Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน้าที่ในการชำระหนี้ - Coggle Diagram
หน้าที่ในการชำระหนี้
หน้าที่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง
ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้
ทรัพย์ อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ที่มีการบัญญัติไว้ในมาตรา 195 ว่า เมื่อทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นได้ระบุไว้แตเพียงเป็นประเภท และถ้าตามสภาพแห่งนิติกรรม หรือตามเจตนาของคู่กรณี
เป็นตัวทรัพย์สินซึ่งกฎหมายรับรองหรือเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุแห่งหนี้
แท้จริงแล้วทรัพย์ที่ส่งมอบนี้เป็นทรัพย์อันเป็นวัตถุที่จะใช้ส่งมอบ
ทรัพย์ที่ลูกหนี้จะต้องส่งมอบนี้เมื่อคำนึงถึงสถานะของทรัพย์นั้น อาจแยกออกได้เป็น 2 อย่างคือ เงินตราอย่างหรึ่งและทรัพย์ที่ไม่ใช่เงินตรา ซึ่งมีกฎหมายกำหนดไว้แตกต่างกัน
ทรัพย์ที่จะส่งมอบเป็นทรัพย์สินทั่วไป เป็นได้ทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ และจะเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งหรือไม่ใช่ทรัพย์เฉพาะสิ่งก็ได้ ทรัพย์ที่ลูกหนี้จะส่งมอบ หากเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง คือทรัพย์ที่รู้แน่นอนแล้วว่าเป็นทรัพย์ชิ้นใด
การที่ทรัพย์นั้นจะเป็นวัตถุแห่งนี้ จากบัญญัติมาตรา 195 วรรคสองนี้ จะเห็นว่าทรัพย์สินทั่วไปนั้นจะเป็นทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ได้ 2 กรณี คือ 1ลูกหนี้ได้กระทำการอันตนจะพึงต้องทำเพื่ีอส่งมอบทรัพย์สินนั้นทุกประการแล้ว 2.ลูกหนี้ได้เลือกกำหนดทรัพย์แล้วด้วยความยินยอมของเจ้าหนี้
กรณีทรัพย์ที่จะต้องส่งมอบได้ระบุไว้เป็นเพียงประเภท เมื่อไม่ได้กำหนดชนิดของทรัพย์นั้นได้ตามสภาพของนิติกรรมกรือตามเจตนาของคู่กรณี กฎหมายจึงกำหนดว่าสามารถที่จะส่งมอบเป็นระดับปานกลางได้หากไม่ได้ระบุและจะส่งมองระดับต่ำสุดให้ไม่ได้
ทรัพย์ที่จะส่งมอบเป็นเงินตรา เงินตราเป็นทรัพย์ที่ลูกหนี้จะต้องส่งมอบอย่างหนึ่ง โดยเหตุที่เงินตรานั้นมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากทรัพย์ สินอย่างอื่น แม้จะไม่ได้ใช้เงินตราในการดำรงชีวิตแต่ใช้ในการแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าหรือบริการ
กรณีหนี้เงินได้แสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ อัตราการแลกเปลี่ยนนี้ ปกติธนาคารก็จะมีอัตราซื้อ และอัตราขาย เช่น นำเงินบาทไปแลกเป็นเงินสหรัฐ
บทบัญญัติในมาตรา 196 ต้องเข้าใจว่าหมายถึงการชำระหนี้ที่กำหนดให้ใช้เป็ฯเงินตราต่างประเทศ ในฐานะที่เป็นเงินตราทั่วไปเท่านั้น
เงินตรามีความพิเศษกว่าทรัพย์สินอื่น ประการแรก คิอมูลค่าอยู่ที่ตราไว้ มิได้อยู่ที่ความใหม่เก่า ประการที่สอง เงินตราโดยสภาพแล้วไม่มีการชำระหนี้ด้วยเงินตราจะกลายเป็นพ้นวิสัยไปได้ ประการที่สาม หนี้เงินนั้นมีดอกเบี้ยได้ ประการที่สี่ เงินตรานั้นไม่มีความแตกต่างกันในตัวเงินตรา เพราะมีค่าเป็นเพียงเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยน มีค่าตามที่กำหนดไว้
กรณีเงินตราที่จะพึงส่งใช้เป็นอันยกเลิกไม่ใช้แล้ว เงินตราชนิดต่างๆนั้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงบางชนิดอาจยกเลิก
วัตถุแห่งหนี้
หนี้งดเว้นกระทำการ
หนี้งดเว้นกระทำการนี้ แม้ลูกหนี้จะต้องไม่กระทำอะไร หรือลูกหนี้ไม่ได้ทำอะไรนี้ก็อาจเป็นวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดีที่จะมีผลทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะได้
เป็นการเจาะจงลูกหนี้ เป็นการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย ม.194
วัตถุแห่งหนี้ อาจกำหนดให้ลูกหนี้ต้องไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด
Ex.ทำสัญญาเช่าที่ดินเขาสร้างอาคารพาณิชย์เพื่อการค้าขายเจ้าของที่ดินกลัวบังวิวจึงตกลงห้ามสร้างอาคารเกิน2ชั้น ถ้าผู้เช่าสร้างสูงเกินที่ตกลงหากลูกหนี้ฝ่าฝืนในการชำระหนี้อาจถูกบังคับให้รื้อถอนตามมาตรา 213 วรรคสาม
หนี้ส่งมอทรัพย์สิน
หนี้ที่ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินแก่เจ้าหนี้ เช่น สัญญาซื้อขายที่ดิน ผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินคือราคาที่ดินแก่คนขาย ในขณะที่คนขายก็มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินคือโฉนดแก่ผู้ซื้อ
หนี้กระทำการ
หนี้กระทำการมีได้ทั้งมูลนี้จากสัญญาและมูลหนี้ละเมิด
ลูกหนี้ต้องไปทำการงานอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างแก่เจ้าหนี้
ex.แรงงานไปสร้างบ้านตามสัญญาที่ผู้จ้างจ้างให้ทำงาน
หนี้กระทำการอาจมีได้ทั้งหนี้ที่ลูกหนี้ต้องกระทำด้วยตนเองและหนี้ที่ลูกหนี้อาจไม่ต้องกระทำด้วยตนเอง
การกระทำนั้น อาจมีได้ทั้งที่ลูกหนี้อาจเพียงแต่รับผิดชอบในการจัดกระทำโดยลูกหนี้ไม่ต้องทำด้วยตัวเองก็ได้
วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุประสงค์แห่งนิติกรรม
คือการปฏิบัติการชำระหนี้
วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุประสงค์แห่งนิติกรรม อาจมีความใกล้เคียง เช่นทำสัญญาซื้อขายวัว วัตถุประสวค์คือการโอนกรรมสิทธิ์ในวัวจากผู้ขายไปผู้ซื้อในขณะที่เมื่อนิติกรรมการซื้อขายเกิดแล้ววัตถุแห่งหนี้ในเรื่องนี้ก็คือการส่งมอบวัวให้แก่ผู้ซื้อและผู้ซื้อก็มีหนี้ที่เป็นการส่งมอบเงิน
แต่มีความแตกต่างกันอยู่ คือ 1.อยู่ในขั้นมูลฐานก่อนก่อหนี้ 2.วัตถุประสงค์ของนิติกรรมนั้นก็มีเฉพาะในนิติกรรมเท่านั้น 3.วัตถุประสงค์ของนิติกรรมนั้นมีได้ไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้ทำนิติกรรม
กรณีวัตถุแห่งหนี้ซึ่งเลือกที่จะชำระได้
หนี้ที่เกิดจากมูลแห่งนี้ต่างๆ ไม่ว่าจะเกิดจากสัญญา หรือหนี้เกิดจากการละเมิด
สิทธิในการเลือก แบ่งออกได้ 4 กรณี กำหนดผู้เลือก ไม่กำหนดผู้เลือก บุคคลภายนอกเป็นคนเลือก และกำหนดให้เจ้าหนี้หรือลูกหนี้เป็นคนเลือก
วิธีการเลือก แย่งได้ 2 กรณี กรณีฝ่ายลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นผู็มีสิทธิเลือก ตามมาตรา 199 วรรคแรก และ กรณีบุคคลภายนอกเป็นผู้มีสิทธิเลือกมาตรา 201 วรรคแรก
ระยะเวลาในการเลือก มีบัญญัติไว้ในมาตรา 200 แบ่งได้ 2 กรณีคือ กำหนดเวลาให้เลือกและไม่มีกำหนดเวลาให้เลือก
ผลของการเลือก การเลือกนั้นกฎหมายกำหนดให้แสดงเจตนาต่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง
กรณีชำระหนี้บางอย่างเป็นพ้นวิสัย ในระหว่างที่มีหนี้เกิดขึ้นและหนี้นั้นมีการอันพึงต้องทำเพื่อชำระหนี้มีหลายอย่าง แต่ลูกหนี้ต้องทำเพียงบางอย่าง
การผิดนัดไม่ชำระหนี้
การผิดนัด(ลูกหนี้)
ลูกหนี้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ตักเตือน
หนี้กลุ่มนี้มี 2 ประเภท 1.หนี้ที่มีกำหนดชำระตามวันแห่งปฏิทินหรือหนี้ที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ ซึ่งอาจคำนวณนับได้ตามวันแห่งปฏิทิน 2.หนี้ละเมิด
1.หนี้ที่กำหนดตามวันแห่งปฏิทิน หากมีการกำหนดวันไว้ชัดเจนแล้วแม้เจ้าหนี้จะไม่ตักเตือนก็ถือว่าลูกหนี้ได้ผิดนัด
2.หนี้ละเมิด เกิดขึ้นจากการล่วงสิทธิผู้อื่น มิใช่เกิดจากนิติกรรมสัญญาจึงไม่มีการกำหนดวันชำระหนี้ไว้ในเรื่องการผิดนัด ตามมาตรา 206 ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่ีอว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดเพราะกฎหมายเห็นว่าเมื่อกระทำละเมิดทำให้เขาเสียหายก็มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนทันทีที่ทำละเมิด
กำหนดชำระหนี้กับการผิดนัด
การไม่ชำระหนี้เป็นข้อเท็จจริง ส่วนการผิดนัดเป็นข้อกฎหมาย คือเป็นเรื่องของการไม่ชำระหนี้ซึ่งเกิดผลบางประการทางกฎหมายการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ลูกหนี้อาจยังไม่ผิดนัดก็ได้ การผิดนัดบางกรณีก็เกิดจากการกระทำของเจ้าหนี้
กำหนดเวลาชำระหนี้กัับการผิดนัดนั้นไม่เหมือนกัน แต่มีความเกี่ยวข้อง
กำหนดเวลาชำระหนี้ เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้และเป็นองค์ประกอบสำคัญของการผิดนัด คือเจ้าหนี้จะทำให้เจ้าหนี้ผิดนัดได้ต้องลูกหนี้หลังจากที่หนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว
กำหนดเวลาชำระหนี้นั้น เป็นกำหนดที่ลูกหนี้จะต้องชำระหนี้แต่การผิดนั้นเป็นผลของการไม่ชำระหนี้ตามกำหนด
การผิดนัดนั้น แม้จะถึงกำหนดเวลาชำระหนี้ และมีเงื่อนไขอื่นที่อาจทำให้ลูกหนี้ผิดนัด
ลูกหนี้ผิดนัดโดยต้องตักเตือนก่อน
1.หนี้ที่กำหนดเวลาชำระหนี้มิใช่ตามวันแห่งปฏิทิน มาตรา 204 วรรคสอง ถ้าถึงกำหนดชำระหนี้แล้ว และภายหลังเจ้าหนี้ได้เตือนลูกหนี้แล้วลูกหนี้ยังไม่ชำระ ลูกหนี้ถือว่าผิดนัดเนื่องจากถูกเตือนแล้ว
หนี้ที่ไม่มีกำหนดชำระหนี้ ตามมาตรา 203 หนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ และจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้นั้นกำหนดมาตรา 203 เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยพลัน หากเจ้าหนี้ยังไม่เรียกให้ชำระ ลูกหนี้ก็ยังไม่มีหน้าที่ต้องชำระ ลูกหนี้มีสิทธิชำระได้ทันทีตังแต่ก่อหนี้
กรณีที่ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด
เกิดจากเจ้าหนี้เอง การที่ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้นั้นหากเกิดเพราะเจ้าหนี้ ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ เจ้าหนี้ผิดนัดอาจด้วยเพราะไม่รับชำระหนี้ตามมาตรา 207 หรือเพราะไม่เสนอชำระหนี้ตอบแทนเมื่อตนมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตอบแทนตามมาตรา 210 ถือเป็นการชำระหนี้ที่ยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ
การผิดนัดไม่ใช่แค่ลูกหนี้ แต่เจ้าหนี้ก็ผิดนัดได้ กฎหมายมีการบัญญัติให้เจ้าหนี้ตกเป็นผู้ผืดนัด โดยไม่ยอมรับชำระหนี้เมื่อลูกหนี้มาปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบ
เกิดจากบุคคลภายนอก การชำระหนี้อาจยังไม่ได้กระทำเนื่ีองจากบุคคลภายนอกซึ่งเป็นเรื่องนอกอำนาจของลูกหนี้ที่จะป้องกัน ex.วัดแปลงที่ดิน ลูกหนี้พยามยามจะทำให้ได้ภายในเวลาที่กำหนดแต่เจ้าพนักงานไม่อาจให้ดำเนินการได้ ลูกหนี้ถือว่าไม่ผิด
เหหตุที่จะทำให้ไม่อาจชำระหนี้ได้ทันตามกำหนดจะเกิดจากบุคคลภายนอก แตา่ก็ต้องไม่มีส่วนผิด
เกิดจากภัยธรรมชาติ อาจมีสาเหตุที่ทำให้ไม่ทันได้ชำระหนี้เพราะภัยธรรมชาติ ที่ลูกหนี้ไม่อาจคาดการณ์และไม่อาจป้องกันได้ ก็ถือว่าเป็นพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ex. รังวัดแบ่งที่ดินไม่ทัน เพราะเกิดน้ำท่วมวัดไม่ได้จึงไม่สามารถโอนที่ดินได้ตามกำหนด
ผลของการผิดนัดของลูกหนี้
เจ้าหนี้อาจไม่รับชำระหนี้
ถ้าการผิดนัด ทำให้การชำระหนี้เป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิ์ที่จะบอกปัดไม่รับการชำระหนี้และมีสิทธิ์เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ได้
ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดระหว่างผิดนัดเพิ่มขึ้น
การบัญญัติในมาตรา 218 วรรคแรก จึงเป็นกรณีที่หากเกิดขึ้นในระหว่างที่ลูกหนี้ยังไม่ผิดนัดแล้วลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดเลยแต่เมื่อมาเกิดขึ้นในระหว่างผิดนัดแล้วลูกหนี้ต้องรับผิดเพิ่มขึ้นกว่ากรณีก่อนผิดนั้นเท่านั้น
นอกจากความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากการผิดนัดการชำระหนี้ซึ่งเป็นความเสียหายจากการผิดนัดโดยตรงแล้ว เมื่อลูกหนี้ผิดนัดลูกหนี้ยังอาจต้องรับผิดในความเสียหายประมาทเลินเล่อและการที่ชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิวัยเพราะอุบัติเหตุที่เกิดระหว่างผิดนัดตามมาตร 217
ความเสียานที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของลูกหนี้ ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดแต่ประมาทเลินเล่อในระหว่างผิดนัด
กรณีการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย เพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นระหว่างเวลาผิดนัดที่ให้ลูกหนี้ต้องรับผิดนั้น คือ อุบัติเหตุ เป็นการเกิดโดยไม่อาจคาดหมายหรือความบังเอิญ ส่วนคำว่า สุดวิสัยนั้นถึงขนาดที่จะป้องกันไม่ได้
โดยลักษณะนี้อุบัติเหตุจึงเป็นเหตุสุดวิสัยตามมาตรา 8 หากแต่ว่าไม่กินความไปถึงเหตุสุดวิสัย ที่เกิดจากฟ้าดิน อุบัติเหตุเป็นเหตุสุดวิสัยแต่ไม่ได้หมายความว่าเหตุสุดวิสัยจะเป็นอุบัติเหตุ
ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัด
เจ้าหนี้อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ตามมาตรา 215 เดิมมีหนี้ มีความผูกพันนั้นไม่ต้องชำระแต่ชำระเป็นค่าสินไหมทดแทนการใช้หนี้อาจจะเกิดจากหลายเหตุ คือเมื่อบังคับชำระหนี้ไม่ได้ เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ เมื่อการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย
สังเกตว่าค่าสินไหมทดแทนความเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัดนี้มีข้อควรสังเกต 2 ประการ ประการแรก เป็นค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นจากการผิดนัดโดยตรง ประการที่สอง เป็นความรับผิดที่เพิ่มขึ้นมาจากการชำระหนี้ปกติ
กำหนดเวลาชำระหนี้
หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้
กำหนดเวลาชำระแต่เป็นที่สงสัย
มาตรา 203 วรรคสอง ถ้าได้กำหนดเวลาไว้ แต่หากกรณีเป็นที่สงสัย ศาสตราจารย์ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เห็นว่า หากกรณีเป็นที่สงสัยนั้นไม่ได้หมายความว่าสงสัยในกำหนดเวลาชำระหนี้ ข้อที่เกิดเป็นกรณีอันสงสัยคือ เจ้าหนี้เรียกให้ชำระหนี้ก่อนกำหนดหรือไม่
กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ไม่เป็นที่สงสัย
กำหนดเวลาชำระหนี้ตามปฏิทิน คือหากลูกหนี้ไม่ชำระจนถึงวันนัดตามปฏิทินถือว่าลูกหนี้ผิดนัดทันที
กำหนดเวลาชำระหนี้มิใช่เวลาตามวันแห่งปฏิทิน คือไม่มีการกำหนดระยะเวลาในการชำระหนี้ หรืออาจจะมีการอนุมานว่าจะชำระหนี้ได้เมื่อไหร่แต่ไม่ใช่วันที่เจาะจงตามปฏิทิน เจ้าหนี้ต้องเตือนลูกหนี้ก่อน เมื่อลูกหนี้ถูกเตือนแล้วไม่ชำระหนี้ถือว่าผิดนัด
หนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้
ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ เมื่อเจ้าหนี้เตือนลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันส่วนฝ่ายลูกหนี้ย่อมจะชำระหนี้ของตนโดยพลัน
หนี้ไม่มีการกำหนดเวลาชำระหนี้หากอนุมานได้ให้ไปเตือนก่อนว่าจะชำระได้วันไหนแต่หากอนุมานไม่ได้เมื่อถึงวันชำระแต่ไม่เตือนถือว่าลูกหนี้ไม่ผิดนัด แต่หากเตือนแล้วถือว่าผิดนัด