Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 หน้าที่ในการชำระหนี้ - Coggle Diagram
บทที่ 1
หน้าที่ในการชำระหนี้
หน้าที่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง
วัตถุเเห่งหนี้
ความหมาย : สิ่งที่ลูกหนี้จะต้องดำเนินการในการปฏิบัติการชำระหนี้ตามมาตรา 208 แก่เจ้าหนี้ซึ่งมีอยู่ 3 ประการคือ หนี้กระทำการ หนี้งดเว้นกระทำการ หนี้ส่งมอบทรัพย์สิน
หนี้กระทำการ
หนี้กระทำการ : เป็นหนี้ที่ลูกหนี้ต้องไปทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือกระทำการหลายอย่างแก่เจ้าหนี้ ตัวอย่างเช่น ไปสร้างบ้านให้แก่นายจ้างตามสัญญาจ้างเเรงงาน
หนี้กระทำการนั้นอาจมีได้ทั้งที่ลูกหนี้อาจเพียงเเต่รับผิดชอบในการจัดกระทำการอันนั้นโดยลูกหนี้ไม่ต้องกระทำการด้วยตนเองก็ได้ เช่นหนี้ตามสัญญารับจ้างสร้างบ้านลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้รับเหมามาก็มิได้ลงมือด้วยตนเองเพียงแต่ไปจัดหาคนงานมาทำงานให้เสร็จตามสัญญาเท่านั้นก็ได้
หนี้กระทำการที่การชำระหนี้ต้องกระทำเฉพาะตัวหนี้ถือเป็นหนี้ส่วนตัวและไม่ตกเป็นมรดกแก่ทายาทลูกหนี้ แต่ทางด้านเจ้าหนี้มีสิทธิอาจตกไปยังทายาทได้เว้นเเต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่น
ตามหลักมาตรา 213 วรรคสอง เป็นการที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กระทำการ
หนี้งดเว้นกระทำการ
หนี้งดเว้นกระทำการ : หนี้งดเว้นกระทำการเป็นหนี้ซึ่งลูกหนี้มีความผูกพันว่าจะไม่กระทำการบางอย่าง เช่น ผู้ขาย ทำกิจการทางการค้าให้สัญญาเเก่ผู้ซื้อว่าจะไม่ประกอบกิจการนั้นในม้องถิ่นเดียวกันภายในระยะเวลาใดเสลาหนึ่งตามที่ผู้ขายกำหนด
การงดเว้นกระทำการหนี้ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้มีหน้าที่ทางไม่ใช่หน้าที่การงดเว้นทั่วๆไปหรืออาจจะกล่าวว่าหนี้งดเว้นการกระทำการในที่นี้ต้องหมายถึงหนี้ที่อาจบังคับได้
ตามหลักมาตรา 194 เป็นการเรียกร้องให้ลูกหนี้งดเว้นการกระทำการ
ตามหลักมาตรา 213 วรรคสาม เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องลูกหนี้ได้
หนี้ส่งมอบทรัพย์สิน
หนี้ส่งมอบทรัพย์สิน : วัตถุเเห่งหนี้เป็นการส่งมอบทรัพย์สินนั้น หมายถึงหนี้ที่ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้เเก่เจ้าหนี้ เช่น สัญญาการซื้อขายส้มตำผู้ซื้อก็มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินคือจำนวนราคาส้มตำให้เเก่ผู้ขายซึ่งในขณะเดียวกันผู้ขายก็มีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินให้เเก่ผู้ซื้อนั้นก็คือส้มตำ
วิธีการส่งมอบทรัพย์สินนั้นย่มเกิดขึ้นอยู่กับสภาพของทรัพย์สินนั้นเพราะทรัพย์สินบางชนิดอาจจะมีได้หลายรูปแบบที่สามารถนำมาส่งให้กับเจ้าหนี้หรืออาจจะเป็นทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย เช่น สวน บ้าน โรงเเรม ดังนั้นการส่งมอบทรัพย์จึงกำหนดไว้ได้อย่างกว้างขวาง ตามหลักมาตรา 462 บัญญัติไว้
วัตถุเเห่งหนี้เป็นการส่งมอบทรัพย์สินที่ลูกหนี้ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ลูกหนี้มี ไม่ว่าจะส่งมอบทรัพย์สินที่เป็นรูปร่างหรือทรัพย์สินที่เป็นทรัพย์สินเฉพาะสิ่งก็เป็นได้
ลูกหนี้มีหน้าที่ในการส่งมอบทรัพย์สินให้เเก่เจ้าหนี้โดยการโอนกรรมสิทธ์ในทรัพย์สืนให้เเก่เจ้าหนี้
วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุประสงค์แห่งนิติกรรม
วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุที่ประสงค์แห่งนิติกรรมความใกล้เคียงกัน
เช่นทำสัญญาซื้อขายแมว 20 ตัว วัตถุประสงค์ของนิติกรรมคือการโอนกรรมสิทธิ์ในเเมวของผู้ขายไปยังผู้ซื้อ
นิติกรรมการซื้อขายเกิดแล้ววัตถุแห่งหนี้ในเรื่องนี้คือการส่งมอบแมวให้เเก่ผู้ซื้อและผู้ซื้อก็มีหน้าที่มีวัตถุเเห่งหนี้เป็นการส่งมอบ
ความเเตกต่างกันระหว่างวัตถุแห่งหนี้กับวัตถุที่ประสงค์แห่งนิติกรรม
วัตถุประสงค์ของนอตอกรรมนั้นเป็นที่มาแห่งหนี้ประการหนึ่ง แต่วัตถุเเห่งหนี้นั้นเป็นผลเมื่อผลนิติกรรมเกิด
วัตถุประสงค์ของนิติกรรมนั้นมีเฉพาะในนิติกรรมเท่านั้น แต่วัตถุแห่งหนี้นั้นมีในหนี้ทุกชนิด
วัตถุประสงค์ของนิติกรรมนั้นมีได้ไม่จำกัดขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้ทำนิติกรรมนั้น แต่วัตถุเเห่งหนี้จะมีเพียง 3 อย่างคือ หนี้กระทำการ หนี้งดเว้นกระทำการ และหนี้ส่งมอบทรัพย์สินเท่านั้น
ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้
มาตรา 195 บัญญัติไว้ว่า เมื่อทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นได้ระบุไว้แต่เพียงเป็นประเภท และถ้าตามสภาพแห่งนิติกรรมหรือตามเจตนาของคู่กรณีไม่อาจจะกำหนดได้ว่าทรัพย์นั้นจะพึงเป็นชนิดอย่างไรไซร้ท่านว่าลูกหนี้จะต้องส่งมอบทรัพย์ชนิดปานกลาง ถ้าลูกหนี้ได้กระทำการอันตนจะพึงต้องทำเพื่อส่งมอบทรัพย์สิ่งนั้นทุกประการแล้วก็ดีหรือถ้าลูกหนี้ได้เลือกกำหนดทรัพย์ที่จะส่งมอบแล้วด้วยความยินยอมของเจ้าหนี้ก็ดี ท่านว่า
ทรัพย์นั้นจึงเป็นวัตถุแห่งหนี้จำเดิมแต่เวลานั้นไป
บทบัญญัติดังกล่าวนี้บัญญัติไว้ทำนองเดียวกับมาตรา 227 ที่ใช้คำว่า ทรัพย์หรือสิทธิอันเป็นวัตถุเเห่งหนี้ และทำนองเดียวกันกับมาตรา 231 ก็ใช้คำว่า ทรัพย์อันเป็นวัตถุเเห่งหนี้
ดังนั้นจึงขอให้เข้าใจตรงกันว่าแท้จริงแล้วทรัพย์ที่ส่งมอบนี้เป็นทรัพย์อันเป็นวัตถุที่จะใช้ส่งมอบ ก็ให้เข้าใจว่าหมายถึงทรัพย์อันเป็นวัตถุเเห่งการชำระหนี้ คือ ทรัพย์ที่ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องส่งมอบแก่เจ้าหนี้นั่นเอง
ทรัพย์ที่ลูกหนี้จะต้องส่งมอบนี้เมื่อคำนึงถึงสถานะของทรัพย์นั้น อาจเเยกออกได้ 2 ประเภทคือ เงินตราอย่างหนึ่ง และทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่เงินตราอีกอย่างหนึ่ง
ซึ่งมีกฎหมายกำหนดเกี่ยวกับทรัพย์ทั้งสองประเภทนี้ไว้แตกต่างกัน จึงเเยกพิจารณาออกเป็น 2 ส่วนคือ
ทรัพย์ที่จะส่งมอบเป็นทรัพย์สินทั่วไป
อาจเป็นได้ทั้งสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์และจะเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งหรือไม่ใช่ทรัพย์เฉพาะสิ่งก็ได้
เช่น นางบีทำสัญญาซื้อขายโอ่ง 120 ตุ่มให้เเก่นางซีโดยกำหนดส่งมอบภายใน 2 เดือน เช่นนี้นางซีจะยังไม่มีโอ่งอยู่เลยในขณะทำสัญญาและเกิดหนี้นั้นทรัพย์นั้นยังเป็นทรัพย์ในอนาคตก็ได้
ทรัพย์ที่ลูกหนี้ส่งมอบนี้หากเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งคือทรัพย์ที่รู้เเน่นอนเเล้วว่าทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ชิ้นใด ลูกหนี้จะต้องส่งมอบทรัพย์ใดซึ่งกฎหมายก็ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ 2 กรณี คือ
การที่ทรัพย์นั้นจะเป็นวัตถุเเห่งหนี้
กรณีทรัพย์ที่จะต้องส่งมอบได้ระบุไว้เป็นเพียงประเภท
ทรัพย์ที่จะส่งมอบเป็นเงินตรา
เงินตรานั้นมีลักษณะพิเศษกว่าทรัพย์อื่นอยู่หลายประการ ทั้งโดยธรรมชาติของการใช้สอยเเละการกำหนดโดยกฎหมายที่เห็นได้ชัดเจน
กรณีหนี้เงินได้เเสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ มาตรา 196 อัตราแลกเปลี่ยนหนี้ ปกติธนาคารก็จะมีอัตราซื้อและอัตราขาย เช่น นำเงินบาทไปแลกเป็นเงินเยนของประเทศญี่ปุ่น
กรณีเงินตราที่จะพึงส่งใช้เป็นอันยกเลิกไม่ใช้เเล้ว มาตรา 197 เงินตราชนิดต่างๆนั้นอาจมีการเปลี่ยนเเปลงหรือบางชนิดอาจจะยกเลิก
กรณีวัตถุเเห่งหนี้ซึ่งเลือกที่จะชำระได้
หนี้ที่เกิดจากมูลเเห่งหนี้เเละต่างๆไม่ว่าจะเกิดจากสัญญาหรือหนี้ที่เกิดจากการละเมิดก็อาจมีหนี้ที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นอย่างเดียวที่เรียกว่า หนี้เดี่ยว หรือบางกรณีก็อาจมีหนี้หลายยอย่างที่เรียกว่าหนี้สมอาจเป็นที่มีวัตถุแห่งหนี้หลายอย่างแต่ลูกหนี้ต้องทำทุกอย่าง
เช่น กู้ยืมเงินกันไปก็มีหนี้ที่ต้องชำระเงินกู้คืนซื้อขายสินค้าที่ไม่มีข้อกำหนดของสัญญาอย่างอื่นก็มีเพียงหนี้ส่งมอบสินค้าเเละหนี้ชำระราคา
สิทธิในการเลือกมาตรา 198 และมาตรา 201
แยกสิทธิในการเลือก แบ่งออกได้เป็น 4 กรณี
ก) กำหนดผู้ใดเป็นผู้เลือก (มาตรา 198 และมาตรา 201)
ข) ไม่ได้กำหนดไว้ว่าใครจะเป็นผู้เลือก สิทธิการเลือกชำระตกอยู่เเก่ฝ่ายลูกหนี้ (มาตรา 198)
ค) กำหนดให้บุคคลภายนอกเป็นผู้เลือก เช่น ป่วยหนักจนไม่รู้สึกตัวสิทธิในการเลือกตกอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้
ง) กำหนดให้ฝ่ายลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นฝ่ายเลือกสิทธิเลือก โดยลูกหนี้ เจ้าหนี้หรือบุคคลอื่น
วิธีการเลือก กฎหมายได้กำหนดไว้ 2 กรณี
กรณีฝ่ายลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือก ตามมาตรา 199 วรรคสอง
กรณีบุคคลภายนอกเป็นผู้มีสิทธิเลือก ตามมาตรา 201
ระยะเวลาในการเลือก มาตรา 200 อาจเเยกได้ 2 กรณีคือ
มีกำหนดระยะเวลาให้เลือกซึ่งอาจจะกำหนดกันไว้โดยนิติกรรมที่ก่อหนี้นั้นฝ่ายที่มีสิทธิจะเลือกเสียภายในเวลาที่กำหนดนั้น ถ้าไม่เลือกในเวลาที่กำหนดสิทธิการเลือกจะตกไปอยู่กับอีกฝ่ายหนึ่ง
กรณีที่มิได้กำหนดเวลาให้เลือกกฎหมายได้กำหนดไว้ว่าเมื่อหนี้ถึงกำหนดเวลาชำระ
ผลของการเลือก มาตรา 199 วรรคสอง
การเลือกนี้มีผลย้อนหลังไปถึงการเกิดหนี้ครั้งเเรกเเละเป็นกำหนดให้กระทำมาตั้งเเต่เเรก
กรณีชำระหนี้บางอย่างเป็นพ้นวิสัย
กรณีตกไปเป็นอันพ้นวิสัยจะทำได้มาเเต่ต้น
กรณีอันพึงต้องทำเพื่อชำระหนี้บางอย่างกลายมาเป็นพ้นวิสัยในภายหลัง
กำหนดเวลาชำระหนี้
หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระ
2.1 กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แต่เป็นที่สงสัย
มาตรา 203 บัญญัติไว้ว่า ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้นั้นมิได้กำหนดลงไว้หรือจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้ไซร้ท่านว่าเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน
ตัวอย่าง : ดำให้ขาวยืมขันโตกใบหนึ่งไปใช้ในงานมงคลสมรสของบุตรสาวของขาว เผอิญการสมรสต้องเลื่อนไป 1 เดือนดำไม่อาจเรียกเอาขันโตกคือก่อนเสร็จการสมรสเว้นเเต่ดำจะพิสูจน์ได้ว่าขาวมิได้มีเจตนาเอาขันโตกไปเกินกว่า 15 วันเเต่ถึงอย่างไรก็ดี ขาวอาจจะคืนขันโตกก่อนทำการมงคลสมรสก็ได้
2.2 กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ไม่เป็นที่สงสัย
2.2.1 กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันเเห่งปฏิทิน
มาตรา 204 วรรคสอง ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันเเห่งปฏิทินเเละลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ตามกำหนดไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้โดยปฏิทินนับแต่วันที่ได้บอกกล่าว
เช่น กำหนดดชำระหนี้ในวันที่ 19 มกราคม กำหนดชำระหนี้หลังวันปีใหม่
2.2.2 กำหนดเวลาชำระหนี้มิใช่ตามวันแห่งปฏิทิน
มาตรา 204 วรรคแรก ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว และภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ยัง
ไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว
ตัวอย่าง : ฎ.2225/2540
หนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้
หนี้บางกรณีก็อาจไม่ได้กำหนดเวลาไว้แต่หนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้นี้มิได้หมายความว่าลูกหนี้ต้องชำระ
มาตรา 203 วรรคแรก ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้นั้นมิได้กำหนดลงไว้หรือจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน
หนี้ที่จะถือว่าไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้องหมายถึงหนี้นั้นไม่ได้กำหนดเวลาไว้ชัดเเจ้งและไม่อาจอนุมานจากพฤติการณ์ได้ด้วย
เช่น ยืมผ้าม่านเพื่อนำไปใช้ในงานเเต่งงานโดยมิได้ตกลงกันว่าจะคืนเมื่อไหร่ แต่ก็อนุมานจากพฤติการณ์ได้ว่าเมื่อเป็นการยืมไปใช้ในงานเเต่งงาน ก็ต้องชำระหลังจากงานเเต่งงานเสร็จสิ้นเเล้ว
การอนุมานจากพฤติการณ์ว่าเจ้าหนี้เเละลูกหนี้มีการตกลงชำระกันเมื่อใด นี้จะต้องดูประกอบกันหลายอย่างเช่น วัตถุประสงค์ของการทำสัญญา เหตุการณ์ที่ทำให้มีการทำสัญญากับประเพณีทางการค้า
การผิดนัดไม่ชำระหนี้
1. การผิดนัด ( ลูกหนี้ )
1.1 ลูกหนี้ผิดนัดโดยต้องเตือนก่อน ตามมาตรา 204
การผิดนัดเกิดจากการกระทำของเจ้าหนี้เพื่อให้ครบเงื่อนไขตามกฎหมายเจ้าหนี้ที่ต้องตักเตือนก่อนที่ลูกหนี้จะผิดนัด
1.1.1 หนี้ที่กำหนดเวลาชำระหนี้มิใช่ตามวันเเห่งปฏิทิน ตามมาตรา 204 วรรคเเรก
แม้หนี้จะถึงกำหนดเวลาชำระแล้วเเละลูกหนี้ก็ยังไม่ชำระหนี้หากเจ้าหนี้ยังไม่เตือนถือว่าลูกหนี้ยังไม่ผิดนัด
การเตือนเมื่อหนี้ภึงกำหนดชำระเเล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ลูกหนี้จึงจะผิดนัดเพราะว่าเจ้าหนี้ได้ตักเตือนเเล้ว
1.1.2 หนี้ที่ไม่มีกำหนดชำระหนี้ ตามมาตรา 203
เจ้าหนี้ต้องเตือนจึงจะผิดนัด ดังนั้นหากไม่มีการเตือนให้ชำระจากเจ้าหนี้ ลูกหนี้ก็ยังไม่มีหน้าที่ชำระหนี้เเละยังไม่ผิดนัดจึงถือได้ว่าหนี้ประเภทนี้ลูกหนี้ผิดนัดโดยการตักเตือนของเจ้าหนี้ด้วยเช่นกัน
1.2 ลูกหนี้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ต้องเตือน ตามมาตรา 204 วรรคสอง
1.2.1 หนี้ที่กำหนดชำระตามวันเเห่งปฏิทิน ตามมาตรา 204 วรรคสอง
อันนั้นกฎหมายจึงกำหนดว่าถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดลูกหนี้ก็ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย ในทำนองเดียวกันหนี้ที่ต้องงบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้คำนวณนับได้โดยปฏิทิน
ดังนั้นเมื่อผู้ซื้อแจ้งให้ทราบแล้วเมื่อครบกำหนด 7 วันซึ่งคำนวณนับได้ตามปฏิทิน เช่นนี้ลูกหนี้ไม่นำมาส่งมอบก็ถือว่าผิดนัดโดยไม่ต้องพักเตือน
ตัวอย่าง : ฎ.664/2530
1.2.2 หนี้ละเมิด ตามมาตรา 206
หนี้ละเมิดนั้นเกิดขึ้นจากการล่วงสิทธิของผู้อื่นมิใช่เกิดจากนิติกรรมสัญญาจึงไม่มีกำหนดเวลาชำระะหนี้ไว้ในเรื่องการผิดนัดสำหรับหนี้ละเมิดนั้น
1.3 กำหนดชำระหนี้ กับการผิดนัด
กำหนดเวลาชำระหนี้และการผิดนัดนั้นไม่เหมือนกันเเต่ก็มีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด ความต่างเเละความเหมือนของการกำหนดเวลาชำระหนี้กับการผิดนัด
กำหนดชำระหนี้นั้นเป็นกำหนดที่ลูกหนี้จะต้องชำระหนี้เเต่การผิดนัดเป็นผลของการไม่ชำระหนี้ตามกำหนดประกอบกับเงื่อนไขบางประการของกฎหมาย
กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นกำหนดที่เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ และเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของการผิดนัด
การผิดนัดนั้นเเม้จะถึงกำหนดเวลาชำระหนี้เเละมีเงื่อนไขอื่นที่อาจทำให้ลูกหนี้ผิดนัด เช่น การเตือนของลูกหนี้เเล้วก็ตาม
1.4 กรณีที่ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด
1.4.1 เป็นเหตุที่เกิดจากเจ้าหนี้เอง
ได้แก่ การที่เจ้าหนี้ผิดนัด และ กรณีที่เจ้าหนี้ต้องรับผิดด้วยเหตุอื่นอีก
1.4.2 เหตุเกิดจากบุคคลภายนอก
บางครั้งการชำระหนี้ยังไม่ได้กระทำลงนั้นเป็นพฤติการณ์ที่โทษลูกหนี้ไม่ได้เพราะเป็นเหตุเกิดจากบุคคลภายนอกซึ่งเป็นเรื่องนอกอำนาจของลูกหนี้ที่จะป้องกันได้
มาตรา 205 ตราบใดการชำระหนี้นั้นยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตราบนั้นลูกหนี้ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่
2. ผลของการผิดนัดของลูกหนี้
2.1 ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัด
เมื่อการชำระหนี้ล่าช้าเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ บัญญัติไว้ในมาตรา 215
ขอให้สังเกตว่าค่าสินไหมทดแทนความเสียหายยอันเกิดจากการผิดนัดนี้มีข้อสังเกต 2 ประการดังนี้
เป็นค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นจากการผิดนัดโดยตรง
เป็นความรับผิดที่เพิ่มขึ้นมาจากการชำระหนี้ปกติที่เเม้เมื่อผิดนัดลูกหนี้ก็ยังต้องชำระหนี้ไม่เกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทน แทนการชำระหนี้
เจ้าหนี้ไม่อาจรับชำระหนี้
มาตรา 388 บัญญัติไว้ว่า ถ้าวัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญานั้น ว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาได้แสดงไว้ จะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลามีกำหนดก็ดีหรือภายในระยะเวลาอันใดอันหนึ่งซึ่งกำหนดไว้ก็ดีและกำหนดเวลาหรือระยะเวลานั้นได้ล่วงพ้นไปโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมิได้ชำระหนี้ไซร้ ท่านว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญานั้นเสียก็ได้มิพักต้องบอกกล่าวดั่งว่าไว้ในมาตราก่อนนั้นเลย
ต้องเป็นหนี้ที่กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นสาระสำคัญ
มาตรา 217 บัญญัติไว้ว่า ลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายบรรดาที่เกิดแต่ความประมาทเลินเล่อในระหว่างเวลาที่ตนผิดนัดทั้งจะต้องรับผิดชอบในการที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ผิดนัดนั้นด้วย เว้นแต่ความเสียหายนั้นถึงแม้ว่าตนจะได้ชำระหนี้ทันเวลากำหนดก็คงจะต้องเกิดมีอยู่นั่นเอง
เมื่อลูกหนี้ผิดนัดลูกหนี้ยังอาจต้องรับผิดในความเสียหายเเละในความประมาทเลินเล่อในกาชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นในระหว่างผิดนัดด้วย
ความรับผิดกรณีนี้ไม่ได้เกิดจากการผิดนัดแต่เป็นการเกิดในระหว่างผิดนัดด้วยเหตุอื่น
กฎหมายจึงยอมให้ลูกหนี้พิสูจน์ได้ว่าเเม้ตนจะได้ชำระหนี้ทันเวลากำหนดความเสียหายนั้นก็ต้องเกิดมีอยู่นั่นเอง ลูกหนี้จึงไม่ต้องรับผิดความเสียหายในเรื่องนี้เกิดจากสองสาเหตุ คือ
ความประมาทเลินเล่อของลูกหนี้อย่างหนึ่ง
เกิดจากอุบัติเหตุอีกอย่างหนึ่ง