Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน้าที่ในการชำระหนี้ - Coggle Diagram
หน้าที่ในการชำระหนี้
-
กำหนดเวลาชำระหนี้
1.หนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ กฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในมาตรา 203 วรรคแรก ว่า “ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้นั้นมิได้กำหนดลงไว้หรือจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้ไซร้ท่านว่าเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน”
ตัวอย่าง
นายดำยืมค้อนตอกตะปูนายแดงไปใช้สร้างบ้านแต่ไม่ได้ตกลงกันว่าจะคืนเมื่อไหร่ แต่ก็อนุมานจากพฤติการณ์ได้ว่าใช้ในการสร้างบ้าน และเมื่อสร้างบ้านเสร็จแล้วก็ต้องชำระ
นายดำสั่งขนมร้านทำขนมแห่งหนึ่ง เพื่อจะเอาไปแจกเด็กๆในวันพรุ่งนี้เช้า แม้จะสั่งในวันนี้ก็ตาม แต่สามารถอนุมานได้ว่าต้องส่งมอบในวันพรุ่งนี้เช้าเพื่อที่จะได้ไปเลี้ยงเด็กๆ
กรณีการกู้ยืมเงินโดยไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ในสัญญานั้นเมื่อไม่อาจอนุมานจากพฤติการณ์ได้ก็ย่อมเป็นหนี้ที่ไม่มีนอดเวลาตามมาตรา 203 วรรคแรก แต่ผลของการกู้ยืมนั้นจะบังคับตามมาตรา 203 วรรคแรก นี้ได้หรือไม่ในเมื่อมีบทบัญญัติพิเศษเรื่องสัญญากู้ยืมในมาตรา 652 ว่า “ถ้าในสัญญาไม่มีกำหนดเวลาให้คืนทรัพย์สินซึ่งยืมไปผู้ให้ยืมจะบอกกล่าวแก่ผู้ยืมให้คืนทรัพย์สินภายในเวลาอันควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้นก็ได้” ซึ่งเป็นเรื่องของสัญญายืมโดยเฉพาะ
2.หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระ อาจกำหนดโดยชัดแจ้งแล้ว หรือโดยปริยายก็ได้ ซึ่งการพิจารณาถึงกำหนดเวลาชำระหนี้แยกพิจารณาเป็น 2กรณี ได้แก่
1.กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แต่เป็นที่สงสัย มาตรา 203 วรรคสอง บัญญัติว่า “ถ้าได้กำหนดเวลาไว้แต่หากกรณีเป็นที่สงสัยท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนถึงเวลานั้นหาได้ไม่แต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นก็ได้” เช่น นายดำยืมชุดรดน้ำสังข์ของนายแดงเพื่อไปใช้ในงานแต่งของลูกสาวตน แต่บังเอิญงานแต่งต้องเลื่อนไป ฉะนั้นนายแดงจึงไม่อาจเรียกร้องชุดรดน้ำสังข์คืนก่อนงานแต่งได้ แต่ถึงอย่างไรก็ดีนายดำอาจคืนชุดรดน้ำสังข์ก่อนแต่งงานก็ได้
2.กำหนดเวลาชำระหนี้ไวน์ไม่เป็นที่สงสัย แบ่งออกเป็น 2อย่าง ซึ่งมีผลบังคับในทางกฎหมายที่แตกต่างกัน คือ
2.1กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 204 วรรคสอง ว่า”ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ตามกำหนดไซร้ท่านว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมีพักต้องเตือนเลยวิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้โดยปฏิทินนับแต่วันที่ได้บอกกล่าว” เช่นตกลงซื้อข้าวกันในจำนวน 30 ตัน โดยมีกำหนดว่าผู้ขายพร้อมที่จะส่งมอบต้องแจ้งให้ผู้ซื้อทราบก่อนล่วงหน้า 15 วัน ดังนั้นการกำหนดชำระหนี้จะต้องนับนับเวลา 15 วันนับตั้งแต่วันที่บอกกล่าว
2.2กำหนดเวลาชำระหนี้มิใช่ตามวันแห่งปฏิทิน กฎหมายได้กล่าวถึงไว้ในมาตรา 204 วรรคแรก ว่า “ถ้านี่ถึงกำหนดชำระแล้วและภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้วลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว” เช่น ยืมเงินไปและกำหนดว่าจะใช้คืนเมื่อขายวัวได้แล้ว (ถ้าทำการโอนกันแล้วโอนไม่ได้ จะเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้และต้องตกลงกันใหม่)
การผิดนัดไม่ชำระหนี้
การผิดนัด เป็นผลในทางกฎหมายที่มีความสำคัญต่อลูกหนี้และเจ้าหนี้ทำให้ลูกหนี้มีความรับผิดบางอย่างเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดสิทธิ์บางอย่างแก่เจ้าหนี้เช่นกัน อาจแยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณี คือ
-
-
กำหนดชำระหนี้กับการผิดนัด เหมือนกันแต่ก็มีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดอาจสรุปความเหมือนและความต่างได้ดังนี้
2.กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นกำหนดที่เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้และการที่เจ้าหนี้จะทำให้ลูกหนี้ผิดนัดได้นั้นต้องเป็นการเตือนลูกหนี้หลังจากที่หนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว หากยังไม่ถึงกำหนดลูกหนี้ถือว่าไม่ผิดนัดเพราะสามารถถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาได้อยู่ ถ้ากรณีไม่ต้องตามมาตรา 193
3.การผิดนัดนั้น แม้จะถึงกำหนดเวลาชำระหนี้และมีเงื่อนไขอื่นๆที่อาจทำให้ลูกหนี้ผิดนัดแล้วนั้น หากลูกหนี้มีเหตุที่จะอ้างได้ว่าไม่ใช่ความผิดของตน แต่เกิดจากพฤติการณ์ต่างๆที่ตนไม่ต้องรับผิดชอบแล้ว ตามมาตรา 205 ก็ถือว่าลูกหนี้ยังไม่ผิดนัด
1.กำหนดเวลาชำระหนี้นั้นคือการที่ลูกหนี้จะต้องชำระหนี้ แต่การผิดนัดเป็นผลของการไม่ชำระหนี้ตามกำหนดประกอบกับเงื่อนไขบางประการของกฎหมาย
กรณีที่หนี้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 205 ว่า “ตราบใดการชำระหนี้นั้นยังมิได้กระทำลง เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตราบนั้นลูกหนี้ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่”อาจมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน เป็นต้นว่า
1.เป็นเหตุที่เกิดจากเจ้าหนี้เอง ได้แก่กรณีเจ้าหนี้ผิดนัด และกรณีที่เจ้าหนี้ต้องรับผิดด้วยเหตุอื่นอีก การที่เจ้าหนี้ผิดนั้น เพราะไม่รับชำระหนี้ตามมาตรา 207 หรือเพราะไม่เสนอชำระหนี้ตอบแทนเมื่อตนมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตอบแทนตามมาตรา 210 จากหีก็ยังมีพฤติการณ์ที่เจ้าหนี้ต้องรับผิดโดยอาจเกิดจากเจ้าหนี้เองหรือมีส่วนด้วยก็ได้ เช่น ผู้ให้เช่าไปเก็บค่าเช่าจากผู้เช่าตลอดมาเป็นเวลา 10 ปี เมื่อผู้ให้เช่าจะหาว่าผู้เช่าผิดนัดไม่ได้(ฎีกาที่ 440 / 2503)
3.เกิดจากภัยธรรมชาติก็ถือว่าเป็นพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบเช่นกัน เช่น ลูกหนี้ตกลงกับเจ้าหนี้ว่าจัดส่งข้าวในวันพรุ่งนี้ แต่บังเอิญตอนเย็นเกิดฝนตกหนักทำไห้น้ำท่วมข้าวทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถส่งข้าวให้เจ้าหนี้ได้ เช่น นี้จึงถือว่าเกิดจากภัยธรรมชาติ ลูกหนี้ไม่ผิดนัด
2.เหตุเกิดจากบุคคลภายนอก เป็นพฤติการณ์ที่โทษลูกหนี้ไม่ได้ เพราะเป็นเหตุเกิดจากบุคคลภายนอกซึ่งเป็นเรื่องนอกอำนาจของลูกหนี้ที่จะป้องกันได้ เช่น ลูกหนี้ส่งน้ำตาลแก่ผู้ซื้อตามกำหนดเวลาต่อมารัฐบาลได้ห้ามส่งน้ำตาลออกไปต่างประเทศซึ่งเป็นเวลาก่อนถึ่งวันที่ลูกหนี้กำหนดส่ง จึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะอ้างทำให้ลูกหนี้ไม่ผิดนัด
ผลของการผิดนัดของลูกหนี้
1.ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัด ถือว่าเป็นการไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ด้วย เจ้าหนี้ก็อาจเรียกค่าสินใหม่ทดแทนได้ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 215 ว่า “ เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ไซด์เจ้าหนี้จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นก็ได้” ตย. หนี้เงินที่ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้กฎหมายให้ต้องรับผิดในดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด ตามมาตรา 224 โดยกฎหมายมองว่าเป็นค่าเสียโอกาสนำเงินนั้นมาใช้ประโยชน์ใดๆไห้มีผลงอกเงยได้ของเจ้าหนี้
ข้อสังเกตค่าสินไหมทดแทนความเสียหายอันเกิดจากการผิดนัด
1.ค่าสินไหมทดแทนจากการผิดนัดโดยตรง
2.เป็นความรับผิดเพิ่มขึ้นจากการชำระหนี้ปกติเมื่อผิดนัดลูกหนี้ก็ต้องรับผิดชำระหนี้และไม่เกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนการชำระหนี้
-
-