Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การรวมหน่วยสินค้าและการขนส่งระบบคอนเทนเนอร์ - Coggle Diagram
การรวมหน่วยสินค้าและการขนส่งระบบคอนเทนเนอร์
รูปแบบการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์
ในปัจจุบัน การขนส่งสินค้าส่วนใหญ่จะใช้การขนส่งทางทะเลด้วยเรือประเภท Container Ship ลักษณะตู้ทำด้วยเหล็กหรือ
อลูมิเนียม มีขนาดมาตรฐาน 20 ฟุต และ 40 ฟุต
Twenty Foot Equivalent Unit หรือ TEU คือ หน่วยวัดสำหรับตู้คอนเทนเนอร์ที่มีขนาดความยาว 20 ฟุต
Forty Foot Equivalent Unit หรือ FEU คือ หน่วยวัดสำหรับตู้คอนเทนเนอร์ที่มีขนาดความยาว 40 ฟุต
ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์
1.Dry Cargo Containers
เป็นตู้ที่ใส่สินค้าทั่วไปที่มีการบรรจุหีบห่อหรือพาชนะต้องเป็นสินค้าที่ไม่ต้องการรักษาอุณหภูมิ โดยสินค้าที่เข้าตู้แล้วจะต้องมีการจัดทำที่กั้นไมให้มีสินค้าเลื่อนหรือขยับ
2.Refrigerator Cargo
เป็นตู้สินค้าประเภทที่มีเครื่องปรับอากาศ มีการปรับอุณหภูมิในตู้ ซึ่งตามมาตรฐานต้องสามารถปรับอุณหภูมิได้อย่างน้อย -18 องศาเซลเซียส โดยเครื่องทำความเย็นนี้อาจจะติดอยู่กับตัวตู้
3.Garment Container
เป็นตู้สินค้าที่ออกแบบสำหรับใช้ในการบรรจุสินค้าที่เป็นเสื้อผ้า โดยมี
ราวสำหรับแขวนเสื้อ
4.ตู้สินค้าเทกอง (Bulk)
ตู้สินค้าชนิดนี้จะมีช่องด้านบนของตู้จำนวน 3 ช่อง เพื่อใช้บรรจุสินค้าประเกทผง เมล็ดพืชต่าง ๆซีเมนต์ที่ไม่บรรจุกระสอบ แป้ง หรือ ข้าว
5.ตู้สินค้าแบบระบายอากาศ (Ventilated)
เป็นตู้ทึบ มีช่องระบายอากาศอยู่โดยรอบ ใช้บรรจุสินค้าที่ต้องการ
อากาศถ่ายเท เพื่อไม่ให้สินค้าเน่าเสีย เช่น กาแฟ
6. ตู้สินค้าแบบมีฉนวนกั้น (Insulated)
เป็นตู้ที่บ มีฉนวนกั้นเพื่อป้องกันความร้อน - รังสีใช้บรรจุสินค้าที่ต้องการเก็บมิดชิดไม่ให้ถูกความร้อนหรือรังสี
7.ตู้สินค้า High -Cube Container
มีลักษณะภายนอกเหมือนกับตู้มาตรฐานทั่วไป
แตก้ต่างอยู่ตรงที่ความสูงภายนอก อยู่ที่ 9.6 ฟุต การขนส่งอาจจะต้องใช้รถหางลากแบบพิเศษเพื่อทำการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ประเภทนี้
8.Open Top
เป็นตู้ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องเป็น 40 ฟุต โดยจะออกแบบมาไม่ให้มีหลังคา สำหรับใช้ในการวางสินค้าขนาดใหญ่ใช้ผ้าใบหรือพลาสติกคลุมปิดด้านบน และตัวตู้มี Lashing Ring ติดอยู่ทั้งสี่มุมการรัดตึงช่วยทำให้ตู้สินค้ามีความมั่นคงมากขึ้นตู้ประเภทนี้มักจะถูกบรรทุกไว้ ส่วนบนสุดของฝาระวางเรือ
9. Flat-rack
เป็นพื้นราบมีขนาดกว้างและยาว ตาม Size ของ Container มาตรฐาน โดยจะเป็นตู้คล้ายกับ Container ที่มีแต่พื้น Platform สำหรับใส่สินค้าที่มีลักษณะเป็นพิเศษเช่นเครื่องจักร
10.ตู้สินค้าแท็งก์
เป็นตู้สินค้าชนิดโปร่ง ไม่มีประตู ใช้บรรจุสินค้าถังขนาดใหญ่ เช่น ถังแก๊สออกซิเจน
สินค้ำของเหลวหรือวัตถุระเบิดที่ต้องการความระมัดระวังเป็นพิเศษ
วิธีการขนย้ายคอนเทนเนอร์ในท่าเรือ
1.Stacking Lanes เป็นการจัดย้ายสินค้าไปวางเรียงกอง ซึ่งจะมีการวางเป็นชั้นที่เรียกว่า Stackซึ่งโดยปกติจะมีการวางเรียงคอนเทนเนอร์ไว้ 4-5 ชั้น
การเคลื่อนย้ายคอนเทนเนอร์ไปไว้หน้าท่า ซึ่งอาจจะใช้ตัว Gantry Crane หรืออาจอาศัยรถยกที่เรียกว่า Top ทำหน้าที่ในการเคลื่อนย้าย
3.การ Slot Stacking เป็นการยกตู้สินค้าที่วางอยู่บริเวณหน้าท่า Quay ขึ้นไปวางไว้บน
เรือ โดยมี Quay Crane คือ Crane ที่อยู่หน้าท่าทำหน้าที่ในการขนย้าย
ระบบการบ่งชี้ตู้สินค้าคอนเทนเนอร์
ความสามารถในการบรรทุกของตู้คอนเทนเนอร์
Rating คือความสามารถในการบรรทุกทั้งหมด หรือ Max Gross Weight
Tare Weight หรือ Tare คือ น้ำหนักตัวตู้และอุปกรณ์ที่ติดมากับตู้คอนเทนเนอร์
Payload คือ ความสามารถในการบรรทุกจริงของสินค้าซึ่งรวมถึงสิ่งที่ป้องกันไม่ให้สินค้าเคลื่อนย้ายไปมา
จระบบการบ่งชี้ตู้สินค้าคอนเทนเนอร์
รหัสเจ้าของ แสดงเป็นตัวอักษรลาตินตัวใหญ่ 4 ตัว บ่งบอกถึงเจ้าของ หรือสายเรือ อักษรตัวสุดท้ายจะเป็นตัว U
ชุดตัวเลข แสดงเป็นตัวเลขอารบิค 6 ตัว
ตัวเลขเพื่อเช็ค จะเป็นตัวเลขอารบิค 1 ตัว
สถานะและขนาดของตู้คอนเทนเนอร์
FCL - full container load หรือ หมายถึง การบรรทุกสินค้าใส่ตู้จน เต็มที่ full
carload ก็ คือ การบรรทุกสินค้าเต็มเจ้าของสินค้าเพียงรายเดียวจะบรรจุ ณ สถานีบรรจุสินค้าหรือนำไปบรรจุสินค้าที่โรงงานของเจ้าของสินค้า
CY - container yard : หมายถึง ลานที่เก็บตู้คอนเทนเนอร์ ลานสำหรับพักตู้สินค้า
ก่อนขึ้นเรือหรือ หลังลงจากเรือเป็นสถานที่สำหรับวงตู้สินค้า ซึ่ง CY อาจจะอยู่ได้ทั้งที่ในท่าเรือหรือ
LCL - Less than Container Load หรือ บรรทุกสินค้าใส่ตู้ไม่เต็ม loose container load สินค้าที่ถูกนำมาบรรจุ ณ สถานีบรรจุสินค้าและมีเจ้าของสินค้าหลายรายมาบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์เดียวกัน
CFS - container freight station เป็นลานที่บรรจุสินค้าเข้าตู้หรือแยกสินค้าที่มีเจ้าของ
หลายรายออกจากตู้คอนเทนเนอร์