Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
1.ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา425 บัญญัติว่า นายจ้างนายจ้างต้องร่วมรับผิดชอบกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
ละเมิดโดยประมาทเลินเล่อ
ถ้าเป็นความพั้งเผลอที่อาจเกิดขึ้นได้ในขณะที่ปฎิบัติตามหน้าที่เหตุที่เกิดขึ้นก็ยังถือว่าอยู่ในการที่จ้าง แต่ถ้าการกระทำนั้นไม่เกี่ยวกับการกระทำที่นายจ้างมอบอำนาจหรือสั่งให้กระทำจะเป็นการกระทำโดยอิสระของลูกจ้างเองแต่จ้างก็ไม่ต้องรับผิด
ตัวอย่างเช่น นายจ้างให้ลูกจ้างขับรถไปส่งของในขณะที่ขับรถไปส่งของได้ไปชนผู้อื่นเสียหายโดยประมาทเลินเล่อ เป็นการปฏิบัติงานในการที่จ้าง
ละเมิดโดยจงใจ
การที่ให้นายจ้างต้องรับผิดอันเนื่องมาจากการทำละเมิดโดยจงใจของลูกจ้างนั้นจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าลูกจ้างได้กระทำไปโดยมีความตั้งใจปฎิบัติเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง
ถ้าถ้าหากลูกจ้างได้กระทำไปเพื่อประโยชน์ของตนเองนายจ้างก็ไม่ต้องไม่รับผิด
ลูกจ้างของนายจ้างเวลากลางคืน มีคนเดินเข้ามาที่เก็บของคิดว่าจะเข้ามาลักขโมย จึงใช้ไม้ตีผู้นั้นถึงบาดเจ็บย่อมเป็นการปฎิบัติหน้าที่ในการที่จ้างนายจ้างต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดนั้นด้วย
สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426 บัญญัติว่านายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้กระทำนั้นชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น
เมื่อนายจ้างใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายแล้ว นายจ้างมีสิทธิเรียกให้ลูกจ้างชดใช้คืนให้แก่ตนเองได้
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
มาตรา 427 บัญญัติให้นำมาตรา 425 และ 426 มาใช้บังคับแก่ตัวการและตัวแทนด้วยโดยอนุโลม
ตัวอย่างเช่น นายดำมอบอำนาจให้นายแดงไปทำนิติกรรมแทนโดยให้ยืมรถ นายแดงได้ขับรถไปชนนายเหลือง นายดำซึ่งเป็นตัวการต้องรับผิดต่อเหลือง ร่วมกับนายแดงด้วย
2.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
2.1ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
มาตรา 428 บัญญัติว่าผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกระหว่างที่ทำงานการที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
จะเห็นได้ว่าโดยหลักผู้จ้างทำของไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่ผู้รับจ้างก่อขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างอันเป็นตามหลักทั่วไปเลย เพราะเป็นผลมาจากการกระทำของผู้รับจ้างซึ่งถ้าเป็นกรณีที่ผู้รับจ้างกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลภายนอกแล้วก็เป็นเรื่องที่ผู้รับจ้างเองทำผิดหน้าที่ต่อบุคคลภายนอกนั้นไม่ใช่การกระทำของผู้ว่าจ้าง
2.2 หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
1.ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
เช่นผู้ว่าจ้าง จ้างทำถนนเข้าไปในที่ของบุคคลอื่นเพื่อผ่านไปที่ของตนเป็นการทำละเมิด
2.ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้
เป็นคำแนะนำเช่นแนะนำให้ช่างบางร้านน้ำใกล้ชิดบ้านข้างเคียงเวลาฝนตกน้ำจึงไหลไปบ้านข้างเคียง
3.ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
เช่น ไปว่าจ้างช่างไม้ที่ไม่มีความชำนาญและไม่มีประสบการณ์ในการทำงานไม้ ทำให้งานไม้ที่ทำพังลงมาใส่ทรัพย์สินของบุคคลอื่นเสียหาย แต่ถ้าผู้ว่าจ้างไม่รู้ว่าช่างไม้ที่ตนจ้างไม่มีความชำนาญ เชื่อโดยสุจริตมาตลอดว่าช่างมีความชำนาญผู้ว่าจ้างไม่ผิด
3.ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
3.1ความรับผิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตทางละเมิด
มาตรา 429 บัญญัติว่าบุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิดบิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วยเว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตจึงมีความรับผิดทางละเมิดได้ก็ย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 420 กล่าวคือจะต้องมีการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อที่จะถือว่าเป็นการกระทำ จะต้องมีความเคลื่อนไหวในอริยาบทโดยรู้สำนึกมีความเคลื่อนไหวนั้น และ ที่จะถือว่าเป็นการจงใจจะต้องรู้สำนึกผลเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตน
ถ้าเป็นเด็กไร้เดียงสาหรือบุคคลวิกลจริตไม่รู้สำนึกในการกระทำของตนย่อมจะถือว่าจงใจหรือประมาทเล่นเล่อไม่ได้
3.2 ความรับผิดของบิดาของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล
ความรับผิดตามมาตรา 429 เป็นความรับผิดเนื่องจากความบกพร่องในหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถ และเหตุละเมิดนั้น ต้องเกิดขึ้นในขณะที่ผู้ไร้ความสามารถอยู่ในระหว่างการดูแลของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล จึงจะทำให้บุคคลเหล่านี้ต้องรับผิด
ความรับผิดตามมาตรา 429 เป็นหน้าที่ของบิดามารดาหรือผู้นุบาลจะต้องพิสูจน์ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งจะทำอยู่แล้วนั้น
ตัวอย่างเช่นบุตรผู้เยามีนิสัยชอบเล่นปืนมากเพียงแต่บิดาเก็บปืนไว้บนหลังตู้ซึ่ง ผู้เยาว์หยิบไม่ถึง แล้วสั่ง ก ให้เก็บปืนไว้เฉยๆมีได้กำชับว่าอยากให้บุตรผู้เยาว์เอาไปบุตรผู้เยาว์หลอกเอาปืนไปจาก ก. แล้วยิ่งบุตรโจทก์ตายเรียกไม่ได้ว่าบิดาใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลตามมาตรา 429