Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่า
(Knee arthroplasty or knee replacement )
การผ่าตัดเปล่ียนผิวข้อเข่าเทียมแบบทั้งหมด (Total knee arthroplasty: TKA) ใช้ในผู้ท่ีข้อเข่าเสื่อมรุนแรง ปวดข้อเข่า แนวขาผิดรูปมากและผิวข้อเข่าเสื่อมมากทั้งข้อ ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ
การผ่าตัดแบบเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน (Uncompartment knee arthroplasty: UKA) ใช้ในผู้ที่มีข้อเข่าสึกหรอบางส่วน
และยังมีผิวข้อเข่าบางส่วนสภาพดี แต่มีข้อจํากัดในผู้สูงอายุ
ที่มีข้อเข่าเสื่อมมาก
วัตถุประสงค์ของการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม
บรรเทาอาการปวด
แก้ไขความพิการ
เพิ่มมความสามารถในการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่ให้ไกลกว่าเดิมในระยะทางสั้นๆ
เพิ่มความมั่นคงในการเคลื่อนไหวข้อเข่าเทียมมากขึ้น
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม
ข้อเข่ามีพยาธิสภาพ ไม่ตอบสนองการรักษาทั่วไป แม้จะให้ข้อเข่าได้พักอยู่นิ่งๆ การรับประทานยา ประคบร้อนหรือบริหารกล้ามเนื้อต้นขาส่วนหน้าแล้ว
ข้อเข่าผิดรูป เช่น ข้อเข่าติดในท่างอ ข้อเข่าโก่ง (Varus-vagus angulation) มักพบในคนอ้วน
มีภาวะเสื่อมของข้อ (Degenerative joint disease) เช่น Osteoarthritis, Rheumatoid arthritis, severe traumatic arthritis เป็นต้น
อาการปวดรุนแรง ข้อเข่าบวมและหดรั้ง ทําให้ โครงสร้างของข้อเสีย ปวดขณะเดินลงนํ้าหนักและการ ทรงตัวเสียไป
การพยาบาลก่อนผ่าตัด
ด้านจิตใจ
อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจและทราบพยาธิสภาพของโรค อย่างคร่าวๆ
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถามปัญหาและข้อสงสัย
แนะนําให้รู้จักกับผู้ป่วยโรคเดียวกันท่ีได้รับการผ่าตัด รักษาและอาการดีแล้ว
อธิบายผู้ป่วยให้ทราบล่วงหน้าถึงการรักษาและการพยาบาล เมื่อเข้าห้องผ่าตัดและหลังกลับมาที่หอผู้ป่วย
ให้ความรู้และคําแนะนําการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด เช่น ท่านอน การออกกําลังกล้ามเนื้อ เพื่อให้ร่างกายมีการฟื้นฟูสภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านร่างกาย
ประเมินความพร้อมด้านสุขภาพจากแบบบันทึกข้อมูลสุขภาพ การซักประวัติและตรวจร่างกาย
เตรียม ติดตามและตรวจสอบผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และรายงานแพทย์เมื่อพบความผิดปกติ ผลตรวจควรมีระยะไม่เกิน 3 เดือนหรือ 6 เดือน
ประเมินแหล่งติดเชื้ออื่นๆของร่างกายและป้องกันการติดเชื้อก่อนผ่าตัด เช่น pneumonia, UTI, ฟันผุหรือประวัติรักษารากฟัน เหงือกอักเสบ หูนํ้าหนวก เป็นต้น
ซักประวัติ การงดยาที่จําเป็นต้องงดก่อนผ่าตัด เช่น ยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด, aspirin, NSAIDS บางตัว เป็นต้น
เตรียมผิวหนังบริเวณท่ีจะผ่าตัดให้สะอาด
แนะนํางดอาหารและนํ้าดื่มหลังเที่ยงคืนก่อนวันผ่าตัด
ให้คําแนะนําและสอนเก่ียวกับการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด
การฝึกการหายใจและการไอเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
เทคนิคเคลื่อนย้ายตนเองหลังผ่าตัดขณะอยู่บนเตียงหรือ จากเตียงไปเก้าอี้ หรือรถนั่ง
แนะนำวิธีใช้เครื่องช่วยเดิน เช่น walker ช่วยพยุงตัวขณะเดิน
กระตุ้นให้ผู้ป่วยเห็นความสําคัญของการฝึกการออกกําลัง การบริหารกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ และการเคลื่อนย้ายตนเองอย่าง สม่ำเสมอ เพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ
ดูแลให้พักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ
การพยาบาลหลังผ่าตัด
Routine Post-ap Care : Record ital signs ทุก 15 นาทีในระยะ 1 ชั่วโมงแรกหลังกลับ จากห้องผ่าตัดต่อมาทุก 30 นาทีเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการผ่าตัด
Observe Bleeding : จากแผลและจากสาย drain ที่ต่อลงขวดสุญญากาศ (redivac drain) ซึ่งจะใส ไว้ประมาณ 1-2 วันเพื่อป้องกันการตกค้างของเลือดในแผลบันทึกสีและจํานวนไว้ปกติแล้วเลือดที่ออกไม่ควรเกิน 500 ลบ.ซม. ภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลัง ผ่าตัดและหากเลือดออกผิดปกติควรรายงานแพทย์
Allevate Pain : ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแผลมากใน 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดต้องดูแลให้ผู้ป่วย ได้รับยาแก้ปวดชนิดฉีดซึ่งส่วนใหญ่จะให้ทางเส้นเลือดทุก 4 ชั่วโมงอย่างต่อเนื่องตามแผนการรักษา
Neurovascular Checks : โดยประเมินจาก สีผิว (color), อุณหภูมิเมื่อสัมผัส (temperature), ชีพจรบริเวณที่ผ่าตัด (pulses) และตรวจสอบการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงส่วนปลาย (capillary refL), การเคลื่อนไหว (movement), และการรับสัมผัส (sensation) ที่บริเวณขาข้างที่ผ่าตัดทุก 12-24 ชั่วโมงหรือทุก 2-4 ชั่วโมงหรืออย่างน้อยเวรละ 1 ครั้งหลัง ผ่าตัด
Antibiotic : หลังผ่าตัดผู้ป่วยอาจได้รับยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำใน 24 ชั่วโมงแรกพยาบาลต้องสังเกตอาการแพ้ยาที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น มีอาการคันหรือผื่นขึ้นตามตัว เป็นต้น
Skin Care : การดูแลผิวหนังหลังผ่าตัดผู้ป่วยมักอยู่ในท่านอนหงายการดูแลทําความสะอาดผิวหนังบริเวณหลังจึงเป็นสิ่งสําคัญ รวมทั้งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับตามมาควรพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยอย่างน้อยทุก 1-2 ชั่วโมง
Elimination : การขับถ่ายปัสสาวะในรายที่หลังผ่าตัดแล้วประมาณ 8-12 ชั่วโมงยังไม่สามารถปัสสาวะออกเองได้ กระเพาะปัสสาวะโป่งตึง (bladder fut) ให้วาง cold pack ที่หัวเหน่าหรือถ้าวาง cold pack แล้วยังไม่ปัสสาวะให้รายงานแพทย์และเตรียมอุปกรณ์สําหรับทําการสวนปัสสาวะให้กับผู้ป่วย
Position : จัดขาข้างที่ผ่าตัดที่ได้รับการใส่ Compression dressing (หรือ Jone's Splint as one's Bandage) มาจากห้องผ่าตัดวางไว้บนหมอนสูงเพื่อให้เลือดที่ไหลไปเลี้ยงบริเวณปลายเท้าไหลกลับได้ดีขึ้นเป็นการป้องกันการบวมของขาข้างที่ผ่าตัด นอกจากนี้ต้องหมั่นสังเกตและตรวจดูผิวหนังบริเวณนี้อยู่เสมอพร้อมกับสังเกตภาวะที่มีการเพิ่มขึ้นของความดันภายในบริเวณที่ผ่าตัด ทําให้มีผลต่อการไหลเวียนของเลือด (compartment syndrome) ที่อาจเกิดขึ้นโดยประเมิน 7 P