Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
1.กฎหมายบัญญัติถึงผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิด ได้กล่าวมาแล้วว่าบุคคลที่รับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นมิได้กระทำละเมิดด้วยตนเอง ถ้าได้กระทำละเมิดด้วยแล้ว ก็มิใช่เรื่องความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
2.ตัวบทมาตตรา 428 ใช้คำว่าเสีบหาย โดยความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจมิได้เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้รับจ้างก็ได้ ผู้รับจ้างจึงไม่ต้องรับผิดในทางละเมิด แต่ผู้ว่าผู้ก็ยังต้องรับผิดเพราะได้มีส่วนผิด
3.เมื่อผู้ว่าจ้างได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลบุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายไปแล้ว จึงไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ว่าจ้องไล่เบี้ยเรียกให้ชดใช้จากผู้รับจ้าง
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
โดยหลักผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่ผู้รับจ้างก่อขึ้นแก่บคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างอันเป็นไปตามหลักทั่วไปดังกล่าว เพราะเป็นผลมาจากการกระทำของผู้รับจ้าง 1.ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ เช่นจ้างให้ทำถนนเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นเพื่อผ่านไปถึงที่ของตนเป็นการละเมิด 2.ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้ คือ แม้การงานที่สั่งจะไม่เป็นละเมิดในตัวเองแต่อาจสั่งผู้รับจ้างทำโดยวิธีการใดวิธีการหนึ่งซึ่งเป็นผลให้ผู้อื่นเสียหายก็ได้
3.ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง คือการจ้าง จ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่มีความสามารถหรือระมัดระวังควรแก่สภาพของการงานที่จ้างให้ทำ
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425 บัญญัติว่า "นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดชอบกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูดจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างนั้น" นายจ้างตกลงให้ค่าสินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ ในทางปฎิบัติจะใช้ถ้อยคำเรียกชื่อสัญญากันว่าอย่างไรไม่สำคัญ ถ้าเข้าลักษณะสัญญาจ้างแรงงานแล้วก็ย่อมเป็นสัญญาจ้างแรงงานอยู่นั่นเอง ถ้าหากไม่มีสินจ้างก็ย่อมไม่เป็นนานจ้างลูกจ้างกันในสัญญาแรงงานแต่สินจ้างนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเงินเสมอไป อาจเป็นวัตถุหรือสิ่งอื่นก็ได้ ข้าราชการ กระทรวง ทบวงกรม มิได้เป็นลูกจ้างซึ่งกันและกัน ถ้าลูกจ้างปฎิบัติการโดยมีเจตนาจูงใจเป็นส่วนตัวโดยแท้เนื่องจากทะเลาะวิวาท ซึ่งไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของนายจ้างแล้วก็ย่อมถือว่าลูกจ้างนั้นออกจากงานที่จ้างและนายจ้างไม่ต้องรับผิด
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
ถ้าหากมิใช่เป็นการกระทำในทางการที่จ้างแล้วก็ไม่ต้องรับผิด นายจ้างไม่ต้องรับผิดในการละเมิดของลูกจ้างเพียงแต่การละเมิดนั้นได้เกิดขึ้นในเวลาที่ลูกจ้างเกี่ยวข้องกับงานของนายจ้าง แต่การละเมิดต้องเป็รส่วนหนึ่งของงานนั้น ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน เช่น ก.จ้าง ข. ทำงานในบ้านเรือน ข. ซักผ้าแล้วเทน้ำเข้าไปในบริเวรบ้าน ค. ย่อมถือเป็นเหตุที่ ก. ต้องรับผิดในการกระทำของ ข. แต่เมื่อว่างงาน ข. ไปรับจ้าง ง. แล้วเทน้ำไปบ้าน ค. เช่นเดียวกัน ดังนี้ ก. ไม่ต้องรับผิดในการกระทำของ ข.ในกรณีนี้ ง. ต้องรับผิดต่อค.
สิทธิไล่เบี้ย
เมื่อนายจ้างใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายแล้วจึงชอบที่จะช่วงสิทธิของผู้เสียหายไล่เบี้ยเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ให้แก่ตนได้ ตามม.229(3)และม.426 นายจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับผู้เสียหายนั้น เช่น ลูกจ้างทำละเมิด นายจ้างถูกฟ้อง ได้ใช้ค่าเสียหายไปตามคำพิพากษาแล้วไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างได้ แต่ค่าฤชาธรรมเนียมนายจ้างไล่เบี้ยไม่ได้
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ตัวแทนต้องทำการตามคำสั่งของตัวการ ทำนองเดียวกับนายจ้างกับลูกจ้าง จึงมีเหตุผลอย่างเดียวกันที่ตัวการจะต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดของตัวแทนที่ได้ทำไปในการกระทำกิจการของตัวการ เช่นมารดาใช้ให้ลูกเป็นตัวแทนในการเดินรถขนส่งโดนสาร บุตรขับรถไปชนผู้เสียหายโดยละเมิด มารดาต้องรับผิดร่วมกับบุตรในการที่บุตรทำละเมิดในการปฎิบัติหน้าที่ของตัวแทนนั้นตามม.427
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตจะมีความรับผิดฐานละเมิดได้ก็ย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติไว้ในมาตตรา420 เช่น เด็ก9ขวบชกต่อยเพื่อนฝูง ย่อมถือว่าทำละเมิด บุคคลไร้ความสามารถในมตารา 429 หมายถึงผู้เยาว์และบุคคลวิกลจริต ไม่รวมผู้เสมือนไร้ความสามารถ สิทธิไร้เบี้ยของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล เมื่อบิดามารดาหรือผู้อนุบาลได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก้บุคคลภายนอกแล้ว ก็ชอบที่จะชดใช้จากผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและไล่เบี้ยเอาได้จนตรบตามจำนวนที่ได้ชดใช้
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล มาตรา430 ต่างกับ 429 ที่ว่าม.429 ให้บิดามารดานำสืบว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังสมควรพอที่จะพ้นความผิดถ้าไม่นำสืบก็ไม่พ้นจากความผิด สิทธิไล่เบี้ยของครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลผู้ไร้ความสามารถ ถ้าได้ชดใช้ให้แก่บุคคลภายนอกแล้วย่อมไล่เบี้ยเอาได้ให้ครบตามจำนวนที่ชดใช้ เช่น บิดาใช้บุตรขับรถจักรยานยนต์ไปซื้อของ ดังนี้ นอกจากบิดาไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่แล้ว บิดายังสนับสนุนให้บุตรขับขี่รถอีกด้วยน จึงต้องรับผิดร่วมกับบุตรตามมาตรา 429