Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน้าที่ในการชำระหนี้ - Coggle Diagram
หน้าที่ในการชำระหนี้
1.1 หน้าที่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง
1) วัตถุแห่งหนี้
วัตถุแห่งหนี้ มองทางด้านลูกหนี้ก็คือสิ่งที่ลูกหนี้จะต้องดำเนินการในการปฏิบัติการชำระหนี้ตามมาตรา ๒๐๘ และถ้าหากมองจากฝ่ายเจ้าหนี้ก็คือสิ่งที่เจ้าหนี้อาจเรียกร้องเอาจากลูกหนี้ได้
วัตถุแห่งหนี้นั้นเมื่อพิจารณาจากตรา ๑๙๔ ที่บัญญัติว่า "ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้เจ้าหนีย่อมมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้แสดงว่าวัตถุแห่งหนี้" การงดเว้น
วัตถุแห่งหนี้ที่แบ่งออกเป็น ๓ อย่างนี้ถือกันมาตั้งแต่สมัยโรมันและประมวลกฎหมายแพ่งของฝรั่งเศสก็ได้นำมาบัญญัติไว้เป็น ๓ อย่างเช่นกัน
บัญญัติถึงการส่งมอบทรัพย์พิจารณาบทบัญญัติเหล่านี้แล้วอาจกล่าวได้ว่าวัตถุแห่งหนี้นั้นมีได้ ๓ อย่างคือ ๑) การกระทำการ ๒) การงดเว้นกระทําการและ ๓) การส่งมอบทรัพย์
หนี้กระทำการที่การชำระหนี้เป็นเรื่องที่ลูกหนี้ต้องทำเฉพาะตัวนี้ถือว่าเป็นหนี้ส่วนตัวและไม่ตกเป็นมรดกแก่ทายาทลูกหนี้ แต่ทางด้านเจ้าหนี้นั้นสิทธิอาจตกไปยังทายาทได้ แต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่น
หนี้ที่เกิดแต่มูลละเมิดก็อาจมีวัตถุแห่งนี้เป็นการกระทำการได้ มิใช่ว่าจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินแต่เพียงอย่างเดียว เช่น ไปกระทําละเมิดทําให้ทรัพย์สินเขาเสียหายก็อาจจะต้องกระทําการซ่อมแซมทรัพย์สินนั้นให้กลับคืนสภาพเดิมหรือกรณีที่ไปทำให้เขาเสียหายแก่ชื่อเสียหรือการทํามาหาได้ของเขาก็อาจจต้องลงโฆษณาข้อความจริงที่ทําให้ชื่อเสียงเขากลับคืนดีขึ้น เป็นต้น
2) วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุประสงค์แห่งนิติกรรม
วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุที่ประสงค์แห่งนิติกรรม อาจมีความใกล้เคียงกันอยู่ เช่น ทำสัญญาซื้อขายม้ากันหนึ่งตัว วัตถุประสงค์ของนิติกรรม คือ การโอนกรรมสิทธิ์ในม้าจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อในขณะที่เมื่อนิติกรรมการซื้อขายเกิดแล้ววัตถุแห่งหนี้ในเรื่องนี้ก็คือ การส่งมอบม้าให้แก่ผู้ซื้อและผู้ซื้อก็มีหนี้ที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นการส่งมอบ (เงิน) หรือในสัญญาจ้างต่อเรือวัตถุประสงค์ของสัญญาก็คือ การให้ผู้รับจ้างต่อเรือให้เมื่อสัญญาจ้างเกิดแล้วหนี้ของฝ่ายผู้รับจ้างก็คือมีวัตถุแห่งหนี้เป็นการกระทำการ (ต่อเรือ) ส่วนผู้ว่าจ้างก็มีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์ (ค่าจ้าง)
3) ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้
ทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้ หมายถึงตัวทรัพย์สินซึ่งกฎหมายรับรองหรือเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุแห่งหนึ่มิใช่การกระทำ งดเว้นกระทำ และวัตถุแห่งหนี้นี้เป็นทรัพย์ทุกชนิด เว้นแต่ทรัพย์นอกพาณิชย์ไม่อาจเป็นวัตถุแห่งหนี้ได้และไม่จำเป็นต้องเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง เช่น ซื้อขายรถยนต์ ดังนี้ รถยนต์คือวัตถุแห่งหนี้
ทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ไม่จำเป็นต้องมีอยู่ขณะทำสัญญาก็ได้ทรัพย์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็เป็นวัตถุแห่งหนี้ได้
มาตรา ๑๙๕ วรรคแรก
มาตรานี้ต้องเป็นทรัพย์ทั่วไปเพียง แต่ระบุประเภทไว้เท่านั้นไม่ได้ระบุชนิดกฎหมายวางหลักว่าให้ลูกหนี้ส่งมอบทรัพย์ชนิดปานกลางคำว่า“ ประเภทคือระบุว่าเป็นทรัพย์ประเภทไหนไม่ได้ระบุชัดว่าเป็นทรัพย์ชนิดไหนเช่นระบุเพียงว่าเป็นข้าวเปลือกข้าวสารน้ำตาลช้างม้าวัวควายรถยนต์คำว่า“ ชนิด” หมายถึงคุณภาพหรือคุณลักษณะพิเศษของตัวทรัพย์เช่นข้าว ๕% น้ำตาลทรายขาวอย่างดีม้าแข่งพันธุ์ดีรถยนต์ยี่ห้อไหนรุ่นไหน
มาตรา ๑๙๕ วรรคแรกเป็นการระบุเพียงประเภทเท่านั้นไม่ได้ระบุชนิดกฎหมายให้ส่งมอบทรัพย์ชนิดปานกลางเว้นแต่ติดต่อประกอบธุรกิจกันมาก่อนมีการซื้อขายกันมาตลอดสินค้าที่เป็นสินค้าเดิม ๆ อย่างนี้จะส่งมอบสินค้าอย่างอื่นไม่ได้เช่นเคยซื้อขายข้าวหอมมะลิ ๑๐๐% มาโดยตลอดจะส่งมอบข้าวหอมมะลิชนิดปานกลางไม่ได้เพราะคู่สัญญารู้ถึงเจตนาขอบงคู่กรณีว่ากำหนดทรัพย์ชนิดอย่างไร
4) กรณีวัตถุแห่งหนี้ซึ่งเลือกที่จะชำระได้
หนี้ที่เกิดจากมูลแห่งหนี้ต่างๆ ไม่ว่าจะเกิดจากสัญญา หรือหนี้เกิดจากละเมิดก็อาจมีหนี้ที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นอย่างเดียวที่เรียกว่าเป็นหนี้เดี่ยว (simple obligation)
เช่น กู้ยืมเงินกันไปก็มีหนี้ที่ต้องชำระเงินกู้ยืม ซื้อขายสินค้าที่ไม่มีข้อกำหนดของสัญญาอย่างอื่น
1.2 กำหนดเวลาชำระหนี้
1) หนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้
หนี้ไม่มีกำหนดเวลาหนี้ไม่ได้กําหนดระยะเวลาว่าจะชำระกันเมื่อใดมาตรา ๒๐๓ วางหลักว่าหากไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้กันจะต้องชำระหนี้กันเมื่อใดซึ่งเป็นไปตามหลักทั่วไปว่าเมื่อหนี้เกิดขึ้นแล้วเจ้าหนี้เรียกให้ลูกหนี้ปฏิบัติชำระหนี้ได้ทันทีและลูกหนี้ก็ย่อมชำระหนี้ได้ทันที แต่หากเป็นกรณีแม้ไม่ได้ตกลงกัน แต่ตามพฤติการณ์ต่าง ๆ อาจทำให้อนุมานได้ว่าเจ้าหนี้ลูกหนี้ตกลงให้ชำระหนี้กันเมื่อใดก็ให้ชำระกันเมื่อนั้นโดยพิจารณาตามขนมธรรมเนียมประเพณีทางการค้าหรือการปฏิบัติของคู่สัญญาเช่นเคยมีการซื้อขายกันเป็นประจำให้เครดิตในการชำระหนี้หนึ่งเดือนมาตลอดกรณีมาตรานี้ยังกำหนดสิทธิให้แก่ลูกหนี้ได้ชำระหนี้ได้โดยพลันเช่นเดียวกันเช่นกรณีกู้ยืมเงินไม่มีกำหนดชำระหนี้คืนผู้ให้กู้จะเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้ได้โดยพลันไม่ต้องบอกกล่าวก่อนฟ้องเพราะโจทก์เรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลัน
2) หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้
(1) กำหนดเวลาชำระแต่เป็นที่สงสัย
กรณีนี้มาตรา ๒๐๓ วรรค ๒ บัญญัติว่า “ถ้าได้กำหนดเวลาไว้แต่หากกรณีเป็นที่สงสัยท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนถึงเวลานั้นหาได้ไม่แต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นก็ได้” การที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า “ถ้าได้กำหนดเวลาไว้แต่หากกรณีเป็นที่สงสัย” นั้นศาสตราจารย์ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เห็นว่าที่ว่าหากกรณีเป็นที่สงสัยนั้น ไม่ได้หมายความว่าสงสัยในกำหนดเวลาชำระหนี้ เพราะวันเดือนปี หรือกำหนดอื่นอันเป็นเวลาที่จะพึงชำระหนี้ได้กำหนดกันไว้แล้วไม่อาจเป็นที่สงสัยได้ ข้อที่เกิดเป็นกรณีสงสัยก็คือ เจ้าหนี้เรียกให้ชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นได้หรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งเกิดสงสัยกันขึ้นว่าประโยชน์แห่งเวลาได้แก่ฝ่ายเจ้าหนี้ไม่ใช่แก่ฝ่ายลูกหนี้และเจ้าหนี้จะเอาชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้น
(2) กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ไม่เป็นที่สงสัย
กำหนดเวลาชำระหนี้ที่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ตกลงกำหนดกันไว้นั้นเมื่อไม่เป็นที่สงสัยก็ยังอาจแบ่งออกได้เป็น ๒ อย่าง ซึ่งมีผลบังคับในทางกฎหมายแตกต่างกัน
1.3 การผิดนัดไม่ชำระหนี้
1) การผิดนัด(ลูกหนี้)
(1) ลูกหนี้ผิดนัดโดยต้องตักเตือนก่อน
เมื่อมีกำหนดเวลาชำระหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ต้องชำระหนี้ตามกำหนดนั้น แต่การที่ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้นั้น ในบางกรณีกฎหมายยังไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด ในหนี้บางประเภทนั้นกฎหมายกำหนดให้เจ้าหนี้ต้องเตือนลูกหนี้ก่อนลูกหนี้จึงจะผิดนัด คือการผิดนัดเกิดจากการกระทำของเจ้าหนี้เพื่อให้ครบเงื่อนไขตามกฎหมาย หนี้ประเภทที่เจ้าหนี้ต้องเตือนก่อน ลูกหนี้จึงจะผิดนัดได้แก่หนี้ ๒ กรณีคือ
๒) หนี้ที่ไม่มีกำหนดชำระหนี้
๑) นี่ที่กำหนดเวลาชำระหนี้มิใช่ตามวันอันแห่งปฏิทิน
(2) ลูกหนี้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ตักเตือน
มาตรา ๒๐๔ วรรคสองบัญญัติว่า“ ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ตามกำหนดไซร้ท่านว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลยวิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้มโดยปฏิทินนับ แต่วันที่ได้บอกกล่าว" ตามมาตรา ๒๐๔ วรรคสองแยกได้เป็น ๒ กรณีคือ (๑) กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทินและ (๒) กำหนดเวลาชำระหนี้โดยคำนวณตามปฏิทินจากวันบอกกล่าวซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทินเป็นการกำหนดให้ชำระหนี้ตามวันเดือนปีปฏิทินมกราคม ๒๕๕๔ หากถึงกำหนดแล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามสัญญากู้เป็นไม่ต้องเตือนเลยเช่นสัญญากู้ให้ชำระเงินคืนวันที่ ๑ ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดทันทีโดยผู้ให้กู้ซึ่งและยังให้หมายความรวมถึงกรณีที่การชำระหนี้กําหนดไว้ให้คำนวณได้ตามปฏิทินเช่นชำระหนี้ภายใน ๒ เดือนนับ แต่ทำสัญญา
กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทินเป็นการกำหนดให้ชำระหนี้ตามวันเดือนปีปฏิทินมกราคม ๒๕๕๔ หากถึงกำหนดแล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามสัญญากู้เป็นไม่ต้องเตือนเลยเช่นสัญญากู้ให้ชำระเงินคืนวันที่ ๑ ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดทันทีโดยผู้ให้กู้ซึ่งและยังให้หมายความรวมถึงกรณีที่การชำระหนี้กําหนดไว้ให้คำนวณได้ตามปฏิทินเช่นชำระหนี้ภายใน ๒ เดือนนับ แต่ทำสัญญา
(3) กำหนดชำระหนี้กับการผิดนัด
เมื่อได้ศึกษาถึงกำหนดเวลาในการชำระหนี้และการผิดนัดแล้วจะเห็นได้ว่า กำหนดเวลาชำระหนี้ก็ดี, การไม่ชำระหนี้ก็ดี, การผิดนัดก็ดี มีความเกี่ยวพันกันอย่างมากการไม่ชำระหนี้เป็นข้อเท็จจริง ส่วนการเห็นนั้นเป็นข้อกฎหมาย คือเป็นเรื่องของการไม่ชำระหนี้ซึ่งเกิดผลบางประการทางกฎหมายการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ลูกหนี้อาจยังไม่ผิดนัดก็ได้ การผิดนัดบางกรณีต้องมีการกระทำของเจ้าหนี้ที่กฎหมายฝรั่งเศสเรียกว่า “การทำให้ลูกหนี้ผิดนัด (mise en demeure) ” แต่ในระบบกฎหมายอื่นเมื่อมีกำหนดเวลาชำระหนี้แล้วหาจำต้องให้เจ้าหนี้กระทำให้ลูกหนี้ผิดนัดอีกไม่ การทำให้ลูกหนี้ผิดนัดในกฎหมายไทยคือการเตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้ภายหลังจากนี่ถึงกำหนดชำระแล้วตามมาตรา 204 แม้นี่จะถึงกำหนดชำระและลูกหนี้ก็ยังไม่ชำระหนี้ แต่ถ้าเจ้าหนี้ยังไม่เตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้วลูกหนี้ก็ยังไม่ผิดนัดส่วนกรณีที่กำหนดชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทินนั้นถ้าถึงกำหนดชำระแล้วลูกหนี้ไม่ชำระลูกหนี้จะผิดนัดทันทีแต่ทั้ง 2 กรณีนี้ต้องถึงกำหนดชำระทั้งสิ้น ถ้านี่ไม่ถึงกำหนดชำระแล้วลูกหนี้จะผิดนัดไม่ได้เลย
(4) กรณีที่ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด
มาตรา ๒๐๕ บัญญัติว่า“ ตราบใดการชำระหนี้นั้นยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตราบนั้นลูกหนี้ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่”
2) ผลของการผิดนัดของลูกหนี้
(1) ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัด
มาตรา ๒๑๕ เมื่อลูกหนี้ผิดนัด,และส่งมอบจึงเกิดความเสียหาย เช่น ลูกหนี้ต้องส่งมอบบ้านแต่ส่งล่าช้าทำให้เจ้าหนี้ต้องไปเช่าบ้านอยู่เดือนละ 5,000 เท่ากับเงิน 5,000 คือความเสียหายโดยตรงที่เกิดจากลูกหนี้ผิดนัด,ส่งมอบ
มาตรา ๓๘๗ เมื่อถึงเวลาชำระหนี้แล้วลูกหนี้ไม่ชำระอีกฝ่ายสามารถบอกกล่าวขยายเวลาชำระหนี้ได้เมื่อถึงกำหนดที่ขยายดังกล่าวยังไม่ชำระอีกอีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาก็ได้ เช่น ดำสั่งโต๊ะกับแดงวันที่ 3 แต่แดงมาส่งวันที่ ๔ เช่นนี้แดงไม่ถือว่าผิดนัดถ้าดำอนุญาตหรือวันที่ ๓ ยังไม่มาส่งดำสามารถขยายเวลาออกไปอีก(ได้ระยะเวลาไม่สำคัญ)
มาตรา ๒๑๖ เจ้าหนี้สามารถเลือกเอาสินไหมทดแทนจากความเสียหายได้
มาตรา ๓๙๑ เรียกเอาค่าสินไหมในกรณีบอกเลิกสัญญา (มาตรา ๓๘๘)
มาตรา ๓๘๘ เมื่อล่วงเวลาชำระหนี้แล้วท่านว่าอีกฝ่ายจะเลิกสัญญาณนั้นก็ได้เช่นแดงสั่งเค้กวันเกิดให้เพื่อนที่เกิดวันที่ ๘ สิงหาคมแต่คนขายเค้กนำเค้กมาส่งวันที่ ๙ สิงหาคมเช่นนี้แดงสามารถยกเลิกการซื้อเค้กได้ (ระยะเวลาสำคัญ)
ผิดนัดแล้วแต่ยังไม่เกิดความเสียหาย
แดงเช่ารถดำกำหนดส่งมอบรถคืนวันที่ ๓ ตุลาคมแต่แดงผิดนัดไป ๑ เดือนทำให้ดำต้องไปเช่ารถระยะเวลา ๑ เดือนเป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาทระหว่างผินนัดแดงได้ขับรถชนต้นไม้จนเกิดความเสียหายเช่นนี้แดงจะต้องชดใช้ความเสียหายโดยตรง (มาตรา ๒๑๕) และความเสียหายที่เกิดจากการชนแก่ดำด้วย
(2) เจ้าหนี้อาจไม่รับชำระหนี้
มาตรา ๒๐๗ บัญญัติว่า“ ถ้าลูกหนี้ขอปฏิบัติการชำระหนี้และเจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้นั้นโดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ไซร้ท่านว่าเจ้าหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด”
มาตรา ๒๐๘ วรรคแรกบัญญัติว่า“ การชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเป็นอย่างใดลูกหนี้จะต้องปฏิบัติการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้เป็นอย่างนั้นโดยตรง” ลูกหนี้จะต้องขอชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้โดยตรงจะขอชำระหนี้ต่อบุคคลอื่นไม่ได้เว้นแต่จะเป็นผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนและลูกหนี้ต้องอยู่ในฐานะหรือสามารถที่จะนําระหนี้ได้อย่างจริงจัง
(3) ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดระหว่างผิดนัดเพิ่มขึ้น
มาตรา ๒๑๗ บัญญัติว่า“ ลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายบรรดาที่เกิด แต่ความประมาทเลินเล่อในระหว่างเวลาที่ตนผิดนัดทั้งจะต้องรับผิดชอบในการที่การชำระหนี้กลายเป็นต้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ผิดนิดนั้นด้วยเว้นแต่ความเสียหายนั้นถึงแม้ว่าตนจะได้ชำระหนี้ทันเวลากําหนดก็คงจะต้องเกิดมีอยู่นั่นเอง"