Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิด ในการกระทำของบุคคลอื่น - Coggle Diagram
ความรับผิด
ในการกระทำของบุคคลอื่น
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425 บัญญัติว่า "นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น" ที่ว่านายจ้าง ลูกจ้าง นั้น หมายถึงบุคคลสองฝ่ายมีความสัมพันธ์กันตามลักษณะเอกเทศสัญญาจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะหกตั้งแต่มาตรา 575 ถึงมาตรา 586
ตัวอย่าง ฎีกาที่ 1425/2539 การที่ลูกจ้างมิได้ขับรถยนต์ทับขาผู้เสียหายโดยประมาทเลินเล่อ การกระทำของลูกจ้างจึงไม่เป็นละเมิด นายจ้างจึงไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
เราจะต้องเข้าใจต่อไปว่าเมื่อลูกจ้างทำละเมิดขึ้นนายจ้างยังหาต้องรับผิดในการทำละเมิดของลูกจ้างไม่จะต้องพิเคราะห์ต่อไปว่าการกระทำละเมิดนั้นไม่เกิดในทางการที่นายจ้างนายจ้างจึงจะต้องรับผิดร่วมด้วยไม่ว่ารักสนะละเมิดนั้นจะเป็นอย่างไรแม้การละเมิดนั้นจะก่อขึ้นโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
ตัวอย่าง
ลูกจ้างทำหน้าที่คนท้ายรถยนต์ซึ่งนายจ้างยินยอมให้ขับรถด้วยนั้นถ้าขับรถทำให้ผู้อื่นเสียหายโดยละเมิดนายจ้างต้องรับผิด (ฎ. 506/2498)
สิทธิ์ไล่เบี้ย
มาตรา 426 บัญญัติว่า “นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น” โดยเหตุที่การละเมิดนั้นเป็นการกระทำของลูกจ้างต่อบุคคลภายนอกเองโดยลำพังที่นายจ้างต้องรับผิดร่วมด้วยกับลูกจ้างก็เป็นความลับผิดต่อผู้เสียหายแต่ในระหว่างนายจ้างลูกจ้างแล้วนายจ้างไม่ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในผลที่ลูกจ้างทำละเมิดนั้นด้วย
ตัวอย่าง
ฎ. 648/2522 ลูกจ้างทำละเมิดนายจ้างถูกฟ้องได้ใช้ค่าเสียหายไปตามคำพิพากษาแล้วไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างได้แต่ค่าฤชาธรรมเนียมที่นายจ้างต้องใช้แก่ผู้เสียหายตามคำพิพากษานั้นไม่ใช่ค่าเสียหายอันเป็นผลโดยตรงจากการละเมิดของลูกจ้างนายจ้างไล่เบี้ยไม่ได้
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ลักษณะตัวการตัวแทน
ตัวแทนคืออะไรนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 บัญญัติว่า “อันว่าสัญญาตัวแทนนั้นคือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่งเรียกว่าตัวแทนมีอำนาจการแทนบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าตัวการและตกลงจะทำการดังนั้น” จะเห็นได้ว่าตัวแทนเป็นสัญญาอย่างหนึ่งและเป็นเอกเทศสัญญาเช่นเดียวกับจ้างแรงงานอันเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างนายจ้างลูกจ้าง
ตัวอย่าง
ฎีกา 2385/2518 เจ้าของเรือขับเรือไม่เป็นจริงให้ ก. ขับเรือไปรับขบวนผ้าป่าเจ้าของเรือนั่งไปด้วยดังนี้ ก. เป็นตัวแทนเจ้าของเรือต้องรับผิดร่วมกับ ก. ที่ขับเรือชนโจทก์เสียหาย
ความรับผิดของตัวการ
เพิ่งเข้าใจว่าเหตุละเมิดที่จะให้ตัวการรับผิดต้องเป็นเหตุที่ได้เกิดขึ้นในขอบเขตแห่งการปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อตัวการหรือในฐานที่ตัวแทนได้ทำการเป็นตัวแทนฉะนั้นในเบื้องแรกจึงต้องทราบขอบเขตของการเป็นตัวแทนเสียก่อนว่ามีเพียงไร
ตัวอย่าง
ก ตั้ง ข เป็นตัวแทนขายที่ดินตามโฉนดแปลงหนึ่งของ ก จึงมีพื้นที่เป็นหลุมบ่อมาก ข หลอกลวง ค ผู้ซื้อโดยพาไปดูที่ดินอีกแปลงหนึ่งซึ่งไม่มีหลุมบ่อเลยและเป็นของบุคคนตามโฉนดของ ก ค ตกลงรับซื้อโดยคิดว่าเป็นที่ดินของ ก ในขอบเขตแห่งการเป็นตัวแทนของ ก ก ตัวการต้องรับผิดต่อ ค ร่วมกับ ข ด้วย
สิทธิ์ไล่เบี้ยของตัวการ
มาตรา 427 บัญญัติให้นำมาตรา 426 มาใช้บังคับแก่ตัวการด้วยโดยอนุโลมกล่าวคือเมื่อตัวการได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันตัวแทนได้ทำไปแล้วนั้นก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากตัวแทน
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
กฎหมายได้บัญญัติถึงผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดได้กล่าวมาแล้วว่าบุคคลที่รับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นนั้นมิได้กระทำละเมิดด้วยตนเองถ้าได้กระทำละเมิดด้วยแล้วก็มิใช่เรื่องความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นตัวบทมาตรา 428 ใช้คำว่าความเสียหายหาได้ใช้คำว่ากระทำละเมิดหรือละเมิดอย่างที่บัญญัติไว้ในมาตรา 425 429 และ 430 ไม่
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
มีหลักทั่วไปว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นทั้งนี้ก็เพราะว่าผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิ์ควบคุมวิธีการทำงานจึงถือว่าเป็นงานของผู้รับจ้างเองผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิ์ที่จะออกคำสั่งบังคับบัญชาผู้รับจ้างดังนายจ้างกับลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน มาตรา 428 บัญญัติว่า ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างเว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ตัวอย่าง
ฎีกา 1982/2522 จำเลยจ้าง พ ไปยึดรถจำเลยคืน พ ไปจ้าง ธ ไปยึดอีกตอนหนึ่งความสำเร็จของงานเป็นวัตถุประสงค์ของสัญญา สัญญาระหว่างจำเลยกับพวกเป็นจ้างทำของจำเลยกับ ธไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน ธ ขับรถที่ยึดมาส่งพอระหว่างทางได้ชนรถของโจทก์เสียหายจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทย์
ความรับผิดของมารดาบิดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
ความสามารถของบุคคลผู้ทำละเมิดไม่เป็นข้อสำคัญและเป็นผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดเพราะการละเมิดเป็นการร่วงสิทธิ์ไม่ใช่การใช้สิทธิ์ซึ่งบุคคลดังกล่าวนี้อาจไม่ต้องรับผิดในการแสดงเจตนาทำนิติกรรมนิติกรรมนั้นอาจเป็นโมฆียะได้เมื่อถูกบอกล้างแล้วก็ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่แรกมาตรา 429 บัญญัติว่า บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วยเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
ตัวอย่าง
ฎีกา 847/2498 บุตรผู้เยาว์มีนิสัยชอบเล่นปืนมากเพียงแต่บิดาเก็บปืนไว้บนหลังตู้ซึ่งผู้เยาว์หยิบไม่ถึงแล้วสั่ง ก ให้เก็บปืนไว้เฉยๆไม่ได้กำชับว่าอย่าให้บุตรผู้เยาว์เอาไป บุตรผู้เยาว์หลอกเอาปืนไปจาก ก แล้วยิงบุตรโจทก์ตายเรียกไม่ได้ว่าบิดาใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลตามมาตรา 429
ความรัยผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา 430 บัญญัติว่า "ครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิดก็ดีชั่วครั้งชั่วคราวก็ดีจำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดพซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตนถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร" มาตรานี้กำหนดความรับผิดของผู้มีหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถในผลแห่งการละเมิดที่ผู้ไร้ความสามารถได้ทำขึ้นเช่นเดียวกับมาตรา 429 ความลับผิดอยู่ที่การบุกพร่องในหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถคำอธิบายเกี่ยวกับมาตรา 429 ย่อมนำมาใช้ได้โดยอนุโลมแต่ต่างกันที่ตัวผู้มีหน้าที่ดูแลเพราะบุคคลที่เข้ารับหน้าที่ดูแลตามมาตรานี้ได้เกิดขึ้นโดยข้อเท็จจริงและต่างกันในหน้าที่นำสืบเกี่ยวกับการที่มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
ตัวอย่าง
ฎีกา 356/2511 (เป็นฎีกาเดียวกับที่กล่าวมาแล้วเกี่ยวกับมาตรา 429) ในตอนเช้าครูประจำชั้นของเด็กผู้ทำละเมิดเห็นเด็กนักเรียนเอากระบอกพุมาเล่นกันเกรงจะเกิดอันตรายให้เก็บไปทำลายและห้ามเด็กไม่ให้เล่นต่อไปแต่เด็กได้ใช้ทุยิงกันในเวลาหยุดพักกลางวันและนอกห้องเรียนถือว่าได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว