Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน้าที่ในการชำระหนี้ - Coggle Diagram
หน้าที่ในการชำระหนี้
หน้าที่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง
วัตถุแห่งหนี้
วัตถุแห่งหนี้ (subject of obligation) หมายถึง เนื้อหาสาระแห่งความผูกพันระหว่างคู่กรณีใน นิติสัมพันธ์ทางหนี้ ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ (มาตรา 194) และลูกหนี้มีหน้าที่ต่อเจ้าหนี้ อย่างไรบ้าง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า วัตถุแห่งหนี้ คือ สิ่งที่เจ้าหนี้เรียกให้ลูกหนี้ชำระตามมูลหนี้นั้น ๆ หรือสิ่งที่ ลูกหนี้จะต้องชำระตามมูลหนี้ หรือการที่ลูกหนี้จะต้องปฏิบัติเพื่อชำระหนี้ เรียกง่าย ๆ ว่า “หน้าที่ของลูกหนี้ นั่นเอง ซึ่งไม่ว่าหนี้จะเกิดจากมูลหนี้ประเภทใดก็ตาม ย่อมต้องมีวัตถุแห่งหนี้ทั้งสิ้น ถือเป็นสาระสำคัญของคำว่าหนี้ วัตถุแห่งหนี้มีหลักสำคัญ คือ ต้องชอบด้วยกฎหมาย ต้องเป็นไปได้หรือไม่พ้นวิสัย (มาตรา 150) และต้องมีความแน่นอนชัดเจน อนึ่ง วัตถุแห่งหนี้นั้น โดยทั่วไปมีอยู่ 3 ประการ คือ กระทำการ งดเว้นกระทำการ และโอนกรรมสิทธิ์ส่งมอบทรัพย์สิน
วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุประสงค์แห่งนิติกรรม
วัตถุประสงค์ของนิติกรรมนั้น อยู่ในขั้นมูลฐานก่อนก่อหนี้คือเป็นที่มาแห่งหนี้ประการ แต่วัตถุแห่งหนี้นั้นเป็นผลเมื่อนิติกรรมเกิดและเกิดหนี้ขึ้นจึงมีวัตถุแห่งหนี้ขึ้นมา
วัตถุประสงค์ของนิติกรรมนั้นก็มีเฉพาะในนิติกรรมเท่านั้น หนี้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นหนี้ที่เกิดจากนิติกรรมหรือหนี้ที่เกิดจากละเมิด จัดการงานนอกสั่ง และลาภมิควรได้ ก็จะมีวัตถุแห่งหนี้ทั้งสิ้น
วัตถุประสงค์ของนิติกรรมนั้นมีได้ไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้ทำนิติกรรม นั้น ว่าต้องการจะผูกนิติสัมพันธ์กันในเรื่องใด แม้จะมิได้มีบัญญัติไว้ในกฎหมาย ได้แก่สัญญา นอกแบบต่างๆ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของนิติกรรมจึงมีได้มากมายไม่จำกัด แต่วัตถุแห่งหนี้ไม่ว่า จะเป็นหนี้เกิดจากอะไร ในที่สุดแล้ววัตถุแห่งหนี้ก็จะมีเพียง ๓ อย่างคือ หนี้กระทำการ หนึ่งดเว้น กระทำการ และหนี้ส่งมอบทรัพย์สินเท่านั้น
วัตถุแห่งหนี้ กับวัตถุที่ประสงค์แห่งนิติกรรม อาจมีความใกล้เคียงกันอยู่ เช่น ทำสัญญาซื้อขายม้ากันหนึ่งตัว วัตถุประสงค์ของนิติกรรมคือการโอนกรรมสิทธิ์ในม้า จากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ ในขณะที่เมื่อนิติกรรมการซื้อขายเกิดแล้ววัตถุแห่งหนี้ในเรื่องนี้ก็คือ การส่งมอบมาให้แก่ผู้ซื้อและผู้ซื้อก็มีหนี้ที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นการส่งมอบ (เงิน)
ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้
มาตรา ๑๙๕ เมื่อทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นได้ระบุไว้แต่เพียงเป็นประเภท และถ้าตามสภาพ แห่งนิติกรรม หรือตามเจตนาของคู่กรณีไม่อาจจะกำหนดได้ว่าทรัพย์นั้นจะพึงเป็นชนิดอย่างไรไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ จะต้องส่งมอบทรัพย์ชนิดปานกลาง ถ้าลูกหนี้ได้กระทำการอันตนจะพึงต้องทำเพื่อส่งมอบทรัพย์สิ่งนั้นทุกประการแล้วก็ดี หรือถ้า ลูกหนี้ได้เลือกกำหนดทรัพย์ที่จะส่งมอบแล้วด้วยความยินยอมของเจ้าหนี้ก็ดี ท่านว่าทรัพย์นั้นจึงเป็นวัตถุแห่งหนี้ จ่าเดิมแต่เวลานั้นไป
ทรัพย์ทั่วไป
ทรัพย์ทั่วไป หมายถึง ทรัพย์ที่จะโอนกรรมสิทธิ์ส่งมอบโดยยังไม่ได้กำหนดตัวทรัพย์ไว้เป็นการ เฉพาะแน่นอน กำหนดไว้แต่เพียงประเภท ไม่ได้กำหนด “ชนิด” หรือ “คุณภาพ” หรือ “คุณลักษณะ” อย่างใด กำหนดไว้แต่เพียงประเภท เช่น เป็นข้าวสาร ข้าวเปลือก ช้าง ม้า ฯลฯ เหล่านี้ย่อมเป็นทรัพย์ทั่วไป
ทรัพย์เฉพาะสิ่ง
ทรัพย์ที่รู้แน่นอนแล้วว่าเป็นทรัพย์ชิ้นใด
บทบัญญัติดังกล่าวนี้บัญญัติไว้ทำนองเดียวกับมาตรา ๒๒๗ ที่ใช้คำว่า “ทรัพย์ หนี้” แล้วก็อาจเข้าใจไปได้ว่า วัตถุแห่งหนี้คือตัวทรัพย์นั้น ซึ่งตัวทรัพย์นั้นไม่อาจเป็น วัตถุแห่งหนี้ได้ เพราะวัตถุแห่งหนี้ คือ การส่งมอบทรัพย์ ทรัพย์จึงเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่ง ในการชำระหนี้ เพราะสิทธิเรียกร้องในทางหนี้นั้นไม่ได้ก่อให้เกิด “ทรัพยสิทธิ” แต่มีเพียงบุคคล สิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ส่งมอบทรัพย์ให้เท่านั้น หากลูกหนี้ไม่ส่งมอบเจ้าหนี้ก็ชอบที่จะไปร้องขอ ต่อศาลตามมาตรา ๒๑๓ เจ้าหนี้จะไปบังคับแก่ทรัพย์นั้นด้วยอำนาจของตนเองมิได้
กรณีวัตถุแห่งหนี้ซึ่งเลือกที่จะชำระได้
แต่บางกรณี ก็อาจมีหนี้หลายอย่างที่เรียกว่า หนี้ผสม (composite obligation)
หนี้ที่เป็นหนี้ผสม (Composite obligation) อาจเป็นหนี้ที่เลือกชำระได้ (alternative obligation) ก็ได้ ซึ่งหมายถึงหนี้ที่มีวัตถุหลายอย่างแต่ไม่ต้องทำทุกอย่าง ตัวอย่างเช่น ยืมสตางค์ เขามา ๕,000 บาท เจ้าของเงินเขาบอกว่าจะนำเงินมาคืนเขา ๒,000 บาท หรือถ้าสุนัขออกลูก จะเอาลูกสุนัข ๑ ตัวมาให้เขาแทนก็ได้ อย่างนี้จะเห็นได้ว่าวัตถุแห่งหนี้มี ๒ อย่าง คือ ส่งมอบ เงิน ๕,000 บาท เพื่อชำระหนี้ หรือส่งมอบลูกสุนัข ๑ ตัวก็ได้ เป็นการเลือกทำเพียงอย่างเดียว เท่านั้นไม่ต้องทำทั้งสองอย่าง กรณีเช่นนี้ กฎหมายได้วางหลักเกณฑ์ในการชำระหนี้ในเรื่องของ ผู้มีสิทธิเลือก วิธีการเลือก ผลของการเลือก และกรณีที่การชำระหนี้บางอย่างตกเป็นพ้นวิสัยไว้ใน มาตรา ๑๙๘-๒๐๒
กำหนดเวลาชำระหนี้
หนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้
หนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ บางกรณีหนี้หลายอย่างก็อาจไม่ได้กำหนดเวลาไว้ แต่หนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้นี้ มิได้หมายความว่าลูกหนี้จะไม่ต้องชำระ
กฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในมาตรา ๒๐๓ วรรคแรก ว่า“ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้นั้นมิได้กำหนดลงไว้ หรือจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวง ไม่ได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของ ตนได้โดยพลันดุจกัน"
หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้
กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ไม่เป็นที่สงสัย
กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ไม่เป็นที่สงสัย กำหนดเวลาชำระหนี้ที่ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ตกลงกำหนดกันไว้นั้นเมื่อไม่เป็นที่สงสัยก็ยังอาจแบ่งออกได้เป็น ๒ อย่าง ซึ่ง มีผลบังคับในทางกฎหมายแตกต่างกันคือ
๑)กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน ๒)กำหนดเวลาชำระหนี้มิใช้ตามวันแห่งปฏิทิน
กำหนดเวลาชำระแต่เป็นที่สงสัย
กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แต่เป็นที่สงสัย กรณีนี้มาตรา ๒๐๓ วรรคสอง บัญญัติว่า “ถ้าได้กำหนดเวลาไว้ แต่หากกรณีเป็นที่สงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนถึงเวลานั้นหาได้ไม่ แต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อน กำหนดก็ได้”
หนี้ที่กำหนดเวลาชำระหนี้นี้ อาจอาจเป็นหนี้ที่กำหนดเวลาชำระไว้โดยชัดแจ้ง เช่น กำหนดตามวันแห่งปฏิทิน หรือกำหนดตามข้อเท็จจริง เช่น ยืมเสื้อครุยเพื่อไปรับปริญญาจะส่งคืนเมื่อรับปริญญาเสร็จ ก็ถือเป็นการกำหนด โดยชัดแจ้งคือมีการตกลงกันระหว่างคู่กรณีที่ก่อหนี้ขึ้นก็ได้ หรืออาจจะกำหนดชัดแจ้ง โดยบทบัญญัติของกฎหมาย
เช่น หนี้ละเมิด ซึ่งมาตรา ๒๐๖ ให้ถือว่าผิดนัดมาแต่เวลา
ทำละเมิด ก็แสดงว่า กฎหมายกำหนดให้ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทันทีที่ทำละเมิด ก็ถือว่าเป็น หนี้ที่กำหนดชัดแจ้งหรืออาจเป็นกำหนดเวลาชำระหนี้โดยปริยาย
การผิดนัดไม่ชำระหนี้
การผิดนัด(ลูกหนี้)
ลูกหนี้ผิดนัดโดยต้องตักเตือนก่อน
เมื่อมีกำหนดเวลาชำระหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ต้องชำระหนี้ตามกำหนดนั้น แต่การที่ ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้นั้น ในบางกรณีกฎหมายยังไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด ในหนี้บางประเภทนั้น กฎหมายกำหนดให้เจ้าหนี้ต้องเตือนลูกหนี้ก่อนลูกหนี้จึงจะผิดนัด คือการผิดนัดเกิดจากการ กระทำของเจ้าหนี้เพื่อให้ครบเงื่อนไขตามกฎหมาย หนี้ประเภทที่เจ้าหนี้ต้องเตือนก่อนลูกหนี้จึงจะ ผิดนัดได้แก่หนี้ ๒ กรณี
หนี้ที่กำหนดเวลาชำระหนี้มิใช่ตามวันแห่งปฏิทิน
หนี้ที่ไม่มีกำหนดชำระหนี้
ลูกหนี้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ตักเตือน
หนี้ทั้งสองประเภทดังกล่าวแล้วนั้น ลูกหนี้จะผิดนัดได้ก็ต่อเมื่อเจ้าหนี้ได้เตือนให้ลูกหนี้ ชำระหนี้แล้ว แต่หนี้บางประเภทลูกหนี้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ต้องเดือนเลย หนี้กลุ่มนี้มี ๒ ประเภท คือ(๑) หนี้ที่มีกำหนดชำระตามวันแห่งปฏิทินหรือหนี้ที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการ ชำระหนี้ ซึ่งอาจคำนวณนับได้ตามวันแห่งปฏิทิน (๒) หนี้ละเมิด
กำหนดชำระหนี้กับการผิดนัด
เมื่อได้ศึกษาถึงกำหนดเวลาในการชำระหนี้และการผิดนัดแล้ว จะเห็นได้ว่ากำหนด เวลาชำระหนี้ก็ดี การไม่ชำระหนี้ก็ดี การผิดนัดก็ดี มีความเกี่ยวพันกันอย่างมาก การไม่ชำระหนี้เป็นข้อเท็จจริง ส่วนการผิดนัดเป็นข้อกฎหมาย คือเป็นเรื่องของการไม่ ชำระหนี้ซึ่งเกิดผลบางประการทางกฎหมาย
กรณีที่ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด
มาตรา 205 “ตราบใดการชำระหนี้นั้นยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ตราบนั้นลูกหนี้ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่
เหตุขัดขวางนั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรืออุบัติเหตุ
เหตุขัดขวางนั้นเกิดจากความผิดของเจ้าหนี้เองหรือที่เจ้าหนี้มีส่วนรับผิดชอบ
พฤติการณ์หรือเหตุการณ์ภายนอกอื่น ๆ ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ
ผลของการผิดนัดของลูกหนี้
ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัด
การที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดและตกเป็นผู้ผิดนัดนั้น ก็ถือว่าเป็นการที่ ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ด้วย ดังนั้นเมื่อการ ชำระหนี้ล้าช้าเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้ก็อาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๑๕ ว่า “เมื่อลูกหนีไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ไซร้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย อันเกิดแต่การนั้นก็ได้"
เจ้าหนี้อาจไม่รับชำระหนี้
มาตรา 216 “ถ้าโดยเหตุผิดนัด การชำระหนี้กลายเป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้จะ บอกปัดไม่รับชำระหนี้ และจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ก็ได้"
การผิดนัดเป็นการชำระหนี้ล่าช้า ลูกหนี้ชำระหนี้ล่าช้า เจ้าหนี้จะบอกปัดไม่รับชำระหนี้ได้ก็ต่อเมื่อ ไม่เป็นประโยชน์ที่จะรับชำระหนี้ แต่ถ้ายังเป็นประโยชน์อยู่ก็ต้องรับเอาไว้แล้วเรียกค่าสินไหมทดแทน (ค่าเสียหาย) อันเกิดจากการชำระหนี้ล่าช้า ถ้าไม่มีความเสียหายอันเกิดจากการชำระหนี้ล่าช้า ลูกหนี้ก็ไม่ต้องรับผิดอะไรเลย
ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดระหว่างผิดนัดเพิ่มขึ้น
นอกจากความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากการผิดนัดการชำระหนี้ดังได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งเป็นความเสียหายจากการผิดนัดโดยตรงแล้ว เมื่อลูกหนี้ผิดนัดลูกหนี้ยังอาจต้องรับผิดในความ เสียหายในความประมาทเลินเล่อ และการที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุอันเกิด ขึ้นในระหว่างผิดนัดด้วย ดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๒๑๗ ว่า ระหว่างเวลาที่ตนผิดนัด “ลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายบรรดาที่เกิดแต่ความประมาทเลินเล่อใน ทั้งจะต้องรับผิดชอบในการที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ผิดนัดนั้นด้วย เว้นแต่ความเสียหายนั้น ถึงแม้ว่าตนจะได้ ชำระหนี้ทันเวลากำหนดก็คงจะต้องเกิดมีอยู่นั่นเอง"
เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ในระหว่างที่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้น ลูกหนี้อาจต้อง รับผิดชอบเพิ่มขึ้นใน 2 กรณี
ลูกหนี้จะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดแต่ความประมาทเลินเล่อในระหว่างที่ตนผิดนัด
ลูกหนี้จะต้องรับผิดในการชำระหนี้ที่เป็นการพ้นวิสัย เพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นใน ระหว่างผิดนัดด้วย