Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน้าที่ในการชำระหนี้ - Coggle Diagram
หน้าที่ในการชำระหนี้
1.1 หน้าที่ในการชำระหนี้ให้ถูกต้อง
มาตรา 215 "เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ไซร้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นก็ได้
ความประสงค์แห่งหนี้นั้นย่อมรวมหมดทุกอย่างที่ลูกหนี้จะต้องปฏิบัติการในการชำระหนี้นั้น รวมทั้งเงื่อนไขเงื่อนเวลาในการชำระนี้ด้วย
เช่น วัตถุแห่งหนี้เป็นการส่งมอบม้า ก็ต้องส่งมอบม้า
หรือมีวัตถุประสงค์แห่งหนี้เป็นอันให้กระทำการ เช่น ต้องไปสร้างบ้านแก่เจ้าหนี้ก็ต้องปฏิบัติตามนั้น ถ้าเป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาก็ต้องชำระให้ถูกต้องตามกำหนดเวลาด้วย หากชำระไม่ถูกต้องตามกำหนดเวลาก็ถืกว่าไม่ชำระให้ต้องตามความประสงค์แห่งหนี้นั้น สถานที่ก็เป็นส่วนหนึ่งในความประสงค์แห่งหนี้ด้วย
วิธีการในการชำระหนี้นั้น มาตรา 208 กำหนดว่า "การชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเป็นอย่างใด ลูกหนี้จะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้เป็นอย่างนั้นโดยตรง" เช่น ศาลพิพากษาว่าให้จำเลยไปโอนที่ดินแก่โจทก์ ถ้าโอนไม่ได้ให้ชดใช้ราคาที่ดิน ดังนี้ลูกหนี้ก็ต้องไปโอนที่ดิน จะชดใช้ราคาแทนการโอนที่ดินไม่ได้
นอกจากลูกหนี้จะต้องชำระหนี้ให้ต้องตาความมประสงค์แห่งมูลหนี้ ตามมาตรา 215 และต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้เป็นอย่างนั้นโดยตรงตามมาตรา 208แล้ว ลูกหนี้ยังต้องกระทำการโดยสุจริตด้วย ตามมาตรา 5 "ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต"
ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ มิฉะนั้นเจ้าหนี้ก็มีสิทธิจะปฏิเสธไม่รับชำระหนี้และเรียกค่าเสียหาย
การทีลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้ถูกต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้นี้ ก็จะต้องมีมูลหนี้ันกับเจ้าหนี้ หากไม่มีมูลหนี้ก็ไม่มีหน้าที่ที่ลูกหนี้จะต้องปฏิบัติ
(1) วัตถุแห่งหนี้
1.หนี้กระทำการ
หนี้ที่ลูกหนี้อาจไม่ต้องกระทำการด้วยตนเอง
หนี้ตามสัญญารับจ้างสร้างบ้าน ลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้รับเหมามาก็มิได้ลงมือสร้างด้วยตนเองเพียงแต่ไปจัดหาคนงาน นายช่างมาทำงานให้เสร็จตามสัญญาเท่านั้น
หนี้ที่ลูกหนี้ต้องกระทำการด้วยตนเอง
สํญญาจ้างแรงงาน ลูกหนี้ต้องไปทำการงานด้วยตนเอง
หนี้ที่ลูกหนี้ต้องกระทำการงานอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างแก่เจ้าหนี้ เช่น ไปสร้างบ้านให้ ไปวาดรูปให้ตามสัญญาจ้างทำของ ไปทำการงานต่างๆให้แก่นายจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน เช่นขุดดิน ทำบัญชี ทำงานบ้าน
หนี้ที่เกิดแต่มูลละเมิดก็อาจมีวัตถุแห่งหนี้เป็นการกระทำการได้มิใช่ว่าจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินแต่เพียงอย่างเดียว เช่นไปกับการละเมิดทำให้ทรัพย์สินของเขาเสียหาย ก็อาจจะต้องทำการซ่อมแซมทรัพย์สินนั้นให้กลับมาสภาพเหมือนเดิม
หนี้กระทำการที่ลูกหนี้ต้องทำเฉพาะตัวนี้ ถือว่าเป็นหนี้ส่วนตัวและไม่ตกเป็นมรดกแก่ทายาทลูกหนี้
แต่ทางด้านเจ้าหนี้นั้นสิทธิอาจตกไปยังทายาทได้เว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่น
หากลูกหนี้กลายเป็นคนไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ ก็ถือว่าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย
ตามมาตรา 219 วรรคสองว่า "ถ้าภายหลังที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้วนั้น ลูกหนี้กลายเป็นคนไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ไซร้ ท่านให้ถือเสมือนว่าเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้การชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยฉะนั้น"
2.หนี้งดเว้นกระทำการ
มาตรา 213 วรรคสาม "ส่วนหนี้ซึ่งมีวัตถุเป็นอันจะให้งดเว้นการใด เจ้าหนี้จะเรียกร้องให้รื้อถอนการที่ได้กระทำลงแล้วนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายและให้จัดการอันควรเพื่อกาลภายหน้าด้วยก็ได้" บทบัญญัตินี้มุ่งถึงหนี้งดเว้นกระทำการที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นการงดเว้นการก่อสร้างเท่านั้น
หนี้งดเว้นกระทำการนั้น แท้จริงแล้วมิใช่มีแต่เฉพาะเรื่องการก่อสร้างเท่านั้น อาจมีหนี้งดเว้นกระทำการบางอย่างได้อีกมากมาย เช่น สัญญาเช่าอาจมีข้อตกลงห้ามผู้เเช่านำวัสดุที่อาจติดไฟง่ายเข้ามาไว้ในอาคาร สัญญาจ้างนักร้องที่ที่ร้องเพลงบันทึกแผ่นบันทึกเสียงเพื่อออกจำหน่ายอาจมีการห้ามมิให้นักร้องนั้นไปร้องเพลงให้กับบริษัทผลิตเพลงรายอื่น
วัตถุแห่งหนี้เป็นการงดเว้นกระทำการนี้ ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้มีหน้าที่ทางหนี้(Obligation)ไม่ใช่หน้าที่งดเว้นทั่วๆไป(Devoir) หรือหนี้งดเว้นกระทำการในที่นี้หมายถึงหนี้ที่อาจบังคับกันได้ตามมาตรา 213 วรรคสาม คือ สามารถสั่งให้รื้อถอนการที่ได้กระทำการลงแล้วหรือสั่งให้จัดการอันควรเเพื่อกาลภายหน้า
หนี้งดเว้นการกระทำนี้ เป็นการบังคับให้ลูกหนี้ต้องไม่กระทำการบางอย่างอาจมีปัญหาในการพิจารณาว่าจะขัดกับหลักเสรีภาพหรือไม่ ทำนองเดียวกันกับหนี้กระทำการคือการบังคับลูกหนี้ต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำนั้นย่อมขัดกับเสรีภาพของลูกหนี้
แม้ลูกหนี้จะต้องไม่กระทำอะไรหรือไม่ได้ทำอะไรนี้ก็อาจเป็นวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดีที่จะมีผลทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะได้
เช่น ทำสัญญาให้ค่าตอบแทน โดยที่ฝ่ายที่รับค่าตอบแทนมีหนี้ต้องไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เช่นนี้ก็เป็นหนี้งดเว้นกระทำการ แต่สัญญานี้จะเป็นโมฆะเพราะมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อกฎหมาย ขัดต่อสงบเรียบร้อย
นอกจากนี้หนี้งดเว้นกระทำการนี้ก็อาจเป็นพ้นวิสัยได้ เช่น ลูกหนี้ถูกบังคับให้กระทำการซึ่งต้องงดเว้น
3.หนี้ส่งมอบทรัพย์สิน
หนี้ที่ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินแก่เจ้าหนี้ เช่น สัญญาซื้อขายก๋วยเตี๋ยว ฝ่ายผู้ซื้อก็มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินคือราคากก๋วยเตี๋ยวแก่คนขาย ในขณะที่คนขายก็มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินคือก๋วยเตี๋ยวแก่ผู้ซื้อ
การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมหมายถึงการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์และการส่งมอบทรัพย์ด้วย แต่ในบางกรณี อาจเป็นเพียงการส่งมอบทรัพย์เท่านั้น เช่นในการซื้อขายทรัพย์เฉพาะสิ่ง ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ โดยผลของกฎหมาย กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อทันทีที่สัญญาซื้อขายมีผล ผู้ขายมีหน้าที่เพียงส่งมอบเท่านั้น
แต่ถ้าเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต้องมีการทำสัญญาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อหน่วยงานเจ้าหน้าที่ด้วย กรรมสิทธิ์จึงจะโอนไปยังผู้ซื้อ ผู้ขายมีหน้าที่ทั้งการโอนกรรมสิทธิ์และการส่งมอบทรัพย์นั้นด้วย
วัตถุแห่งหนี้ประเภทนี้เรียกว่า "หนี้โอนทรัพย์สิน" ซึ่งรวมถึงการส่งมอบทรัพย์สินในกรณีที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์หรือโอนทรัพยาสิทธิอื่นในทรัพย์ด้วยและในความหมายกว้างรวมถึงการให้ครอบครองหรือการให้ใช้ทรัพย์นั้นด้วย
กรณีที่ยังไม่เกิดสัญญาซื้อขาย เช่น เป็นแต่เพียงทำสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ หนี้ตามสัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ จึงน่าจะเป็นการไปทำนิติกรรมซื้อขาย ซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน หนี้นี้น่าจะเป็นวัตถุให้กระทำการคือการทำนิติกรรมและหากฝ่าฝืนไม่ไม่ไปทำนิติกรรมก็บังคับตามมาตรา213 วรรคสอง แต่ไม่น่าจะเป็นหนี้ส่งมอบทรัพย์สิน เมื่อมีการทำนิติกรรมซื้อขายแล้วจึงจะมีหนี้ส่งมอบทรัพย์สินตามมา
การโอนกรรมสิทธิ์มุ่งถึงผลทางกฎหมายแต่การส่งมอบทรัพย์เป็น กระบวนการหรือเป็นการกระทำทางกายภาพ ซึ่งอาจไม่เกี่ยวกับเรื่องกรรมสิทธิ์ เช่น สัญญาเช่าทรัพย์ ผู้ให้เเช่าก็มีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์ที่เช่าให้ผู้เช่าได้ใช้สอย การโอนทรัพย์อาจเป็นส่วนหนึ่งของของแบบแห่งการโอนทรัพยสิทธิ เพราะในเรื่องของสิทธิทางหนี้นี้ เจ้าหนี้มีเพียงสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้เท่านั้น
การส่งมอบทรัพย์กำหนดไว้อย่างกว้างๆดังมาครา462 กำหนดว่า "การส่งมอบนั้นจะทำอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้สุดแต่ว่าเป็นผลให้ทรัพย์สินนั้นไปอยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อ"
เช่นการส่งมอบรถยนต์ อาจเพียงแต่มอบกุญแจรถ ทำให้ผู้รับมอบสามารถเข้าครอบครองรถได้ การส่งมอบบ้านเช่าก็อาจเพียงส่งมอบกุญแจบ้าน หรือการส่งมอบที่ดินที่เช่าก็อาจเพียงยอมให้ผู้เช่าเข้าครอบครองได้โดยไม่มีการขัดขวาง
วัตถุแห่งหนี้ที่เป็นการส่งมอบทรัพย์สิน ก็มีทรัพย์สินที่ลูกหนี้ต้องส่งมอบที่ลูกหนี้มีหน้าที่ส่งมอบนี้จะต้องเป็นรูปร่างและทรัพย์นี้จะเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง เช่น รถยนต์คันใดคันหนึ่งโดยเฉพาะ ม้าชื่อลิ่วลม หรือจะเป็นทรัพย์ทั่วๆไป ที่ไม่เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง เช่น ข้าวสาร ถ่าน น้ำตาล ทรัพย์ที่ลูกหนี้จะต้องส่งมอบนี้เรียกว่า"ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้"
(2) วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุประสงค์แห่งนิติกรรม
วัตถุประสงค์ของนิติกรรม เป็นที่มาแห่งหนี้ประการหนึ่ง แต่วัตถุแห่งหนี้เป็นผลเมื่อเมื่อนิติกรรมเกิดขึ้นและเกิดหนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์ของนิติกรรมมีเฉพาะในนิติกรรม แต่วัตถุประสงค์แห่งหนี้มรในหนี้ทุกชนิดไม่ว่าเป็นหนี้ที่เกิดจากนิติกรรมหรือหนี้ที่เกิดจากละเมิด จัดการงานนอกสั่ง และลาภมิควรได้
วัตถุประสงค์ของนิติกรรมนั้นมีได้ไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้ทำนิติกรรมนั้นว่าต้องการจะผูกนิติสัมพันธ์กันในเรื่องใด แม้จะมิได้บัญญัติไว้ในกฎหมาย แต่วัตถุแห่งหนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้เกิดจากอะไร จะมีเพียง3อย่างคือ หนี้กระทำการ หนี้งดเว้นกระทำการ และหนี้ส่งมอบทรัพย์สิน
(3) ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้
มาตรา 195 เมื่อทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นได้ระบุไว้แต่เพียงเป็นประเภท และถ้าตามสภาพแห่งนิติกรรม หรือตามเจตนาของคู่กรณีไม่อาจจะกำหนดได้ว่าทรัพย์นั้นจะพึงเป็นชนิดอย่างไรไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องส่งมอบทรัพย์ชนิดปานกลาง
วรรคสอง ถ้าลูกหนี้ได้กระทำการอันตนจะพึงต้องทำเพื่อส่งมอบทรัพย์สิ่งนั้นทุกประการแล้วก็ดี หรือถ้าลูกหนี้ได้เลือกกำหนดทรัพย์ที่จะส่งมอบแล้วด้วยความยินยอมของเจ้าหนี้ก็ดี ท่านว่าทรัพย์นั้นจึงเป็นวัตถุแห่งหนี้จำเดิมแต่เวลานั้นไป
ทรัพย์ที่ลูกหนี้จะต้องส่งมอบ
1) ทรัพย์ที่จะส่งมอบเป็นทรัพย์สินทั่วไป
1.การที่ทรัพย์นั้นจะเป็นวัตถุแห่งหนี้
1.ลูกหนี้ได้กระทำการอันตนจะพึงต้องทำเพื่อส่งมอบทรัพย์สินนั้นทุกประการแล้ว เช่น ลูกค้ามาซื้อข้าวสาร2กระสอบ จากข้าวสารในร้านที่มีมากมาย ผู้ขายได้จัดการขนข้าวสารจำนวน2กระสอบขึ้นรถของลูกค้าแล้ว เช่นนี้ข้าวสาร2กระสอบบนรถนั้นก็เป็นทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้
2.ลูกหนี้ได้เลือกกำหนดทรัพย์แล้วด้วยความยินยอมของเจ้าหนี้ เช่น มีลูกค้ามาซื้อลูกสุนัขจากฟาร์มเลี้ยงสุนัข เมื่อเจ้าของฟาร์มได้เลือกลูกสุนัขที่ลูกค้าเห็นชอบแล้ว ลูกสุนัขตัวนั้นก็เป็นทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้
2.กรณีทรัพย์ที่จะต้องส่งมอบได้ระบุไว้เป็นเพียงประเภท
กฎหมายได้กำหนดหน้าที่ของลูกหนี้ไว้ใน มาตรา 195 วรรคแรกว่า "เมื่อทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นได้ระบุไว้แต่เพียงเป็นประเภท และถ้าตามสภาพแห่งนิติกรรม หรือตามเจตนาของคู่กรณีไม่อาจจะกำหนดได้ว่าทรัพย์นั้นจะพึงเป็นชนิดอย่างไรไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องส่งมอบทรัพย์ชนิดปานกลาง"
เช่น ลูกค้าเคยมาซื้อข้าวหอมมะลิ100% เป็นประจำ เช่นนี้ก็เห็นได้ว่าเจตนาของคู่กรณีนั้นต้องการซื้อขายข้าวหอมมะลิ100% นั้น ก็ต้องส่งมอบข้าวหอมมะลิ100% แต่เมื่อไม่อาจกำหนดชนิดของทรัพย์นั้นได้ตามสภาพของนิติกรรมหรือตามเจตนาของคู่กรณีแล้วกฎหมายจึงกำหนดหน้าที่ว่าลูกหนี้จะต้องส่งมอบทรัพย์ชนิดปานกลาง คือลูกหนี้ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องส่งมอบข้าวสารชนิดดีเยี่ยมให้และลูกหนี้ก็จะส่งมอบข้าวที่มีคุณภาพต่ำสุดแก่เจ้าหนี้ก็ไม่ได้ด้วย
2) ทรัพย์ที่จะส่งมอบเป็นเงินตรา
1.กรณีหนี้เงินได้แสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ
มาตรา 196 "ถ้าหนี้เงินได้แสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ ท่านว่าจะส่งใช้เป็นเงินไทยก็ได้ การเปลี่ยนเงินนี้ ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน"
2.กรณีเงินตราที่จะพึงส่งใช้เป็นอันยกเลิกไม่ใช้แล้ว
มาตรา 197 "ถ้าหนี้เงินจะพึงส่งใช้ด้วยเงินตราชนิดหนึ่งชนิดใดโดยเฉพาะ อันเป็นชนิดที่ยกเลิกไม่ใช้กันแล้วในเวลาที่จะต้องส่งเงินใช้หนี้นั้นไซร้ การส่งใช้เงินท่านให้ถือเสมือนหนึ่งว่ามิได้ระบุไว้ให้ใช้เป็นเงินตราชนิดนั้น"
เช่นกู้เงินมาเป็นเงินมาร์คเยอรมัน แต่เมื่อถึงกำหนดชำระหนี้เงินมาร์คเยอรมันไม่ใช้แล้วเพราะเปลี่ยนมาใช้เงินยูโร ดังนี้ลูกหนี้ก็จะชำระหนี้เงินมาร์คอีกไม่ได้ เจ้าหนี้ก็จะเรียกให้ชำระด้วยเงินมาร์คก็ไม่ได้ด้วยเช่นกัน
(4) กรณีวัตถุแห่งหนี้ซึ่งเลือกชำระได้
1.สิทธิในการเลือก
ถ้ากำหนดไว้ให้ผู้ใดเป็นผู้เเลือก สิทธิในการเลือกก็ต้องเป็นไปตามที่ตกลงกันไว้นั้น (มาตรา198, มาตรา201)
ถ้าไม่ได้กำหนดเอาไว้ว่สใครจะเป็นผู้เลือก สิทธิในการเลือกชำระหนี้ตกอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้(มาตรา198)
ถ้ากำหนดให้บุคคลภายนอกเป็นผู้เลือกและผู้นั้นไมม่อาจจะเลือกได้ สิทธิในการเลือกชำระหนี้ตกอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้
ถ้ากำหนดให้ฝ่ายลูกหนี้หรือเจ้าเป็นฝ่ายเลือกและฝ่ายที่มีสิทธินั้นไม่เลือกภายในเวลากำหนด สิทธิในการเลือกย่อมตกไปอยู่แก่อีกฝ่ายหนึ่ง
2.วิธีการเลือก
กรณีฝ่ายลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือก
มาตรา 199 วรรคแรก "การเลือกนั้นท่านให้ทำด้วยแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง"
กรณีบุคคลภายนอกเป็นผู้มีสิทธิเลือก
มาตรา 201 วรรคแรก "ถ้าบุคคลภายนอกจะพึงเป็นผู้เลือก ท่านให้กระทำด้วยแสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ และลูกหนี้จะต้องแจ้งความนั้นแก่เจ้าหนี้"
3.ระยะเวลาในการเลือก
มีกำหนดระยะเวลาให้เลือก ฝ่ายมีสิทธิจะเลือกก็ต้องเลือกเสียภายในเวลาที่กำหนด ถ้าไม่เลือกในเวลาที่กำหนดสิทธิการเลือกก็จะตกไปอยู่แก่อีกฝ่ายหนึ่ง
กรณีมิได้กำหนดเวลาให้เลือก ให้ฝ่ายที่เป็นผู้ไม่มีสิทธิเลือกเป็นผู้กำหนดเวลา โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นกรณีที่หนี้ได้ถึงกำหนดชำระแล้วและระยะเวลาที่กำหนดต้องพอสมควรแก่เหตุ
4.ผลของการเลือก
มาตรา199 วรรคสอง "การชำระหนี้ได้เลือกทำเป็นอย่างใดแล้ว ท่านให้ถือว่าอย่างนั้นอย่างเดียว เป็นการชำระหนี้อันกำหนดให้กระทำแต่ต้นมา"
5.กรณีการชำระหนี้บางอย่างเป็นพ้นวิสัย
กรณีตกเป็นอันพ้นวิสัยจะทำได้มาแต่ต้น
การชำระหนี้ส่วนนั้นแม้จะมีการตกลงกันก็ย่อมตกเป็นโมฆะ
กรณีการอันพึงต้องทำเพื่อชำระหนี้บางอย่างกลายมาเป็นพ้นวิสัยในภายหลัง
-กรณที่การชำระหนี้บางอย่างเป็นพ้นวิสัยที่ฝ่ายที่ไม่มีสิทธิจะเลือกไม่ต้องรับผิดชอบ ให้จำกัดหนี้ไว้แต่เพียงอย่างอื่นที่ไม่พ้นวิสัยเท่านั้น
-กรณีที่การชำระหนี้บางอย่างเป็นพ้นวิสัยที่ฝ่ายไม่มีสิทธิจะเลือกต้องรับผิดชอบ ผู้มีสิทธิเลือกก็ไม่ถูกจำกัดให้ต้องเลือกก่อนส่วนที่จะเป็นพ้นวิสัยเท่านั้นและถ้าเขาเลือกส่วนที่เป็นพ้นวิสัย การชำระหนี้โดยตรงก็ไม่สามารถทำได้ก็ต้องบังคับตามมาตรา218
2. ผลของการผิดนัดของลูกหนี้
1) ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัด
เมื่อการชำระหนี้ล่าช้าเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้ก็อาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 215 ว่า "เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ไซร้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นก็ได้"
2) เจ้าหนี้อาจไม่รับชำระหนี้
มาตรา 216 "ถ้าโดยเหตุผิดนัด การชำระหนี้กลายเป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้เจ้าหนี้จะบอกปัดไม่รับชำระหนี้ และจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ก็ได้"
ผลของหนี้ที่กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นสาระสำคัญ หนี้ที่กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นสาระสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นสาระสำคัญมาแต่ต้นหรือเจ้าหนี้มาบอกกล่าวให้เวลาเป็นสาระสำคัญ ตามมาตรา 388 เมื่อลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้ก็มีสิทธิที่จะบอกปัดไม่รับชำระหนี้และเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนการชำระหนี้ได้ แต่เจ้าหนี้จะไม่บอกปัดและคงให้ลูกหนี้ชำระหนี้เพียงแต่เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการชำระหนี้ล่าช้าก็ได้
3) ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดระหว่างผิดนัดเพิ่มขึ้น
มาตรา 217 "ลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายบรรดาที่เกิดแต่ความประมาทเลินเล่อในระหว่างเวลาที่ตนผิดนัด ทั้งจะต้องรับผิดชอบในการที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ผิดนัดนั้นด้วย เว้นแต่ความเสียหายนั้นถึงแม้ว่าตนจะได้ชำระหนี้ทันเวลากำหนดก็คงจะต้องเกิดมีอยู่นั่นเอง"
1.2กำหนดเวลาชำระหนี้
1) หนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้
มาตรา 203 วรรคแรก "ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้นั้นมิได้กำหนดลงไว้ หรือจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน"
เจ้าหนี้มีสิทธิจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันและลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน
2) หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระ
กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แต่เป็นที่สงสัย
มาตรา 203 วรรคสอง "ถ้าได้กำหนดเวลาไว้ แต่หากกรณีเป็นที่สงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนถึงเวลานั้นหาได้ไม่ แต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นก็ได้"
กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ไม่เป็นที่สงสัย
กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน มาตรา 204 วรรคสอง "ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ตามกำหนดไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้โดยปฏิทินนับแต่วันที่ได้บอกกล่าว"
กำหนดเวลาชำระหนี้มิใช่ตามวันแห่งปฏิทิน มาตรา 204 วรรคแรก "ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว และภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว"
1.3 การผิดนัดไม่ชำระหนี้
1) การผิดนัด
1.ลูกหนี้ผิดนัดโดยต้องเตือนก่อน
หนี้ที่กำหนดเวลาชำระมิใช่ตามวันแห่งปฏิทิน แม้หนี้จะถึงกำหนดชำระแล้วและลูกหนี้ก็ยังไม่ชำระหนี้ถ้าหากเจ้าหนี้ยังไม่เตือนแล้วลูกหนี้ก็ยังไม่ผิดนัด
หนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ตามมาตรา203 ลูกหนี้มีสิทธิจะชำระได้ทันทีตั้งแต่ก่อหนี้ แต่หน้าที่ที่จะต้องชำระนั้นจะเริ่มขึ้นเมื่อเจ้าหนี้เรียกให้ลูกหนี้ชำระ
2. ลูกหนี้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ต้องเตือน
หนี้ที่กำหนดชำระตามวันแห่งปฏิทิน ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ผิดนัดทันทีไม่ต้องเตือน
หนี้ละเมิด ลูกหนี้ผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด
3. กำหนดชำระหนี้กับการผิดนัด
กำหนดเวลาชำระหนี้นั้นเป็นการกำหนดที่ลูกหนี้จะต้องชำระหนี้ แต่การผิดนัดเป็นผลของการไม่ชำระหนี้ตามกำหนด
กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นกำหนดที่เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ และเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของการผิดนัด หากยังไม่ถึงกำหนดชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ไม่อาจทำให้ลูกหนี้ผิดนัดได้
การผิดนัดนั้น แม้จะถึงกำหนดเวลาชำระหนี้และมีเงื่อนไขอื่นที่อาจทำให้ลูกหนี้ผิดนัด หากการที่ไม่ชำระหนี้นั้นมีเหตุที่ลูกหนี้จะอ้างได้ว่าไม่ใช่ความผิดของตน แต่เกิดจากพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบแล้ว ตามมาตรา205 ก็ถือว่าลูกหนี้ยังไม่ผิดนัด
4. กรณีที่ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด
เป็นเหตุที่เกิดจากเจ้าหนี้เอง การที่เจ้าหนี้ผิดนัด อาจด้วยเพราะไม่รับชำระหนี้ตามมาตรา 207 หรือเพราะไม่เสนอชำระหนี้ตอบแทนเมื่อตนมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตอบแทนตามมาตรา 210 ก็ดี ก็ถือเป็นการชำระหนี้ที่ยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ลูกหนี้จึงไม่ผิดนัด
เหตุเกิดจากบุคคลภายนอก แม้เหตุที่จะทำให้ไม่อาจชำระหนี้ได้ทันตามกำหนดจะเกิดจากบุคคลภายนอก แต่ก็ต้องเป็นเรื่องที่ลูกหนี้ไม่มีส่วนผิด เช่น ไม่อาจคาดหมายได้ ป้องกันไม่ได้ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
เกิดจากภัยธรรมชาติ การที่ลูกหนี้ไม่อาจชำระหนี้ได้ทันตามกำหนดอาจมีสาเหตุมาจากภัยธรรมชาติ ที่ลูกหนี้ไม่อาจคาดการณ์และไม่อาจป้องกันได้ก็ถือว่าเป็นพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบเช่นกัน