Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางที่จ้าง
1.ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425 นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
ที่ว่า
'' นายจ้าง '' '' ลูกจ้าง ''
นั้น หมายถึงบุคคล 2 ฝ่ายมีความสัมพันธ์กันตามลักษณะเอกเทศสัญญาจ้างแรงงานตามบัญญัติไว้ใน ปพพ. ลักษณะ 6 ตั้งแต่มาตรา 575 ถึงมาตรา 586 บทวิเคราะห์ศัพท์ลักษณะสัญญาจ้างแรงง่นในมาตรา 575 มีความว่า '' อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ ''
'' บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าลูกจ้าง บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่านายจ้าง ''
แต่ก็เป็นการเรียกกันตามกฎหมาย เป็นถ้อยคำในบทบัญญัติ มิได้หมายความว่าในการทำสัญญาจ้างแรงงานนั้น
อุทาหรณ์
ฎ.1425/2539
การที่ลูกจ้างมิได้ขับรถยนต์ทับขาผู้เสียหายโดยประมาทเลินเล่อ การกระทำของลูกจ้างจึงไม่เป็นละเมิด นายจ้างไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
3.สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426
“นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น”
การละเมิดนั้นเป็นการกระทำของลูกจ้างต่อบุคคลภายนอกเองโบลำพัง ที่นายจ้างโดยลำพัง ที่นายจ้างต้องรับผิดด้วยกับลูกจ้างก็เป็นความรับผิดต่อผู้เสียหาย แต่ในระหว่างนายจ้างลูกจ้างแล้ว นายจ้างไม่ต้องรับผิดร่วกับลูกจ้างในผลที่จ้างทำละเมิดนั้นด้วย
2.ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
มีหลักกฎหมายทั่วไปว่า
'' ผู้ใดทำสิ่งใดโดยบุคคลอื่นเท่ากับทำด้วยตนเอง ''
แต่หลักที่ว่ากว่าใช้เฉพาะแต่การที่ได้รับมอบอำนาจ ไม่ใช่แกการกระทำในทางการที่จ้าง ซึ่งแม้ลูกจ้างจะเป็นผู้กระทำ แต่ไม่ได้รับมอบอำนาจโดยเฉพาะ
การที่จะพิจารณาว่าการกระทำละเมิดของลูกจ้างได้เกิดขึ้นในทางการที่จ้างหรือไม่นั้นต้องพิเคราะห์ดูว่าการที่ได้รับจ้างกันให้ทำงานชนิดใด ประเภทใด ลักษณะของงานที่จ้างเป็นอย่างไรเสียก่อน แล้วจึงจะได้พิจารณากันต่อไปว่าการละเมิดนั้นได้เกิดขึ้นในทางการที่จ้างหรือไม่ เพราะขอบเขตของอำนาจย่อมรู้หร่อส่อให้เห็นได้จากลักษณะของงานนั้นๆ
วิธีการปฏิบัติ
ในการกระทำกิจการงานใดนั้น ย่อมมีวิธีการใการที่จะปฏิบัติงานให้ลุล่วงไปเพื่อประโยชน์ของนายจ้างหลายวิธีอันแตกต่างกัน ในการสั่งให้กระทำนั้น นายจ้างไม่ได้แจกแจงวิธีการกระทำให้ละเอียดเพื่อให้ลูกจ้างปฏิบัติตาม
ลูกจ้างกระทำกิจส่วนตันในขณะเดียว
ในกรณีที่ถือว่าลูกจ้างปฏิบัติการงานของนายจ้างอย่างแท้จริงแล้ว แม้ลูกจ้างจะได้กระทำกิจส่วนตัวในขณะเดียวกันนั้นจนเกิดการละเมิดขึ้น ก็ยังถือว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในทางการที่จ้าง
กรณีที่นายจ้างมีคำสั่งห้าม
การที่นายจ้างมีคำสั่งห้ามการกระทำอันเป็นการละเมิดไว้โดยชัดแจ้งย่อมไม่เป็นข้อต่อสู้ถ้าหากการกระทำนั้นเป็นแต่เพียงวิธีการปฏิบัติสิ่งที่ลูกจ้างให้กระทำ
อุทาหรณ์
ฎ. 1241/2502 จำเลยที่ 2 เป็นนายท้ายและควบคุมเรือยนต์ ทำงานในฐานะลูกจ้างจำเลยที่ 1 และรับจ้างลากจูงเรือของโจทก์ จำเลยที่ 2 ทำให้เรือบรรทุกข้าวของโจทก์ล่มโดยประมาท เป็นเหตุที่เกิดขึ้นทางการที่จ้าง
4.ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ตัวแทนคืออะไรนั้น ปพพ.
มาตรา 797 บัญญัติว่า '' อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลหนึ่ง เรียกว่าตัวแทน มีอำนาจการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกตัวการ และตกลงจะทำการดังนั้น ''
โดยเหตุที่ตัวแทนมิใช่ลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งสิทธิของตัวการที่จะควบคุมดูแลเกี่ยวกับความประพฤติทางปฏิบัติของตัวแทน โดยปกติตัวแทนจึงย่อมมีความรับผิดแต่เพียงผู้เดียว ตัวการไม่ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ตัวแทนอาจก่อขึ้น
ความรับผิดของตัวการ
เหตุละเมิดที่จะให้ตัวการรับผิดต้องเป็นเหตุที่ได้เกิดขึ้นในขอบเขตแห่งการปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อตัวการหรือในฐานที่ตัวแทนได้ทำการเป็นตัวแทน
สิทธิไล่เบี้ยของตัวการ
เมื่อตัวการได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันตัวแทนได้ทำไปแล้วนั้น ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากตัวแทน
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
1.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
มาตรา 428 บัญญัติอยู่กลางๆ ประกอบกับมาตรา 428 กล่าวถึง ผู้ว่าจ้างทำของและความเสียหายที่ผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอก ซึ่งถ้าอ่านโดยไม่พิเคราะห์ดูให้ถี่ถ้วนจึงพลอยทำให้เข้าใจไปว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างของตามมาตรา 428
เหตุผลที่แสดงให้เห็นว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น ดังบทบัญญัติมาตรา 458
2.ตัวบทมาตรา 428 ใช้คำว่า '' ความเสียหาย '' หาได้ใช้คำว่า " กระทำละเมิด '' หรือ '' ละเมิด '' อย่างที่บัญญัติไว้ในมาตรา 425 , 429 และ 430 ไม่ โดยที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจมิได้เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้รับจ้างก็ได้ ผู้รับจ้างจึงไม่ต้องรับผิดทางละเมิด
กฎหมายได้บัญญัติถึงผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิด
โดยเหตุที่ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น ในเมื่อผู้ว่าจ้างได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายไปแล้ว จึงไม่มีบทบัญญัติผู้ว่าจ้างไล่เบี้ยเรียกใหเชดใช้เอาจากผู้รับจ้าง
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของเป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นความรับผิดแทนกัน
2.หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
มาตรา 428 ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
1.ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำเป็นเรื่องสั่งให้ทำตามสัญญาจ้างที่มีต่อกัน
เช่น จ้างให้ทำถนนเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นเพื่อผ่านไปถึงที่ของตนอันเป็นการละเมิด
อุทาหรณ์
ฎ. 457/2514 ไม่ปรากฎว่าผู้ว่าจ้างเป็นผู้สั่งให้ผู้รับจ้างตอกเสาเข็มด้วยเครื่องจักรอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การตอกเสาเข็มจึงเป็นการกระทำของผู้รับจ้างเอง ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิด
2.ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้
กล่าวคือ แม้การงานที่สั่งให้ทำจะไม่เป็นละเมิดในตัวเอง แต่อาจสั่งให้ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอันผลให้ผู้อื่นเสียหายก็ได้
3.ความผิดในการเลือกหาผู้ว่าจ้าง
ที่ว่าเลือกหาผู้รับรอง คือ การจ้างนั่นเอง จ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือระมัดระวังควรแก่สภาพของการงานที่จ้างให้ทำผลทำให้เกิดความเสียหายแก่บุุคคลอื่นโดยละเมิด
3. ความรับผิดของมารดาบิดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรืบุคคลวิกลจริต และความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้สามารถ
1.วามรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
1.ผู้เยาว์
2.คนวิกลจริต
3.คนไร้ความสามารถ
4.บุตรบุญธรรม
คำว่า '' ผู้ใด '' ตามาตรา 420 หมายถึง บุคคลทุกชนิดซึ่งรวมทั้งผู้เยาว์และบุคคลวิกลจริตด้วย
คำว่า '' บุคคลไร้ความสามารถ " ตามมาตรา 429 หมายถึง ผู้เยาว์และบุคคลวิกลจริต
ผู้รับบุตรบุญธรรมโดยบุตรบุญธรรมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมด้วยมาตรา 1598/28
มาตรา 429 “บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิด ในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะ พิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น”
ผู้ที่จะต้องรับผิดในการกระทำละเมิดของบุคคลไร้ความสามารถ ได้แก่ บิดามารดาหรือผู้อนุบาล สำหรับบิดามารดา หมายถึงเฉพาะผู้มีหน้าที่ดูแลผู้เยาว์ตามความในตอนท้ายของ ม.429
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลตาม ม.429 เป็นความรับผิดเนื่องจากความบกพร่องในหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถและเหตุละเมิดที่เกิดขึ้นนั้นต้องเกิดขึันในขณะที่ผู้ไร้ความสามารถอยู่ในระหว่างการดูแลของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล จึงจะทำให้บุคคลเหล่านี้ต้องรับผิด ถ้าหากมิใช่เหตุละเมิดที่เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในความดูแล ก็ไม่ต้องรับผิด
ความรับผิดบิดามารดาหรือผู้อนุบาลตาม ม.429 เป็นความรับผิดที่ผู้ไร้ความสามารถไปทำความเสียหายอันเป็นการละเมิดต่อบุคคลภายนอกตามหลักเกณท์ที่บัญญัติตามม.420
ความรับผิดตาม ม.429 เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น ซึ่งบิดามารดาหรือผู้อนุบาลซึ่งมีหน้าที่ดูแลนั้นจะต้องรับผิดโดยผู้เสียหายไม่ต้องพิสูจน์ว่าบิดามารดาหรือผู้อนุบาลมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรประการใด แต่เป็นหน้าที่ของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลจะต้องพิสูจน์ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งกระทำอยู่แล้วนั้น
สิทธิไล่เบี้ยของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล
เมื่อบิดามารดาหรือผู้อนุบาลได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วก็ชอบที่จะได้ชอใช้จากผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและไล่เบี้ยเอาได้จนเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้ ( ม.431 และ ม.426 ) ไม่ใข่เรียกได้ตามส่วนเท่าๆกันอย่างใรฃนระหว่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ม.496
ฎ. 1315/2520 บิดาเคยใช้บุตรขับขี่รถจักรยานยนต์ไปซื้อของและทำเป็นธุระ ดังนี้ นอกจากบิดาจะไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่หน้าที่ดูแลซึ่งทำนั้นแล้ว บิดากลับสนับสนุนให้บุตรผู้เยาว์ขับขี่จักรยานยนต์อีกด้วย จึงต้องรับผิดร่วมกับบุตรตาม ม.429
2.ความรับผิดของครูบาอาจารบ์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
บุคคลต้องรับผิด
มาตรา 430 บัญญัติไว้ว่า“ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือ บุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับ ผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแล ของตน ถ้าหาก พิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร”
มาตรานี้กำหนดความรับผิดของผู้มีหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถในผลแห่งการละเมิดที่ผู้ไร้ความสามารถได้ทำขึ้นเช่นเดียวกับ ม.429
ผู้ที่ต้องรับผิดร่วมกับบุคคลผู้ไร้ความสามารถตามมาตรานี้ คือ ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่น ซึ่งรับดูแลบุคคลดังกล่าว หากไม่รับดูแลก็เป็นกรณีที่ไม่ต้องด้วยมาตรานี้ จะดูแลอยู่เป็นนิจหรือชั่วคราวก็ต้องรับผิดเช่นเดียวกัน แต่ไม่หมายถึงผู้ดูและแทนหรือผู้ช่วยเหลือในการดูแล เช่น จ้างครูพิเศษไปสอนเด็กที่บ้านที่เด็กอยู่กับบิดามารดา เห็นได้ว่าการดูแลเด็กย่อมอยู่กับบิดามารดา หาได้อยู่กับครูพิเศษนั้นไม่
ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล
ตาม ม.430 เป็นหน้าที่ของผู้เสียหายนำสืบให้ได้ความว่าผู้มีหน้าที่ดูแลมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ที่ต้องดูแล ถ้าไม่นำสืบหรืนำสืบให้ฟังไม่ได้ บุคคลที่รับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถก็ไม่ต้องรับผิด
สิทธิไล่เบี้ยของครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถ
เมื่อครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากบุคคลผู้ไร้ความสามารถและไล่เบี้ยได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้ ( ม.431 และ ม.426) เช่นเดียวกับกรณีตามาตรา 429