Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่2 ราชภัฏเชียงใหม่ภายใต้วิถีล้านนา - Coggle Diagram
บทที่2 ราชภัฏเชียงใหม่ภายใต้วิถีล้านนา
ประวัติศาสตร์ล้านนา
อาณาจักรล้านนา ผนวกดินแดนเมืองแพร่และน่านได้ในสมัยพระเจ้าติโลกราชและอยู่ในอาณาจักรล้านนาได้ไม่นานนัก อาณาจักรล้านนาก็ล่มสลายลง กลุ่มเมืองล้านนาตะวันตก ซึ่งเป็นแกนสำคัญ; เชียงใหม่ ล าพูน ล าปาง เชียงราย พะเยา ส่วนกลุ่มเมืองล้านนาตะวันออก; แพร่และน่าน
การก่อสร้างอาณาจักรล้านนา
สมัยแว่นแคว้น-นครรัฐ
แว่นแคว้น-นครรัฐแต่ละแห่งมีลักษณะการตั้งถิ่นฐานกระจายตัวอยู่ตามที่ราบระหว่างหุบเขาโดยมีเทือกเขาปิดล้อม
เขตชุมชนที่ราบลุ่มน้ำปิงตอนบนเป็นดินแดนที่พัฒนาความเจริญได้ก่อนชุมชนอื่น ๆ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชนเผ่าโบราณ ๒ กลุ่ม คือ ลัวะ และ เม็ง
ล้านนาสมัยรัฐอาณาจักร
ได้พัฒนาการปกครองจากแว่นแคว้น-นครรัฐมาสู่ รัฐแบบอาณาจักรโดยมีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง
การสถาปนาอาณาจักรใหม่ของชนชาติไท(ย) ผู้ที่ใช้ภาษาและวัฒนธรรมไทยอาณาจักรใหม่ที่เกิดในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ที่สำคัญคือ ล้านนา สุโขทัย และอยุธยา
การก่อตั้งอาณาจักรล้านนา เป็นผลมาจากการรวมแคว้นหริภุญไชยเข้ากับแคว้นโยนในสมัยของพระยามังรายปฐมกษัติรย์แล้วสถาปนาเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็นศูนย์กลาง การก่อตั้งเมืองเชียงใหม่หรือนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. ๑๘๓๙
การสร้างเมืองเชียงใหม่ พระยามังรายเชิญพระยางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหงมาร่วมกันพิจารณาทำเลที่ตั้ง ทำให้ผังเมืองเชียงใหม่ได้รับอิทธิพลจาก สุโขทัย
ล้านนาสมัยพม่าปกครอง
พระเจ้ากาวิละ เริ่มตั้งมั่นที่เวียงป่าซาง ในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ จากนั้น จึงเข้าตั้งเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๒๓๓๙ ซึ่งเป็นปีที่เชียงใหม่มีอายุครบ ๕๐๐ ปี
พระเจ้ากาวิละ ได้กระทำพิธีราชาภิเษกสถาปนาราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ในลักษณะเดียวกับราชวงศ์มังรายการสร้างกำแพงเมืองขึ้นใหม่ การสร้างอนุสาวรีย์ช้างเผือกและการทำนุบำรุงพุทธศาสนา
รวมศูนย์กลางอำนาจรัฐไทยต้องกระทำ๒ ประการ
ประการแรก ยกเลิกฐานะหัวเมืองประเทศราชที่เป็นมาแต่เดิม โดยจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ส่งข้าหลวงมาปกครอง ขณะเดียวกัน ก็พยายามยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองเสียโดยรัฐไทยใช้วิธีการลิดรอนอำนาจของเจ้าเมืองอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งในที่สุดตำแหน่งเจ้าเมืองก็สลายตัวไป
ประการที่สองการผสมกลมกลืนชาวล้านนาให้มีความรู้สึกเป็นพลเมืองไทยเช่นเดียวกับพลเรือนส่วนใหญ่ของประเทศ คือให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชนในชาติ ซึ่งแต่เดิมมีความรู้สึกแบ่งแยกเป็นคนละพวก/คนละกลุ่ม เช่น คนทางใต้เข้าใจว่าชาวล้านนาเป็นลาวไม่ใช่ไทย
ล้านนาสมัยเป็นเมืองประเทศราชของไทย
ในช่วงเวลาดังกล่าวส่วนใหญ่พม่าปกครอง แต่จะมีบางช่วงที่อยุธยายกทัพ ขึ้นมายึดเชียงใหม่ได้ นอกจากนั้นมีบางช่วงที่เชียงใหม่ และเมืองต่าง ๆ แยกเป็นรัฐอิสระ
อำนาจพม่าในล้านนาจึงไม่สม่ำเสมอล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นพม่าตั้งแต่สมัยพระเจ้าบุเรงนอง (พ.ศ.๒๑๐๑) จนถึง พ.ศ.๒๓๑๗ สมัยพระเจ้าตากสินล้านนาจึงตกเป็นเมืองประเทศราชสยาม
คนไทยมาจากไหน
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ : กวางตุ้ง กวางสี ยูนาน สอดคล้องกับ ดร.วิลเลี่ยม ดอดด์ ศึกษาพบชนชาติที่ พูดภาษาไทยจำนวนมาก ในพื้นที่ตะวันออกเฉียงใต้ของจีน
2.ขุนวิจิตรมาตรา:ได้แสดงความคิดเห็นในหนังสือหลักไทย (2471) เชื่อว่า แหล่งกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณเทือกเขาอัลไตแถบมองโกเลีย
3.เอกสารจีน:ลุ่มน้ำแยงซีเกียง อพยพมาตั้งหลักยูนานก่อนมาตั้งถิ่นฐานที่ปัจจุบัน
4.นักประวัติศาตร์ชาวตะวันตก: ภาคตะวันตกของเสฉวนมายังน่านเจ้าและอพยพเข้าสู่ไทย
5.ดร.พอล เบเนดิคท์ นักมานุษยวิทยาอเมริกา:คนไทยมีเชื้อชาติเดียวกับมาลายู อิโด ฟิลิปปินส์อพยพไป ไหหลา กวางสี กวางตุ้ง แต่ถูกจีนรุนราน
6.หลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น บ้านเชียง อุดรธานี อายุไม่ต่ำกว่า 4,000 ปี เป็นไปได้ว่าคนไทยอยู่บริเวณนี้มานานแล้ว
กลุ่มชาติพันธุ์ในล้านนา
ไทยวนหรือคนเมืองในกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ไต-กะไดอาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยโดยเฉพาะลุ่มแม่น้ำปิงในเมืองเชียงใหม่ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา
ชาวไทยวนมีเอกลักษณ์ด้านการแต่งกายที่มีความพิเศษแสดงให้เห็นชัดในเครื่องแต่งกายของสตรีที่เรียกว่า “ผ้าซิ่น” ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายหลักของสตรีในแถบภูมิภาคนี้
ไทลื้อ เรียกชื่อตนเองว่า"ลื้อ"แต่เดิมมีถิ่นฐานเดิมอยู่ในเขตสิบสองปันนาและได้ถูกกวาดต้อนมาตั้งแต่ยุค “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” และตั้งถิ่นฐาน อยู่ในดินแดนล้านนาของประเทศไทยบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง และ ลำพูน การแต่งกายและลักษณะบ้านเรือนของไทลื้ออาจถือได้ว่าเป็นต้นแบบที่แสดงถึงเอกลักษณ์พื้นเมืองของชาวไทยล้านนาแบบหนึ่ง เช่นเดียวกับ ไทยอง
ไทใหญ่ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่รัฐฉาน สหภาพพม่าจากประวัติความเป็นมาไทใหญ่ เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มตระกูลไตหรือไทเรียกตนเองว่า “ไตโหลง” หมายถึง“ไตหลวง”อันเป็นที่มาของชื่อชนชาติที่เป็นทางการว่า “ไทใหญ่” เป็นตระกูลไทกลุ่มใหญ่มากกว่าไทกลุ่มอื่น ๆ แต่ไทใหญ่ก็มิได้ละทิ้งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะการแต่งกาย และยังคงยึดถือปฏิบัติงานบุญ ประเพณีสำคัญ สืบต่อกันมาได้เป็นอย่างดี
ไทเขิน มีชื่อเรียกตัวเองว่า ไทขึน หรือ ไทเขินคำว่า “ขึน” เป็นชื่อเรียกแม่น้ำสายหนึ่งในเมืองเชียงตุง ในปัจจุบันการแต่งกายและการใช้ชีวิตได้ผสมผสานกลมกลืนไปกับไทใหญ่และไทลื้อจนยากที่จะแยกลงไปให้ชัดเจนได้กล่าวได้ว่า ภาษาพูดตลอดจนถึงอักขระวิธีการเขียนของไทเขินนั้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับวิธีการเขียนของชาวไทกลุ่มอื่นเป็นอันมาก
ลัวะ หรือ ละว้า (Lua or Lawa) เรียกตัวเองว่าละเวือะ ตามประวัติความเป็นมากล่าวว่า ลัวะได้ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มน้ำปิงเมื่อ 1,300กว่าปีมาแล้ว ถิ่นอาศัยของลัวะในปัจจุบันมักอยู่บนภูเขาสูงของล้านนาไทย ลัวะเป็นชนเผ่าพื้นเมืองก่อนชาติพันธุ์ไท เป็นเจ้าของพื้นที่ดั้งเดิมก่อนการสร้างชาติรัฐล้านนา ในอดีตลัวะเคยมีวิวัฒนาการที่เจริญรุ่งเรือง มีการสร้างบ้านแปลงเมืองมีระบบการปกครอง มีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตเป็นอัตลักษณ์เป็นของตนเอง เมื่อถูกชาติพันธุ์ไทรุกรานจึงถอยร่นสู่ที่ราบเชิงเขาและสันเขา ปัจจุบันตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย และน่าน