Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ความรับผิดผิดในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
มาตรา 425 "นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดชอบกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น"
"นายจ้าง" "ลูกจ้าง" หมายถึงบุคคล2ฝ่ายมีความสัมพันธ์กันตามลักษณะเอกเทศสัญญาจ้างแรงงาน
ลักษณะของนายจ้างลูกจ้าง
-จะใช้ถ้อยคำเรียกชื่อสัญญาว่าอย่างไรไม่สำคัญ ถ้าเข้าลักษณะสัญญาจ้างแรงงานแล้วก็ย่อมเป็นสัญญาจ้างแรงงาน
-สัญญาจ้างแรงงาน ความเกี่ยวพันของนายจ้างและลูกจ้างมีอยู่ระหว่างบุคคล ซึ่งบุคคลหนึ่งมีคำสั่งและควบคุมงานซึ่งทำโดยบุคคลอีกคนหนึ่ง แแต่ต้องเป็นคำสั่งเกี่ยวกับงานที่จ้าง
-ถ้าหากไม่มีสินจ้างก็ย่อมไม่เป็นนายจ้างลูกจ้างกันในสัญญาจ้างแรงงาน แต่สินจ้างนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเงินเท่านั้น เช่น จ้างเกี่ยวข้าว ให้สินจ้างเป็นข้าวเปลือก (มาตรา 575 )
ความรับผิดของนายจ้าง
หากเป็นการละเมิดในทางการที่จ้างแล้วนายจ้างจึงจะต้องรับผิดชอบร่วมด้วย ไม่ว่าลักษณะละเมิดนั้นจะเป็นอย่างไร แม้การละเมิดนั้นจะก่อขึ้นโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อและไม่ว่าจะก่อขึ้นแก่ผู็ใด ถ้าหากมิใช่เป็นการกระทำในทางการที่จ้างแล้ว ก็ไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
จะพิจารณาว่าการกระทำละเมิดของลูกจ้างได้เกิดขึ้นในทางการที่จ้างหรือไม่นั้น ต้องพิเคราะห์ดูว่าได้จ้างกันให้ทำงานชนิดใด ประเภทใด ลักษณะของงานที่จ้างเป็นอย่างไรเสียก่อน
ทั้งยังต้องพิจารณาต่อไปอีกว่าขณะที่มีการละเมิดนั้น ลูกจ้างได้ปฏิบัติงานตามที่จ้างมาหรือเกี่ยวข้องในงานของนายจ้างหรือไม่ ลูกจ้างต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของนายจ้าง นายจ้างไม่ต้องรับผิดในการละเมิดของลูกจ้างเพียงแต่การละเมิดนั้นได้เกิดขึ้นในเวลาที่ลูกจ้างเกี่ยวข้องกับงานของนายจ้าง แตะการละเมิดนั้นต้องเป็นส่วนหนึ่งของงานนั้น ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน
เช่น ลูกจ้างทำหน้าที่คนท้ายรถยนต์ซึ่งนายจ้างยินยอมให้ขับรถด้วยนั้น ถ้าขับรถทำให้ผู้อื่นเสียหายโดยละเมิด นายจ้างต้องรับผิด
สิทธิไล่เบี้ยของนายจ้าง
มาตรา 426 "นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น"
โดยเหตุที่การละเมิดนั้นเป็นการกระทำของลูกจ้างต่อบุคคลภายนอกเองโดยลำพัง ที่นายจ้างต้องรับผิดร่วมด้วยกับลูกจ้างก็เป็นความรับผิดต่อผู้เสียหาย แต่ในระหว่างนายจ้างลูกจ้างแล้ว นายจ้างไม่ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในผลที่ลูกจ้างทำละเมิดนั้นด้วย
เมื่อนายจ้างใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายไปแล้ว จึงชอบที่จะช่วงสิทธิของผู้เสียหายไล่เบี้ยเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ให้แก่ตนได้
ในระหว่างนายจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นหนี้ร่วมกันกับผู้เสียหายนั้น นายจ้างลูกจ้างยังคงต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในฐานะลูกหนี้ร่วมกันจนกว่าหนี้ินั้นจะได้ชำระสิ้นเชิง
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ลักษณะตัวการแทน
ตัวแทนมิใช่ลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งสิทธิของตัวการที่จะควบคุมดูแลเกี่ยวกับความประพฤติทางปฏิบัติของตัวแทน ย่อมมีความรับผิดแต่เพียงผู้เดียว ตัวการไม่ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ตัวแทนอาจก่อขึ้น
มาตรา 797 "อันว่าสัญญาตัวแทนนั้นคือสัญญาซึ่งให้บุคคลหนึ่ง เรียกว่าตัวแทน มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวการแและตกลงจะทำการดังนั้น
ตัวแทนต้องทำตามคำสั่งของตัวการ (มาตรา 807 ) ทำนองเดียวกับนายจ้างลูกจ้าง มาตรา 427 จึงบัญญัติให้นำมาตรา 425, 426 มาใช้บังคับแก่ตัวการและตัวแทนด้วยโดยอนุโลม
ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการหรือตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจทั่วไป ในเหตุฉุกเฉินเพื่อจะป้องกันมิให้ตัวการต้องเสียหาย ย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ตัวแทนจะทำการใดๆ เช่นอย่างวิญญูชนจะพึงกระทำ ก็ย่อมมีอำนาจจะทำได้ทั้งสิ้น (มาตรา 802)
สิทธิไล่เบี้ยของตัวการ
เมื่อตัวการได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันตัวแทนได้ทำไปแล้วนั้น ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากตัวแทน
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
มาตรา 428 นั้นแสดงว่าผูู้รับจ้างเป็นผู็ก่อความเสียหายแก่บุคคลภายนอกจึงเป็นผู้กระทำด้วย แม้ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของนั้นจะเป็นความรับผิดในฐานะที่ผู้ว่าจ้างเองเป็นผู้กระทำละเมิด มิใช่รับผิดร่วมกับผู้รับจ้าง และแม้บางกรณีจะถือว่าผู้รับจ้างเองกระทำละเมิดโดยลำพังอีกก็ตาม
1.กฎหมายได้บัญญัติถึงผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิด
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของตามมาตรา 428 ไม่ใช่เรื่องความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น เมื่อมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นแล้ว จึงเป็นความรับผิดของผู้ว่าจ้างในการกระทำของตนเองตามมาตรา 420
ตัวบทมาตรา 428 ใช้คำว่า "ความเสียหาย" หาได้ใช้คำว่า "การกระทำละเมิด"หรือ "ละเมิด" อย่างที่บัญญัติไว้ในมาตรา 425, 429, 430 ไม่ โดยที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจมิได้เกิดขึ้นจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้รับจ้างก็ได้ ผู้รับจ้างจึงไม่ต้องรับผิดทางละเมิด แต่ผู้จ้างก็ยังต้องรับผิด เพราะได้มีส่วนผิด
โดยเหตุที่ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น ในเมื่อผู้ว่าจ้างได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายไปแล้ว จึงไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ว่าจ้างไล่เบี้ยเรียกให้ชดใช้เอาจากผู้รับจ้าง
จึงต่างกับความรับผิดตามมาตรา425, 427, 429, 430 ซึ่งเป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นและมีบทบัญญัติไล่เบี้ยเรียกให้ชดใช้คืนกันไดตามมาตรา 426, 431
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น ทั้งนี้ก็เพราะว่าผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิควบคุมวิธีการทำงาน จึงถือว่าเป็นงานของผู้รับจ้างเอง ผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิที่จะออกคำสั่งบังคับบัญชาผู้รับจ้างดังนายจ้างกับลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน
มาตรา 428 "ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้เสียหายได้ก่อขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง"
ถ้าผู้ว่าจ้างมาจ้าง มิได้หมายความว่าผู้ว่าจ้างจะต้องรับผิดเสมอไป ถ้าผู้ว่าจ้างไม่มีส่วนผิด กล่าวคือมิได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 420 แแล้ว ดังนี้ผู้ว่าจ้างก็หาต้องรับผิดไม่
เช่นเมื่อผู้ว่าจ้างมาจ้าง ผู้รับจ้างก็เอาทรัพย์สินซึ่งตนก็รู้ว่าเป็นของผู้อื่นมาเป็นสัมภาระในการทำงานที่รับจ้าง แต่ว่าผู้ว่าจ้างไม่ได้รู้เห็นด้วย ผู้รับจ้างก็ต้องรับผิดแต่ผู้เดียว ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดด้วย แต่ถ้าผู้ว่าจ้างมีส่วนผิด ก็ต้องรับผิดด้วย
ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
เป็นเรื่องสั่งให้ทำตามสัญญาจ้างที่มีต่อกัน เช่นจ้างให้ทำถนนเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นเพื่อผ่านไปถึงที่ของตนอันเป็นการละเมิด
ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้
แม้การงานที่สั่งให้ทำจะไม่เป็นละเมิดในตัวเอง แต่อาจสั่งให้ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นผลให้ผู้อื่นเสียหายก็ได้ เช่นแนะนำให้ช่างทำรางน้ำชายคาของบ้านใกล้ชิดกับแนวเขตที่ดินข้างเคียงของผู้อื่น เวลาฝนตกน้ำไหลตกลงในที่ดินข้างเคียง
ความผิดในการเเลือกหาผู้รับจ้าง
จ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือระมัดระวังอันควรแก่สภาพของการงานที่จ้างให้ทำ จึงเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยละเมิด เช่นจ้างสร้างบ้านทำด้วยไม้ ไปจ้างผู้ที่เข้าตัวไม้ไม่แน่นหนา จึงเป็นผลทำให้บ้านทรุดพังลงมาถูกทรัพย์สินของบุคคลข้างเคียงเสียหาย แต่ถ้าหากไม่รู้ เชื่อโดยสุจริตามที่ผู้รับจ้างอวดว่าตนมีความชำนาญเป็นอย่างดี ก็ไม่ใช่ความผิดในการเลือก
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล
ผู้ที่จะต้องรับผิดในการกระทำละเมิดของบุคคลผู้ไร้ความสามารถได้แก่บิดามารดาหรือผู้อนุบาล สำหรับบิดามารดานั้น หมายถึงเฉพาะผู้มีหน้าที่ดูแลผู้เยาว์ตามความในตอนท้ายของมาตรา 429 ซึ่งอาจรวมทั้งบิดามารดาหรือเพียงคนใดคนหนึ่งก็ได้ และหมายถึงผู้รับบุตรบุญธรรมโดยบุตรบุญธรรมมีฐานะอย่างเดียวกันบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมด้วยตามมาตรา 1598-28
"ผู้อนุบาล"ไม่หมายเฉพาะผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นผู้อนุบาลตามมาตรา 30 เท่านั้น ผู้อนุบาล ตามมาตรา 429 นี่มีความหมายเช่นเดียวกับ
คำว่า"ผู้อนุบาล" ตามาตรา 29
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลตามมาตรา 429 เป็นความรับผิดเนื่องจากความบกพร่องในหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถและเหตุละเมิดที่เกิดขึ้นนั้นต้องเกิดขึ้นในขณะที่ผู้ไร้ความสามารถอยู่ในระหว่างการดูแลของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล จึงจะทำให้บุคคลเหล่านี้ต้องรับผิด ถ้าหากมิใช่เหตุละเมิดที่เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในความดูแล ก็ไม่ต้องรับผิด
เช่น ข. บุตรของ ก. เป็นเด็กที่ซุกซนมาก ชอบเล่นจุดไม้ขีดไฟ ซึ่ง ก. ก็รู้ดี ก. ตามใจบุตรโดยส่งไม้ขีดไฟให้ ข. ข. นำไปจุดเผาทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย ก. และ ข. ต่างต้องรับผิดในการกระทำละเมิดของตนเอง โดยที่ ก. ส่งไม้ขีดไฟให้ และ ข. เป็นผู้จุดไม้ขีดไฟเผาทรัพย์ผู้อื่นเสียหายหรือรับผิดร่วมกันตามมาตรา 432 แล้วแต่กรณี
สิทธิไล่เบี้ยของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล
เมื่อบิดามารดาหรือผู้อนุบาลได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วก็ชอบจะได้ชดใช้จากผู้เยาว์หรือผู้บุคคลวิกลจริตและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้ (มาตรา431, 426)
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่น ในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา 430 “ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือ บุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับ ผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแล ของตน ถ้าหาก พิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร”
มาตรานี้กำหนดความรับผิดของผู้มีหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถในผลแห่งการละเมิดที่ผู้ไร้ความสามารถได้ทำขึ้นเช่นเดียวกับมาตรา 429 ความรับผิดอยู่ที่การบกพร่องในหน้าที่ดูแลผู้ไรความสามารถ คำอธิบายเกี่ยวกับมาตรา 429 ย่อมนำมาใช้ได้ดดยอนุโลม แต่ต่างกันที่ตัวผู้มีหน้าที่ดูแล เพราะบุคคลที่เข้ารับหน้าที่ดูแลตามมาตรานี้ได้เกิดขึ้นดดยข้อเท็จจริงและต่างกันในหน้าที่นำสืบเกี่ยวกับที่มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
ผู้ที่ต้องรับผิดร่วมกับบุคคลผู้ไร้ความสามารถตามมาตรานี้ คือครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลดังกล่าว หากไม่รับดูแล ก็เป็นกรณีที่ไม่ต้องด้วยมาตรานี้ จะดูแลอยู่เป็นนิจหรือชั่วคราวก็ต้องรับผิดเช่นเดียวกัน แต่ไม่หมายถึงผู้ดูแลแทนหรือผู้ช่วยเหลือในการดูแล
เช่นหลานอายุ13ปี มาพักเรียนหนังสืออยู่กับตายายๆเป็นผู้ดูแล
สิทธิไล่เบี้ยของครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถ
เมื่อครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากบุคคลผู้ไร้ความสามารถและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้ (มาตรา 431, 426)