Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน้าที่ในการชำระหนี้ - Coggle Diagram
หน้าที่ในการชำระหนี้
หน้าที่ในการชำระหนี้ให้ถูกต้อง
วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุที่ประสงค์แห่งนิติกรรม
ตถุแห่งหนี้กับวัตถุที่ประสงค์แห่งนิติกรรมอาจมีความใกล้เคียงกันอยู่เช่นทำสัญญาซื้อขายม้ากันหนึ่งตัววัตถุประสงค์ของนิติกรรมคือการโอนกรรมสิทธิ์ในไม้จากผู้ขายไปยังผู้ซื้อในขณะที่เมื่อนิติกรรมการซื้อขายเกิดแล้ววัตถุแห่งหนี้ในเรื่องนี้ก็คือการส่งมอบมาให้แก่ผู้ซื้อและผู้ซื้อก็มีหนี้ที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นการส่งมอบ (เงิน)
วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุที่ประสงค์แห่งนิติกรรมนั้นไม่อาจจะมีส่วนคล้ายครึ่งเกี่ยวข้องกันแต่ก็มีความแตกต่างกันเลือกหลายประการ
1 วัตถุประสงค์ของนิติกรรมนั้นอยู่ในขั้นมูลฐานก่อนก่อนนี่คือเป็นที่มาแห่งหนี้ประการหนึ่งแต่ว่าวัตถุแห่งหนี้นั้นเป็นผลเมื่อนิติกรรมเกิดและเกิดนี่ขึ้นจึงมีวัดถูกแห่งหนี้ขึ้นมา
2 วัตถุประสงค์ของนิติกรรมนั้นก็มีเฉพาะในนิติกรรมเท่านั้นแต่วัตถุแห่งหนี้นั้นมีในหนี้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นหนี้ที่เกิดจากนิติกรรมหรือหนี้ที่เกิดจากการละเมิด จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ก็มีวัตถุแห่งหนี้ทั้งสิ้น
3 วัตถุประสงค์ของนิติกรรมนั้นมีได้ไม่จำกัดขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้ทำนิติกรรมว่าต้องการจะผูกนิติสัมพันธ์กันในเรื่องใดแม้จะมิได้มีบัญญัติไว้ในกฎหมายได้แก่สัญญานอกแบบต่างๆดังนั้นวัตถุประสงค์ของนิติกรรมจึงมีได้มากมายไม่จำกัดแต่วัตถุแห่งหนี้ไม่ว่าจะเป็นนี่เกิดจากอะไรในที่สุดแล้ววัตถุแห่งหนี้จะมีเพียง 3 อย่าง คือ หนี้กระทำการ
หนี้งดเว้นกระทำการ และหนี้ส่งมอบทรัพย์สิน
ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้
คำว่าทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ที่มีการบัญญัติไว้ในมาตรา 195 ว่าเมื่อทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นได้ระบุไว้แต่เพียงเป็นประเภทแต่ถ้าตามสภาพแห่งนิติกรรมหรือตามเจตนาของคู่กรณีไม่อาจจะกำหนดได้ว่าซับนั้ ถ้าลูกหนี้ได้ได้กระทำการอันตนจะพึงต้องทำเพื่อส่งมอบซับสิ่งนั้นทุกประการแล้วก็ดีหรือถ้าลูกหนี้ได้เลือกกำหนดซับที่จะส่งมอบแล้วด้วยความยินยอมของเจ้าหนี้ก็ดีท่านว่าซับนั้นจึงเป็นวัตถุแห่งหนี้จำเดิมแต่เวลานั้นไปนจะพึงเป็นชนิดอย่างไรไซร้ท่านว่าลูกหนี้จะต้องส่งมอบซับชนิดปานกลาง
ทรัพย์นั้นไม่อาจเป็นวัตถุแห่งหนี้ได้เพราะวัตถุแห่งหนี้คือการส่งมอบซับซับจึงเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งในการชำระหนี้เพราะสิทธิเรียกร้องในทางนี่นั้นไม่ได้ก่อให้เกิด “ทรัพย์สิทธิ” แต่มีเพียงบุคคลสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ส่งมอบทรัพย์ให้เท่านั้น หากลูกหนี้ไม่ส่งมอบเจ้าหนี้ก็ชอบที่จะไปร้องขอต่อศาลตามมาตรา 213 เจ้าหนี้จะไปบังคับแก่ทรัพย์นั้นด้วยอำนาจของตัวเองมิได้ ดังนั้นตัวทรัพย์จึงเป็นวัตถุแห่งหนี้ไม่ได้เป็นได้แต่เพียงวัตถุแห่งการชำระหนี้เท่านั้น
กฎหมายกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับทรัย์ทั้งสองประเภทนี้ไว้แตกต่างกันจึงแยกพิจารณาเป็น 2 ส่วน
1 ทรัพย์ที่จะส่งมอบเป็นทรัพย์สินทั่วไป
ทรัพย์สินที่จะส่งมอบเป็นทรัพย์สินทั่วไปนี้อาจเป็นได้ทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์และจะเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งหรือไม่ใช่ทรัพย์เฉพาะสิ่งก็ได้แม้จะเป็นทรัพย์ในอนาคตคือในขณะที่เกิดหนี้กันนั้นลูกหนี้ยังไม่มีทรัพย์นั้นอยู่เลยก็ได้
2 ทรัพย์ที่จะส่งมอบเป็นเงินตรา
ทรัพย์ที่ลูกหนี้จะต้องส่งมอบหรือทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งการชำระหนี้นั้นนอกจากทรัพย์ทั่วๆไปอย่างอื่นแล้วเงินตราก็เป็นทรัพย์ที่ลูกหนี้จะต้องส่งมอบอย่างนึงโดยเหตุที่เงินตรานั้นมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากทรัพย์สินอย่างอื่นคือแท้จริงแล้วมนุษย์ไม่ได้ใช้เงินในการดำรงชีวิตโดยตรงแต่เงินตราเป็นแต่เพียงเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการให้เกิดความสะดวกสบายเท่านั้น
กรณีวัตถุแห่งหนี้ซึงเลือกชำระได้
แยกสิทธิในการเลือกออกได้เป็น 4 กรณี
สิทธิในการเลือก
1 ถ้ากำหนดไว้ให้ผู้ใดเป็นผู้เลือกซึ่งอาจเป็นได้ทั้งเจ้าหนี้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกก็ได้สิทธิในการเลือกก็ต้องเป็นไปตามที่ตกลงกันไว้
2 ถ้าไม่ได้กำหนดไว้ว่าใครจะเป็นผู้เลือกสิทธิการเลือกชำระหนี้ตกอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้
3 ถ้ากำหนดให้บุคคลภายนอกเป็นผู้เลือกและผู้นั้นไม่อาจเลือกได้สิทธิการเลือกชำระหนี้ตกอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้
4 ถ้ากำหนดให้ฝ่ายลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นฝ่ายเลือกแล้วไม่เลือกภายในเวลาที่กำหนดสิทธิในการเลือกเครื่องตกไปอยู่แก่อีกฝ่ายหนึ่ง
วิธีการเลือก
ระยะเวลาในการเลือก
ผลของการเลือก
กำหนดเวลาชำระหนี้
หนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้
บางกรณีหนี้หลายอย่างก็อาจไม่ได้กำหนดเวลาไว้แต่นี่ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้นี้มิได้หมายความว่าลูกหนี้จะไม่ต้องชำระ
การชำระหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาไว้ชัดแจ้งและอาจจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่อาจทราบความประสงค์ของคู่กรณีเช่นนี้กรณีจึงจะบังคับตามมาตรา 203 วรรคแรกคือเจ้าหนี้มีสิทธิ์จะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันและลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันเช่นกันบทบัญญัตินี้ให้สิทธิ์แก่ทั้งฝ่ายเจ้าหนี้และลูกหนี้เสมอกันคือเจ้าหนี้ก็มีสิทธิ์ที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้และถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ลูกหนี้ก็จะผิดนัดทันทีในทำนองเดียวกันก็ให้สิทธิ์แก่ลูกหนี้ที่จะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันเช่นกัน แต่ถ้าลูกหนี้ชำระหนี้แล้วเจ้าหนี้ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้แล้วเจ้าหนี้ก็ตกเป็นผู้ผิดนัดเช่นกัน
หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้
กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ไม่เป็นที่สงสัย
กำหนดเวลาชำระหนี้ตามปฎิทิน
เป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้โดยแจ้งชัดตามวันแห่งปฏิทินเช่นกำหนดชำระหนี้ในวันที่ 10 สิงหาคมกำหนดชำระหนี้ในวันสงกรานต์ เป็นต้น
กำหนดเวลาชำระหนี้มิไช่ตาวันแห่งปฎิทิน
เช่น ยืมเงินไปและกำหนดว่าจะใช้ขึ้นเมื่อขายข้าวได้แล้วคือยืมเรือไปใช้กำหนดจะคืนเมื่อสิ้นฤดูน้ำ
กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แต่เป็นที่สงสัย
กรณีเป็นที่สงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนถึงเวลานั้นหาได้ไม่แต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นก็ได้การที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าถ้าได้กำหนดเวลาไว้แต่หากกรณีเป็นที่สงสัยไม่ได้หมายความสงสัยในกำหนดเวลาชำระหนี้เพราะวันเดือนปีหรือกำหนดอื่นอันเป็นเวลาที่จะพึงชำระหนี้ได้กำหนดกันไว้แล้วไม่อาจเป็นที่สงสัยได้ข้อที่เกิดเป็นกรณีอันสงสัยก็คือเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นได้หรือไม่หรืออีกในหนึ่งเกิดสงสัยขึ้นว่าประโยชน์แห่งเวลาได้แก่ฝ่ายเจ้าหนี้ไม่ใช่แก่ฝ่ายลูกหนี้และเจ้าหนี้จะเอาชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นดังนี้ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนกำหนดหาไม่ได้
การผิดนัดไม่ชำระหนี้
การผิดนัด(ลูกหนี้)
ลูกหนี้ผิดนัดโดยต้องตักเตือนก่อน
เมื่อมีกำหนดเวลาชำระหนี้แล้วลูกหนี้ก็ต้องชำระหนี้ตามกำหนดนั้นแต่การที่ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้นั้นแต่บางกรณีกฎหมายยังไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดในหนี้บางประเภทนั้นกฎหมายกำหนดให้เจ้าหนี้ต้องเตือนลูกหนี้ก่อนถึงจะผิดนัดคือการผิดนัดเกิดจากการกระทำของเจ้าหนี้เพื่อให้ครบเงื่อนไขตามกฏหมายประเภทที่จะรีบตั้งแต่เตือนก่อนทุกอย่างถึงจะผิดนัดได้แก่มี 2 กรณีคือ 1 หนี้ที่กำหนดเวลาชำระหนี้มิใช่ตามวันแห่งปฏิทิน 2 หนี้ที่ไม่มีกำหนดชำระหนี้
ลูกหนี้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ตักเตือน
นี่ทั้งสองประเภทดังกล่าวแล้วนั้นลูกหนี้จะผิดนัดได้ก็ต่อเมื่อเจ้าหนี้ได้เตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้วแต่หนี้บางประเภทลูกหนี้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ต้องเตือนเลยหนี้กลุ่มนี้มีสองประเภทคือ
1 หนี้ที่มีกำหนดชำระตามวันปฏิทินหรือหนี้ที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ซึ่งอาจคำนวณนับได้ตามวันแห่งปฏิทิน 2 หนี้ละเมิด
กำหนดชำระหนี้กับการผิดนัด
1 กำหนดเวลาชำระหนี้นั้นเป็นกำหนดทีวีจะต้องชำระหนี้แต่การผิดนัดเป็นผลของการไม่ชำระหนี้ตามกำหนดประกอบกับเงื่อนไขบางประการของกฎหมายกล่าวคือถ้าเป็นการไม่ชำระหนี้ที่มิใช่กำหนดตามวันแห่งปฏิทินลูกหนี้จะผิดนัดก็ต่อเมื่อเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้วแต่ถ้าเป็นหนี้ที่มีกำหนดชำระตามวันแห่งปฏิทินลูกหนี้ก็จะผิดนัดทันทีที่ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด การผิดนัดก็ยังเริ่มขึ้นในวันถัดจากวันที่นี่ถึงกำหนดไม่ใช่ผิดนัดในวันถึงกำหนด
2 กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นกำหนดที่เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้และเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของการผิดนัดคือการที่เจ้าหนี้จะทำให้ลูกหนี้ผิดนัดได้นั้นต้องเป็นการเตือนลูกหนี้หลังจากที่นี่ถึงกำหนดชำระแล้วหากยังไม่ถึงกำหนดชำระหนี้เจ้าหนี้ก็ไม่อาจทำให้ลูกหนี้ผิดนัดได้แม้เจ้าหนี้จะเตือนให้ลูกหนี้ชำระและลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ก็ยังไม่ผิดนัดเพราะลูกหนี้ยังสามารถถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาได้อยู่ถ้ากรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 193
3 การผิดนัดนั้นแม้จะถึงกำหนดเวลาชำระหนี้และมีเงื่อนไขอื่นที่อาจทำให้ลูกหนี้ผิดนัดเช่นการเตือนของเจ้าหนี้แล้วก็ตามหากการที่ไม่ชำระหนี้นั้นมีเหตุที่ลูกหนี้จะอ้างได้ว่าไม่ใช่ความผิดของตนแต่เกิดจากพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบแล้วตามมาตรา 205 ก็ถือว่าลูกหนี้ยังไม่ผิดนัดคือตราบใดที่พี่ยังมีข้ออ้างที่เป็นที่ยอมรับของกฎหมายแล้วลูกหนี้ก็ยังไม่ผิดพลาดถึงแม้ถึงกำหนดชำระหนี้แล้วเจ้าหนี้ก็เตือนลูกหนี้แล้วก็ตาม
กรณีที่ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด
1 เป็นหนี้ที่เกิดจากเจ้าหนี้เอง
การที่ร์ยังไม่ชำระหนี้นั้นหากเกิดเพราะเจ้าหนี้จะต้องรับผิดแล้วก็ถือเป็นพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบเหตุที่เจ้าหนี้จะต้องรับผิดนั้นอาจมีหลายเหตุด้วยกันได้แก่กรณีเจ้าหนี้ผิดนัดและกรณีเจ้าหนี้ต้องรับผิดด้วยเหตุอื่นอีก
2 เหตุเกิดจากบุคคลภายนอก บางครั้งการชำระหนี้ยังไม่ได้กระทำลงนั้นเป็นพฤติการณ์ที่ลงโทษลูกหนี้ไม่ได้เพราะเป็นเหตุเกิดจากบุคคลภายนอกซึ่งเป็นเรื่องนอกอำนาจของลูกหนี้ที่จะป้องกันได้ เช่น ตกลงกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยตกลงกันว่าลูกหนี้จะรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่จะซื้อขายและโอนให้แก่ผู้ซื้อภายในเวลาที่กำหนดปรากฏว่าลูกหนี้ได้พยายามดำเนินการเพื่อรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามสัญญาเต็มความสามารถแล้วแต่รังวัดแบ่งแยกไม่เสร็จเพราะเจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจดำเนินการได้ทันถือว่าลูกหนี้ไม่ผิดนัด
3 เกิดจากภัยธรรมชาติ
การที่ลูกหนี้ไม่อาจชำระหนี้ได้ตามทันกำหนดอาจมีสาเหตุมาจากภัยธรรมชาติที่ลูกหนี้ไม่อาจคาดการณ์ได้และไม่อาจป้องกันได้ก็ถือว่าเป็นพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดเช่นกัน เช่น รางวัดแบ่งแยกให้ไม่ทันเพราะน้ำท่วมรางวัดไม่ได้จึงไม่สามารถโอนที่ดินได้ตามกำหนดก็ถือว่าลูกหนี้ไม่ผิดนัด
ผลของการผิดนัดของลูกหนี้
ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัด
มาตรา 215 บัญญัติว่าเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ไซด์เจ้าหนี้จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นก็ได้
ขอให้สังเกตว่าค่าสินใหม่ทดแทนความเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัดนี้มีข้อควรสังเกตสองประการคือประการแรกเป็นค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นจากการผิดนัดโดยตรงประการที่สองเป็นความรับผิดที่เพิ่มขึ้นจากการชำระหนี้ปกติที่แม้เมื่อผิดนัดลูกหนี้กอดยังต้องชำระหนี้ไม่เกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนการชำระหนี้และแม้ในที่สุดหากจะมีการเรียกค่าสินใหม่ทดแทนการชำระหนี้ก็เป็นคนละส่วนกับการเรียกค่าสินใหม่ทดแทนที่เกิดจากการผิดนัดนี้
เจ้าหนี้อาจไม่รับชำระหนี้
เวลาในการชำระหนี้นั้นแม้จะเป็นส่วนหนึ่งของการชำระหนี้ที่ลูกหนี้จะต้องชำระให้ถูกต้องในเรื่องของเวลาซึ่งเป็นความประสงค์แห่งมูลหนี้อย่างหนึ่งดังได้กล่าวแล้วแต่เวลานี้การชำระหนี้งั้นปกติแล้วก็ไม่ใช้สาระสำคัญถึงขนาดที่จะทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิ์จะปฏิเสธไม่ชำระหนี้ได้เสมอไปแม้แต่ในเรื่องการผิดนัดในบางกรณีแม้ลูกหนี้จะไม่ชำระหนี้ตามเวลาที่กำหนดก็ยังหาได้ทำให้ลูกหนี้ผิดนัดเสมอไปต้องให้เจ้าหนี้เตือนก่อนเธอจะผิดนัด
ผลของหนี้ที่กำหนดเวลาชำระเป็นสาระสำคัญ
หนี้กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นสาระสำคัญไม่ว่าจะเป็นสาระสำคัญมาแต่ต้นหรือเจ้าหนี้มาบอกกล่าวให้เวลาเป็นสาระสำคัญตามมาตรา 388 ดังกล่าวนี้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดเจ้าหนี้ก็มีสิทธิ์ที่จะบอกปัดไม่รับชำระหนี้และเรียกเอาค่าสินใหม่ทดแทนการชำระหนี้ได้แต่เจ้าหนี้จะไม่บอกปัดและคงให้หยุดนี่ชำระหนี้เพียงแต่เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อชำระหนี้ล่าช้าก็ได้
ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดระหว่างผิดนัดเพิ่มขึ้น
มาตรา 217 บัญญัติว่าลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายบรรดาที่เกิดแต่ความประมาทเลินเล่อในระหว่างเวลาที่ตนผิดนัดทั้งจะต้องรับผิดชอบในการที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยยเพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ผิดนัดนั้นด้วยเว้นแต่ความเสียหายนั้นถึงแม้ว่าตนจะได้ชำระหนี้ทันเวลากำหนดก็คงจะต้องเกิดมีอยู่นั่นเอง
ความเสียหายที่เกิดจากความประมาทเลอรเลอร์ของลูกหนี้นี้อาจมีความเข้าใจผิดว่ากฎหมายบัญญัติว่าลูกหนี้ต้องรับผิดชอบในบรรดาความเสียหายที่เกิดแต่ประมาทเลินเล่อในระหว่างผิดนัดดังนั้นถ้าลูกหนี้จงใจทำให้เกิดความเสียหายแล้วก็ไม่ต้องรับผิดความจริงแล้วในกรณีที่ลูกหนี้จงใจกระทำให้เกิดความเสียหายนั้นแม้ไม่ใช่ระหว่างผิดนัดลูกหนี้ก็ต้องรับผิดชอบอยู่แล้วดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่เป็นความลับผิดที่เพิ่มขึ้นเมื่อลูกหนี้ผิดนัด
ความรับผิดของลูกหนี้ในกรณีนี้ต่างกับในสองกรณีแรกในมาตรา 215 และมาตรา 216 คือในมาตรา 217 นี้มิใช่เป็นความเสียหายที่เกิดจากการผิดนัดแต่เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างผิดนัดเท่านั้นมิใช่เป็นเหตุโดยตรงมาจากการผิดนัดแต่เป็นเพราะลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามหน้าที่ของตนที่จะต้องชำระหนี้ตามกำหนดเมื่อไม่ชำระหนี้และลูกหนี้ต้องตกเป็นผู้ผิดนัดแล้วเกิดการเสียหายหรือสูญหายขึ้นแก่ทรัพย์นั้นไม่ว่าจะด้วยความประมาทของลูกหนี้หรือเพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแล้วการผิดนัดลูกหนี้ก็ต้องรับผิด