Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับทางเดินหายใจ, นางสาวธนพร …
บทที่ 8 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
อาการและอาการแสดงที่บ่งบอกว่าเด็กขาดออกซิเจน ที่ต้องรีบพาเด็กมาพบแพทย์คืออะไรบ้าง
1.หายใจมีปีกจมูกบาน
3.ไอเสียงก้อง (barking cough)
text
2.หายใจแบบRetraction โดยมีการยุบลงของกระดูกหน้าอก ช่องระหว่างซี่โครง และใต้ซี่โครง
4.มีเสียงฮืดขณะหายใจเข้า (inspiratory stridor)
อัตราการหายใจปกติในเด็กแต่ละช่วงอายุคือเท่าไร
2-12 เดือน ไม่เกิน 50 ครั้ง/นาที
ต่ำกว่า 2 เดือน ไม่เกิน 60ครั้ง/นาที
1-5 ปี ไม่เกิน 40 ครั้ง/นาที
ทําไมกาติดเชื้อ Beta hemolytic Streptococcus gr.A จึงต้องเน้นการกินยา ATB ที่ครบ dose
ถ้าได้รับยา antibiotic ไม่ครบ ทำให้เกิด antibody ทำปฏิกิริยากับ antigen ทำให้สามารถเกิด antigen complex ที่ไตอาจจะอักเสบ
เด็กที่มีปัญหาติดเชื้อทางเดินหายใจและมีเสมหะจํานวนมาก ทําไมต้องให้ได้รับน้ําที่มากพอ
เพราะการขาดน้ำจะมีผลต่อการพัดโบกของ cilia ยังทำให้เสมหะเหนียวขับออกได้ยากจึงจะเป็นต้องได้รับน้ำที่เพียงพอ
เด็กที่ผ่าตัดต่อม Tonsil หลังผ่าตัด ต้องเฝ้าระวังเรื่องใดเป็นอันดับแรกๆ
หลังผ่าตัดในช่วง 24 ชั่วโมงแรก ต้องประเมินอาการเลือดออก เนื่องจากต่อมทอนซิลเป็นอวัยวะที่มีเลือดมาเลี้ยงจำนวนมาก การตัดต่อมทอนซิลจึงเสี่ยงการเกิดภาวะเลือดออก
เด็กที่มีเสมหะจะต้องจัดท่านอนในการระบายเสมหะอย่างไร
จัดท่าเพื่อระบายเสมะโดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลเป็นหลักโดยจัดให้ส่วนของปอดที่ต้องการระบาย อยู่เหนือกว่าหลอดลม เพื่อให้เสมหะไหลออกจากหลอดลมเล็กสู่หลอดลมใหญ่ และขับออกโดยกระตุ้นให้ผู้ป่วยไปหรือดูดเสมหะออก
อยู่ส่วนหน้า Anterior ให้จัดท่านอนงาย
อยู่ส่วนหลัง Posterior ให้จัดท่านอนคว่ำ
อยู่ด้านซ้ายให้จัดท่านอนตะเเคงขวา ถ้าอยู่ด้านขวาให้นอนตะแคงซ้าย
อยู่ส่วนบน upper lobe นอนหัวสูง
อยู่ส่วนล่าง Lower lobe นอนหัวต่ำ
แพทย์มีแผนการรักษาให้พ่นยา bronchodilator กับยาพ่น corticosteroids จะพ่นอะไรก่อน เพราะ
เหตุใด
ควรพ่น bronchodilator ทั่วไปก่อน เนื่องจากออกฤทธิ์เร็ว เพื่อให้ทางเดินหายใจขยายแล้วจึงพ่น bronchodilatorตามซึ่งออกฤทธิ์ช้ากว่า โดยพ่นห่างกันอย่างน้อย 10 นาที จะไม่พ่นติดกัน และอย่าลืมหลังพ่น steroid ต้องบ้วนปากทุกครั้งเพื่อป้องกันเชื้อรา
การประเมิน Croup score ประเมินอย่างไร
a. ไอมีเสียงก้องได้กี่คะแนน
2 คะแนน
b. เขียวในขณะให้ออกซิเจน ให้กี่คะแนน
2 คะแนน
c. หายใจมีเสียง เสียง Stridor ทั้งเข้าและออกให้กี่คะแนน เข้าอย่างเดียวให้กี่คะแนน
ทั้งเข้าและออกให้ 2 คะแนน ถ้าแค่หายใจเข้า 1 คะแนน
d. หายใจมีปีกจมูกบาน และมี subcostal & intercostal reaction ร่วมด้วย ให้กี่คะแนน
2 คะแนน
การดูแลเด็กที่เป็น sinus อักเสบ ทําไมต้องล้างจมูก ล้างบ่อยแค่ไหน การให้ยา ABT มีประโยชน์อย่างไรเกี่ยวกับยาแก้แพ้ถ้ารับประทานไม่ถูกต้องจะส่งผลต่อผู้ป่วยอย่างไร การรักษาด้วยการผ่าตัด เหมาะกับเด็กหรือไม่อย่างไร
ล้างจมูกด้วย 0.9%NSS วันละ 2-3ครั้ง หรือตามแผนการรักษาเพื่อลดการเหนียวข้นของน้ำมูกและไม่ทำให้เชื้อเจริญเติบโด
การให้ยา ABT เพื่อบรรเทาอาการปวดศีรษะ
ยาแก้แพ้ถ้ารับประทานไม่ถูกจะทำให้จมูกและไซนัสแห้ง
การผ่าตัดไม่เหมาะสำหรับเด็ก จะเน้นการล้างจมูกด้วย 0.9%NSS แทน
ทําไมจึงไม่เคาะปอดในเด็ก Asthma ที่มีอาการเหนื่อยหอบ และทําไมเด็ก Asthma เวลามีอการเหนื่อยหอบ จึงต้องรีบพ่นยา
เพราะเมื่อผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยหอบมาก จะไม่เคาะปอดให้ เพราะอาจทำให้หลอดลมเกิดการหดเกร็ง เด็กจะขาดออกซิเจนมากขึ้นรีบพ่นยาเพื่อบรรเทาอาการที่กำเริบ
Pneumonia พยาธิสภาพเกิดขึ้นที่ส่วนใดของปอด อาการของเด็กที่เป็น Pneumonia คืออะไร
เป็นโรคที่เกิดการอักเสบที่เนื้อปอดชั้นในสุดทำให้หลอดลมฝอยส่วนปลายสุดและถุงลมปอดเต็มไปด้วย Exudate นอกจากนี้การสร้างเสมหะจำนวนมากทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจในถุงลมและหลอดลมฝอยเล็กทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลงเด็กจะมีอาการดูดนมน้อยลง ซึม หายใจเร็วมีอกบุ๋ม นอกจากนี้ยังมีไข้ไอหอบฟังปอดได้ยินเสียง crepitation มีเงาผิดปกติในรังสีปอด
หลังติดเชื้อ covid-19 คําแนะนําที่สําคัญและจําเป็นที่จะต้องแนะนําผู้ปกครองในการดูแลเด็กคือ เรื่องใด
ควรดูแลเรื่องปัญหาที่จะเกิดกับทางเดินหายใจ ปัญหาเสมหะ ปัญหาพร่องออกซิเจน และในฐานะพยาบาลต้องสอนให้ผู้ปกครอง ล้างจมูก ดูดเสมหะด้วยลูกสูบยางแดง และเช็ดทำความสะอาดจมูก เพราะเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองทำได้ และควรแนะนำด้วยวิธีที่ถูกต้องซึ่งจะทำให้เกิดความปลอดภัยต่อเด็ก
นางสาวธนพร จวงครุฑ ปี 3 เลขที่ 42 รุ่น 38