Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (Pregnancy-induced Hypertension:PIH) -…
ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
(Pregnancy-induced Hypertension:PIH)
Severe preeclampsia
อาการเเละอาการเเสดง
กรณีศึกษา
มารดา G4P0A0L3 (GA) 40+3 wks.
แรกรับที่LR(10.35น.) BP: 144/92 mm.Hg พัก25นาทีวัดซ้ำ
เวลา(11.00น.) BP:143/81 mm.Hg
มีอาการตาพร่ามัว ไม่มีอาการปวดศรีษะ
ขณะเบ่งคลอดมีอาการปวดศรีษะ ตาพร่ามัวมากขึ้น
เวลา(15.40น.) BP= 188/100 mmhg.
เวลา (15.45น.)BP=178/109 mmhg.
Edema +1
ผลทางห้องปฏิบัติการ (ผลไม่เป็นไปตามทฤษฎี)
Albumin = Negative, Sugar: Negative
Platelet count: 161,000 cell/microliter
Creatinine: 0.63 mg/dl
AST:19 U/L , ALT: 11 U/L
-Systolic BP >160 มิลลิเมตรปรอท หรือ Diastolo110 มิลลิเมตรปรอท
-โปรตีนในปัสสาวะ 3+ ถึง 4+,
-ปัสสาวะออกน้อยกว่า100ซีซี /4ชั่วโมง
-น้ำหนักเพิ่มมากกว่า 2 กิโลกรัม/สัปดาห์
-บวมทั่วตัว
-มีน้ำคั่งในปอด
-Severe thrombocytopenia เกล็ดเลือดต่ำ/เม็ดเลือดแดงแตก100,000-150,000
-เซลล์ตับถูกทำลาย
-ทารกเจริญเติบโตน้อย
-เห็นภาพเบลอ, เห็นภาพซ้อน
-ปวดท้องด้านบนหรือปวดบริเวณชายโครงขวา
-พบอาการตัวและตาเหลือง
สาเหตุ
ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือดส่งผลให้เกิด
ลิ่มเลือดอุดตัน ส่งผลให้มีการเพิ่มเเรงตันในเส้นเลือดให้สูงขึ้น
กรณีศึกษา
PT (Prothrombin time) :11.3 sec
APTT (Activated Partial Thromboplastin Time):24.0 sec
Obesity
กระตุ้นเกิดCRP(c-reactive protein)ส่งผลให้มีการอักเสบทั่วร่างกายทำให้สูญเสียหน้าที่ของหัวใจเเละหลอดเลือด
กรณีศึกษา
หญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมรับประทานอาหารมัน ทอด น้ำหวานและมีการเพิ่มปริมาณอาหารโดยเชื่อว่าเพื่อบำรุงทารกในครรภ์ให้มีสุขภาพแข็งแรง
เมื่อครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์ทราบว่าตั้งครรภ์ครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์จะระมัดระวังไม่ให้หญิงตั้งครรภ์เดินไกลๆหรือทำงานเพราะกลัวมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ จะให้หญิงตั้งครรภ์ช่วยงานบ้านเล็กๆน้อยๆโดยหญิงตั้งครรภ์ก็คิดว่าการทำงานบ้านคือการออกกำลังกาย
พันธุกรรม
กรณีศึกษา
บุคคลในครอบครัว(มารดาหญิงตั้งครรภ์มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน)
ความหมาย
ความดันโลหิต systolic 140 มิลลิเมตรปรอทหรือมากกว่า หรือความดันโลหิต diastolic 90 มิลลิเมตรปรอทหรือมากกว่า โดยวัด 2 ครั้งห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง เมื่ออายุครรภ์เกิน 20 สัปดาห์ขึ้นไปในสตรีที่เคยมีความดันโลหิตปกติ
เเบ่งเป็น2ประเภท
Preeclampsia เป็นกลุ่มที่มีความดันโลหิตสูงในระยะตั้งครรภ์ร่วมกับมีโปรตีนในปัสสาวะและบวม
Mild preeclampsia: มีค่าความดันโลหิต Systolic < 160 มิลลิเมตรปรอท ความดันโลหิต Diastolic < 110 มิลลิเมตรปรอท ร่วมกับมีโปรตีนในปัสสาวะ 1+ ถึง 2+ หรือบวม
Severe preeclampsia: มีค่าความดันโลหิต Systolic BP >160 มิลลิเมตรปรอท หรือ Diastolo>110 มิลลิเมตรปรอท ร่วมกับมีโปรตีนในปัสสาวะ 3+ถึง4+หรือบวมทั้งตัว
Eclampsia เป็นกลุ่มที่มีอาการของ Severe preeclampsia ร่วมกับชักเกร็งหมดสติ
กรณีศึกษา
มารดา G4P0A0L3 (GA) 40+3 wks.
แรกรับที่LR(10.35น.) BP: 144/92 mm.Hg
พัก25นาทีวัดซ้ำ
เวลา(11.00น.) BP:143/81 mm.Hg
ทารกคลอด(15.40น.) BP: 188/100 mm.Hg
ทันทีหลังรกคลอด (15.45น.) BP: 178/109 mm.Hg
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีภาวะความดันโลหิตสูง
ครรภ์แฝด
ครรภ์ไข่ปลาอุก
เป็นโรคเบาหวานหรือโรคไต จะมีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วยเสมอ
หญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ มักพบในครรภ์แรกที่อายุน้อยกว่า 21 ปี และหญิงตั้งครรภ์ที่เคยผ่านการคลอดมาแล้วหลายครั้งที่อายุมากกว่า 35 ปี
ภาวะอ้วน
จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ โดยมักพบในครรภ์แรก
ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือดทางพันธุกรรมแบบ thrombophilia
บุคคลในครอบครัวที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในระยะตั้งครรภ์มาก่อน มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงในระยะตั้งครรภ์ได้อีก
กรณีศึกษา
บุคคลในครอบครัว(มารดาหญิงตั้งครรภ์มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน)
ภาวะอ้วน
หญิงตั้งครรภ์น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ 79 กิโลกรัม ส่วนสูง 162 เซนติเมตร Body mass index (BMI) ก่อนการตั้งครรภ์ 30.10 มีดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน โดยมีการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักแต่ละสัปดาห์ ดังนี้
วันที่ 6 เม.ย 65 (GA) 21+3 น้ำหนัก 79กิโลกรัม
วันที่ 27 เม.ย 65 (GA) 24+3 น้ำหนัก 80กิโลกรัม
วันที่ 17 พ.ค. 65 (GA) 27+2 น้ำหนัก 81กิโลกรัม
วันที่ 14 มิ.ย. 65 (GA) 32+2 น้ำหนัก 82กิโลกรัม
วันที่ 20 ก.ค. 65 (GA) 36+3 น้ำหนัก 85.8กิโลกรัม
วันที่ 3 ส.ค. 65 (GA) 38+3 น้ำหนัก 86.3 กิโลกรัม
วันที่ 10 ส.ค. 65 (GA) 39+3 น้ำหนัก 87.2กิโลกรัม
วันที่ 17 ส.ค. 65 (GA) 40+3 น้ำหนักขณะตั้งครรภ์ 86.9 กิโลกรัม
จากเปรียบเทียบการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวในระหว่างการตั้งครรภ์ตามเกณฑ์ IOM (Institute of Medicine,2009)พบว่าหญิงตั้งครรภ์มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1กิโลกรัม/สัปดาห์และมีน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ 8 กิโลกรัม ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์
การรับประทานอาหารมัน ทอด น้ำหวาน
มารดามีภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก โดย
ผลทางห้องปฏิบัติการ
PT (Prothrombin time) :11.3 sec (Low)
APTT (Activated Partial Thromboplastin Time):24.0 sec (Low)
กรณีศึกษา
มารดา อายุ 34 ปี G4P0A0L3 GA 40+3 week Normal Labor with Obesity with PIH Severe preeclampsia
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ระยะก่อนคลอด
มารดาเสี่ยงต่อการเกิดภาวะชักเนื่องจากมีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ข้อมูลสนับสนุน
S : มารดาบอกว่า “มีอาการตาพร่ามัว”
O : แรกรับ วันที่17 สิงหาคม 2565 (10.35 น.) BP=144/92 mmHg.
พัก 25 นาที และวัดซ้ำ
เวลา(11.00น.)BP= 143/81 mmHg.
A: Severe Preeclampsia เป็นการตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตสูง มากกว่าหรือเท่ากับ 160/110 มิลลิเมตรปรอทร่วม กับมีโปรตีนในปัสสาวะ (20.3 g ในปัสสาวะ24 ชั่วโมง หรือ urine dipstick 1+) และเกิดเมื่ออายุ ครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์severe preeclampsia คือ preeclampsia ที่พบร่วมกับข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ คือ
ความดันโลหิต systolic สูงมากกว่าหรือเท่ากับ 160 มิลลิเมตรปรอท หรือความดันโลหิตdiastolic มากกว่าหรือเท่ากับ 110 มิลลิเมตรปรอทในการวัด 2 ครั้งที่ห่างกันอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
พบโปรตีนในปัสสาวะมากกว่าหรือ เท่ากับ 50 กรัม ใน 24 ชั่วโมง หรือตรวจ urine dipstick พบมากกว่าหรือเท่ากับ 3+ ติดต่อกัน 2 ครั้ง ปัสสาวะที่เก็บห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
ปัสสาวะน้อยกว่า 500 มิลลิลิตรใน 24 ชั่วโมง
ตามัว ปวดศีรษะ (cerebral or visualdisturbance)
pulmonary edema หรือเกิด cyanosis
จุกแน่นใต้ลิ้นปี หรือปวดใต้ชายโครงขวา
การทำงานของตับผิดปกติ พบระดับ เอนไซม์ตับสูงผิดปกติ
8.thrombocytopenia (เกร็ดเลือดน้อยกว่า100,000 cell/mm)
เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้บ่อยในระยะตั้งครรภ์และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หญิงตั้งครรภ์เสียชีวิต
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะชัก
กิจกรรมการพยาบาล
ให้มารดานอนพักในท่านอนตะแคงซ้าย เพื่อลดการกดทับที่บริเวณเส้นเลือด Inferior venacava ทำให้เลือดสามารถไหลเวียนเพิ่มขึ้นที่มดลูกและรก
วัดสัญญาณชีพพร้อมลงบันทึกทุก 1 ชม.ประเมินอาการนำสู่ภาวะชัก ได้แก่ อาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด อาการปวดบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรืออาการเจ็บชายโครงขวา ปฏิกิริยาสะท้อนเร็วเกินไป 3+ ขึ้นไป ถ้าตรวจพบอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต้องรีบรายงานแพทย์
ติดตามสุขภาพทารกในครรภ์ ติด Nonstress Test (NST) + On Monitor
อธิบายให้ผู้คลอดทราบถึงพยาธิสภาพของโรค อาการนำสู่ภาวะชัก อันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการชักที่จะส่งผลแก่มารดาและทารกในครรภ์ตลอดจนความจำเป็นในการให้ยา MgSO4 และอาการข้างเคียงของการได้รับยา MgSO4 ซึ่งอาจพบได้ เช่น อาการร้อนบริเวณที่ฉีด ร้อนวูบวาบทั่วตัว
จัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพักผ่อน จำกัดการทำกิจกรรมต่าง ๆ บนเตียง เพื่อให้สามารถพักผ่อนได้เต็มที่ ช่วยลดความดันโลหิตและป้องกันการเกิดอาการชัก ไม่ปล่อยให้อยู่ตามลำพัง เพราะอาการชักอาจ เกิดขึ้นได้ ขณะอยู่บนเตียงต้องยกไม้กั้นเตียงทั้ง 2 ข้างขึ้น เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการตกเตียง
ให้ความรู้เรื่องการเลือกรับประทานอาหาร งดอาหารหวาน มันเค็ม
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินความรุนแรงของโรคและความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ HELLP Syndrome ได้แก่ เม็ดเลือดแดงแตกง่ายทำให้เกิดภาวะซีด ระดับเอนไซม์ตับในเลือดเพิ่มสูงขึ้นทำให้ตัวเหลือง และเลือดออกง่ายจากภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
เกณฑ์การประเมิน
1.สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
T= 36.5-37.4 °C RR = 16-20 ครั้ง/นาที HR = 60-100 ครั้ง/นาที
BP = Systolic 90-140 mmHg.
Diastolic 60-90 mmHg. SpO2 sat > 95 %
ไม่มีอาการนำสู่ภาวะชักได้ก่อน ได้แก่ ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นใต้ลิ้นปี่
ไม่เกิดภาวะชัก
การประเมินผล
สัญญาณชีพ T= 37.3 °C, PR = 72/min, RR = 20/min, BP = 134/74 mmHg.
ไม่มีอาการปวดศีรษะตาพร่ามัว
ไม่เกิดภาวะชัก
NST Reactive
ระยะหลังคลอด
มีโอการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการ ได้รับยา MgSO4 (MgSO4 toxicity)
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับยา MgSO4
ข้อมูลสนับสนุน
O : มีภาวะความดันโลหิตสูง severe preeclampsia และได้รับยา MgSO4 เพื่อป้องกันการชัก
O : ได้ 50% MgSO4 4 g dilute 20 ml. IV 80cc/hr. 50% MgSO4 40 g in 5%D/W 980 ml IV 50 cc/hr.
O : MgSO4 3.5 mg/dl (18.40น.) วันที่ 17/08/65 MgSO4 5.0 mg/dl (22.29น.) วันที่ 17/08/65 MgSO4 4.8 mg/dl (02.30น.) วันที่ 18/08/65
A : MgSO4 เป็น Drug of choice ในการป้องกันการชักและ ลดการเกิด Placental abruption" ควรให้ทันที เมื่อ Diagnosis เป็นผู้ป่วยในกลุ่ม Pregnancy-induced hypertension with severe features Magnesium ขับออกทางปัสสาวะ (renalexcretion), ดังนั้นขณะให้ยา มีสิ่งที่ต้องติดตามดังนี้
Urine output: ควรใส่ Foley catheter, keep urine output > 0.5 ml/kg/hour
Deep tendon reflex: monitorhyporeflexia/areflexiaที่ Patellar reflexเท่านั้น
Respiration: keep RR > 14 /min
เกณฑ์การประเมิน
อัตราการหายใจไม่น้อยกว่า 14 ครั้ง/นาที
ปัสสาวะออกไม่น้อยกว่า 30 มิลลิเมตร/ชั่วโมง
deep tendon reflex no absent
4.ค่าMgSo4 ปกติ หญิงตั้งครรภ์ 4.8-8.4 mg/dl
กิจกรรมทางการพยาบาล
อธิบายให้ผู้คลอดและญาติเข้าใจถึงเหตุผลและขั้นตอนการให้ยา รวมทั้งผลข้างเคียงที่อาจเกิด
ได้จากยา เช่น อาการร้อนบริเวณที่ฉีด ร้อนวูบวาบทั่วตัว รวมทั้งอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนขณะได้รับยา
5.ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ Mg level ทุก4ชั่วโมง
50% MgSO4 4 g dilute 20 ml. IV 80cc/hr. 50% MgSO4 40 g in 5%D/W 980 ml IV 50 cc/hr. จนถึงหลังคลอด 24 ชั่วโมงเพื่อให้ได้ปริมาณยาตามแผนการรักษาและเนื่องจากเป็นยาในกลุ่ม High Alert Drug
ปฏิบัติตามแนวทางเพื่อป้องกันอาการไม่พึงประสงค์จากยา (MgSO4 toxicity) ดังนี้
ใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้ ถ้าปัสสาวะออกน้อยกว่า 30 มิลลิลิตร หรือภายใน 4 ชั่วโมงออกน้อยกว่า 100 มิลลิลิตร รายงานแพทย์
ประเมินปฏิกิริยาตอบสนองเฉียบพลันของเอ็นลึก DTR ทุก 1 ชั่วโมง ถ้าน้อยกว่า 2+ ต้องรายงานแพทย์ทันที หรือเท่ากับ 0 ต้องหยุดยาทันทีเนื่องจากยาจะออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง และกดกล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งอาจกดศูนย์การหายใจและเนื่องจาก MgSO4 เกือบทั้งหมดขับออกทางไต ถ้าปัสสาวะออกน้อยลง ระดับยาจะยังคงสูงอยู่ในเลือดโอกาสเกิด MgSO4 toxicity จะเพิ่มมากขึ้น
ประเมินอัตราการหายใจ ทุก 1 ชั่วโมง ถ้าอัตราการหายใจน้อยกว่า 14 ครั้ง/นาทีต้องหยุดให้ยา และรายงานแพทย์
สังเกตอาการของการได้รับยามากเกินไป หรือติดตามระดับแมกนีเซียมในเลือด ได้แก่อาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออก ความดันโลหิตลดลง การหายใจช้าลง ซึม ไม่มีแรง อ่อนปวกเปียก DTR ลดลงต้องรีบรายงานแพทย์ และเตรียมยาแก้ไข ได้แก่ 10 % Calcium Gluconate 10 มิลลิลิตร ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำช้า ๆ ประมาณ 3-5 นาที
การประเมินผล
หลังได้รับยา MgSO4 30 นาที ตรวจ DTR 2+ อัตราการหายใจ 20 ครั้ง/นาที และเมื่อสังเกตอาการครบ 1 ชั่วโมงหลังจากได้รับยา DTR 2+ อัตราการหายใจ 20-22 ครั้ง/นาที
2.ปัสสาวะออก 250 มิลลิลิตร/ชั่วโมง
3.. DTR 2+
4.ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ MgSO4 4.8 mg/dl
ระยะหลังคลอด
มารดามีโอกาสเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากมีการคลอดเฉียบพลัน
ข้อมูลสนับสนุน
S : มารดาบอกว่า “มีเลือดออกทางช่องคลอด”
O : มารดาหลังคลอดมีแผลฝีเย็บ
O:Uterine contraction
Duration :35"
Interval: 4่'
intensity: +
O : มารดาคลอด Normal labor
O : EBL (Estimated blood loss)150 cc.ใน LR
O : เปลี่ยนผ้าอนามัย 1 ชิ้น (50 ml)
O : มารดาหลังคลอดภายใน 24 ชั่วโมงแรก
A : ภาวะตกเลือดหลังคลอด หมายถึง การเสียเลือด 500มิลลิลิตร หรือมากกว่าหลังจากคลอดระยะที่ 3 เสร็จสิ้นการตกเลือดหลังคลอดอย่างรุนแรง (Severe PPH)หมายถึง การเสียเลือดหลังทารกคลอดมากกว่า 1,000มิลลิลิตรการตกเลือดเป็นสาเหตุสำคัญที่สุด ของการตายของมารดาทั่วโลก อย่างน้อยร้อยละ 24 ของการตายของมารดาเกิดจากการตกเลือด แหล่งที่มา: (โฉมพิลาศจงสมชัย, 2552)
วัตถุประสงค์
ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการตกเลือดหลังคลอด
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีอาการแสดงของการเสียเลือดผิดปกติ เช่น หน้ามืด เวียนศีรษะ ใจสั่น เหงื่อออก ตัวเย็น
เปลี่ยนผ้าอนามัยใน 1 ชั่วโมงไม่เกิน 3 แผ่น
มดลูกหดรัดตัวดีเป็นก้อนกลม
4.ปัสสาวะได้ กระเพาะปัสสาวะไม่โป่งตึง มดลูกหดรัดตัวดี น้ำคาวปลาสีจางลงไม่มีกลิ่นเหม็นคาว
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ T= 36.5-37.4 °C RR = 16-20 ครั้ง/นาที HR = 60-100 ครั้ง/นาที BP = Systolic 90-140 mmHg. Diastolic 60-90 mmHg. SpO2 sat > 95 %
กิจกรมมการพยาบาล
1.ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะตกเลือด เช่น ซีด หน้ามืด เวียนศีรษะ ใจสั่น เยื่อบุใต้ตาซีด ริมฝีปากแห้ง เขียวคล้ำ ชีพจรเร็ว ตัวเย็น เหงื่อออก ความดันโลหิตลดลง เพื่อให้การพยาบาลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
2.ประเมินแผลฝีเย็บ และสังเกตปริมาณของเลือดที่ออกจากช่องคลอดโดยใส่ผ้าอนามัยซับเลือดไว้และจดบันทึกเพื่อประเมินเลือดออกหรือน้ำคาวปลาที่ออกทางช่องคลอดเพิ่มขึ้น หรือลดลง
3.ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก คลึงมดลูกให้และสอนการคลึงมดลูกให้มารดาและสอนให้รู้วิธีการทดสอบการแข็งตัวของมดลูก เพื่อให้ไม่ตกเลือดหลังคลอดเพิ่มขึ้น และมารดาหลังคลอดมีความรู้ในการนวดคลึงมดลูก
4.ประเมินสัญญาณชีพทุก 15 นาที 4 ครั้ง ทุก 30 นาที 2 ครั้ง ถ้าพบว่าสัญญาณชีพผิดปกติ เช่น ชีพจรเบาเร็ว หายใจเร็วขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นในระยะแรกและลดลงในระยะหลัง และมี Pulse Pressure แคบลงรายงานให้แพทย์ช่วยเหลือทันที
5.ดูแลให้ได้ 5% DN/2 + Syntocinon20 u 1,000 ml vein drip 80cc/hr. ตามแผนการรักษา เพื่อทดแทนเลือดหรือสารน้ำที่สูญเสียไป และเพิ่มความดันโลหิตของมารดาหลังคลอดให้เพิ่มขึ้น
6.ดูแลให้ได้มารดาหลังคลอดขับถ่ายปัสสาวะ อาจใช้วิธี intermittent catheterizationเพื่อไม่ให้กระเพาะปัสสาวะโป่งตึงจะส่งผลให้มดลูกเกิดการหดรัดตัวไม่ดีและเป็นสาเหตุให้เกิดการตกเลือดได้
7.ดูแลทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และสังเกตลักษณะ แผลฝีเย็บ ปวด บวม แดง โดยผ้าอนามัยควรเปลี่ยนใน 1 ชั่วโมงไม่เกิน 3 ผืนประเมินเลือดออกหรือน้ำคาวปลาที่ออกทางช่องคลอดเพิ่มขึ้น หรือลดลง
8.ตรวจภายในช่องคลอด เพื่อไล่เลือดที่ตกค้างภายในช่องคลอด ตรวจดูว่ามี Hematoma หรือไม่ และตรวจแผลฝีเย็บมีบวม แดง หรือไม่ เพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
9.กระตุ้นให้ลูกดูดนมทุก 2 ชั่วโมง หรือเมื่อลูกต้องการเพื่อช่วยทำให้มดลูกหดรัดตัวดียิ่งขึ้นไม่ให้ตกเลือดเพิ่มขึ้น
10.ดูแลให้มารดาพักผ่อนบนเตียง เพื่อป้องกันอาการวิงเวียนหน้ามืด จากการเสียเลือด และมารดาหลังคลอดมีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ จะส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่น ตกเตียง พลัดตกหกล้ม เป็นต้น
11.สังเกตและติดตามอาการเพื่อเฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอด
การประเมินผล
1.รู้สึกตัวดี ไม่มีอาการซีด ตัวเย็น เหงื่อออก
2.น้ำคาวปลาสีแดงคล้ำจางลงเล็กน้อย ไม่มีกลิ่นเหม็นคาว เปลี่ยนผ้าอนามัย1เเเผ่นใน2ชั่วโมง
3.มดลูกหดรัดตัวดีเป็นก้อนกลม
4.ได้สวนปัสสาวะทิ้ง ทำให้กระเพาะปัสสาวะไม่โป่งตึง
5.สัญญาณชีพ BT = 37.3 ˚c , RR= 20 ครั้ง/นาที , PR= 72ครั้ง/นาที, BP= 134/74 mmHg (17.45 น.) สังเกตและติดตามอาการต่อ
ทารกทารกมีโอกาสเกิดภาวะ Birth Asphyxia ในระยะคลอดเนื่องจากมารดามีความดันโลหิตสูง
ข้อมูลสนับสนุน
O: มารดามีภาวะความดันโลหิตสูงขณะหลังคลอด
O: มารดาได้รับการชักนำการคลอดโดยการเจาะถุงน้ำคร่ำ
O:Uterine contraction
Duration :35"
Interval: 4่'
intensity: +
A: ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด (birth asphyxia) เป็นภาวะที่เลือดของทารกขาดออกซิเจน มีคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง และมีความเป็นกรดในเลือดเนื่องจากการแลกเปลี่ยนอากาศที่ปอด (pulmonary perfusion) ไม่เพียงพอหรือไม่มี ส่งผลให้อวัยวะต่างๆภายในร่างกายขาดออกซิเจนไปหล่อเลี้ยง ซึ่งจะส่งผลให้เซลล์หรืออวัยวะต่างๆ เสื่อมประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ตามปกติ สำหรับประเทศไทย กรมอนามัยได้สรุปคำนิยามของภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดว่า หมายถึง ภาวะที่ทารกแรกเกิดและเกิดมีชีพ มีค่าคะแนนแอปการ์(Apgar score) ที่ 1 และ 5 นาที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 คะแนน ปัจจุบัน ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดยังคงเป็นปัญหาใหญ่ในประเทศไทย และเป็นสาเหตุการตายอันดับ หนึ่งของการตายทารกปริกำเนิด อีกทั้งยังก่อให้เกิดภาวะทุพพลภาพและความพิการทางสมองตามมาได้แหล่งที่มา: (พิมาน, 2552)
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันอันตรายจากภาวะ Birth Asphyxia
เกณฑ์การประเมิน
ทารกในครรภ์อัตราการเต้นของหัวใจทารกอยู่ในเกณฑ์ปกติ 128 - 150ครั้ง/นาทีทารกดิ้นดี ไม่มีภาวะBirth Asphyxia ในระยะของการคลอดจากมารดาที่มีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์และทารกแรกเกิดมีคะแนน Apgar score 9,10,10 คะแนนทารกแรกเกิดสุขภาพแข็งแรง
กิจกรมมการพยาบาล
ประเมินผล
1.ทารกไม่มีอาการเเสดงถึงภาวะHypothermia เเละHyperthermiaไม่มีเขียวตามปลายมือปลายเท้า ซึม ผิวหนังซีดและเย็น ไม่มีหายใจเร็ว
2.ดูด กลืนนมได้ดี
3.สัญญาณชีพทารกอยู่ในเกณฑ์ปกติ
BT= 37.1˚C, HR = 142/min, RR = 56/min
ฟังและบันทึก ฟัง FHS ทุก 1 ชั่วโมงในระยะ Latent phase และ ทุก 30 นาทีในระยะ Active phase หรือ On monitor NST
ประเมินลักษณะของน้ำคร่ำที่ไหลออกจากช่องทางคลอดโดยสังเกตลักษณะของสีและดูแลให้ O2 canular 5 LPM จัดให้ผู้คลอดนอนตะแคงซ้าย คาดคะเนปริมาณน้ำคร่ำที่ออก โดยสังเกตจากจำนวนผ้าอนามัยหรือรองคลอดที่ซับน้ำคร่ำวัดรอบหน้าท้อง เพื่อป้องกันทารกพร่องออกซิเจน และทำให้เสียชีวิตได้
ดูแลแนะนำให้ผู้คลอดให้นอนพักบนเตียง นอนศีรษะสูง และดูแลช่วยเหลือในการทำกิจกรรม ต่างๆบนเตียงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากอาการหน้ามืด วิงเวียน และเพิ่มปริมาณเลือดไปเลี้ยงทารกในครรภ์
ดูแลให้ได้รับสารน้ำ LRS 1000 ml vein drip 120 cc/hr. ตามแผลการรักษา
แนะนำให้ผู้คลอดสังเกตการณ์ดิ้นของทารกในครรภ์ด้วยตนเอง หากพบความผิดปกติให้แจ้ง พยาบาลให้ทราบเพื่อให้ความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม
ประเมิน Contraction ของมดลูกทุก 30 นาที เพื่อประเมินความก้าวหน้าของการคลอด รายงานแพทย์เมื่อพบความผิดปกติ
ดูแลช่วยคลอดสตรีตั้งครรภ์ในระยะที่ 2 ให้สั้นที่สุด เพื่อป้องกันทารกพร่องออกซิเจน
ประเมินอาการที่แสดงถึงภาวะพร่องออกซิเจนของทารกแรกเกิด ได้แก่ ความรู้สึกตัว การตอบสนองของรูม่านตา เสียงร้องของทารก เป็นต้น เพื่อช่วยเหลือได้ทันที
Clear air way โดยการดูดสารคัดหลั่งในปาก จมูกด้วยลูกสูบยางแดงทันทีในระยะแรกคลอด เพื่อช่วยกระตุ้นทารกหายใจ หรืออาจใช้การลูบทรวงอก ตบฝ่าเท้าเบาๆ เป็นการเพิ่มการแลกเปลี่ยนก๊าซในปอด
บันทึกอาการและการพยาบาลที่ให้ และประเมินผล
ทารกเสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์
ข้อมูลสนับสนุน
O : ทารกสะดือยังไม่หลุด
O : ทารกมีผิหนังบาง
O :ระบบภูมิคุ้งกันทารกยังไม่สมบูรณ์
O:มารดาคลอดนอก unit
A : ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดของทารกแรกเกิดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบมากที่สุดมากกว่าร้อยละ10 ในทารกแรกเกิดถึง1 เดือนในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาอัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 25 และอัตราการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยสูงถึงร้อยละ30-50 โดยทารกแรกเกิดที่รอดชีวิตอาจมีปัญหาทางด้านพัฒนาการและสติปัญญาตามมาได้สาเหตุที่ทารกแรกเกิดมีการติดเชื้อได้หลายทาง เช่น จากมารดาสู่ทารกทางการคลอดหรือทางรกทารกแรกเกิดมีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ไม่ดีไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคได้และมักพบปัญหาหลายระบบร่วมกันอาการแสดงของทารกไม่จำเพาะอาจมีอาการน้อยหรือซ่อนเร้นไม่แสดงอาการจนถึงขั้นรุนแรงจนช็อคและเสียชีวิตได้ขึ้นอยู่กับเวลาของการสัมผัสเชื้อจำนวนเชื้อโรคที่เข้าร่างกายภาวะภูมิคุ้มกันของทารกและความรุนแรงของเชื้อโดยเฉพาะกลุ่มทารกแรกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อยกว่า1,500กรัม(Very Low Birth Weight :VLBW) มีอัตราการรอดชีวิตมากขึ้นแต่ต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น ปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายนอกอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ แหล่งที่มา: (ศรีจันทร์ทองศิริ, 2558)
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันการติดเชื้อในทารกแรกเกิด
เกณฑ์การประเมิน
ทารกไม่มีอาการของการติดเชื้อได้แก่ ซึม ดูดนมได้น้อย อุณหภูมิสูง ตาสะดือแฉะ บวมแดง และหายใจเร็วเป็นต้น
อุณหภูมิร่างกายปกติ คือ 36.8-37.2 ˚C
ทารกได้รับนมเพียงพอต่อความต้องการ
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินอาการของภาวะติดเชื้อ ได้แก่ ซึม ดูดนมได้น้อย อุณหภูมิสูง ตาสะดือแฉะ บวม หายใจเร็วเพื่อให้การพยาบาลที่เหมาะสมและถูกต้อง
ดูแลประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง หรือเมื่อทารกมีอาการผิดปกติ เพื่อสังเกตอาการของการติดเชื้อเช่น อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ชีพจรเร็ว หายใจเร็ว เป็นต้น
ให้การพยาบาลด้วยหลัก Aseptic technique เพื่อป้องกันการนำเชื้อโรคจากการทำหัตถการต่างไปสู่ทารกแรกเกิด
ดูแลความสะอาดของทารก โดยอาบน้ำวันละ 1 ครั้ง และดูแลเช็ดตาด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว และเช็ดสะดือด้วยสำลีแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อเข้าสู่ร่างกายจากการสะสมเชื้อโรคบริเวณตา และสะดือ
ดูแลทำความสะอาด เปลี่ยนผ้าอ้อม เมื่อทารกปัสสาวะ อุจจาระ เพื่อป้องกันการติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
ดูแลให้ทารกได้นอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ เพื่อให้ทารกไม่เหนื่อยอ่อนเพลีย มีภูมิต้านทานโรคที่ดี
ดูแลให้ทารกได้ดูดนมวันละ 8-12 ครั้ง หรือทุก 2-3 ชั่วโมง เพราะน้ำนมแม่ มีภูมิคุ้มกันที่ดี ทำให้ทารกสุขภาพร่างกายแข็งแรง
ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาลและให้คำแนะนำญาติในการเข้าเยี่ยมเป็นเวลา ล้างมือให้สะอาดก่อนหลังจับตัวทารก เพื่อป้องกันการติดเชื้อไปสู่ทารก
การประเมินผล
1.ทารกActive ดี ไม่มีอาการ การแสดงของภาวะติดเชื้อได้แก่ ซึม ดูดนมได้น้อย อุณหภูมิสูง ตาแฉะ สะดือแฉะ บวมแดงทารก
BT= 37.4 ˚c, PR = 122/min, RR = 48 /min
3.ได้รับน้ำนมเพียงพอ นอนหลับพักได้ไม่ร้องหิวระหว่างมื้อนม ไม่มีอาเจียน และให้การพยาบาลด้วยหลัก Aseptic technique ได้ดูดนมทุก 1 ชั่วโมง มารดาและญาติเข้าใจคำแนะนำ และสัญญาณชีพทารกอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ระยะก่อนคลอด
ทารกในครรภ์มีโอกาสเกิดภาวะ Fetal distress เนื่องจากมารดามีภาวะความดันโลหิตสูง
A : มารดามีภาวะความดันโลหิตสูงเกิดการหดเกร็งของหลอดเลือดที่มดลูกทำให้เกิดความ
ต้านทานในหลอดเลือดที่รกมากขึ้นส่งผลให้การไหลเวียนเลือดผ่านรกน้อยลง (Uteroplacental insufficiency) มีการแตกทำลายของเม็ดเลือดและการจับตัวของเกล็ดเลือด เกิดการตายของเนื้อรกและผนังมดลูกทำให้การทำหน้าที่ของรกเสื่อมลง เป็นผลให้ทารกได้รับสารอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ มีการเจริญเติบโตช้าและขาดออกซิเจน
วัตถุประสงค์การพยาบาล
เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกเกิดภาวะ Fetal distress
ข้อมูลสนับสนุน
S : มารดาบอกว่า “มีอาการตาพร่ามัว”
O : มารดาอายุ 34 ปี
O:เเรกรับที่LR BP:144/92mm.Hg
O : มารดา G4P3A0L3 GA 40+3 wks.
O : EDC 14 สิงหาคม 2565 By U/S
เกณฑ์การประเมิน
ระยะรอคลอด
-ทารกไม่มีภาวะ fetal distress FHS 120-160 /min
-น้ำคร่ำ สีใส ไม่มีขี้เทาปน
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมิน FHS และการหดรัดตัวของมดลูก เพื่อติดตามสุขภาพทารกในครรภ์
On EFM ในระยะ active phase และเฝ้าระวังการเกิดภาวะขาดออกซิเจน เพื่อติดตามสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด
ดูแลให้O2 cannula 5 LPM ให้มารดา เพื่อเพิ่ม O2 ให้กับทารกที่จะใช้ในการลำเลียงเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ให้เพียงพอโดยเฉพาะการลำเลียงเลือดไปสู่หัวใจ +นอนตะแคงซ้าย เพื่อไม่ให้กดทับเส้นเลือดนอนตะแคงซ้ายเพื่อลดการกดทับของเส้น Inferior vena cava ที่จะส่งเลือดไปเลี้ยงสายสะดือทารกให้มีความเพียงพอ +ถ้ามีdrip ยา Syntocinon ให้หยุดยาก่อน แล้วให้สารน้ำตามแผนการรักษาของแพทย์
สังเกตลักษณะสี และปริมาณของน้ำคร่ำ
ให้มารดานอนพักบนเตียงเพื่อป้องกันภาวะ สายสะดือพลัดต่ำ
ให้คำแนะนำมารดาเพื่อให้สังเกตการดิ้นของลูก หากพบว่าทารกดิ้นน้อยลงผิดปกติให้รีบแจ้ง เพื่อที่จะให้การพยาบาลอย่างทันท่วงที
อธิบายให้มารดาเข้าใจ แบบแผนการรักษาของแพทย์เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจและปฏิบัติตามแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม
สอนวิธีการเบ่งคลอดที่ถูกวิธีขณะที่มารดาอยู่ในระยะ Active phase เนื่องจากมารดามาโรงพยาบาลในขณะที่ความบางของปากมดลูก 100% และการเบ่งคลอดไม่ถูกวิธี ทำให้เกิดภาวะ Fetal distress โดย
-เมื่อคุณแม่เริ่มมีลมเบ่ง มดลูกจะบีบตัว ให้คุณแม่ตั้งสติให้ดี และสูดลมหายใจเข้ายาว ๆ เข้าไปให้เต็มปอด ยิ่งเข้าไปมากเท่าไหร่ยิ่งดีลมเบ่งจะได้ยาวนานขึ้น
-พอมดลูกบีบตัวเต็มที่ ให้ก้มหน้าชิดคาง เบ่งลงก้นเหมือนถ่ายอุจจาระ เวลาเบ่งให้เบ่งยาว ๆ ยาวที่สุดเท่าที่จะเบ่งได้
-ถ้าหมดแรงเบ่งแต่มดลูกยังแข็งตัวอยู่ให้หายใจเข้าไปใหม่และเริ่มเบ่งใหม่อีกครั้งจนมดลูกคลายตัวให้หยุดเบ่งเพื่อพักหายใจ
-ขณะเบ่งคลอดต้องไม่อ้าปาก ปิดปากให้สนิทห้ามมีลมเข้าปากเพราะจะทำให้ลมเบ่งหายไป ดังนั้นขณะเบ่งอย่าร้องออกมาเด็ดขาด
-เมื่อมดลูกคลายตัวให้พักก่อนเพื่อเก็บแรงไว้ พอมดลูกเริ่มบีบตัวอีกครั้งก็ให้สูดลมหายใจเพื่อเก็บลมไว้เบ่งอีกครั้งให้ได้มากที่สุด
-ขณะที่เริ่มเบ่งควรอ้าขาออกให้กว้าง ๆ ไปด้วย เพื่อให้ลูกเคลื่อนตัวออกมาง่ายขึ้น และเริ่มเบ่งอีกครั้งเมื่อรู้สึกว่ามดลูกแข็งตัวเต็มที่
-เมื่อเบ่งจนรู้สึกว่าหัวลูกออกมาทั้งหมดแล้ว ให้หยุดเบ่งทันที ถ้าอยากเบ่งแค่ไหนก็ต้องหยุดอั้นเอาไว้ก่อน เพื่อดูดน้ำคร่ำในปาก และจมูก ของทารก
เมื่อผู้คลอดอยู่ในระยะที่ 2 ของการคลอด On EFM ไว้เพื่อประเมินสภาพทารกในครรภ์ขณะมารดาเบ่งคลอด
การประเมินผลการพยาบาล
ทารกไม่มีภาวะ Fetal distress
FHS 142 /min
การหดรัดตัวของมดลูกสัมพันธ์กับ FHS
น้ำคร่ำ สีใส ไม่มีขี้เทาปน
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลระยะ 2 ชั่วโมงหลังคลอด
1.มีโอกาสเกิดภาวะตกเลือดหลัง
คลอดเนื่องจากแผลในโพรงมดลูกและฝีเย็บ
2.ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผลฝีเย็บ
3.ส่งเสริมบทบาทสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลระยะของการคลอด ระยะที่ 2 และ ระยะที่ 3
2.เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ hypermagnesemia และอาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับยา MgSO4
3.ไม่สุขสบายเนื่องจากเจ็บครรภ์คลอดในระยะที่สอง
1.มีโอกาสเกิดภาวะชัก เนื่องจากมีความดันโลหิตสูงหลังคลอดบุตร
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลระยะของการคลอดระยะที่ 1
3.เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ HELLP Syndrome ที่อาจเกิดจากภาวะSevere Preeclampsia
4.ไม่สุขสบายเนื่องจากเจ็บครรภ์คลอด
5.ส่งเสริมความก้าวหน้าของการคลอด
2.ทารกมีโอกาสเกิดภาวะ Fetal distress เนื่องจากมารดามีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
1.เสี่ยงต่อการเกิดภาวะชัก เนื่องจากมีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลทารก
1.เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์
2.ทารกมีโอกาสเกิดภาวะ Birth Asphyxia ในระยะคลอดเนื่องจากมารดามีความดันโลหิตสูง
3.มีโอกาสภาวะ Hypoglycemia เนื่องจากมารดามีความดันโลหิตสูง
4.เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเกิดภาวะ hyperthermia , hypothermia เนื่องจากศูนย์ควบคุมอุณหภูมิ ยังทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ