Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน้าที่ในการชำระหนี้, นางสาวสุพิชญา พลายงาม รหัสนิสิต 64012310416 - Coggle…
หน้าที่ในการชำระหนี้
-
1.3 การผิดนัดไม่ชำระหนี้
(1) ลูกหนี้ผิดนัดโดยต้องตักเตือนก่อน
เมื่อมีกำหนดเวลาชำระหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ต้องชำระหนี้ตามกำหนดนั้น แต่การที่ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้นั้น คือการผิดนัดเกิดจากการกระทำของเจ้าหนี้เพื่อให้ครบเงื่อนไขตามกฏหมาย หนี้ประเภทที่เจ้าหนี้ต้องเตือนก่อนลูกหนี้จึงจะผิดนัดได้แก่หนี้ 2 กรณี คือ
1 หนี้ที่กำหนดเวลาชำระหนี้มิใช่วันแห่งปฏิทิน
2 หนี้ที่ไม่มีกำหนดชำระหนี้
(2) ลูกหนี้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ตักเตือน
ลูกหนี้จะผิดนัดได้ก็ต่อเมื่อเจ้าหนี้ได้เตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้ว แต่หนี้บางประเภทลูกหนี้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ต้องเตือนเลย หนี้กลุ่มนี้มี 2 ประเภท คือ
1 หนี้ที่มีกำหนดชำระตามวันแห่งปฏิทินหรือหนี้ที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ ซึ่งอาจคำนวณนับได้ตามวันแห่งปฏิทิน
2 หนี้ละเมิด
1) การผิดนัด
การผิดนัดนั้นเป็นผลในทางกฏหมายที่มีความสำคัญต่อลูกหนี้และเจ้าหนี้ ทำให้ลูกหนี้มีความรับผิดบางอย่างเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน ทั้งที่มีความสัมพันธ์กับกำหนดเวลาชำระหนี้และในกรณีละเมิดก็มีกำหนดไว้โดยกฏหมายด้วย อาจแยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณี คือ
(3) กำหนดชำระหนี้กับการผิดนัด
เปรียบเทียบกำหนดชำระหนี้กับการผิดนัดเกี่ยวโยงกันอย่างไร จะเห็นได้ว่ากำหนดเวลาชำระหนี้ก็ดี การไม่ชำระหนี้ก็ดี การผิดนัดก็ดี มีความเกี่ยวพันกันอย่างมาก การไม่ชำระหนี้เป็นข้อเท็จจริง ส่วนการผิดนัดเป็นข้อกฏหมาย คือเป็นเรื่องของการไม่ชำระหนี้ซึ่งเกิดผลบางประการทางกฏหมายการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ลูกหนี้อาจยังไม่ผิดนัดก็ได้ แต่ทั้งสองกรณีนี้หนี้ต้องถึงกำหนดชำระทั้งสิ้น ถ้าหนี้ไม่ถึงกำหนดชำระแล้วลูกหนี้จะผิดนัดไม่ได้เลย
การผิดนัดเป็นผลในทางกฏหมาย ที่กฏหมายได้กำหนดเงื่อนไขเอาไว้อย่างชัดเจนว่า กรณีเช่นใดจึงจะผิดนัดตามกฏหมาย ซึ่งอาจต่างจากความเข้าใจของคนโดยทั่วไปได้มาก เช่น ยืมกระบือของเขาไปเพื่อไถนาโดยตกลงว่าจะคืนเมื่อสิ้นฤดูทำนา ปรากฏว่าแม้จะสิ้นฤดูทำนาแล้วลูกหนี้ก็ยังไม่นำกระบือไปคืน ซึ่งถือว่าลูกหนี้ยังไม่ผิดนัด เพราะเจ้าหนี้ยังไม่ได้เตือนลูกหนี้ชำระหนี้ ดังนั้นในส่วนนี้จึงจะได้กล่าวถึงการผิดนัด ข้อยกเว้นที่ทำให้ไม่ผิดนัด และผลของการผิดนัด
(4) กรณีที่ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด
เหตุที่เกิดจากเจ้าหนี้มีทั้งกรณีที่เจ้าหนี้ผิดนัดและกรณีอื่น เช่น การชำระหนี้ที่กำหนดเวลาไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อถึงกำหนดแล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ลูกหนี้ก็ตกเป็นผู้ผิดนัด กฏหมายจึงได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ไม่ให้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด ถ้าการยังไม่ชำระหนี้นั้นไม่ใช่ความผิดของลูกหนี้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 205 ว่า ตราบใดการชำระหนี้นั้นยังมิได้กระทำลง เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ตราบนั้นลูกหนี้ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่ พฤติการณ์ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบนี้ อาจมีที่มาจากหลายสาเหตุด้วยกัน
1.2 กำหนดเวลาชำระหนี้
1) หนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้
หนี้ไม่มีกำหนดชำระ บางกรณีหนี้หลายอย่างก็อาจไม่ได้กำหนดเวลาไว้ แต่หนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้นี้ มิได้หมายความว่าลูกหนี้จะไม่ต้องชำระ กฏหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในมาตรา 203 วรรคแรก ว่า ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้นั้นมิได้กำหนดลงไว้ หรือจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้ไซร์ ท่านว่าเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดูจกัน หนี้นี้จะต้องไม่มีกำหนดเวลาทั้งโดยปริยาย (ที่อนุมานจากพฤติการณ์ได้)
2) หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้
หนี้มีกำหนดเวลาชำระหนี้ อาจกำหนดโดยชัดแจ้งแล้ว หรือโดยปริยายก็ได้ หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้นี้ อาจเป็นหนี้ที่กำหนดเวลาชำระไว้โดยชัดแจ้ง เช่น กำหนดตามวันแห่งปฏิทิน หรือกำหนดตามข้อเท็จจริง เช่น ยืมเสื้อครุยเพื่อไปรับปริญญาจะส่งคืนเมื่อรับปริญญาเสร็จ ก็ถือเป็นการกำหนดโดยชัดแจ้งคือมีการตกลงกันระหว่างคู่กรณีที่ก่อหนี้ขึ้นก็ได้ หรืออาจจะกำหนดชัดแจ้งโดยบทบัญญัติของกฏหมาย
(1) กำหนดเวลาชำระแต่เป็นที่สงสัย
หนี้มีกำหนดชำระแต่เป็นที่สงสัย ถ้าได้กำหนดเวลาไว้ แต่หากกรณีเป็นที่สงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนถึงเวลานั้นหาได้ไม่ แต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นก็ได้ หากกรณีเป็นที่สงสัยนั้น ไม่ได้หมายความว่าสงสัยในกำหนดเวลาชำระหนี้ เพราะวันเดือนปี หรือกำหนดอื่นอันเป็นเวลาที่จะพึงชำระหนี้ได้ก่อนกำหนดนั้นได้หรือไม่ ดังนี้ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนกำหนดหาไม่ได้
(2) กำหนดเวลาชำระไว้ไม่เป็นที่สงสัย
กำหนดชำระหนี้ไว้เป็นที่สงสัย แบ่งออกได้เป็น 2 อย่าง ซึ่งมีผลบังคับในทางกฏหมายแตกต่างกันคือ 1 กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันปฏิทิน กรณีนี้เป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้โดยแจ้งชัดตามวันแห่งปฏิทิน เช่น กำหนดชำระหนี้ในวันที่ 10 สิงหาคม กำหนดชำระหนี้ในวันสงกรานต์ เป็นต้น 2 กำหนดเวลาชำระหนี้มิใช่ตามวันแห่งปฏิทิน การกำหนดเวลาชำระหนี้แบบนี้นั้นในมาตรา 204 วรรคแรก ว่า ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วและภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร์ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว
กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นสิ่งสำคัญในการชำระหนี้ของลูกหนี้ เพราะหากลูกหนี้ ไม่รู้กำหนดเวลาชำระของตนแล้ว ก็ไม่อาจชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงของมูลหนี้ได้ หากลูกหนี้ชำระผิดไปจากกำหนดเวลาชำระหนี้ แม้จะเป็นการชำระก่อนกำหนดเจ้าหนี้ก็อาจปฏิเสธไม่รับชำระหนี้ได้ และหากเกินกำหนดที่จะต้องชำระแล้วก็อาจทำให้ลูกหนี้กลายเป็นผู้ผิดนัด ขึ้นลูกหนี้ก็ต้องรับผิดและในกรณีที่กำหนดเวลาชำระหนี้อาจเป็นเหตุให้บอกเลิกสัญญาได้
-
-
-
2) วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุที่ประสงค์แห่งนิติกรรม
วัตถุแห่งหนี้ กับวัตถุที่ประสงค์แห่งนิติกรรม อาจมีความใกล้เคียงกันอยู่ เช่น ทำสัญญาซื้อขายม้ากันหนึ่งตัว วัตถุประสงค์ของนิติกรรมคือการโอนกรรมสิทธิ์ในม้า จากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ ในขณะที่เมื่อนิติกรรมการซื้อขายเกิดแล้ววัตถุแห่งหนี้ในเรื่องนี้ก็คือ การส่งมอบม้าให้แก่ผู้ซื้อและผู้ซื้อก็มีหนี้ที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นการส่งมอบ หรือสัญญาจ้างต่อเรือวัตถุประสงค์ของสัญญาก็คือการให้ผู้รับจ้างต่อเรือให้ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าวัตถุแห่งหนี้กับวัตถุที่ประสงค์แห่งนิติกรรมนั้น แม้จะมีส่วนคล้ายคลึงเกี่ยวข้องกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันหลายประการ
-