Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคฝีดาษวานร (Monkey Pox) - Coggle Diagram
โรคฝีดาษวานร (Monkey Pox)
เชื้อสาเหตุ
monkeypox virus, ในกลุ่มของ Orthopoxvirus genus, family Poxviridae
monkeypox ปกติจะหายได้เอง ((self-limited disease)
ระยะเวลาอาการประมาณ 2-4 สัปดาห์ อาการรุนแรงอาจพบในบางกลุ่มได้
แนวทางวินิจฉัยดูแลรักษา Monkeypox
ณ จุดคัดกรอง ห้องฉุกเฉิน/แผนกผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการไข้ มีตุ่มน้ำ หรือ ตุ่มหนอง
Suspected case (ผู้ป่วยสงสัย)
มีอาการเกณฑ์เข้าได้กับทางคลินิกของกองระบาดวิทยา หรือ
แพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยเป็น ฝีดาษวานร
ร่วมกับมีประวัติเดินทางจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค หรือ มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยสงสัย/สารคัดหลั่งผู้ป่วยโรคติดเชื้อ (ตามคำนิยามของกรมควบคุมโรค)
ให้รับไว้เป็นผู้ป่วยใน (อยู่ห้องแยกเดี่ยว ที่มีห้องน้ำในตัว) ระหว่างรอผลตรวจ
เก็บตัวอย่างตามคำแนะนำของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
บุคคลากรทางการแพทย์ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองที่เหมาะสม (PPE)
พิจารณาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อดำเนินการที่เหมาะสมต่อไป
แจ้งพยาบาล ICN เจ้าหน้าที่ระบาด เพื่อสอบสวนหาผู้สัมผัส
ผลการตรวจหาเชื้อ monkeypox virus
ไม่พบเชื้อ monkeypox virus (2 ห้องปฏิบัติการ)
จำหน่ายหรือให้การรักษา และแยกโรคตามสาเหตุของโรค
ให้ผู้ป่วยสังเกตอาการของตนเอง 21 วัน
ถ้ามีอาการไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต มีผื่น ให้ไปพบแพทย์
ตรวจพบเชื้อ monkeypox virus
Admit ทุกรายในโรงพยาบาล
ให้ดำเนินการรักษาในห้องแยกผู้ป่วยโรคติดเชื้อ
การดูแลรักษา
Suspected case
ให้รับไว้เป็นผู้ป่วยในทุกราย ในห้องแยกเดี่ยวมีห้องน้ำในตัว (Single Isolation room) จนกว่าจะทราบผลตรวจ
Confirmed case
การรักษาแบบประคับประคอง (Supportinve Treatment)
โดยให้การรักษาตามอาการ รวมถึงการทำความสะอาด ตุ่มแผล และอื่นๆ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีอาการรุนแรง รวมทั้งเรื่องภาวะจิตใจ ของผู้ป่วย
การรักษาจำเพาะ (Specific Treatment)
ยังไม่มียาต้านไวรัส (อยู่ระหว่างศึกษาวิจัยในต่างประเทศ)
ระยะเวลากักตัว 14-21 วัน จนสะเก็ดแผลแห้ง
ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง(เกิดโรครุนแรง)
ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี โรคมะเร็งอวัยวะต่างๆ
ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกมาภายใน 2 ปี
ผู้ป่วยที่เป็นโรค autoimmune disease ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
เด็ก (โดยเฉพาะอายุน้อยกว่า 8 ปี)
หญิงตั้งครรภ์/ระหว่างให้นมบุตร
ผู้ที่มีประวัติเป็น atopic dermatitis หรือกำลังมีโรคผิวหนังชนิด exfoliative อยู่
คำแนะนำในการป้องกันโรคฝีดาษวานร
การสวมหน้ากากอนามัย ลดโอกาสการสัมผัสละออง น้ำลาย น้ำมูกของผู้ป่วย หรือ สัตว์ที่ติดเชื้อ
ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่
หลีกเลี่ยงการสัมผัสตุ่มหนอง หรือผู้ติดเชื้อโดยตรง
หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งของร่างกาย
แนะนำให้รับประทานเนื้อสัตว์ปรุงสุกสะอาด