้สะดวกต่อการใช้ ลดความซ้ำซ้อน ได้รูปแบบการบันทึกทางการ พยาบาลที่เหมาะสม และตรงตามความต้องการของผู้ปฏิบัติเมื่อนำไปใช้ พยาบาลวิชาชีพกลุ่มตัวอย่าง มีการบันทึกเพิ่มขึ้น “อ้างอิงลักขณา ศรสุรินทร์.(2561).การพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมโรงพยาบาลสุริทร์.(วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต).สุรินทร์:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช”
Time management
การบริหารเวลา หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการจัดการเวลาให้เกิดประโยชน์กับตนเองมากที่สุด ด้วยการวางแผนการบริหารเวลาของตนเองอย่างเป็นระบบ มีการจัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของงานให้เหมาะสมกับเวลา ซึ่งจะช่วยให้บุคคลสามารถปฏิบัติภารงานต่างๆ ได้ดี นำมาซึ่งผลสำเร็จได้ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานไม่เครียด และไม่สับสนในงานที่ปฏิบัติอีกด้วย
ประโยชน์ของการบริหารเวลา
สามารถทำภารกิจต่างๆ ที่ต้องการได้มากขึ้น 2. ผลสำเร็จของงานมีมากขึ้นและผลงานที่ได้มีคุณภาพ 3. การทำงานจะมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น 4. ความเสี่ยงจากการทำงานจะลดลง 5. มีเวลาให้กับบุคคลและกิจกรรมอื่นๆ ที่ชอบได้มากขึ้น
เทคนิคการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
จัดทำแผนการบริหารเวลาและมุ่งมั่นทำให้สำเร็จ 2. จัดลำดับความสำคัญของงานหรือภารกิจที่จะต้องทำ 3. รู้จักมอบหมายงานให้คนอื่นทำแทน 4. ทำงานหรือกิจกรรมอื่นๆ หลายอย่างที่ทำได้ไปพร้อมกัน 5. รู้จักตัวเองและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงาน 6. เป็นคนตรงต่อเวลา 7. อย่าอดนอน 8. รู้จักหาเวลาพักผ่อนและทำสิ่งที่ชอบบ้าง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารเวลา
ประกอบด้วย 6 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารเวลา 2) ปัจจัยการวางแผน 3) ปัจจัยเทคนิคการบริหารเวลา 4) ปัจจัยการต้ังเป้าหมาย 5) ปัจจัยการขจัดตัวการทำให้เสียเวลา 6) ปัจจัยการใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
Human relationship
ฮิลการ์ด เพบพลาว Hildgegard Peplau เป็นผู้ริเริ่มในการนำกระบวนการสร้าสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดมาใช้คนแรก โดยมีคิดพื้นฐานจากทฤษฎีพัฒนาการ ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล โดยได้รับอิทธิพลจากนักจิตวิทยาหลายท่าน มโนทัศน์หลักการทางการพยาบาลตามแนวคิดของทฤษฎีการสร้างสัมพันธภาพของเพบพลาว แบ่ง4ด้าน ดังนี้ (พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 49 ฉบับที่ 2 2565)
1.บุคคล หมายถึงระบบตัวตน 2.สุขภาพ 3.สิ่งแวดล้อม 4.การพยาบาล
มนุษย์สัมพันธภาพที่ดีทำให้รู้จักตนเองและเข้าใจตนเอง รู้จักผู้อื่นและเข้าใจผู้อื่นเข้าใจสภาพสังคม เข้าใจเทคนิคการปรับปรุงตัวและการเข้ากับผู้อื่น รวมทั้งมีความมั่นคงทางอารมณ์ มีใจกว้าง ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งการทำงานในวอร์ดการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ถือว่าเป็นเรื่องที่ควรกระทำ โดยยึดหลัก รู้จักตน รู้จักคน เข้าใจตน เข้าใจคน เพื่อผลของงานที่ต้องการ
มนุษย์สัมพันธภาพที่ดีทำให้รู้จักตนเองและเข้าใจตนเอง รู้จักผู้อื่นและเข้าใจผู้อื่นเข้าใจสภาพสังคม เข้าใจเทคนิคการปรับปรุงตัวและการเข้ากับผู้อื่น รวมทั้งมีความมั่นคงทางอารมณ์ มีใจกว้าง ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งการทำงานในวอร์ดการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ถือว่าเป็นเรื่องที่ควรกระทำ โดยยึดหลัก รู้จักตน รู้จักคน เข้าใจตน เข้าใจคน เพื่อผลของงานที่ต้องการ
เทคนิคในการสร้างมนุษย์สัมพันธ์
1.มีความตั้งใจที่จะไม่ขัดผลประโยชน์ของผู้อื่น 2.มองผู้อื่น ในแง่ดี ด้วยความจริงใจ 3.ไม่ทำตัวให้เด่นจนเกินไปหรือด้อยจนเกินไป หากสิ่งใดเด่นจงถ่อมตัว สิ่งใดที่รู้ว่าด้อยจงเพิ่มให้เต็ม 4.เต็มใจรับฟังผู้อื่นสนทนาอย่างไม่เบื่อ 5.การพูดต้องไม่พูดอยู่คนเดียวมากเกินไป มีคำพูดแปลกใหม่ หรือเรื่องน่าสนใจในการสนทนา 6.มีอารมณ์ขัน ร่าเริง แจ่มใส อารมณ์หนักแน่น เก็บความรู้สึกได้ เป็นผู้ให้
Morale&Reinforcement
ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างขวัญกำลังใจ
โอกาสก้าวหน้า, การได้รับการยอมรับ, ความมั่นคงในงาน และสัมพันธภาพในการงาน, สัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน , ความสามารถของผู้บังคับบัญชา, ประสิทธิภาพของการบริการงาน
ข้อดี
สร้างสํามัคคีธรรมในหมู่คณะ และก่อให้เกิดพลังร่วม (Group Effort) ในหมู่คณะ 2.เกื้อหนุนและจูงใจให้สมาชิกของหมู่คณะหรือองค์กําร เกิดความคิดสร้างสรรค์ ในกิจการต่าง ๆ ขององค์กร, 3.เสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างบุคคลในองค์กรกับนโยบายและวัตถุประสงค์ ขององค์กร
ข้อเสีย
1.ผู้ถูกให้กำลังใจจะรู้สึกกดดัน เนื่องจากจะต้องทำงานให้ได้มากขึ้นและดีขึ้น 2.ผู้ถูกให้กำลังใจจะรู้สึกไม่มั่นใจหากได้รับมอบหมายหน้าที่ใหม่ๆที่ไม่คุ้นเคย 3.ทำให้ผู้ถูกให้กำลังใจจะรู้สึกผิดหวังกับสิ่งต่างๆได้ง่าย เมื่อไม่มีคนให้กำลังใจอาจทำให้คนคนนั้นผิดหวังในตัวเองหรือท้อแท้ต่องานได้ง่าย
Supervision
ความสำคัญ
1.ช่วยสนับสนุนบุคลากรทางการพยาบาลให้ปฏิบัติการพยาบาลได้สําเร็จตามเป้าหมาย 2. ช่วยประสานความเข้าใจระหว่างฝ่ายผู้บริหารและฝ่ายผู้ปฏิบัติการพยาบาล ในการนิเทศทางการ พยาบาลผู้นิเทศเปรียบเสมือนบุคคลผู้อยู่ตรงกลาง 3. ช่วยพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาล โดยการพัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานและพัฒนาระบบบริการ พยาบาลให้มีมาตรฐานทางการพยาบาล
หลักการของการนิเทศ
1.ศึกษาสายงานการบังคับบัญชาของหน่วยงานเพื่อทําให้เกิดความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ ของบุคลากรตามสายงาน และเข้าใจตนเองว่า อยู่ ณ. จุดใด รู้แนวทางในการรายงานหรือขอความช่วยเหลือ ตามลําดับขั้นได้ 2. ศึกษานโยบายการดําเนินงานของหน่วยงานทําให้ผู้นิเทศทราบทิศทางการดําเนินงาน ของหน่วยงาน สามารถแปลความหมาย อธิบายนโยบายแก่ผู้ถูกนิเทศได้ และช่วยในการวางแผนงานจัดโครงการได้สอดคล้องกับนโยบายและบรรลุตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ 3. ดําเนินการนิเทศงานการพยาบาลครบทุกขั้นตอนและเป็นไปตามลําดับโดยควรใช้ กระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ การวางแผนงาน ดําเนินการนิเทศงานและประเมินผลการนิเทศ โดยสามารถ ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์
ผลลัพธ์ที่ตามมา
ผลลัพธ์ต่อผู้นิเทศ
1) ผู้นิเทศมีความรู้เพิ่มมากขึ้น ทั้งความรู้เกี่ยวกับการนิเทศทางการพยาบาลและความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นิเทศ 2)ผู้นิเทศมีทัศนคติต่อการนิเทศดีขึ้น เมื่อได้รับการอบรมเกี่ยวกับกระบวนการนิเทศ มีโอกาสได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับบทบาทของผู้นิเทศ 3)ผู้นิเทศมีความพึงพอใจต่อการนิเทศมากขึ้น เนื่องจากมีคู่มือการนิเทศการพยาบาลและรูปแบบการนิเทศที่ชัดเจน
ผลลัพธ์ต่อผู้รับนิเทศ
1)ผู้รับการนิเทศมีความรู้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้รับนิเทศได้รับความรู้จากผู้นิเทศด้วยวิธีการสอน การฝึกอบรม และการให้คำแนะนำ 2)ผู้รับการนิเทศมีทักษะการพยาบาลเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้ได้รับการนิเทศได้รับการฝึกปฏิบัติและการปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่าง จนผู้รับการนิเทศเกิดทักษะที่เพิ่มมากขึ้น 3)ผู้รับการนิเทศมีการปฏิบัติมากขึ้น เนื่องจากมีการนิเทศ ติดตาม และผู้รับการนิเทศได้เห็นประโยชน์ของการปฏิบัติ รวมถึงการมีรูปแบบการนิเทศที่ชัดเจน
ผลลัพธ์ต่อผู้ใช้บริการ)
1) ผู้ใช้บริการมีความปลอดภัย เนื่องจากการนิเทศการพยาบาลมีรูปแบบที่ชัดเจน มีแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาของพยาบาลได้ ทำให้อุบัติการณ์ความผิดพลาดลดลง 2) ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจสูงขึ้น เนื่องจากการนิเทศการพยาบาลที่มีรูปแบบชัดเจน มีแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาที่ชัดเจน ทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกปลอดภัยและทำให้เกิดความพึงพอใจในบริการ
ปัจจัยที่ส่งเสริมการบริหารเวลาและการบริหารทีมให้มีประสิทธิภาพ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารเวลา
1.เครื่องมือที่ช่วยในการบริหารเวลา 2.ปัจจัยการวางแผน 3.ปัจจัยเทคนิคการบริหารเวลา 4.ปัจจัยการตั้งเป้าหมาย 5.ปัจจัยการขจัดตัวการทำให้เสียเวลา 6.ปัจจัยในการใช้เวลาอย่างมีปนะสิทธิพาพ
ปัจจัยที่ส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน
วัฒนธรรมองค์กร การพัฒนาทุนมนุษย์ ความแข็งแกร่งในชีวิต ความมีใจรักงาน
สภาพแวดล้อมที่เอ้อต่อการทำงาน, การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างชัดเชน, ความสามารถของบุคคลภายในทีม, การวางแผนงานที่ดี
การบริหารงานของหัวหน้าเวรที่มีประสิทธิภาพ
ตรวจสอบความเรียบร้อยทั่วไป
ผู้ใช้บริการที่ต้องดูแลพิเศษ การตรวจพิเศษ, สภาพของผู้รับบริการ
unit ของผู้ให้บริการ, ตรวจดูการเขียนบันทึกรายงานต่าง ๆ
ดูแลความเรียบร้อยภายในหอผู้ป่วย
เยี่ยมตรวจผู้รับบริการร่วมกับผู้ส่งเวร, ดูอาคารสถานที่, ความสะอาดของห้องน้ํา
ความสามารในการปฎิบัติงานบทบาทพยาบาลหัวหน้าเวร
1.การวางแผน, 2.การจัดระเบียบองค์กร, 3.การบริหารบุคคล, 4.การควบคุมงาน
ตรวจสอบความเรียบร้อยทั่วไป
ผู้ใช้บริการที่ต้องดูแลพิเศษ การตรวจพิเศษ, จํานวน chart จํานวนผู้รับบริการ, สภาพของผู้รับบริการ
unit ของผู้ให้บริการ, การเขียนบันทึกรายงานของ
เวรที่ผ่านมา, ตรวจดูการเขียนบันทึกรายงานต่าง ๆ
Risk management
การบริหารความเสี่ยง คือ การรับรู้และจํากัดความเสี่ยงเพื่อลดโอกาสและปริมาณ ของความสูญเสียที่จะเกิดข้ึน การบริหารความเสี่ยงเป็นกลยุทธ์เชิงรุกเพื่อป้องกันความสูญเสีย สําหรับบทบาทของพยาบาลต่อการบริหารความเสี่ยง มุ่งเน้นความ ปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นเป้าหมายสําคัญ ได้มีการพัฒนา คุณภาพในการดูแลผู้ป่วยขึ้นเพื่อป้องกันและเฝ้าระวัง ความเสี่ยงที่อาจเกิดข้ึนกับผู้ป่วยได้
ระดับความรุนแรงความเสี่ยง
ทางคลินิก มี 9 ระดับ
A : Near Miss เหตุการณ์ที่มีโอกาสผิดพลาด B : Near miss ความผิดพลาดเกิดขึ้นแต่ยังไม่ถึงตัวผู้ป่วยหรือบุคลากร C : Miss ความผิดพลาดเกิดขึ้นถึงตัวผู้ป่วยแต่ไม่ถึงอันตราย D : Miss ความผิดพลาดถึงผู้ป่วยและต้องให้การดูแลเฝ้าระวังเป็นพิเศษ E : Miss ความผิดพลาดถึงตัวผู้ป่วยและเกิดอันตรายชั่วคราวแก่ผู้ป่วยและต้องได้รับการรักษาเพิ่มมากขึ้น F : Miss ความผิดพลาดถึงผู้ป่วยและมีผลทำให้ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาและต้องนอนโรงพยาบาล G : Miss ความผิดพลาดถึงผู้ป่วยและมีผลทำให้ผู้ป่วยเกิดความพิการถาวร H : Miss ความผิดพลาดถึงผู้ป่วยและมีผลทำให้ผู้ป่วยได้รับการช่วยชีวิต I : Miss ความผิดพลาดถึงผู้ป่วยและเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
ความเสี่ยงทั่วไป
Near Miss : ยังไม่เกิดความผิดพลาด แต่มีแนวโน้มที่จะเกิด Low risk : มีความผิดพลาดเกิดขึ้น แต่ไม่เป็นอันตราย เกิดความเสียหายเล็กน้อย Moderate Risk : มีความผิดพลาดเกิดขึ้น เกิดอันตราย เกิดความเสียหายต่อผู้รับบริการ เจ้าหน้าที่ อุปกรณ์เครื่องมือ มูลค่าเสียหาย น้อยกว่า 10000 บาท High Risk : มีความผิดพลาดเกิดขึ้น เกิดอันรายหรือความเสียหาย มีโอกาสถูกร้องเรียน ฟ้องร้อง มูลค่าความเสียหายมากกว่า 50000บาท
ประเภทของความเสี่ยง
ความเสี่ยงทั่วไป : ทรัพย์สินสูญหาย ความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ, ความเสี่ยงทางคลินิกเฉพาะโรค : เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการรักษา เฉพาะโรค หรือ หัตถการนั้นๆ, ความเสี่ยงทางคลินิก : เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อันเนื่องจากการรักษาพยาบาลผู้ป่วยไม่ถูกต้อง หรือ ไม่มีประสิทธิภาพ,
การบริหารจัดการความเสี่ยง
ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน
1.การค้นหาความเสี่ยง (Risk Identification) 2.ประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Assessment) 3.จัดการความเสี่ยง (Action to Manage Risk) 4.ประเมินผล (Evaluation)
นางสาวสิริลัดดา จีนนำหน้า 62110135 Sec4