Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน้าที่ในการชำระหนี้ - Coggle Diagram
หน้าที่ในการชำระหนี้
หน้าที่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง :
1.วัตถุเเห่งหนี้กับวัตถุประสงค์เเห่งนิติกรรม
การตกลงผูกพัน หรือผูกนิติสัมพันะ์ระหว่างบุคคลฝ่ายเดียว หรือสองฝ่ายเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ มาตรา149
เป็นสาเหตุเเห่งการเป็นหนี้มากที่สุดในปัจจุบัน
เช่นสัญญาซื้อขาย แลกเปลี่ยนเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ
2.วัตถุเเห่งหนี้
หนี้กระทำการ
เป็นหนี้อย่างอื่นที่ไม่ใช่การโอรทรัพย์สินเช่น การรับจ้างร้องเพลงต้องถือว่าเป็นหนี้กระทำการซึ่งเป็นหนี้หลักที่ไม่ใช้การโอนทรัพย์สิน
หนี้กระทำการปกติ เช่นการจ้างสร้างบ้าน
หนี้งดเว้นกระทำการ
เป็นหนี้ซึ่งลูกหนี้มีความผูกพันว่าจะไม่กระทำการบางอย่าง เช่นผู้ขายกิจการการค้าอาจให้สัญญาแก่ผู้ซื้อว่าจะไม่ประกอบกิจการค้านั้นในท้องถิ่นเดียวกัน
หนี้ส่งมอบทรัพย์สิน
การโอนกรรมสิทธิในทรัพย์สินเเละการส่งมอบทรัพย์ด้วย แต่ในบางกรณีอาจเป็นเพียงการส่งมอบทรัพย์เท่านั้น เช่นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์กรรมสิทธิในทรัพย์ก็จะโอนไปยังผู้ซื้อทันที กรณีเช่นนี้เพียงเเต่ส่งมอบทรัพย์สินให้เเก่กันเท่านั้น
3.ทรัพย์อันเป็นวัตถุเเห่งหนี้
วัตถุเเห่งหนี้ซึ่งเป็นการส่งมอบทรัพย์สินจัดอยู่ในวัตถุเเห่งหนี้ประการที่สามคือการส่งมอบทรัพย์สินหรือโอนกรรมสิทธิ์ส่งมอบทรัพย์สินถ้าลูกหนี้มีหน้าที่จะต้องโอนกรรมสิธิ์เเละส่งมอบทรัพย์สินให้เเก่เจ้าหนี้กรณีเป็นเรื่องทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุเเห่งหนี้ต้องบังคับตามมาตรา 195 ส่วนลูกหนี้ที่มีทรัพย์เข้ามาเกี่ยวข้องเเต่ไม่ถึงเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพสินให้เเก่เจ้าหนี้ ไม่ใช่กรณีที่จะต้องบังคับตามมาตรานี้ เช่นลูกหนี้ยืมรถยนต์ไปก็ต้องส่งมอบรถยนต์คันนั้นคืนเป็นวัตถุเเห่งหนี้ซึ่งเป็นการกระทำ
กรณีวัตถุเเห่งหนี้ซึ่งเลืกจะชำระได้
หลักเกณฑ์ของวัตถุเเห่งหนี้ซึ่งเลืกจะชำระได้
กรณีที่จะเป็นวัตถุเเห่งหนี้ซึ่งเลือกได้ที่จะต้องบังคับตามมาตรา 198-202 นั้นจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์2 ประการคือ 1.หนี้นั้นกระทำเพื่อการชำระหนี้หลายอย่าง 2. ลูกหนี้ต้องกระทำเพียงการใดการหนึ่งแต่อย่างเดียว
ผู้มีสิทธิเลือก
มาตรา 198 ให้สิทธิแก่ลูกหนี้เป็นคนเลือก เพราะลูกหนี้เป็นฝ่ายเสียหายในมูลหนี้
วิธีการเลือก
ผู้มีสืทธิเลือกเมื่อจะทำการเลือกต้องปฏิบัตตามมาตรา199 หรือมาตรา 201 แล้วเเต่กรณี
กำหนดเวลาในการเลือก
ถ้ากำหนดระยะเวลาไว้ว่าต้องเลือกผายในระยะเวลาใด ฝ่ายที่มีสิทธิเลือกก็ต้องเลือกผายในระยะเวลานั้นตามมาตรา200 ว.1 กำหนดระยะเวลาเลือกนี้อาจจะกำหนดหนดให้เลือกหลังจากหนี้ถึงกำหนดเเล้วหรือในวันที่หนี้ถึงกำหนดก็ได้
ผลของการเลือก
ย่อมเกิดผลของการเลือกตามมาตรา199 ว.2
การเป็นพ้นวิสัยของวัตถุเเห่งหนี้บางอย่างที่ต้องเลือก
การผิดนัดไม่ชำระหนี้
การผิดนัดของลูกหนี้
ลูกหนี้ผิดนัดโดยตักเตือนก่อน
ตามมาตรา204 วรรคหนึ่ง กล่าวว่าถ้าหนี้สินถึงกำหนดชำระเเล้วและภายหลังจากนนั้นเจ้าหนี้ได้เตือนเเล้วลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ ลูกหนี้ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดเพราะเขาเตือนเเล้ว ความสำคัญอยู่ที่คำว่า เพราะเขาเตือนเเล้ว อันเป็นการกระทำอันให้ประจักษ์ว่าลูกหนี้ตกอยู่ในภาวะเป็นผู้ผิดนัด
ลูกหนี้ผิดนัดโดยไม่ตักเตือน
การที่ลูกหนี้ผิดนัดโดยไม่ตักเตือนตามาตรา204 วรรคสองเเบ่งออกเป็น2 กรณีคือ 1. หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ตามปฏิทิน 2. หนี้ที่มีเวลากำหนดเวลาชำระหนี้โดยคำนวณตามปฏิทินนับจากวันบอกกล่าว
กรณีไท่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด
มาตรา205 ตราบใดการชำระหนี้นั้นยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ตราบนั้นลูกหนี้ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่
ดังนั้นตามบทบัญญัติดังกล่าว ถ้ามีพฤติการณ์ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบที่ทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ย่อมไม่ถือว่าลูกหนี้ตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ผิดนัด
ผลของการผิดนัดของลูกหนี้
1.ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดเเต่การผิดนัด
ลูกหนี้ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้เเก่เจ้าหนี้ การที่ลูกหนี้ผิดนัด ถ้าลูกหนี้ชำระหนี้เเก่เจ้าหนี้ภาบหลังจากนั้น ย่อมเป็นการชำระหนี้ล่าช้าถือว่าเป็นก่รชำระหนี้ที่ไม่ต้องตามความประสงค์อันเเท้จริงเเห่งมูลหนี้ลูกหนี้จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้เเก่เจ้าหนี้ ตามมาตรา215
เจ้าหนี้อาจไม่รับชำระหนี้
การที่ลูกหนี้ผิดนัด เมื่อลูกหนี้ยังมิได้ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ก็ยังมีหนี้ผูกพันกันอยู่ลูกหนี้จึงต้องชำระหนี้นั้นต่อไป หรือลูกหนี้ต้องการให้ตัวเองหลุดพ้นจากมูลหนี้ก็ทำการชำระหนี้เพื่อให้หนี้นั้นระงับไป เมื่อลูกหนี้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจไม่รับชำรับหนี้ ตามมาตรา 216
ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดระหว่างผิดนัดเพิ่มขึ้น
เกิดขึ้นได้2 กรณี 1 ลูกหนี้กระทำโดยประมาทเลินเล่อให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหายลูกหนี้ต้องรับผิด 2. การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยที่เกิดขึ้นมนระหว่างผิดนัดเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่เเม้จะเกิดจากอุบัตติเหตุลูกหนี้ก็จะต้องรับผิดชอบ
กำหนดเวลาชำระหนี้
หนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้
ตามมาตรา203 วรรคเเรก กล่าวว่าถ้าเวลาอันพึงจะชำระหนี้นั้นไม่ได้กำหนดตกลงไว้ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ได้โดยพลันเช่นกัน
เช่นตกลงจะชำระหนี้เมื่อสิ้นสุดฤดูทำนาเป็นต้น
หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้
ถ้าเป็นกรณีเป็นที่สงสัยมาตรา203 วรรคสองให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนถึงเวลานั้นหาได้ไม่ แต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระหนี้นั้นก่อนกำหนดก็ได้ กรณีดังกล่าวต้องมีความสงสงสัยว่าเวลานั้นกำหนดเวลาขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของฝ่ายใด ถ้ากำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้โดยไม่มีข้อที่ต้องสงสัย ลูกหนี้ก็จะชำระหนี้นั้นก่อนไม่ได้