Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดข้อสะโพกเทียม - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดข้อสะโพกเทียม
ข้อบ่งชี้การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
ผู้ป่วยโรคข้อสะโพกเสื่อมไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตามที่มีอาการปวดมาก รบกวนการทำงานในชีวิตประจ่าวัน และอาการไม่ดีขึ้นหลังจากได้รับการรักษาด้วยวิธีอนุรักษ์นิยมวิธีอื่นๆมาก่อน
ผู้สูงอายุที่มีการหักเคลื่อนของคอกระดูกสะโพก
ข้อห้ามในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
สุขภาพทั่วไปไม่ดี มีโรคประจ่าตัวหลายอย่าง และประเมินแล้วว่าผู้ป่วยไม่สามารถทน ต่อการผ่าตัดได้
ร่างกายอยู่ในภาวะติดเชื้อ
ข้อสะโพกที่ติดแข็ง แต่ผู้ป่วยยังสามารถใช้งานได้ดี
ผู้ป่วยที่มีโรคที่ทำให้กล้ามเนื้อรอบสะโพกอ่อนแรง ไม่สามารถพยุงข้อสะโพกได้ ถ้าทำการผ่าตัดจะเสี่ยงต่อภาวะข้อสะโพกเทียมหลุด
จุดมุ่งหมายของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
มีจุดประสงค์เพื่อลดความเจ็บปวดและทุพพลภาพเป็นหลัก ช่วย ให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้งานในชีวิตประจ่าวันได้ ส่วนในผู้ป่วยที่มีภาวะคอกระดูกสะโพกหัก การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมจะมุ่งหวังเพื่อช่วยลดความเจ็บปวด และให้ผู้ป่วยสามารถขยับตัว ลุกนั่ง ยืนเดินได้เร็ว เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่เกิดจากการนอนอยู่บนเตียงนานๆ
ชนิดของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
การผ่าตัดที่เปลี่ยนเฉพาะส่วนหัวกระดูกต้นขา
โดยไม่ได้เปลี่ยนเบ้าหรือที่เรียกว่า
hemiarthroplasty
การผ่าตัดที่เปลี่ยนทั้งส่วนหัวกระดูกต้นขา
และเบ้าสะโพกหรือที่เรียกว่า total hip arthroplasty
อาการและอาการแสดง
อาการปวดจากข้อสะโพกจะมีอาการปวดขณะเดินลงน้่าหนักหรือปวดเวลาขยับข้อสะโพก บริเวณที่ปวดมักเป็นบริเวณขาหนีบ ต้นขาด้านหน้าและด้านใน อาการปวดควรจะอยู่ในระดับของ ต้นขาจนถึงลูกสะบ้าไม่ต่่ากว่าข้อเข่า หากผู้ป่วยปวดต่่ากว่าข้อเข่าต้องพิจารณาว่าการปวดนั้นสาเหตุ น่าจะมาจากกระดูกสันหลัง หรือข้อเข่ามากกว่าข้อสะโพก ถ้าอาการปวดนั้นมาจากข้อสะโพกเมื่อ ตรวจโดยการขยับข้อสะโพก โดยเฉพาะท่าบิดเข้าด้านใน (internal rotation) ผู้ป่วยมักจะมีอาการ ปวดมากขึ้น การตรวจพิสัยการขยับของข้อสะโพกจะลดลง ส่วนในรายที่เป็นมากมีการยุบตัวหรือ เคลื่อนออกของหัวกระดูกสะโพกจะตรวจพบขาสั้นลงด้วย
การดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
การดูแลก่อนผ่าตัด
ด้านจิตใจ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เมื่อทราบว่าจะต้องได้รับการผ่าตัดมักจะมีอาการวิตกกังวลและ กลัวการผ่าตัด จึงควรให้กาลังใจและความมั่นใจแก่ผู้ป่วย และอธิบายโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพ ร่างกายหลังผ่าตัดร่วมด้วย เพื่อให้การพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพเป็นไปได้ด้วยดี การเตรียมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดจึงมีความสาคัญ ผู้ป่วยจะต้องให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง และได้รับการฝึกบริหารร่างกายก่อนผ่าตัด ซึ่งในระยะนี้ผู้ป่วยยังมีอาการปวดบริเวณข้อสะโพกและมี ความวิตกกังวล อาจจะไม่ให้ความร่วมมือในการฝึกปฏิบัติเท่าที่ควร
ด้านร่างกาย ผู้ป่วยควรเข้ามาอยู่โรงพยาบาลก่อนผ่าตัด 1 วัน เพื่อรับการประเมินสภาพ ร่างกายอย่างละเอียดก่อนผ่าตัด รวมทั้งแนะนาเรื่องความสะอาดของร่างกาย ที่สาคัญก่อนการผ่าตัด ผู้ป่วยต้องไม่มีการติดเชื้อหรือมีแหล่งของการติดเชื้ออยู่ในร่างกาย เช่น เป็นหวัด ฟันผุ เป็นต้น การ ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อน ดูแลให้ได้รับอาหารและน้าดื่มอย่างเพียงพอ ให้คาแนะนาเรื่องการ ปฏิบัติตัว เช่น การไอและการหายใจเข้าออกลึกๆ การออกกาลังกล้ามเนื้อต่างๆ การเคลื่อนย้ายตัวเอง หลังผ่าตัด การหัดเดินด้วยไม้เท้าหรือเครื่องช่วยพยุงเดิน เป็นต้น รวมถึงการอธิบายให้ผู้ป่วยเห็น ความสาคัญของการฝึกบริหารร่างกายเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายหลังผ่าตัดได้อย่างรวดเร็ว และลด ภาวะแทรกซ้อน
การดูแลหลังผ่าตัด
การประเมินสภาพร่างกายหลังผ่าตัดโดยประเมินสัญญาณชีพ การทำงานของเส้นประสาท และหลอดเลือด ชีพจรหลังเท้า การเคลื่อนไหว และความรู้สึกโดยเปรียบเทียบขาทั้งสองข้าง ตรวจประเมินแผลผ่าตัดว่ามีการซึมของเลือดจากแผลผ่าตัด ท่อระบายเลือด อาการปวดแผล และอาการบวม ของขาที่ผ่าตัด อาการซีดและเหนื่อยของผู้ป่วย รวมทั้งการได้รับการระงับความรู้สึกโดยการดม ยาสลบหรือยาระงับความรู้สึกทางไขสันหลัง