Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Problem 3: The Working Success for the Nurses in the Ward - Coggle Diagram
Problem 3: The Working Success for the Nurses in the Ward
การนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ รายงานผลและประเมินผล
หลักการนิเทศทางการพยาบาล
ศึกษาสายงานการบังคับบัญชาของหน่วยงาน เพื่อทําให้เกิดความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของบุคลากรตามสายงาน
ศึกษานโยบายการดําเนินงานของหน่วยงาน ทําให้ผู้นิเทศทราบทิศทางการดําเนินงานของหน่วยงาน
ดําเนินการนิเทศงานการพยาบาลครบทุกขั้นตอนและเป็นไปตามลําดับ โดยควรใช้
กระบวนการ 3 ขั้นตอน
ประเมินผลการนิเทศ
การวางแผนงาน
ดําเนินการนิเทศงาน
ยึดหลักการมีส่วนร่วมในการดําเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ
ทําการนิเทศหรือทําการพัฒนาผู้ได้รับการนิเทศณ.แหล่งที่ปฏิบัติงานนั้นๆ โดยคํานึงถึงพื้นฐานความรู้ เจตคติ ทักษะ ขวัญและกําลังใจของบุคลากร
การคาดหวัง เป็นสิ่งที่ผู้นิเทศต้องวางเป้าหมายในการนิเทศว่าต้องการให้บรรลุในเรื่องใดบ้าง
และพยายามร่วมมือกันเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายโดยใช้วิธีการและเทคนิคให้เหมาะสมกับสถานการณ์
การนิเทศ เป็นการทํางานร่วมกันเพื่อให้งานประสบความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
โดยมีผู้นิเทศเป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือ ให้ความรู้ แนะนํา กระตุ้น สนับสนุนและให้บริการที่จําเป็นแก่บุคลากรเพื่อความเจริญก้าวหน้า มีการพัฒนาตนเองในการทํางาน โดยเปิดโอกาสให้ได้มี
การกําหนดวัตถุประสงค์และวางแผน งานของตนเองเพื่อให้งานมีผลดีและบุคลากรได้
พัฒนาตนเองให้มีคุณภาพด้วย
ความสําคัญของการนิเทศทางการพยาบาล
ช่วยสนับสนุนบุคลากรทางการพยาบาลให้ปฏิบัติการพยาบาลได้สําเร็จตามเป้าหมาย
ซึ่งบุคลากรทางการพยาบาลที่เพิ่งสําเร็จการศึกษา มีประสบการณ์น้อยในการแก้ปัญหาทางสุขภาพอนามัย ย่อมต้องการการชี้แนะ หรือการสนับสนุน การประคับประคองจากพยาบาลนิเทศ
ช่วยประสานความเข้าใจระหว่างฝ่ายผู้บริหารและฝ่ายผู้ปฏิบัติการพยาบาล ในการนิเทศทางการ พยาบาลผู้นิเทศเปรียบเสมือนบุคคลผู้อยู่ตรงกลาง เช่น ในการนิเทศผู้นิเทศจะต้องอธิบาย ชี้แจง
แปลความหมายของนโยบายและแผนงานของหน่วยงานให้บุคลากรเข้าใจ
ช่วยพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาล โดยการพัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานและพัฒนาระบบบริการ พยาบาลให้มีมาตรฐานทางการพยาบาล
วิธีการนิเทศในการปฏิบัติการพยาบาล
นิเทศอย่างใกล้ชิด (close supervision)
คือ การติดตาม ควบคุม ดูแลการปฏิบัติงานของบุคลากรคนใดคนหนึ่งอย่างใกล้ชิด
นิเทศแบบทั่วไป (general supervision)
จะไม่ติดตามดูแลใกล้ชิดแต่จะอยู่ห่างๆ ให้คําแนะนําเป็นบางโอกาส
ผู้ที่มีหน้าที่ในการนิเทศต้องมีความสามารถ 3 ประการ
ความสามารถทางเทคนิค
(technical competence)
เป็นความสามารถเฉพาะ มีความรู้ความสามารถในการดูแล การปฏิบัติการพยาบาลอย่างดี ตลอดจนนำความรู้ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อช่วยเหลือ แนะนำให้บุคลากรได้ใช้สิ่งเหล่านี้อย่างฉลาด ช่วยให้เกิดผลดี รวดเร็วและประหยัด
ความสามารถทางมนุษย์สัมพันธ์ (Human relations competence)
ได้แก่ ความสามารถในการเข้าใจคน รู้ว่าจะทํางานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างไร
ความสามารถทางด้านการบริหาร (administrative competence)
หมายถึง มีความสามารถในการวางแผน จัดการ สั่งการและกิจกรรมการบริหารอื่นๆ เพื่อให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างเต็มความสามารถ
การบันทึก และการจัดระบบข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี (Record and report)
การบันทึกที่ดี
การบันทึกข้อเท็จจริง ตามสภาพที่ได้เห็น ได้ยิน รู้สึก ได้กลิ่น สามารถวัดหรือสังเกตได้ เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้รับบริการพูด (Subjective Data)
ข่าวสารหรือสารสนเทศ
(Information)
ข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ นํามาผ่านกระบวนการ ประมวลผล โดยใช้วิธีง่ายๆ
ระบบสารสนเทศ
ข้อมูล บุคคล ซอฟต์แวร์
ฮาร์ดแวร์ และขั้นตอนการปฏิบัติ
วิธีการแปลงข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
1. การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
2. วิธีดําเนินการประมวลผลข้อมูล
ให้กลายเป็นสารสนเทศ(การจัดกลุ่ม,การจัดเรียง,การสรุปผล,การคํานวณ)
3. การดูแลรักษาสารสนเทศ
เพื่อการใช้งาน
(การเก็บรักษา,การค้นหา,การทําสําเนา,การสื่อสาร)
ลักษณะสารสนเทศที่ดี
1. เนื้อหา (Content)
ได้แก่ ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness) ความสัมพันธ์กับเรื่อง(relevance) ความถูกต้อง (accuracy) ความเชื่อถือได้ (reliability) และการตรวจสอบได้(verifiability)
2. รูปแบบ (Format)
ดูที่ ชัดเจน (clarity) รับรายละเอียด (level of detail) รูปแบบการนําเสนอ
สื่อการนําเสนอ (media) ความยืดหยุ่น(flexibility) และประหยัด (economy)
3. เวลา (Time)
หมายถึง ความรวดเร็วและทันใช้ (timely) การปรับปรุงให้ทันสมัย
(up-to-date) และมีระยะเวลา (time period)
4. กระบวนการ (Process)
ดูที่ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility) การมีส่วนร่วม(participation) และการเชื่อมโยง (connectivity)
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
ด้านประสิทธิภาพ (Efficiency) ทําให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น ลดต้นทุน ทําให้การ
ติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว
ด้านประสิทธิผล (Effectiveness) ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร
ระบบสารสนเทศทางการพยาบาล
1. องค์กรพยาบาลมีการเก็บรวบรวมข้อมูล
อย่างน้อย 3 ฐานข้อมูล
1) ข้อมูลด้านบริหาร ได้แก่ การวิเคราะห์ภาระงาน การบริหารและการพัฒนาบุคลากร รวมถึงการประเมินผลการปฏิบัติงาน
และตัวชี้วัดที่จําเป็นด้านบุคลากร
2) ข้อมูลด้านบริการ การดูแลผู้ป่วย/ผู้รับบริการ ได้แก่ สถิติผู้ป่วย/ผู้รับบริการแต่ละประเภทปัญหาสุขภาพ
3) ข้อมูลด้านวิชาการ (คลังความรู้วิชาชีพ) ได้แก่ ผลงานวิจัย ผงงานการพัฒนาคุณภาพในการบริการพยาบาล
ทั้งนวัตกรรม และ CQI ต่างๆ
2. มีการสังเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ
ที่สําคัญเพื่อประโยชน์ในการบริหาร การจัดบริการ การพัฒนาคุณภาพ และการรายงานต่อบุคคล หน่วยงานผู้เกี่ยวข้อง
3. มีการเผยแพร่ข้อมูล
ข่าวสาร ให้กับทุกหน่วยบริการที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ถูกต้องทันเวลา ด้วยรูปแบบที่ง่ายต่อการใช้งาน
4. มีการนําข้อมูลไปใช้ในการบริหารจัดการ
/ปรับปรุงคุณภาพของหน่วยงาน และให้ข้อเสนอแนะ เชิงนโยบายแก่คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล
5. มีระบบการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศที่เป็นความลับ
ทั้งด้านผู้ป่วย/ผู้รับบริการและข้อมูลบุคลากร โดยมีการกําหนดชั้นการเข้าถึงข้อมูล และการป้องกันความลับของข้อมูล
การบริหารเวลาและการบริหารทีม
การบริหารเวลา (Time management)
หมายถึง “การกําหนดและการควบคุมการปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามเวลาและ วัตถุประสงค์ที่กําหนด เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพในงานหน้าที่ที่รับผิดชอบ”
ประโยชน์จากการบริหารเวลา
เข้าใจถึงคุณค่าของเวลาที่มีต่อชีวิต
อาจเกิดความเครียดลดลง
เรียนรู้ที่จะวางแผนการใช้เวลาได้อย่างเหมาะสม
มีเวลาให้กับบุคคลและกิจกรรมที่ต้องการได้มากขึ้น
จัดลําดับความสําคัญของกิจกรรมต่างๆ ได้
ประสิทธิภาพในการทํางานเพิ่มขึ้น
ประสิทธิภาพในการบริหารเวลา: เพื่อประสิทธิผลของงาน
มีจุดยืนตัวเองเรื่องเวลา จงกําหนดกรอบเพื่อกํากับการทํางานทุกอย่างด้วยเวลาเสมอ
ค้นหาวิธีการใหม่ๆ จงคิดค้นหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อลดเวลา หรือใช้เวลาเท่าเดิมแต่ได้ปริมาณและ คุณภาพมากขึ้น
ใส่ใจพัฒนางาน จงพัฒนางานให้ก้าวล้ำเสมอ
มุ่งมั่นสานต่อความคิด จงพยายามสานต่อความคิดให้เป็นจริงและปรากฏเห็นได้ในทางปฏิบัติงาน
ตนและองค์การก้าวหน้าจงสรรสร้างพัฒนาตน องค์การให้มุ่งสู่ความสําเร็จตามที่ทุกฝ่ายปรารถนา
จิตใจอยู่กับงาน จงมีสมาธิกับงานเสมอ
การบริหารงานเป็นทีม(Team management)
คือ การจัดบริการที่มอบหมายให้ปฏิบัติการพยาบาลดูแลผู้ป่วยเป็นทีม โดยเมื่อทำงานเป็นทีมจะต้องยอมรับความคิดเห็นของทุกคน มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน
ประโยชน์ จะยึดงานเป็นหลัก ไม่ยึดบุคคล และเกิดทักษะการทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือซึ่งกัน
การพัฒนาประสิทธิภาพ
1.encourage teamwork สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างกัน
2.focus on solution อาศัยความเร็ว เร่งรีบในการแก้ไขปัญหา
3.alway give feedback ต้องสะท้อนการทำงาน เพิ่อพัฒนาต่อไป
4.buid team confidence บอกถึงเป้าหมาย แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ สร้างความเชื่อมั่น
5.re-energize your team บอกกล่าวทักทาย เกิดสัมพันธ์ระหว่างกัน
6.rotate team function เปิดโอกาสให้คนในทีมได้สลับหน้าที่ เพื่อฝึกทักษะใหม่ๆ
การบำรุงขวัญ และการเสริมแรง
การเสริมแรง (Reinforcement)
การบำรุงขวัญและการเสริมแรงมักจะใช้ควบคู่กัน บางครั้งแมบแยกไม่ได้ในบางสถานการณ์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าว ผู้บริหารจำเป็นต้องเลือกใช้กับบางคน เพราะแต่ละคนมีการตอบสนองต่องานแตกต่างกัน ดังนั้นต้องมีการศึกษาข้อมูล ปัญหาในการทำงานให้ชัดเจนก่อนเพื่อจะได้ดำเนินการเลือกวิธีการจูงใจและการบำรุงขวัญ การเสริมแรงให้ตอบสนองต่อความต้องการของแต่ละบุคคล
การเสริมสร้างพลังอำนาจ (Empowerment)
การเสริมสร้างพลังอำนาจเป็นแนวคิดของกระบวนการในการให้ความช่วยเหลือบุคคลเกี่ยวข้องกับการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเกี่ยวข้องกับความต้องการส่วนบุคคลช่วยในการนับถือตนเองเพิ่มประสิทธิภาพส่วนบุคคลและสนับสนุนพฤติกรรมของบุคคลในทางบวกซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มความร่วมมือในการปฏิบัติงานของบุคคลที่สำคัญการสริมสร้างพลังอำนาจเป็นแนวคิดเน้นการกระจายอำนาจสู่บุคคลและเน้นการเจริญตามลำดับทางสังคมของบุคคล
การบำรุงขวัญและการเสริมแรง
(Morale and Re- Inforcement)
ความหมาย
ขวัญและกำลังใจในการทำงาน หมายถึง เป็นความเต็มใจและความเชื่อมั่นของบุคคลในการทำงาน
หรือ เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงสภาพการทำงาน เช่น ความกระตือรือร้น อารมณ์ ความหวัง ความมั่นใจ เป็นต้น
ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการทำงาน
ภูมิหลังของพนักงาน รวมถึง สติปัญญา การศึกษา อุปนิสัย ขวัญและกำลังใจในการทำงานจะมาก
หรือน้อยขึ้นกับความพึงพอใจในความต้องการ ดังกล่าวข้างต้น
สภาพแวดล้อมส่วนตัวของพนักงาน ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ส่วนตัวของพนักงานกับครอบครัว เพื่อน และชุมชน
ลักษณะและพฤติกรรมของผู้นำหรือผู้บริหาร มีผลต่อขวัญและกำลังใจของผู้ร่วมงาน เช่น ผู้นำแบบ
สบายๆ ผู้นำแบบอัตตาธิปไตย ทำให้ขวัญและกำลังใจในการทำงานของผู้ร่วมงานต่ำ
ระเบียบของการจัดการ ที่มีอิทธิพลต่อขวัญและกำลังใจในการทำงานนั้นรวมถึงนโยบายหรือวิธีการ
สิ่งที่ผู้บริหารช่วยให้ขวัญของบุคลากร ดีขึ้น
สร้างความเข้าใจและพอใจในวัตถุประสงค์ของหน่วยงานร่วมกัน
แบ่งงานให้เหมาะสม โดยให้ทุกคนได้ใช้พลังและความสามารถเต็มที่ มีความภูมิใจในงานที่ปฏิบัติ
มีการนิเทศงานอย่างสม่ำเสมอและใกล้ชิด
สัมพันธภาพระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกันดี
ให้มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานอย่างเป็นธรรม
จัดสถานที่ทำงานให้ดีและเหมาะสมกับงาน
จัดให้มีความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่การงาน
สร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน
ให้ผู้ร่วมงานรับรู้ถึงโครงสร้าง แผนการดำเนินงานและมีส่วนร่วมในการทำงาน
สร้างมาตรฐานในการวัดความสำเร็จของงานอย่างเที่ยงธรรม
เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้ระบายความรู้สึก ชี้แจงข้อขัดข้องในการทำงานได้เสมอ
มนุษย์สัมพันธ์ในการบริหารการพยาบาล
ความหมาย
เป็นหลักการบริหารของผู้บริหาร เป็นหัวใจของการทํางานร่วมกัน อยู่ร่วมกันอย่างมี ความสุข
เป็นการรวมคนในองค์การบริหารให้ร่วมมือกันทํางาน ในลักษณะที่มุ่งหวังจะให้เกิด ความร่วมมือ ประสานงาน มีความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
การพัฒนาความมีมนุษย์สัมพันธ์ที่สําคัญ
การเรียนรู้ตนเอง
เข้าใจตนเอง ว่าเป็นคนอย่างไร วิธีการที่ตนแสดงต่อผู้อื่นเป็นอย่างไร
ตนมี คุณธรรมยึดเหนี่ยวจิตใจหรือไม่ ตนมีศิลปะในการฟังหรือไม่
เข้าใจผู้อื่น
เข้าใจในความต้องการของมนุษย์และความเป็นปัจเจกบุคคล
เข้าใจสิ่งแวดล้อม
สภาพสังคมเศรษฐกิจ
วัฒนธรรมความเป็นอย
วิถีชีวิต
บรรยากาศ
เทคนิคในการสร้างมนุษย์สัมพันธ์
มีความตั้งใจที่จะไม่ขัดผลประโยชน์ของผู้อื่น
มองผู้อื่นในแง่ดี ด้วยความจริงใจ
ไม่ทําตัวให้เด่นจนเกินไปหรือด้อยจนเกินไป
เต็มใจรับฟังผู้อื่นสนทนาอย่างไม่เบื่อ
การพูดต้องไม่พูดอยู่คนเดียวมากเกินไป
มีอารมณ์ขัน ร่าเริง แจ่มใส อารมณ์หนักแน่น
รู้จักหน้าที่ในการเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
ประโยชน์การมีมนุษย์สัมพันธ์
ทำให้เกิดความสร้างสามัคคีในหมู่คณะ
ทำให้การบริหารงานต่างๆ เกิดความรวมพลัง เพื่อให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจกัน
ทำให้สังคมปกติสุข มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน
ทำให้บุคคลยอมรับนับถือ ตระหนักในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ทำให้งานบรรลุเป้าหมายตามที่องค์กำหนด
สรุป
มนุษย์สัมพันธ์ เป็นสิ่งสําคัญที่ควรเรียนรู้ เพื่อให้สามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นได้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
เพราะไม่มีใครสามารถทํางานตามลําพังและอยู่ตามลําพังได้โดยตลอด และโดยเฉพาะการทํางานของผู้บริหาร การพยาบาลต้องเผชิญกับบุคลากรหลายระดับในหน่วยงานเองและหลายฝ่ายในโรงพยาบาลและนอก โรงพยาบาล
จุดมุ่งหมายของมนุษย์สัมพันธ์
เข้าใจตนเองและผู้อื่น
เกิดความรัก ความเชื่อใจ ความศรัทธา และความไว้วางใจ
เกิดความร่วมมือในการทำงานไปสู่เป้าหมาย
ลดความขัดแย้งในการทำงาน