Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
The Working Success for the Nurses in the Ward - Coggle Diagram
The Working Success for the Nurses in the Ward
Supervision
ความสำคัญของการนิเทศ
ช่วยสนับสนุนบุคลากรทางการพยาบาลให้ปฏิบัติการพยาบาลได้สําเร็จตามเป้าหมาย
ช่วยประสานความเข้าใจระหว่างฝ่ายผู้บริหารและฝ่ายผู้ปฏิบัติการพยาบาล ในการนิเทศทางการ พยาบาลผู้นิเทศเปรียบเสมือนบุคคลผู้อยู่ตรงกลาง
ช่วยพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาล โดยการพัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานและพัฒนาระบบบริการ พยาบาลให้มีมาตรฐานทางการพยาบาล
หลักการของการนิเทศ
👉🏻 ศึกษาสายงานการบังคับบัญชาของหน่วยงานเพื่อทําให้เกิดความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองและบุคลากรตามสายงาน
👉🏻 ศึกษานโยบายการดําเนินงานของหน่วยงานทําให้ผู้นิเทศทราบทิศทางการดําเนินงาน ของหน่วยงาน
👉🏻 ดําเนินการนิเทศงานการพยาบาลครบทุกขั้นตอนและเป็นไปตามลําดับโดยควรใช้ กระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ การวางแผนงาน ดําเนินการนิเทศงานและประเมินผลการนิเทศ โดยสามารถ ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์
👉🏻 ยึดหลักการมีส่วนร่วมในการดําเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการนิเทศ
👉🏻 ทําการนิเทศหรือทําการพัฒนาผู้ได้รับการนิเทศณ.แหล่งที่ปฏิบัติงานนั้นๆโดยคํานึงถึง พื้นฐานความรู้ เจตคติ ทักษะ ขวัญและกําลังใจของบุคลากร
ผลลัพธ์ที่ตามมา
อ้างอิง : อรรถยา อมรพรหมภักดีและคณะ. (2563). การนิเทศทางการพยาบาล: การทบทวนแบบกำหนดขอบเขต, วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(3), 144-156.
ผลลัพธ์ต่อผู้นิเทศ
1) ผู้นิเทศมีความรู้เพิ่มมากขึ้น ทั้งความรู้เกี่ยวกับการนิเทศทางการพยาบาลและความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นิเทศ
2)ผู้นิเทศมีทัศนคติต่อการนิเทศดีขึ้น เมื่อได้รับการอบรมเกี่ยวกับกระบวนการนิเทศ มีโอกาสได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับบทบาทของผู้นิเทศ
3)ผู้นิเทศมีความพึงพอใจต่อการนิเทศมากขึ้น เนื่องจากมีคู่มือการนิเทศการพยาบาลและรูปแบบการนิเทศที่ชัดเจน
4) ผู้นิเทศมีทักษะการปฏิบัติการนิเทศดีขึ้น เนื่องจากผู้นิเทศได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกระบวนการนิเทศการพยาบาล มีการกำหนดเป้าหมาย ระยะเวลาอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร มีการร่วมปฏิบัตืชิงาน การสอนแนะ และการเยี่ยมตรวจทางการพยาบาล
ผลลัพธ์ต่อผู้รับนิเทศ
1)ผู้รับการนิเทศมีความรู้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้รับนิเทศได้รับความรู้จากผู้นิเทศด้วยวิธีการสอน การฝึกอบรม และการให้คำแนะนำ
2)ผู้รับการนิเทศมีทักษะการพยาบาลเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้ได้รับการนิเทศได้รับการฝึกปฏิบัติและการปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่าง จนผู้รับการนิเทศเกิดทักษะที่เพิ่มมากขึ้น
3)ผู้รับการนิเทศมีการปฏิบัติมากขึ้น เนื่องจากมีการนิเทศ ติดตาม และผู้รับการนิเทศได้เห็นประโยชน์ของการปฏิบัติ รวมถึงการมีรูปแบบการนิเทศที่ชัดเจน
4)ผู้รับการนิเทศมีเจตคติต่อการนิเทศดีขึ้น เนื่องจากได้เข้าใจเป้าหมายของการนิเทศ และเห็นประโยชน์ของการนิเทศ รวมถึงได้พูดคุยแสดงความคิดเห็น จนเกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน
5)ผู้รับการนิเทศมีความพึงพอใจสูงขึ้น เนื่องจากการนิเทศการพยาบาลเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้การมีส่วนร่วม มีการเสริมสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงาน และสะท้อนกลับอย่างกัลยาณมิตร ทำให้ผู้รับการนิเทศมีความพึงพอใจมากขึ้น
ผลลัพธ์ต่อผู้ใช้บริการ
1) ผู้ใช้บริการมีความปลอดภัย เนื่องจากการนิเทศการพยาบาลมีรูปแบบที่ชัดเจน มีแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาของพยาบาลได้ ทำให้อุบัติการณ์ความผิดพลาดลดลง
2) ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจสูงขึ้น เนื่องจากการนิเทศการพยาบาลที่มีรูปแบบชัดเจน มีแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาที่ชัดเจน ทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกปลอดภัยและทำให้เกิดความพึงพอใจในบริการ
การบริหารงานของหัวหน้าเวรที่มีประสิทธิภาพ
วราภรณ์ เจริญบุญ, ปรางค์ทิพย์ อุจะรัตน และกรรณิการ์ สุวรรณโคต. (2559). ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการเป็นพยาบาลหัวหน้าเวร ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.วารสารนครราชสีมา,10(2).113-116.
ตรวจสอบความเรียบร้อยทั่วไป
ผู้ใช้บริการที่ต้องดูแลพิเศษ การตรวจพิเศษ
จํานวน chart จํานวนผู้รับบริการ
สภาพของผู้รับบริการ
unit ของผู้ให้บริการ
การเขียนบันทึกรายงานของ
เวรที่ผ่านมา
ตรวจดูการเขียนบันทึกรายงานต่าง ๆ
ดูแลความเรียบร้อยภายในหอผู้ป่วย
เยี่ยมตรวจผู้รับบริการร่วมกับผู้ส่งเวร
ดูอาคารสถานที่
ความสะอาดของห้องน้ํา
มอบหมายงานให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับ
ความสามารในการปฎิบัติงานบทบาทพยาบาลหัวหน้าเวร
1.การวางแผน
2.การจัดระเบียบองค์กร
3.การบริหารบุคคล
4.การควบคุมงาน
นิเทศและติดตามประเมินผลดูความเรียบร้อยทั่วไป
ปัจจัยที่ส่งเสริมการบริหารเวลาและการบริหารทีมให้มีประสิทธิภาพ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารทีมให้มีประสิทธิภาพ
ปัจจัยด้านบริบทขององค์กร เกี่ยวกับทรัพยากร การฝึกอบรม
2.ปัจจัยด้านคุณลักษณะของภาระงาน
3.ปัจจัยด้านคุณลักษณะของทีม
4.ปัจจัยด้านกระบวนการของทีม
ภิญโญ มนูศิลป์. ( 2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีประสิทธิผลของทีม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 1(2), 1-28.
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพ
ศิริสุดา แก้วมณีชัย และวาโร เพ็งสวัสดิ (2562) พบว่าปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการบริหารเวลาของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย
1) เครื่องมือที่ช่วยในการบริหารเวลา
2) การขจัดตัวการที่ทำให้เสียเวลา
3) เทคนิคการบริหารเวลา
4) การวางแผน
Morale&Reinforcement
ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างขวัญกำลังใจ
โอกาสก้าวหน้า
การได้รับการยอมรับ
ความมั่นคงในงาน และสัมพันธภาพในการทำงาน
ปริมาณงาน
ค่าจ้าง
ค่าตอบแทน
ความเชื่อมั่นต่อระบบบริหาร
ความสามารถของผู้บังคับบัญชา
ประสิทธิภาพของการบริการงาน
การติดต่อสื่อสาร
ข้อดี
ทําให้เกิดควํามร่วมมือร่วมใจเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร
สร้างความจงรักภักดีซื่อสัตย์ต่อหมู่คณะและองค์กร
สร้างสํามัคคีธรรมในหมู่คณะ และก่อให้เกิดพลังร่วม (Group Effort) ในหมู่คณะ
เสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างบุคคลในองค์กรกับนโยบายและวัตถุประสงค์ ขององค์กร
เกื้อหนุนและจูงใจให้สมาชิกของหมู่คณะหรือองค์กําร เกิดความคิดสร้างสรรค์ ในกิจการต่าง ๆ ขององค์กร
ทําให้เกิดความเชื่อมั่นและศรัทธมในองค์กรที่ตนปฏิบัติงานอยู่
ข้อเสีย
1.ผู้ถูกให้กำลังใจจะรู้สึกกดดัน เนื่องจากจะต้องทำงานให้ได้มากขึ้นและดีขึ้น
2.ผู้ถูกให้กำลังใจจะรู้สึกไม่มั่นใจหากได้รับมอบหมายหน้าที่ใหม่ๆที่ไม่คุ้นเคย
3.ทำให้ผู้ถูกให้กำลังใจจะรู้สึกผิดหวังกับสิ่งต่างๆได้ง่าย เมื่อไม่มีคนให้กำลังใจอาจทำให้คนคนนั้นผิดหวังในตัวเองหรือท้อแท้ต่องานได้ง่าย
อ้างอิง : สมบูรณ์ นาควิชัย. (2560). ขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน. Journal of Roi Kaensarn Academi, 2(2), 17-29.
Human relationship
ความหมาย
บุญช่วง ศรีธรราษฎร์ (2554) กล่าวว่า มนุษยสัมพันธ์ Human Relations) หมายถึงการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบุคคลอื่น ทำให้เกิดความรักใคร่ความพอใจในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ยังส่งผลทำให้เกิดการปฏิบัติงานภายในองค์กรเป็นไปอย่างราบรื่น ทำให้งานเสร็จตามวัตถุประสงค์
เทคนิคในการสร้างมนุษย์สัมพันธ์
6.มีอารมณ์ขัน ร่าเริง แจ่มใส อารมณ์หนักแน่น เก็บความรู้สึกได้ เป็นผู้ให้
7.รู้จักหน้าที่ในการเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
5.การพูดต้องไม่พูดอยู่คนเดียวมากเกินไป มีคำพูดแปลกใหม่ หรือเรื่องน่าสนใจในการสนทนา
4.เต็มใจรับฟังผู้อื่นสนทนาอย่างไม่เบื่อ
3.ไม่ทำตัวให้เด่นจนเกินไปหรือด้อยจนเกินไป หากสิ่งใดเด่นจงถ่อมตัว สิ่งใดที่รู้ว่าด้อยจงเพิ่มให้เต็ม
2.มองผู้อื่น ในแง่ดี ด้วยความจริงใจ
1.มีความตั้งใจที่จะไม่ขัดผลประโยชน์ของผู้อื่น
Record and report
ประโยชน์ในการทำงาน
1.สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้
2.เป็นเอกสารสำคัญที่แสดงให้เห็นความรับผิดชอบและความน่าเชื่อถือของยุคคล
3.เป็นหลักฐานจากการกระทำของบุคคลและสามารถใช้ในทางกฏหมาย
4.การปฏิบัติงานมีความสะดวก รวดเร็วขึ้น
5.สามารถประสานงานในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
6.ระบบการทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
ลักษณะการบันทึกข้อมูลที่ดี
1.บันทึกตามความจริง ครบถ้วน ไม่ปลอมแปลงข้อมูล
2.ข้อมูลมีความโปร่งใสตรวจสอบได้
3.มีความชัดเจนเป็นระบบ เน้นปัจจุบัน
4.งานที่มีการบันทึกเกิดความน่าเชื่อถือ
อ้างอิง : ลักขณา ศรสุรินทร์.(2561).การพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมโรงพยาบาลสุริทร์.(วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต).สุรินทร์:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
นำแนวคิดการบันทึกแบบชี้เฉพาะ (Focus Charting) ผสมผสานกับการบันทึกแบบ ละเว้น (Charting by Exception :CBE) โดยใช้การมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติจากการประชุมระดมสมอง และข้อเสนอแนะที่ได้มาพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาล หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์ โดยเน้นการสร้างคู่มือการใช้รูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลที่ชัดเจน ปรับ แบบฟอร์ม และวิธีการบันทึก ทำให้สะดวกต่อการใช้ ลดความซ้ำซ้อน ได้รูปแบบการบันทึกทางการ พยาบาลที่เหมาะสม และตรงตามความต้องการของผู้ปฏิบัติเมื่อนำไปใช้ พยาบาลวิชาชีพกลุ่มตัวอย่าง มีการบันทึกเพิ่มขึ้น
Time management
ความหมาย
ศุภโชค เลาหะพันธุ์ (2553) กล่าวว่า การบริหารเวลา คือ การกําหนดและการควบคุมการปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามเวลาและวัตถุประสงค์ที่กําหนด เพื่อก่อให้ เกิดประสิทธิภาพในงานหน้าที่ที่รับผิดชอบ
เทคนิคการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
ศิริสุดา แก้วมณีชัย และวาโร เพ็งสวัสดิ (2562) พบว่า การบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพของผู้บริหารสถานศึกษา มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
1) การตั้งเป้าหมาย
2) การจัดลำดับ
3) การจัดตารางเวลา
4) การติดตามผลการวช้เวลา
5) การจัดองค์การ
6) ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน
ประโยชน์ของการบริหารเวลา
ปรีดา ลิ้มถวลิ (2537: 71-72 อ้างถึงใน รุ่ง เจนจิต, 2547: 23-25)
มีการเตรียมตัวที่ดีขึ้นกว่าเดิมสำหรับงานของวันพรุ่งนี้
มีการวางแผนล่วงหน้า
มีภาพรวมที่ชัดเจนของเป้าหมายในแต่ละวัน
มีการจัดระบบงานที่ต้องทำประจำวัน
มีความจำที่ดีขึ้น
มีสมาธิกับสิ่งที่จำเป็นจริงๆ
ใช้พลังงานน้อยลง
บรรลุเป้าหมายประจำวัน
แยกแยะข้อแตกต่างระหว่างงานที่สำคัญและไม่สำคัญได้
ตัดสินใจตามระดับความสำคัญของงานและมอบหมายงานได้
เพิ่มประสิธิภาพในการประสานงาน
สามารถจัดการกับสิ่งที่ขัดจังหวะได้ดีขึ้น
มีวินัยในตนเอง
ลดความเครียด และความกระวนกระวาย
รับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างใจเย็น
เพิ่มศักยภาพในการทำงาน
เพิ่มความพอใจและก่อให้เกิดกำลังใจ
และทุกข้อข้างต้น จะเป็นการประหยัดเวลา
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารเวลา
ศิริสุดา แก้วมณีชัย และวาโร เพ็งสวัสดิ (2562) พบว่าปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการบริหารเวลาของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย
1) เครื่องมือที่ช่วยในการบริหารเวลา
วัดได้จากการใช้เทคโนโลยีในการบริหารเวลา และเครื่องเตือนความจำ
2) การขจัดตัวการที่ทำให้เสียเวลา
วัดได้จากตัวการของตัวเอง ตัวการจากผู้อื่น และตัวการจากสิ่งแวดล้อม
3) เทคนิคการบริหารเวลา
วัดได้จากการมอบหมายงาน การจัดการกับอุปนิสัย การจัดการกับช่วงเวลาที่รอคอย การจัดระเบียบ และการมีเจตคติที่ดีในการทำงาน
4) การวางแผน
วัดได้จากการเตรียมความพร้อม การวางแผนการทำงาย การปฏิบัติตามแผน และการประเมินผล
Risk management
ความหมาย
ราชย์วิทย์ โพธิ์เอม และชาตรี ปรีดาอนันทสุข. (2564). การบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาลเอกชนจังหวัดพิษณุโลก. โครงการนำเสนองานวิชาหารระดับชาติ, 417-431.
การบริหารความเสี่ยง คือการจัดการในรูปแบบของการค้นหาว่าอะไรบ้างที่เป็นความเสี่ยงที่อาจนาไปสู่ ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งวิธีจัดการกับความเสี่ยงเหล่านั้นและมีวัตถุประสงค์ ในการควบคุมความ เสียหายที่เกิดจากความไม่แน่นอนจากสิ่งที่คาดการณ์ไว้และนาไปสู่ความเสียหายโดยการบริหารความเสี่ยงถือเป็น ตัวชี้วัดตัวหนึ่งที่มาตรฐานของสถานพยาบาล (HA: Hospital Accreditation) กาหนดไว้อย่างชัดเจนซึ่ง โรงพยาบาลที่ต้องการได้รับการประกันคุณภาพจาเป็นต้องมีและจาเป็นต้องมีการปรับปรุงกระบวนการอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับโรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ระดับของความเสี่ยง
ความเสี่ยงทางคลินิก
C : Miss ความผิดพลาดเกิดขึ้นถึงตัวผู้ป่วยแต่ไม่ถึงอันตราย
D : Miss ความผิดพลาดถึงผู้ป่วยและต้องให้การดูแลเฝ้าระวังเป็นพิเศษ
B : Near miss ความผิดพลาดเกิดขึ้นแต่ยังไม่ถึงตัวผู้ป่วยหรือบุคลากร
E : Miss ความผิดพลาดถึงตัวผู้ป่วยและเกิดอันตรายชั่วคราวแก่ผู้ป่วยและต้องได้รับการรักษาเพิ่มมากขึ้น
A : Near Miss เหตุการณ์ที่มีโอกาสผิดพลาด
ความเสี่ยงทั่วไป
Near Miss : ยังไม่เกิดความผิดพลาด แต่มีแนวโน้มที่จะเกิด
Low risk : มีความผิดพลาดเกิดขึ้น แต่ไม่เป็นอันตราย เกิดความเสียหายเล็กน้อย
Moderate Risk : มีความผิดพลาดเกิดขึ้น เกิดอันตราย เกิดความเสียหายต่อผู้รับบริการ เจ้าหน้าที่ อุปกรณ์เครื่องมือ มูลค่าเสียหาย น้อยกว่า 10000 บาท
High Risk : มีความผิดพลาดเกิดขึ้น เกิดอันรายหรือความเสียหาย มีโอกาสถูกร้องเรียน ฟ้องร้อง มูลค่าความเสียหายมากกว่า 50000บาท
ประเภทของความเสี่ยง
ความเสี่ยงทั่วไป : ทรัพย์สินสูญหาย ความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ
ความเสี่ยงทางคลินิกเฉพาะโรค : เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการรักษา เฉพาะโรค หรือ หัตถการนั้นๆ
ความเสี่ยงทางคลินิก : เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อันเนื่องจากการรักษาพยาบาลผู้ป่วยไม่ถูกต้อง หรือ ไม่มีประสิทธิภาพ
อ้างอิงจาก : ผ่องพรรณ จันธนสมบัติ และคณะ. (2555). การบริหารความเสี่ยงทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพ.วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 35(3), 119-124.
การบริหารจัดการความเสี่ยง
อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล และสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (2543, หน้า 16-27) กล่าวถึง แนวทางการบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาลมี 4 ขั้นตอนดังน
การค้นหาความเสี่ยง (Risk Identification)
การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
การควบคุมความเสี่ยง (Risk Control)
การประเมินผลการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Evaluation)
Team management
อ้างอิง : กิตติทัช เขียวฉอ้อน และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). การทำงานเป็นทีมสู่การเพิ่มประสิทธิผลในการทำงาน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(1), 355-369.
การสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพ
1) กำหนดทิศทางอย่างเร่งด่วนในการตั้งวัตถุประสงค์
2) การเลือกสมาชิกทีม ควรจัดให้อยู่บนพื้นฐานของทักษะและศักยภาพที่เขามีอยู่
3) การประชุมหรือพบปะกันครั้งแรก ต้องทำด้วยความพิถีพิถันต้ังใจ เพื่อสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้น
4) การตั้งกฎในการปฏิบัติให้ชัดเจน
5) จุดมุ่งหมายในการปฏิบัติงาน จุดเน้นที่ควรสนับสนุนคือ การเปิดเผยจริงใจต่อกัน สร้างให้เกิดความไว้วางใจ และมีข้อตกลงร่วมกันอย่างมีความเหมาะสม
6) มีจุดมุ่งหมายและความเหมาะสมในการปฏิบัติงานที่ต้ังข้ึน
7) สร้างความท้าทายให้กับกลุ่มในการทำงานด้วยการนำข้อมูลข่าวสารข้อเท็จจริงที่ใหม่ ๆ มาช่วยสนับสนุนการทำงาน
8) การใช้อำนาจบารมีให้เกิดประโยชน์
องค์ประกอบของทีมที่มีประสิทธิภาพ
1)บุคคล(Individual)
2) งาน (Task)
3) ทีมงาน (Team)
4) องค์การ (Organization