Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน้าที่ในการชำระหนี้ - Coggle Diagram
หน้าที่ในการชำระหนี้
หน้าที่ในการชำระหนี้ให้ถูกต้อง
วัตถุแห่งหนี้
-หนี้กระทำการ เป็นหนี้ที่ลูกหนี้ต้องไปทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างแก่เจ้าหนี้ อาจมีได้ทั้งที่ลูกหนี้อาจเพียงแต่รับผิดชอบในการจัดกระทำการอันนั้นโดยลูกหนี้ไม่ต้องกระทำด้วยตนเองก็ได้
-หนี้งดเว้นกระทำการ อาจกำหนดให้ลูกหนี้ต้องไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ตกลงกันไว้ใน ม.213 วรรค3 เป็นลูกหนี้ที่มีลักษณะเฉพาะคนอื่นไม่สามารถชำระหนี้แทนได้
-หนี้ส่งมอบทรัพย์สิน หนี้ที่ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินแก่เจ้าหนี้
เช่น การซื้อขายรถยนต์ ผู้ขายเป็นหนี้ที่ต้องส่งมอบรถยนต์ให้แก่ผู้ซื้อ ส่วนผู้ซื้อเป็นหนี้ที่ต้องส่งมอบเงินให้แก่ผู้ขาย
วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุประสงค์แห่งนิติกรรม
มีความใกล้เคียงกับวัตถุแห่งหนี้ เช่น การทำ สญ.ซื้อขายม้ากัน วัตถุประสงค์ของนิติกรรมคือการโอมกรรมสิทธิ์ในม้าจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อในขณะที่เมื่อนิติกรรมการซื้อขายเกิดแล้ววัตถุแห่งหนี้ในเรื่องนี้คือการส่งมอบม้าให้แก่ผู้ซื้อและผู้ซื้อก็มีหนี้ที่เป็นวัตถุแห่งแห่งหนี้คือการส่งมอบ (เงิน)
ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้
-มีที่มาการบัญญัติไว้ใน ม.195หรืออาจหมายถึงตัวทรัพย์สินซึ่งกฎหมายรับรองหรือเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุแห่งหนี้ มิใช่การกระท า งดเว้นกระท า และวัตถุแห่งหนี้นี้เป็นทรัพย์ทุกชนิด เว้นแต่ทรัพย์นอกพาณิชย์ไม่อาจเป็น วัตถุแงหนี้ได้และไม่จ าเป็นต้องเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง เช่น ซื้อขายรถยนต์ ดังนี้รถยนต์ คือวัตถุแห่งหนี้
กรณีวัตถุแห่งหนี้ซึ่งเลือกที่จะชำระได้
-หนี้ที่เกิดจากมูลแห่งหนี้ต่างๆไม่ว่าจะเกิดจาก สญ. หรือหนี้เกิดจากการละเมิดก็อาจมีหนี้ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้เป็นอย่างเดียวที่เรียกว่าหนี้เดี่ยว (simple obligation) เช่น กู้ยืมเงินกันไปก็มีหนี้ที่ต้องชำระเงินกู้คืน แต่บางกรณี ก็อาจมีหนี้หลายอย่างที่เรียกว่าหนี้ผสม (composite obligation) หนี้ผสมนี้อาจเป็นหนี้ที่มีวัตถุแห่งหนี้หลายอย่างแต่ลูกหนี้ต้องทำทุกอย่าง
-หนี้ผสมนี้อาจเป็นหนี้ที่ชำระได้ (altenative obligation) กรณีเช่นนี้ กม. ได้วางหลักเกณฑ์ในกสรชำระหนี้ในเรื่องของผู้มีสิทธิเลือก วิธีการเลือก ผลของการเลือก และกรณีที่การชำระหนี้บางอย่างตกเป็นพ้นวิสัยไว้ใน ม.198-202 ดังนี้
(1.)สิทธิในการเลือก กม.กำหนดไว้ใน ม.198และ ม.201
(2.)วิธีการเลือก กม.ได้กำหนดวิธีการเลือกไว้ โดยแยกเป็น2กรณี
ก.กรณีฝ่ายลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือก ม.199 วรรคแรก
ข.กรณีบุคคลภายนอกเป็นผู้มีสิทธิเลือก ม.201
(3.)ระยะเวลาในการเลือก มีบัญญัติไว้ใน ม.200
(4.)ผลของการเลือก การเลือกนั้น กม.กำหนดให้แสดงเจตนาต่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง การใช้สิทธิเลือกนั้นก็เป็นการแสดงเจตนาที่มีผลในทาง กม.ดังนั้น การจะเกิดผลของการเลือกต้องหมายถึงว่าการเลือกนั้นมีผลแล้วตามหลักการแสดงเจตนาใน ม.168 และ ม.169
(5.)กรณีชำระหนี้บางอย่างเป็นพ้นวิสัย ในระหว่างที่มีหนี้เกิดขึ้น และหนี้นั้นมีการอันพึงต้องทำเพื่อชำระหนี้มีหลายอย่าง แต่ลูกหนี้ต้องทำเพียงบางอย่าง คือ กรณีมีการเลือกชำระหนี้ แต่การชำระหนี้บางอย่างกลับเป็นพ้นวิส้ย จะบังคับกันอย่างไรนั้น ม.202 หลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ม.202นี้ ต้องแยกพิจารณากรณีที่ที่การชำระหนี้อย่างหนึ่งเป็นพ้นวิสัยดังนี้
1.)กรณีตกเป็นอันพ้นวิสัยจะทำได้มาแต่ต้น คือการชำระหนี้บางอย่างพ้นวิสัยมาก่อนทำนิติกรรมแล้ว เช่นนี้การชำระหนี้ส่วนนั้น แม้จะมีการตกลงกันก็ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ม.150 แล้ว ดังนั้นจึงจำกัดหนี้ไว้เพียงการชำระหนี้อย่างอื่นที่ไม่พ้นวิสัยเท่านั้น
2.)กรณีการอันพึงต้องทำเพื่อชำระหนี้บางอย่างกลายมาเป็นพ้นวิสัยในภายหลัง หมายถึงหลังจากที่ได้ก่อหนี้แล้ว การชำระหนี้บางอย่างมากลายเป็นพ้นวิสัยในภายหลัง แต่ก็ต้องก่อนที่ผู้มีสิทธิเลือกจะใช้สิทธิเลือก เพราะหากเขาใช้สิทธิเลือกแล้วเพียงแต่การที่เลือกนั้นเท่านั้นที่ให้ถือเป็นการชำระหนี้อันกำหนดให้กระทำแต่ต้นมาตาม ม.198 วรรคสอง
กำหนดเวลาชำระหนี้
หนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้
หนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้นี้ มิได้หมายความว่าลูกหนี้จะไม่ต้องชำระหนี้ กม. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ใน ม.203 วรรคแรก จะเห็นว่า หนี้ที่จะถือว่าไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้องหมายถึงหนี้นั้นไม่ได้กำหนดเวลาชำระไว้โดยชัดแจ้ง และอนุมานจากพฤติการณ์ก็ไม่ได้ด้วย แต่ถ้าแม้จะมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ แต่สามารถอนุมานได้จากพฤติการณ์ ก็ต้องถือว่าเป็นหนี้มีกำหนดเวลาชำระเช่นกันและจะบังคับตามนี้ไม่ได้ การอนุมานจากพฤติการณ์ว่าเจ้าหนี้และลูกหนี้มีการตกลงชำระกันเมื่อใดนี้จะต้องดูประกอบกันหลายอย่าง เช่น วัตถุประสงค์ของการทำ สญ. เหตุการณ์ที่ทำให้มีการทำ สญ.กับประเพณีทางการค้า หรือ การปฏิบัติระหว่างคู่กรณี และอื่นๆ ซึ่งจะต้องพิจารณาเป็นกรณีๆไป เมื่อกรณีการชำระหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาไว้ชัดแจ้ง และจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่อาจทราบความประสงค์ของคู่กรณีเช่นนี้กรณีจึงจะบังคับตาม ม.203 วรรคแรก
หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้
กำหนดเวลาชำระแต่เป็นที่สงสัย
กรณีนี้ ม.203 วรรคสอง บัญญัติว่า " ถ้าได้กำหนดเวลาไว้ แต่หากกรณีเป็นที่สงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนถึงเวลานั้นหาได้ไม่ แต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นก็ได้ "
กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ไม่เป็นที่สงสัย
แบ่งออกได้เป็น2อย่าง ซึ่งมีผลบังคับในทาง กม.แตกต่างกัน คือ 1.กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน เป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้โดยแจ้งชัดตามวันแห่งปฏิทินตามที่บัญญัติไว้ใน ม.204 วรรคสอง แม้ กม.จะใช้คำที่มีความหมายแคบว่าวันแห่งปฏิทิน แต่นัก กม.ส่วนใหญ่ เห็นว่าต้องหมายความกว้างถึงการกำหนดตามเวลาแห่งปฏิทิน คืออาจเป็นวัน เป็นเดือน หรือเป็นปีปฏิทินก็ได้ เช่น กำหนดว่า2เดือน นับแต่วันทำ สญ. หรือ1ปี นับแต่วันทำ สญ. ก็อยู่ในความหมายนี้ด้วย นอกจากนี้ยังมีการกำหนดเวลาชำระหนี้อีกอย่างหนึ่งซึ่ง กม.รวมไว้ในกลุ่มนี้ให้มีผลบังคับทาง กม.เหมือนกัน คือ " กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้โดยปฏิทินนับแต่วันที่ได้บอกกล่าว " เช่น ตกลงซื้อโคกันจำนวน30ตัวกำหนดการส่งมอบโคโดยกำหนดว่า ถ้าผู้ขายพร้อมจะส่งมอบต้องแจ้งให้ผู้ซื้อทราบล่วงหน้า30วัน ดังนั้นเวลากำหนดชำระหนี้จะถึงเวลากำหนดชำระหนี้จะถึงกำหนดก็ต้องมีการแจ้งคือบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนและเริ่มนับเวลา30วัน นับแต่บอกกล่าว เป็นต้น 2.กำหนดชำระหนี้มิใช่ตามวันแห่งปฏิทิน กม.ได้กล่าวถึงไว้ใน ม.204 วรรคแรก กำหนดเวลาชำระหนี้นี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น เดิมกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อถึงกำหนดนั้นไม่มีการชำระหนี้ขึ้นด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่ความผิดของลูกหนี้ ก็อาจมีผลทำให้หนี้นั้นกลายเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระไปได้
การผิดนัดไม่ชำระหนี้
การผิดนัด(ลูกหนี้)
ลูกหนี้ผิดนัดโดยต้องตักเตือนก่อน
หนี้ประเภทที่เจ้าหรี้ต้องเตือนก่อนลูกนี้จึงจะผิดนัดได้แก่หนี้2กรณี คือ 1.หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระมิใช่ตามวันแห่งปฏิทิน ใน ม.204 วรรคแรก หนี้ประเภทนี้เป็นหนี้ที่มีกำหนดชำระมิใช่ตามวันปฏิทิน การเตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้น ต้องเป็นการเตือนเมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ลูกหนี้จึงจะผิดนัดเพราะว่าเขาเตือนแล้ว แต่ถ้าหากหนี้ยังไม่ถึงกำหนดเวลาชำระแม้เจ้าหนี้จะเตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้ และลูหนี้ไม่ชำระ ลูกหนี้ก็ยังไม่ผิดนัดเพราะหนี้ยังไม่ถึงกำหนด
2.หนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระตาม ม.203 หนี้ที่ไม่มีเวลากำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ และจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้นั้น ม.203 กำหนดให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และลูกหนี้ก็มีสิทธิจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน
ลูกหนี้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ตักเตือน
หนี้กลุ่มนี้มี 2 ประเภท คือ 1.หนี้ที่มีกำหนดชำระตามวันแห่งปฏิทินหรือหนี้ที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ ซึ่งอาจคำนวณนับได้ตามวันแห่งปฏิทิน กม.กำหนดไว้ใน ม.204 วรรคสอง
2.หนี้ละเมิด หนี้ละเมิดนั้นเกิดขึ้นจากการล่วงสิทธิของผู้อื่น มิใช่เกิดจากนิติกรรม สญ.จึงไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ ในเรื่องการผิดนัดสำหรับหี้ละเมิดนั้นมีบัญญัติไว้ใน ม.206
กำหนดชำระหนี้กับการผิดนัด
จะเห็นได้ว่ากำหนดเวลาชำระหนี้ก็ดี การไม่ชำระหนี้ก็ดี การผิดนัดก็ดี มีความเกี่ยวพันกันอย่างมาก การไม่ชำระหนี้เป็นข้อเท็จจริง ส่วนการผิดนัดเป็นข้อ กม. คือเป็นเรื่องของการไม่ชำระหนี้ซึ่งเกิดผลบางประการทาง กม. การที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ลูกหนี้อาจยังไม่ผิดนัดก็ได้
กรณีที่ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด
เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระและเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ลูกหนี้ก็ต้องตกเป็นผู้ผิดนัด หรือในกรณที่ไม่ต้องเตือน แต่ในบางกรณีการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้นไม่ใช่ความผิดของลูกหนี้ จะให้ลูกหนี้ต้องรับผิดก็จะไม่เป็นธรรมแก่ลูกหนี้ กม.จึงได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ไม่ให้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดถ้าการที่ยังไม่ชำระหนี้นั้นไม่ใช่ความผิดของลูกหนี้ ดังบัญญัติไว้ใน ม.205 พฤติการณ์ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบนี้ อาจมีที่มาาจากหลายสาเหตุด้วยกัน เป็นต้นว่า
1.เป็นเหตุที่เกิดจากเจ้าหนี้เอง การที่ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้นั้นหากเกิดเพราะเจ้าหนี้ จะต้องรับผิดแล้วก็ถือเป็นพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ เหตุที่เจ้าหนี้จะต้องรับผิดนั้นอาจมีหลายเหตุด้วยกัน ได้แก่ กรณีเจ้าหนี้ผิดนัด และกรฯีที่เจ้าหนี้ต้องรับผิดด้วยเหตุอื่นอีก
2.เหตุเกิดจากบุคคลภายนอกบางครั้งการชำระหนี้ยังไม่ได้กระทำลงนั้นเป็นพฤติการณ์ที่โทษลูกหนี้ไม่ได้ เพราะเป็นเหตุเกิดจากบุคคลภายนอกซึงเป็นเรื่องนอกอำนาจของลูกหนี้ที่จะป้องกันได้
ผลของการผิดนัดของลูกหนี้
ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัด
เมื่อลูกหนี้ผิดนัดลูกหนี้ยังอาจต้องรับผิดในความเสียหายในความประมาทเลินเล่อ และการที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นในระหว่างผิดนัดด้วย ดังบัญญัติไว้ใน ม.217 ความรับผิดของลูกหนี้ในกรณีนี้ต่างกับใน2กรณีแรก ใน ม.215 และ ม.216 คือใน ม.217 มิใช่เป็นความเสียหายที่เกิดจากการผิดนัดแต่เป็นเพราะลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามหน้าที่ของตนที่จะต้องชำระหนี้ตามกำหนด
เจ้าหนี้อาจไม่รับชำระหนี้
ในบางกรณีเวลาก็เป็นสาระสำคัญทั้งในแง่ของ สญ.ก็มีได้เช่่นใน ม.388 ที่ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะเลิก สญ.ได้ ในทางการชำระหนี้ก็เช่นกัน การชำระหนี้บางอย่างกำหนดเวลาชำระหนี้ก็เป็นสาระสำคัญ ถึงขนาดที่หากเลยกำหนดเวลานั้นไป แล้วการชำระหนี้ก็ตกเป็นไร้ ปย.แก่เจ้าหนี้ หนี้ประเภทนี้จึงมีบทบัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ในกรณีผิดนัดได้ใน ม.216
ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดระหว่างผิดนัดเพิ่มขึ้น
เจ้าหนี้ก็อาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ม.215 บทบัญญัตินี้เป็นบทบัญญัติที่วางหลักไว้ให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนอันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามประสงค์แห่งมูลหนี้ทุกอย่าง ไม่ได้มุ่งหมายแต่เฉพาะการชำระหนี้ล่าช้าก็เป็นการชำระหนี้ไม่ต้องตามความประสงค์แห่งมูลหนี้อย่างหนึ่งด้วย