Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
The Working Success for the Nurses in the Ward - Coggle Diagram
The Working Success for the Nurses in the Ward
Time management
การบริหารเวลา หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการจัดการเวลาให้เกิดประโยชน์กับตนเองมากที่สุด ด้วยการวางแผนการบริหารเวลาของตนเองอย่างเป็นระบบ มีการจัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของงานให้เหมาะสมกับเวลา ซึ่งจะช่วยให้บุคคลสามารถปฏิบัติภารงานต่างๆ ได้ดี นำมาซึ่งผลสำเร็จได้ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานไม่เครียด และไม่สับสนในงานที่ปฏิบัติอีกด้วย
ประโยชน์ของการบริหารเวลา
หากบุคคลใดมีการบริหารจัดการเวลาที่ดี ก็จะทำให้ได้รับประโยชน์ดังนี้
สามารถทำภารกิจต่างๆ ที่ต้องการได้มากขึ้น
ผลสำเร็จของงานมีมากขึ้นและผลงานที่ได้มีคุณภาพ
การทำงานจะมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น
ความเสี่ยงจากการทำงานจะลดลง
มีเวลาให้กับบุคคลและกิจกรรมอื่นๆ ที่ชอบได้มากขึ้น
ความเครียดลดลง สุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้น
มีความก้าวหน้าและประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
อ้างอิง
เทพ สงวนกิตติพันธุ์.(2556) . เทคนิคการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ.สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565. จาก
https://www.stou.ac.th/Offices/rdec/udon/main/วิชาการสู่สังคม56/4.เทคนิคการบริหารเวลา(1)%20(กค.-สค.58).doc
ปพนสรรค์ โพธิพิทักษ์.(2556). ปัจจัยและรูปแบบการบริหารเวลาของรองผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal.3(6),775-793.
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารเวลา
ประกอบด้วย 6 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารเวลา 2) ปัจจัยการวางแผน 3) ปัจจัยเทคนิคการบริหารเวลา 4) ปัจจัยการต้ังเป้าหมาย 5) ปัจจัยการขจัดตัวการทำให้เสียเวลา 6) ปัจจัยการใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
เทคนิคการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
จัดทำแผนการบริหารเวลาและมุ่งมั่นทำให้สำเร็จ
1.1 กำหนดเป้าหมายใหญ่ที่ต้องการ ควรมีความเฉพาะเจาะจง และไม่กว้างเกินไป หรือคลุมเครือ
1.2 กำหนดวัตถุประสงค์ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายใหญ่ที่ต้องการ
1.3 กำหนดรายละเอียดของภารกิจย่อย หรือกิจกรรมย่อยที่ต้องปฏิบัติในแต่ละวัตถุประสงค์
1.4 กำหนดเวลาที่ทำได้จริง การกำหนดเวลาหรือกำหนดเส้นตาย(Deadline) เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เห็นจุดหมายปลายทางที่ต้องการและกระตุ้นให้เกิดความพยายามที่จะทำให้สำเร็จ
1.5 ตั้งใจและมุ่งมั่นลงมือปฏิบัติตามแผนการบริหารเวลาดังกล่าวเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
จัดลำดับความสำคัญของงานหรือภารกิจที่จะต้องทำ
รู้จักมอบหมายงานให้คนอื่นทำแทน
คุณควรพิจารณามอบหมายงานให้คนอื่นทำแทน(ถ้ามอบได้) จะช่วยให้คุณสามารถบริหารจัดการเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพราะคุณไม่สามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตัวเองได้ในทุกเรื่อง
ทำงานหรือกิจกรรมอื่นๆ หลายอย่างที่ทำได้ไปพร้อมกัน
รู้จักตัวเองและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงาน
เป็นคนตรงต่อเวลา
อย่าอดนอน
เพราะเมื่อเอาเวลาที่ควรจะนอนพักผ่อนมาทำงาน คุณก็จะทำงานได้ไม่ดีเพราะสมองจะรู้สึกไม่ปลอดโปร่ง ยิ่งเป็นงานเกี่ยวกับตัวเลขก็ยิ่งมีโอกาสผิดพลาดสูง
รู้จักหาเวลาพักผ่อนและทำสิ่งที่ชอบบ้าง
คนไม่เหมือนเครื่องจักรที่จะทำงานได้ทุกวันโดยไม่หยุดพัก
Team management
การทำให้ทีมมีประสิทธิภาพ ดังนี้ {อ้างอิง ธรรมนิติ. (2563). เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : “Team management” 6 วิธีการบริหารทีมงานอย่างมีประสิทธิภาพ. สืบค้นเมื่อ23 สิงหาคม 2565. จาก
https://www.dst.co.th/index.php
. }
(2) Focus on solutions (มุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหา)ในสถานการณ์คับขัน อาจเกิดปัญหาในงานมากขึ้น จึงต้องอาศัยความรวดเร็ว เร่งรีบ เพื่อจัดการให้ทันสถานการณ์ ดังนั้น โอกาสเกิดความผิดพลาดอาจมากกว่าปกติ หัวหน้าควรหาวิธีรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น และแนะแนวทางการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
(3) Always Give feedback (ให้ข้อเสนอแนะเสมอ)
การให้ Feedback เป็นสิ่งสำคัญที่หัวหน้างานจำเป็นต้องทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสะท้อนการทำงาน เป็นเครื่องมือหลักใน
การพัฒนา หากละเลยการให้ Feedback จะส่งผลให้พลาดความต้องการ ปัญหา หรืออุปสรรค์ต่างๆ ที่ลูกทีมกำลังเผชิญอยู่
และจะไม่สามารถพัฒนาทีมได้อย่างตรงจุด
(1) Encourage teamwork (ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม)พยายามสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างกัน แสดงให้เห็นว่าทุกคนมีความสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งของทีม หากมีงานที่ต้องตัดสินใจ
หัวหน้าควรรับฟังความคิดเห็นจากทุกคน และเมื่อมีการอัพเดตรายละเอียดของงานต้องแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับรู้อย่างทั่วถึง
(4) Build team confidence (สร้างความมั่นใจให้กับทีม)ในฐานะหัวหน้างานสิ่งสำคัญคือ การทำให้ทีมเห็นเป้าหมาย และสื่อสารเพื่อเกิดความเข้าใจร่วมกัน และแบ่งหน้าที่
ความรับผิดชอบอย่างชัดเจน พร้อมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้ทีมมีความมั่นใจว่าสิ่งที่กำลังดำเนินการอยู่นั้น จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีในอนาคต
(5) Re-energize your team (เติมพลังให้ทีม) ในตอนเช้าก่อนเริ่มทำงาน ควรกล่าวทักทายให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของทีม และความรู้สึกสดใส
ในการทำงานตลอดวัน หากมีเวลาว่างหัวหน้าควรหากิจกรรมเล็กๆ ให้คนในทีมได้ร่วมสนุก เพื่อเป็นการผ่อนคลายระหว่างการทำงาน
(6) Rotate team functions (หมุนเวียนการทำงานของทีม) เปิดโอกาสให้คนในทีมได้สลับหน้าที่ เพื่อฝึกทักษะใหม่ และเพิ่มความหลากหลายในงาน เมื่อเกิดกรณีคับขันทุกคนจะ
สามารถทำงานต่อไปได้อย่างไม่ติดขัด นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนงานจะช่วยลดความเบื่อหน่ายในงานได้อีกด้วย
Morale&Reinforcement
ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างขวัญกำลังใจ
ค่าจ้าง
ค่าตอบแทน
สภาพในการทำงาน
สัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน
ปริมาณงาน
สัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชา
ความเชื่อมั่นต่อระบบบริหาร
การติดต่อสื่อสาร
ประสิทธิภาพของการบริการงาน
ความสามารถของผู้บังคับบัญชา
สถานภาพและการยอมรับ
ความมั่นคงในงาน และสัมพันธภาพในการงาน
การได้รับการยอมรับ
โอกาสก้าวหน้า
ข้อดี
สร้างสํามัคคีธรรมในหมู่คณะ และก่อให้เกิดพลังร่วม (Group Effort) ในหมู่คณะ
เสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างบุคคลในองค์กรกับนโยบายและวัตถุประสงค์ ขององค์กร
สร้างความจงรักภักดีซื่อสัตย์ต่อหมู่คณะและองค์กร
เกื้อหนุนและจูงใจให้สมาชิกของหมู่คณะหรือองค์กําร เกิดความคิดสร้างสรรค์ ในกิจการต่าง ๆ ขององค์กร
ทําให้เกิดควํามร่วมมือร่วมใจเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร
ทําให้เกิดความเชื่อมั่นและศรัทธมในองค์กรที่ตนปฏิบัติงานอยู่
ข้อเสีย
1.ผู้ถูกให้กำลังใจจะรู้สึกกดดัน เนื่องจากจะต้องทำงานให้ได้มากขึ้นและดีขึ้น
2.ผู้ถูกให้กำลังใจจะรู้สึกไม่มั่นใจหากได้รับมอบหมายหน้าที่ใหม่ๆที่ไม่คุ้นเคย
3.ทำให้ผู้ถูกให้กำลังใจจะรู้สึกผิดหวังกับสิ่งต่างๆได้ง่าย เมื่อไม่มีคนให้กำลังใจอาจทำให้คนคนนั้นผิดหวังในตัวเองหรือท้อแท้ต่องานได้ง่าย
อ้างอิง สมบูรณ์ นาควิชัย. (2560). ขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงาน.2(2),18-22
Human relationship
เทคนิคในการสร้างมนุษย์สัมพันธ์
1.มีความตั้งใจที่จะไม่ขัดผลประโยชน์ของผู้อื่น
2.มองผู้อื่น ในแง่ดี ด้วยความจริงใจ
3.ไม่ทำตัวให้เด่นจนเกินไปหรือด้อยจนเกินไป หากสิ่งใดเด่นจงถ่อมตัว สิ่งใดที่รู้ว่าด้อยจงเพิ่มให้เต็ม
4.เต็มใจรับฟังผู้อื่นสนทนาอย่างไม่เบื่อ
5.การพูดต้องไม่พูดอยู่คนเดียวมากเกินไป มีคำพูดแปลกใหม่ หรือเรื่องน่าสนใจในการสนทนา
6.มีอารมณ์ขัน ร่าเริง แจ่มใส อารมณ์หนักแน่น เก็บความรู้สึกได้ เป็นผู้ให้
7.รู้จักหน้าที่ในการเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
มนุษย์สัมพันธภาพที่ดีทำให้รู้จักตนเองและเข้าใจตนเอง รู้จักผู้อื่นและเข้าใจผู้อื่นเข้าใจสภาพสังคม เข้าใจเทคนิคการปรับปรุงตัวและการเข้ากับผู้อื่น รวมทั้งมีความมั่นคงทางอารมณ์ มีใจกว้าง ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งการทำงานในวอร์ดการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ถือว่าเป็นเรื่องที่ควรกระทำ โดยยึดหลัก รู้จักตน รู้จักคน เข้าใจตน เข้าใจคน เพื่อผลของงานที่ต้องการ
ฮิลการ์ด เพบพลาว Hildgegard Peplau เป็นผู้ริเริ่มในการนำกระบวนการสร้าสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดมาใช้คนแรก โดยมีคิดพื้นฐานจากทฤษฎีพัฒนาการ ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล โดยได้รับอิทธิพลจากนักจิตวิทยาหลายท่าน มโนทัศน์หลักการทางการพยาบาลตามแนวคิดของทฤษฎีการสร้างสัมพันธภาพของเพบพลาว แบ่ง4ด้าน ดังนี้ (พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 49 ฉบับที่ 2 2565)
1.บุคคล หมายถึงระบบตัวตน
2.สุขภาพ
3.สิ่งแวดล้อม
4.การพยาบาล
Risk management
อ้างอิงจาก : การบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลคีรีมาศ
ระดับความรุนแรงความเสี่ยง
ทางคลินิก มี 9 ระดับ
A : Near Miss เหตุการณ์ที่มีโอกาสผิดพลาด
B : Near miss ความผิดพลาดเกิดขึ้นแต่ยังไม่ถึงตัวผู้ป่วยหรือบุคลากร
C : Miss ความผิดพลาดเกิดขึ้นถึงตัวผู้ป่วยแต่ไม่ถึงอันตราย
D : Miss ความผิดพลาดถึงผู้ป่วยและต้องให้การดูแลเฝ้าระวังเป็นพิเศษ
E : Miss ความผิดพลาดถึงตัวผู้ป่วยและเกิดอันตรายชั่วคราวแก่ผู้ป่วยและต้องได้รับการรักษาเพิ่มมากขึ้น
F : Miss ความผิดพลาดถึงผู้ป่วยและมีผลทำให้ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาและต้องนอนโรงพยาบาล
G : Miss ความผิดพลาดถึงผู้ป่วยและมีผลทำให้ผู้ป่วยเกิดความพิการถาวร
H : Miss ความผิดพลาดถึงผู้ป่วยและมีผลทำให้ผู้ป่วยได้รับการช่วยชีวิต
I : Miss ความผิดพลาดถึงผู้ป่วยและเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
ความเสี่ยงทั่วไป
Near Miss : ยังไม่เกิดความผิดพลาด แต่มีแนวโน้มที่จะเกิด
Low risk : มีความผิดพลาดเกิดขึ้น แต่ไม่เป็นอันตราย เกิดความเสียหายเล็กน้อย
Moderate Risk : มีความผิดพลาดเกิดขึ้น เกิดอันตราย เกิดความเสียหายต่อผู้รับบริการ เจ้าหน้าที่ อุปกรณ์เครื่องมือ มูลค่าเสียหาย น้อยกว่า 10000 บาท
High Risk : มีความผิดพลาดเกิดขึ้น เกิดอันรายหรือความเสียหาย มีโอกาสถูกร้องเรียน ฟ้องร้อง มูลค่าความเสียหายมากกว่า 50000บาท
ประเภทของความเสี่ยง
ความเสี่ยงทั่วไป : ทรัพย์สินสูญหาย ความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ
ความเสี่ยงทางคลินิกเฉพาะโรค : เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการรักษา เฉพาะโรค หรือ หัตถการนั้นๆ
ความเสี่ยงทางคลินิก : เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อันเนื่องจากการรักษาพยาบาลผู้ป่วยไม่ถูกต้อง หรือ ไม่มีประสิทธิภาพ
อ้างอิงจาก : ผ่องพรรณ จันธนสมบัติ. (2555). การบริหารความเสี่ยงทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพ.วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ.
การบริหารจัดการความเสี่ยง
ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
อ้างอิง : การบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลคีรีมาศ
1.การค้นหาความเสี่ยง (Risk Identification)
การศึกษาจากการสำรวจสถานการณ์ปัจจุบัน
การค้นหาเชืงรุก
การค้นหาเชิงรับ
Risk profile
การค้นหาจากอดีต
จัดทำบัญชีความเสี่ยงเข้าโปรแกรมความเสี่ยง
แยกเป็นหมวดหมู่
2.ประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Assessment)
ประเภทของความเสี่ยง
ความเสี่ยงทางคลินิค
ความเสี่ยงทั่วไป
การแบ่งระดับความรุนแรง
3.จัดการความเสี่ยง (Action to Manage Risk)
กลยุทธ์การควบคุมการสูญเสีย
-หลีกเลี่ยงความเสี่ยง
-การผ่องถ่ายความเสี่ยง
-การป้องกันความเสี่ยง
-มีระบบเฝ้าระวังความเสี่ยง
การจัดการหลังเกิดเหตุ
-ลดความสูญเสียหลังเกิดเหตุการณ์
-การบริหารเงินค่าชดเชย
-รายงานอุบัติการณ์/ความเสี่ยง
-จำแนกความเสี่ยงและการจัดการ
-เรื่องที่ประสานกับหน่อยงานอื่น
-สรุปข้อมูลอุบัติการณ์/ความเสี่ยง
4.ประเมินผล (Evaluation)
ประเมินระบบ/กระบวนการที่วางไว้/ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่
ประเมินประสิทธิภาพของระบบบริหารความเสี่ยง
การบริหารความเสี่ยง คือ การรับรู้และจํากัดความเสี่ยงเพื่อลดโอกาสและปริมาณ ของความสูญเสียที่จะเกิดข้ึน การบริหารความเสี่ยงเป็นกลยุทธ์เชิงรุกเพื่อป้องกันความสูญเสีย สําหรับบทบาทของพยาบาลต่อการบริหารความเสี่ยง มุ่งเน้นความ ปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นเป้าหมายสําคัญ ได้มีการพัฒนา คุณภาพในการดูแลผู้ป่วยขึ้นเพื่อป้องกันและเฝ้าระวัง ความเสี่ยงที่อาจเกิดข้ึนกับผู้ป่วยได้
Record and report
ประโยชน์ในการทำงาน
1.สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้
2.เป็นเอกสารสำคัญที่แสดงให้เห็นความรับผิดชอบและความน่าเชื่อถือของยุคคล
3.เป็นหลักฐานจากการกระทำของบุคคลและสามารถใช้ในทางกฏหมาย
4.การปฏิบัติงานมีความสะดวก รวดเร็วขึ้น
5.สามารถประสานงานในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
6.ระบบการทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
ลักษณะการบันทึกข้อมูลที่ดี
1.บันทึกตามความจริง ครบถ้วน ไม่ปลอมแปลงข้อมูล
2.ข้อมูลมีความโปร่งใสตรวจสอบได้
3.มีความชัดเจนเป็นระบบ เน้นปัจจุบัน
4.งานที่มีการบันทึกเกิดความน่าเชื่อถือ
อ้างอิงลักขณา ศรสุรินทร์.(2561).การพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมโรงพยาบาลสุริทร์.(วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต).สุรินทร์:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
นำแนวคิดการบันทึกแบบชี้เฉพาะ (Focus Charting) ผสมผสานกับการบันทึกแบบ ละเว้น (Charting by Exception :CBE) โดยใช้การมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติจากการประชุมระดมสมอง และข้อเสนอแนะที่ได้มาพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาล หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์ โดยเน้นการสร้างคู่มือการใช้รูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลที่ชัดเจน ปรับ แบบฟอร์ม และวิธีการบันทึก ทำให้สะดวกต่อการใช้ ลดความซ้ำซ้อน ได้รูปแบบการบันทึกทางการ พยาบาลที่เหมาะสม และตรงตามความต้องการของผู้ปฏิบัติเมื่อนำไปใช้ พยาบาลวิชาชีพกลุ่มตัวอย่าง มีการบันทึกเพิ่มขึ้น
Supervision
หลักการของการนิเทศ
ศึกษาสายงานการบังคับบัญชาของหน่วยงานเพื่อทําให้เกิดความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ ของบุคลากรตามสายงาน และเข้าใจตนเองว่า อยู่ ณ. จุดใด รู้แนวทางในการรายงานหรือขอความช่วยเหลือ ตามลําดับขั้นได้
ศึกษานโยบายการดําเนินงานของหน่วยงานทําให้ผู้นิเทศทราบทิศทางการดําเนินงาน ของหน่วยงาน สามารถแปลความหมาย อธิบายนโยบายแก่ผู้ถูกนิเทศได้ และช่วยในการวางแผนงานจัดโครงการได้สอดคล้องกับนโยบายและบรรลุตามเป้าหมายที่กําหนดไว้
ดําเนินการนิเทศงานการพยาบาลครบทุกขั้นตอนและเป็นไปตามลําดับโดยควรใช้ กระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ การวางแผนงาน ดําเนินการนิเทศงานและประเมินผลการนิเทศ โดยสามารถ ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์
ยึดหลักการมีส่วนร่วมในการดําเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการนิเทศ โดย ผู้เกี่ยวข้องในโครงการทุกคนควรมีส่วนร่วมและเกิดความตระหนักในการเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม โครงการ นิเทศ
ทําการนิเทศหรือทําการพัฒนาผู้ได้รับการนิเทศณ.แหล่งที่ปฏิบัติงานนั้นๆโดยคํานึงถึง พื้นฐานความรู้ เจตคติ ทักษะ ขวัญและกําลังใจของบุคลากร
ความสำคัญ :
ช่วยสนับสนุนบุคลากรทางการพยาบาลให้ปฏิบัติการพยาบาลได้สําเร็จตามเป้าหมาย
ช่วยประสานความเข้าใจระหว่างฝ่ายผู้บริหารและฝ่ายผู้ปฏิบัติการพยาบาล ในการนิเทศทางการ พยาบาลผู้นิเทศเปรียบเสมือนบุคคลผู้อยู่ตรงกลาง
ช่วยพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาล โดยการพัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานและพัฒนาระบบบริการ พยาบาลให้มีมาตรฐานทางการพยาบาล
ผลลัพธ์ที่ตามมา
อ้างอิง : อรรถยา อมรพรหมภักดีและคณะ. (2563). การนิเทศทางการพยาบาล: การทบทวนแบบกำหนดขอบเขต, วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(3), 144-156.
ผลลัพธ์ต่อผู้รับนิเทศ
1)ผู้รับการนิเทศมีความรู้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้รับนิเทศได้รับความรู้จากผู้นิเทศด้วยวิธีการสอน การฝึกอบรม และการให้คำแนะนำ
2)ผู้รับการนิเทศมีทักษะการพยาบาลเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้ได้รับการนิเทศได้รับการฝึกปฏิบัติและการปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่าง จนผู้รับการนิเทศเกิดทักษะที่เพิ่มมากขึ้น
3)ผู้รับการนิเทศมีการปฏิบัติมากขึ้น เนื่องจากมีการนิเทศ ติดตาม และผู้รับการนิเทศได้เห็นประโยชน์ของการปฏิบัติ รวมถึงการมีรูปแบบการนิเทศที่ชัดเจน
4)ผู้รับการนิเทศมีเจตคติต่อการนิเทศดีขึ้น เนื่องจากได้เข้าใจเป้าหมายของการนิเทศ และเห็นประโยชน์ของการนิเทศ รวมถึงได้พูดคุยแสดงความคิดเห็น จนเกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน
5)ผู้รับการนิเทศมีความพึงพอใจสูงขึ้น เนื่องจากการนิเทศการพยาบาลเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้การมีส่วนร่วม มีการเสริมสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงาน และสะท้อนกลับอย่างกัลยาณมิตร ทำให้ผู้รับการนิเทศมีความพึงพอใจมากขึ้น
ผลลัพธ์ต่อผู้นิเทศ
1) ผู้นิเทศมีความรู้เพิ่มมากขึ้น ทั้งความรู้เกี่ยวกับการนิเทศทางการพยาบาลและความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นิเทศ
2)ผู้นิเทศมีทัศนคติต่อการนิเทศดีขึ้น เมื่อได้รับการอบรมเกี่ยวกับกระบวนการนิเทศ มีโอกาสได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับบทบาทของผู้นิเทศ
3)ผู้นิเทศมีความพึงพอใจต่อการนิเทศมากขึ้น เนื่องจากมีคู่มือการนิเทศการพยาบาลและรูปแบบการนิเทศที่ชัดเจน
4) ผู้นิเทศมีทักษะการปฏิบัติการนิเทศดีขึ้น เนื่องจากผู้นิเทศได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกระบวนการนิเทศการพยาบาล มีการกำหนดเป้าหมาย ระยะเวลาอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร มีการร่วมปฏิบัตืชิงาน การสอนแนะ และการเยี่ยมตรวจทางการพยาบาล
ผลลัพธ์ต่อผู้ใช้บริการ
1) ผู้ใช้บริการมีความปลอดภัย เนื่องจากการนิเทศการพยาบาลมีรูปแบบที่ชัดเจน มีแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาของพยาบาลได้ ทำให้อุบัติการณ์ความผิดพลาดลดลง
2) ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจสูงขึ้น เนื่องจากการนิเทศการพยาบาลที่มีรูปแบบชัดเจน มีแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาที่ชัดเจน ทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกปลอดภัยและทำให้เกิดความพึงพอใจในบริการ
การบริหารงานของหัวหน้าเวรที่มีประสิทธิภาพ
ตรวจสอบความเรียบร้อยทั่วไป
จํานวน chart จํานวนผู้รับบริการ
สภาพของผู้รับบริการ
unit ของผู้ให้บริการ
ผู้ใช้บริการที่ต้องดูแลพิเศษ การตรวจพิเศษ
การเขียนบันทึกรายงานของ
เวรที่ผ่านมา
ตรวจดูการเขียนบันทึกรายงานต่าง ๆ
ดูแลความเรียบร้อยภายในหอผู้ป่วย
ดูอาคารสถานที่
ความสะอาดของห้องน้ํา
เยี่ยมตรวจผู้รับบริการร่วมกับผู้ส่งเวร
มอบหมายงานให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับ
นิเทศและติดตามประเมินผลดูความเรียบร้อยทั่วไป
ความสามารในการปฎิบัติงานบทบาทพยาบาลหัวหน้าเวร
1.การวางแผน
2.การจัดระเบียบองค์กร
3.การบริหารบุคคล
4.การควบคุมงาน
อ้างอิง
วราภรณ์ เจริญบุญ, ปรางค์ทิพย์ อุจะรัตน และกรรณิการ์ สุวรรณโคต. (2559). ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการเป็นพยาบาลหัวหน้าเวร ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.วารสารนครราชสีมา,10(2).113-116.
ปัจจัยที่ส่งเสริมการบริหารเวลาและการบริหารทีมให้มีประสิทธิภาพ
การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างชัดเชน
ความสามารถของบุคคลภายในทีม
สภาพแวดล้อมที่เอ้อต่อการทำงาน
การวางแผนงานที่ดี
จุฑารัตน์ ผู้พิทักษ์กุล การบริหารจัดการองค์กรการบริหารบริการสุขภาพและการบริการการพยาบาล
นรชัย ณ วิเชียร ธนินท์ รัตน์พงค์ภิญโญ และสวรรยา ธรรมอภิพล
ปัจจัยที่ส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน
วัฒนธรรมองค์กร การพัฒนาทุนมนุษย์ ความแข็งแกร่งในชีวิต ความมีใจรักงาน
ภิญโญ มนูศิลป์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีประสิทธิผลของทีม ( 2560)
ปัจจัยด้านบริบทขององค์กร เกี่ยวกับทรัพยากร การฝึกอบรม
2.ปัจจัยด้านคุณลักษณะของภาระงาน
3.ปัจจัยด้านคุณลักษณะของทีม
4.ปัจจัยด้านกระบวนการของทีม
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารเวลา
ประกอบด้วย 6 ปัจจัย คือ
1) ปัจจัยเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารเวลา
2) ปัจจัยการวางแผน
3) ปัจจัยเทคนิคการบริหารเวลา
4) ปัจจัยการต้ังเป้าหมาย
5) ปัจจัยการขจัดตัวการทำให้เสียเวลา
6) ปัจจัยการใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
เทพ สงวนกิตติพันธุ์.(2556) . เทคนิคการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ.สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565. จาก
https://www.stou.ac.th/Offices/rdec/udon/main/วิชาการสู่สังคม56/4.เทคนิคการบริหารเวลา(1)%20(กค.-สค.58).doc