Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความสำเร็จในการทำงานของพยาบาลในวอร์ด - Coggle Diagram
ความสำเร็จในการทำงานของพยาบาลในวอร์ด
การนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ รายงานผลและประเมินผล
วิธีการนิเทศในการปฏิบัติการ พยาบาล
นิเทศอย่างใกล้ชิด (close supervision) คือ การติดตาม ควบคุม ดูแลการปฏิบัติงานของ บุคลากรคนใดคนหนึ่งอย่างใกล้ ชิด
นิเทศแบบทั่วไป (general supervision) จะไม่ติดตามดูแล ใกล้ชิดแต่จะอยู่ห่างๆ ให้คำแนะนำ เป็นบางโอกาส
ความสำคัญของการนิเทศทางการพยาบาล
ช่วยสนับสนุนบุคลากรทางการพยาบาลให้ปฏิบัติการ พยาบาลได้สำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งบุคลากร ทางการ พยาบาลที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา มีประสบการณ์น้อยใน การแก้ปัญหาทางสุขภาพอนามัย ย่อม ต้องการการ ชี้แนะ หรือการสนับสนุน การประคับประคองจาก พยาบาลนิเทศ จึงจะช่วยให้บุคลากรทางการ พยาบาล เกิดความมั่นใจและเติบโตขึ้นในวิชาชีพการพยาบาล ด้วยความรู้สึกที่ดีและพร้อมที่จะสร้างพยาบาล ในยุคต่อ ไปได้อีกเช่นกัน นอกจากนี้จะมีผลดีต่อประชาชนผู้รับ บริการที่ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ
ช่วยประสานความเข้าใจระหว่างฝ่ายผู้บริหารและฝ่าย ผู้ปฏิบัติการพยาบาล ในการนิเทศทางการพยาบาลผู้ นิเทศเปรียบเสมือนบุคคลผู้อยู่ตรงกลาง เช่น ในการ นิเทศผู้นิเทศจะต้องอธิบาย ชี้แจง แปล ความหมายของ นโยบายและแผนงานของหน่วยงานให้บุคลากรเข้าใจ พร้อมทั้งโน้มน้าวให้เกิดการยอมรับ และปฏิบัติตาม นโยบายของหน่วยงานนั้นๆ และนอกจากนี้ผู้นิเทศจะ ต้องนำความคิดเห็น ปัญหาและความ ต้องการของ บุคลากรทางการพยาบาลเสนอแก่ผู้บริหารเพื่อให้ได้รับ การแก้ไข
ช่วยพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาล โดยการพัฒนา บุคลากรผู้ปฏิบัติงานและพัฒนาระบบบริการ พยาบาล ให้มีมาตรฐานทางการพยาบาล
ผู้ที่มีหน้าที่ในการนิเทศต้องมีความ สามารถ 3 ประการ คือ
ความสามารถทางด้านการบริหาร (administrative competence) หมายถึง มีความสามารถในการวางแผน จัดการ สั่งการและกิจกรรมการบริหารอื่นๆ เพื่อ ให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างเต็มความ สามารถ
ความสามารถทางเทคนิค (technical competence) เป็นความสามารถเฉพาะ มีความรู้ ความสามารถในการดูแล การ ปฏิบัติการพยาบาลอย่างดี ตลอดจนนำ ความรู้ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อ ช่วยเหลือ แนะนำให้บุคลากรได้ใช้สิ่ง เหล่านี้อย่างฉลาด ช่วยให้เกิดผลดี รวดเร็วและประหยัด
ความสามารถทางมนุษย์สัมพันธ์ (Human relations competence) ได้แก่ ความสามารถในการเข้าใจคน รู้ว่าจะทำ งานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างไร
การบันทึก และการจัดระบบข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี
(Record and report)
การบันทึกที่ดี จะต้องประกอบด้วย การบันทึกข้อเท็จจริง ตามสภาพที่ได้ เห็น ได้ยิน รู้สึก ได้กลิ่น สามารถวัด หรือสังเกตได้ เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้รับ บริการพูด (Subjective Data) สะท้อ นขอ้ มูลการวัดที่ถูกต้อง ชัดเจน มี ความสมบูรณ์ เป็นปัจจุบัน ทําอย่าง เป็นระบบ เป็นลําดับ
การบันทึกที่น่าเชื่อถือ เมื่อมีการแก้ไขบันทึกหลังจากที่บันทึกแล้ว ให้ขีดเส้นตรง ทับที่ข้อความที่ บันทึกทันทีและเซ็นชื่อกํากับไม่ลบข้อความที่บันทึกไว้แล้วอย่า พยายามปิดบงัสิ่งที่เกิดขึ้นบันทึกตามกฎการ บันทึก ในเรื่องนั้นๆ ทุกอย่าง ลง วัน เดือน ปี และลงลายมือชื่อผู้บันทึกทุกครั้ง การเว้นที่ว่างไว้หรือลืมบันทึก อาจมีผล ทางกฎหมาย ถ้าบันทึกไม่ถูกหลังจากบันทึกไปจนจบแล้ว ให้บันทึกใหม่อย่างถูก ต้อง อย่าพยายาม บันทึกลงในบริเวณที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่แรก อย่าบันทึกให้คน อื่น / ผู้อื่นบันทึกแทน ถ้าจําเป็นให้ใส่ชื่อผู้บันทึก และลงลายมือชื่อกํากับด้วย
ข่าวสารหรือสารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ นํามาผ่าน กระบวนการ ประมวลผล โดยใช้วิธีง่ายๆ เช่น หาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ หรือใช้เทคนิคขั้น สูงโดยการวิจัย เพื่อเปลี่ยนแปลง สภาพ ข้อมูลทั่วไป (ข้อมูลดิบ) ให้อยู่ในรูปแบบที่มี ความสัมพันธ์ หรือมีความเกี่ยวข้องกัน ผลลัพธ์ที่ได้สามารถ นําไปใช้ประโยชน์ใน การตัดสินใจหรือตอบปัญหาต่างๆได้
ระบบสารสนเทศ จะต้องมีองค์ประกอบที่สําคัญ 5 ประการ
•ข้อมูล
•บุคคล
•ซอฟต์แวร์
•ฮาร์ดแวร์
•ขั้นตอนการปฏิบัติ
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
ด้านประสิทธิภาพ (Efficiency) ทําให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็ว มากขึ้น ลดต้นทุน ทําให้การ ติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว และทํา ให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ เป็นไปได้ด้วยดี ด้านประสิทธิผล (Effectiveness) ชว่ยในการตัดสินใจของผู้บริหาร ช่วยในการเลือกผลิตสินค้า/ บริการที่เหมาะสม ระบบสารสนเทศช่วย ปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/บริการให้ดีขึ้น ความได้เปรียบในการ แข่งขัน(Competitive Advantage) และคุณภาพชีวิตการทํางาน (Quality of Working Life)
ลักษณะสารสนเทศที่ดี ควรครอบคลุมใน 4 คุณลักษณะ ดังต่อไปนี้
เนื้อหา (Content) ได้แก่ ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness) ความ สัมพันธ์กับเรื่อง (relevance) ความถูกต้อง (accuracy) ความเชื่อถือได้ (reliability) และการตรวจ สอบได้ (verifiability)
รูปแบบ (Format) ดูที่ ชัดเจน (clarity) รับรายละเอียด (level of detail) รูปแบบ การ น่าเสนอ (presentation) สื่อการนำเสนอ (media) ความยืดหยุ่น (flexibility) และประหยัด (economy)
เวลา (Time) หมายถึง ความรวดเร็วและทันใช้ (timely) การปรับปรุงให้ทัน สมัย(up-to-date) และมีระยะเวลา (time period)
กระบวนการ (Process) ความสามาถในการเข้าถึง accessibility การมีส่วน ร่วม (participation) และการเชื่อมโยง (connectivity)
การเสริมสร้างพลังอํานาจ
(Empowerment)
กระบวนการท่ีสะท้อนให้เห็นความสามารถ ของบุคคลในการที่จะดึง สิ่งท่ีมีอยู่ภายในตัว เองในการควบคุม จัดการสร้างอิทธิพลกับ ตนเอง และ สังคมรอบข้างอันจะส่งผลเป็น รูปธรรมต่อชีวิตตนเอง
การเสริมพลังอํานาจมีหน้าท่ี 2 อย่าง คือ
ช่วยให้คนกําหนดชีวิตตนเองได้
เป็นวิธีกระตุ้นให้สังคมมีส่วนร่วมแบบใน การอยู่ร่วมกันในชุมชน
โดยการจัดสนับสนุน ทางโครงสร้าง สังคม
เครื่องมือในการวัดการสร้างเสริมพลังอำนาจควรครอบคลุม ในเรื่อง
บุคลิกภาพ เช่น การยอมรับตนเอง ความเชื่อมั่นในตนเอง การยกย่องตนเอง ความเชื่อใน ความสามารถที่จะควบคุม เหตุการณ์ด้วยตนเอง การควบคุมความบังเอิญ ความเชื่อใน พลังอำนาจของผู้อื่น ความเชื่อว่าตนเองสามารถมีอิทธิพลต่อ ระบบสังคมการเมือง ความรู้สึกต่อตนเองที่เป็นไปในลักษณะ วุฒิภาวะ การรู้จักตนเอง การเข้าใจตนเองและผู้อื่น การ เข้าใจความหมายของชีวิตและความอิ่มเต็มของชีวิต
พุทธิปัญญา เช่น การรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาด หวังในความสามารถตนเองและ การเมือง ได้แก่ ความรู้สึก ในการจัดการ การรับรู้ศักยภาพ ความคาดหวังในความ สามารถของระบบสังคม การเมือง ความรู้สึกต่อความสามารถ ของระบบการเมือง
แรงจูงใจ เช่น ความต้องการที่จะควบคุมสิ่งแวดล้อม หน้าที่พลเมือง ความรู้สึกต่อสาเหตุที่มีความสำคัญและเข้า หมาย การเรียนรู้ ความหวัง
บริบท เช่น การเข้าไปเกี่ยวข้องในการรวมกลุ่ม การ ตระหนักถึงวัฒนธรรมและการกระตุ้นสิทธิ การเข้าใจความ หมายของวัตถุประสงค์ของโครงการ
กระบวนการสร้าง พลังอำนาจ จึงมีอยู่ 4 ขั้นตอน
การค้นพบความจริง การรู้จักตนเอง
การสะท้อนคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และเป็นเหตุ เป็นผล
การตัดสินเลือกทางออกหรือวิธีปฏิบัติที่เหมาะสม
การคงไว้ซึ่งพฤติกรรม
การเสริมแรง (Reinforcement)
เป็นความพยายามของผู้บริหารที่จะให้ทำให้บุคลากรมีการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมและ เลือกกระทำตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยมีการใช้รางวัลและ การลงโทษ จากการพิจารณาความสัมพันธ์ของ รูปแบบ ลักษณะงาน การ อ่านรายงานงบประมาณ การมาทำงานตรงเวลา ซึ่งการเสริมแรงควรมีกา รกระทํา อย่างต่อเนื่อง หากไม่ต่อเนื่องพฤติกรรมบางอย่างก็จะค่อยลดลง ไปหรือหมดไป
การบํารุงขวัญและการเสริมแรง
(Morale and Re- Inforcement)
สิ่งที่ผู้บริหารช่วยให้ขวัญของบุคลากรดีขึ้น
สร้างความเข้าใจและพอใจในวัตถุประสงค์ของหน่วยงานร่วมกัน
แบ่งงานให้เหมาะสม โดยให้ทุกคนได้ใช้พลังและความสามารถเต็มที่ มี ความภูมิใจในงานที่ปฏิบัติ
มีการนิเทศงานอย่างสม่ำเสมอและใกล้ชิด
สัมพันธภาพระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกันดี
ให้มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานอย่างเป็นธรรม
จัดสถานที่ทํางานให้ดีและเหมาะสมกับงาน
จัดให้มีความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่การงาน
สร้างทัศนคติที่ดีในการทํางาน
ให้ผู้ร่วมงานรับรู้ถึงโครงสร้าง แผนการดำเนินงานและมีส่วนร่วมในการทำ งาน
สร้างมาตรฐานในการวัดความสำเร็จของงานอย่างเที่ยงธรรม
เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้ระบายความรู้สึก ชี้แจงข้อขัดข้องในการทำ งานได้เสมอ
มนุษย์สัมพันธ์ในการบริหารการพยาบาล
(Human Relations in Nursing Management)
เทคนิคในการสร้างมนุษย์สัมพันธ์
มีความตั้งใจที่จะไม่ขัดผลประโยชน์ของผู้อื่น
มองผู้อื่นในแง่ดี ด้วยความจริงใจ
ไม่ทำตัวให้เด่นจนเกินไปหรือน้อยจน เกินไป หากสิ่งใดเด่นจงถ่อมตัว สิ่งใดที่รู้ว่า ด้อยจงเพิ่มให้เติม
เต็มใจรับฟังผู้อื่นสนทนาอย่างไม่เบื่อ
การพูดต้องไม่พูดอยู่คนเดียวมากเกินไป มีคำพูดแปลกใหม่หรือเรื่องน่าสนใจในการ สนทนา
มีอารมณ์ขัน ร่าเริง แจ่มใส อารมณ์ แน่น เก็บความรู้สึกได้ เป็นผู้ให้ หนัก
รู้จักหน้าที่ในการเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
การบริหารเวลา (Time management)
ประโยชน์จากการบริหารเวลา
เข้าใจถึงคุณค่าของเวลาที่มีต่อชีวิต
อาจเกิดความเครียดลดลง
เรียนรู้ที่จะวางแผนการใช้เวลาได้อย่างเหมาะสม
มีเวลาให้กับบุคคลและกิจกรรมที่ต้องการได้มากขึ้น
จัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมต่างๆ ได้
ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น