Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
มาตรา 425 "นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น"
มาตรา 426 "นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น"
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
กรณีที่ผู้ทำละเมิดนั้นเป็นลูกจ้าง นายจ้างมีหน้าที่จะต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างเท่านั้น จึงต้องพิจารณาต่อไปว่า การกระทำละเมิดของลูกจ้างนั้นได้กระทำไปในทางการที่จ้างหรือไม่ หรือการทำละเมิดของลูกจ้างนั้นเป็นผลมาจากการปฏิบัติงานหรือไม่
ฎีกาที่ 11 - 12/2495 นายจ้างใช้ให้ลูกจ้างนำรถยนต์ของนายจ้างไปรับใช้งานของข้าหลวงประจำจังหวัด ลูกจ้างขับรถยนต์ไประหว่างทางด้วยความประมาท รถยนต์จึงชนคนตายดังนี้ ถือว่าลูกจ้างได้ทำละเมิดในทางการที่จ้าง นายจ้างต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425
ความรับผิดของนายจ้าง
ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันพูดได้รับแจ้งได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างการทำงานที่ว่าจ้างเพราะผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจบังคับบัญชา
สิทธิไล่เบี้ย
สิทธิไร่เบี้ยของนายจ้างต่อลูกจ้างเมื่อนายจ้างได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วจำนวนเท่าใดนายจ้างย่อมมีสิทธิ์ไล่เบี้ยจากจ้างได้เพียงเท่าที่ชดใช้ไปแล้วเท่านั้น
ฎีกาที่ 7552/2550
ลูกจ้างของโจทก์กระทำละเมิดในทางการที่จ้างเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้รับความเสียหาย และโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามคำพิพากษาให้แก่บริษัท ว. และ ธ. นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ตัวการ ตัวแทน ก็เป็นไปตามมาตรา 797 ที่บัญญัติว่า "อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าตัวแทน มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวการ และตกลงจะทำการดังนั้น อันความเป็นตัวแทนนั้นจะเป็นโดยตั้งแต่งแสดงออกชัดหรือโดยปริยายก็ย่อมได้"
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันพูดได้รับแจ้งได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างการทำงานที่ว่าจ้างเพราะผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจบังคับบัญชา
มาตรา 428 ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ลักษณะของสัญญาจ้างทำของผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิ์ในการออกคำสั่งหรือบังคับบัญชาในการทำงานของผู้รับจ้าง
ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง มิใช่เป็นความรับผิดเพื่อละเมิดซึ่งเกิดจากการทำการกระทำของบุคคลอื่น
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
รับผิดเพราะการงานที่สั่งให้ทำ
จ้างให้ฝังเสาเข็มโดยไม่ได้กำหนดวิธีการฝังเสาเข็มไว้เมื่อผู้รับจ้างตอกเสาเข็มก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งปลูกสร้างข้างเคียงผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิด
รับผิดเพราะการเลือกหาผู้รับจ้าง
การจ้างคนไม่ดีหรือไม่มีความสามารถ จ้างเค้าสร้างอาคารสูงสูงทั้งทางที่ผู้รับจ้างก่อสร้างได้เฉพาะห้องแถวธรรมดาเพียงชั้นสองชั้น แต่ไปจ้างให้เขาสร้างคอนโดมิเนียมสูง 20-30 ชั้น ถือว่าผู้ว่าจ้างมีส่วนผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
รับผิดเพราะคำสั่งที่ตนให้ไว้
สั่งให้คนขับรถแท็กซี่ขับด้วยความเร็วสูงเพื่อให้ทันเครื่องบินทำให้รถแท็กซี่เสียหลักชนบุคคลอื่น
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ผู้อนุบาล มาตรา ๔๒๙ “บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือ วิกลจริต ก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของ บุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ใช้ ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น”
ผู้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์ คือบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ไม่ว่าจะโดยอายุหรือโดยการสมรส ส่วนบุคคลวิกลจริตหมายรวมทั้งบุคคลที่ศาล สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถและที่มิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถด้วย
ผู้ไร้ความสามารถมีแต่ถูกจำกัดในการ ใช้สิทธิโดยลำพัง จึงอาจไม่ต้องรับผิดในการแสดงเจตนาทำนิติกรรม แต่ ในทางละเมิดเป็นการกระทำที่ไม่มีสิทธิ ผู้ไร้ความสามารถจึงต้องรับผิดในทาง ละเมิดเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
บิดามารดารับผิด เหตุที่กฎหมายให้บิดามารดารับผิดเพราะบิดา มารดามีหน้าที่ควบคุมดูแลและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ตามมาตรา ๑๕๖๔
บิดามารดาของผู้เยาว์หรือผู้อนุบาลของผู้วิกลจริตจะต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดที่ผู้เยาว์หรือผู้วิกลจริตกระทำเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลแล้ว
บิดานอกกฎหมายก็ถือเป็นผู้ดูแล ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ถ้าได้ดูแลผู้เยาว์อยู่ก็ถือว่าเป็นผู้ดูแลเช่นกัน ดังนั้น หากผู้เยาว์ไปทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ใดในระหว่างอยู่ในความดูแลของผู้รับดูแลและปรากฏว่าผู้รับดูแลนั้นมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร ผู้รับดูแลนั้นย่อมต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้นด้วย
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา 430 ครูอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ หรือชั่วครั้งคราวจะต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่นมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
การดูแลตามมาตรา 430 มีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
รับดูแลโดยกฎหมายบังคับ เช่น ผู้ปกครองที่ศาลสั่งตั้ง สถานพินิจคุ้มครองเด็กที่รับเด็กต้องคดีมาดูแล ถือเป็นผู้รับดูแลโดยกฎหมายบังคับ
ดูแลโดยสัญญา เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก จ้างคนมาดูแลผู้เยาว์ หรือครูบาอาจารย์ก็ถือว่าดูแลโดยสัญญา
ดูแลโดยข้อเท็จจริง เช่น บิดานอกกฎหมายที่รับผู้เยาว์ไปดูแลในขณะเกิดเหตุ หรือปู่ย่าตายายลุงป้าน้าอาที่รับผู้เยาว์ไปดูแล หรือรับเด็กมาอุปการะเลี้ยงดู เป็นต้น
ครูบาอาจารย์นั้นมีหน้าที่ดูแลนักเรียนผู้เยาว์ด้วย หากนักเรียนผู้เยาว์ไปทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ใดในระหว่างอยู่ในความดูแลของครูบาอาจารย์และปรากฏว่าครูบาอาจารย์นั้นมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร ครูบาอาจารย์นั้นย่อมต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้นด้วย