Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดในการกระทำของผู้อื่น
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425 บัญญัติว่า “นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างนั้น” คำว่านายจ้างและลูกจ้างนั้น ต้องเป็นลูกจ้างนายจ้างที่เกิดจากสัญญาจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 575 ส่วนการที่นายจ้างจะต้องรับผิดจะต้องเป็นกรณีที่ลูกจ้างได้กระทำละเมิดเข้าองค์ประกอบตามมาตรา 420 ไม่ว่าจะเป็นกระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม หากลูกจ้างมิได้ทำละเมิดก็ไม่มีประเด็นให้พิจารณาต่อไปว่านายจ้างต้องร่วมรับผิดหรือไม่
ตัวอย่าง การที่ลูกจ้างมิได้ขับรถยนต์ทับขาผู้เสียหายโดยประมาทเลินเล่อ การกระทำของลูกจ้างจึงไม่เป็นละเมิด นายจ้างจึงไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
สิทไล่เบี้ย
มาตรา 426 บัญญัติว่า “นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น”
สิทไล่เบี้ จะเกิดขึ้นเมื่อนายจ้างได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้เเก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ค่าสินไหมทดแทนไม่รวมถึงค่าฤชาธรรมเนียมที่นายจ้างชดใช้ให้เเก่บุคคลภายนอกเมื่อถูกดำเนินคดีด้วย
ตัวอย่าง ลูกจ้างทำผิด
ละเมิด นายจ้างถูกฟ้องได้จ่ายค่าเสียหายไปตามคำพิพากษาแล้วไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างได้ แต่ค่าฤชาธรรมเนียมที่นายจ้างต้องใช้ให้เเก่ผู้เสียหายตามคำพิพากษานั้น ไม่ใช่ค่าเสียหายอันเป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของลูกจ้าง นายจ้างไล่เบี้ยไม่ได้
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
•ลักษณะตัวการตัวแทน
มาตรา 797 บัญญัติว่า “อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลหนึ่ง เรียกว่าตัวแทน มีอำนาจทำการแทนอีกบุคคลหนึ่ง เรียกตัวการ และตกลงจะทำการดังนั้น”
แต่ไม่ใช่การใช้หรือวานให้ทำ เช่น เอกวานใช้ให้โทที่เป็นคนรู้จักขับรถพาภริยาไปซื้อของ ดังนี้มิใช่ตัวแทน
ตัวอย่าง เจ้าของเรือขับเรือไม่เป็น จึงให้ ก.ขับเรือไปรับขบวนผ้าป่า โดยมีเจ้าของเรือนั่งไปด้วย หากมีการขับเรือชน เจ้าของเรือก็ต้องร่วมรับผิดกับ ก.ด้วย
•ความผิดของตัวการ
เหตุละเมิดที่จะทำให้ตัวการรับผิดต้องเป็นเหตุที่ได้เกิดขึ้นในขอบเขตแห่งการปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อตัวการหรือในฐานที่ตัวแทนได้ทำการเป็นตัวแทน
ตัวอย่าง เอกตั้งให้โทเป็นตัวเเทนขายที่ดินตามโฉนดแปลงหนึ่งของเอก ซึ่งมีพื้นที่เป็นหลุมบ่อมาก โทหลอกลวงตรีผู้ซื้อโดยพาไปดูที่ดินอีกแปลงหนึ่งซึ่งไม่มีหลุมบ่อเลย และเป็นของบุคคลตามโฉนดของเอก ตรีตกลงรับซื้อโดยคิดว่าเป็นที่ดินของเอก ในขอบเขตแห่งการเป็นตัวแทนของเอก เอกตัวการต้องรับผิดต่อ ตรีร่วมกับโทด้วย
•สิทธิไล่เบี้ยของตัวการ
มาตรา 427 บัญญัติให้นำมาตรา 426 มาใช้บังคับแก่ตัวการด้วยโดยอนุโลม กล่าวคือ เมื่อตัวการได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันตัวแทนได้ทำไปแล้วนั้น ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากตัวแทน เกี่ยวกับนายจ้างลูกจ้างที่กล่าวมาแล้วนั้นย่อมอนุโลมนำมาใช้ปรับกับกรณีตัวการตัวแทนได้เช่นเดียวกัน
ความผิดของผู้ว่าจ้าง
หลักความผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
มาตรา 428 บัญญัติว่า “ผู้จ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นเเก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ความผิดของผู้ว่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนดไว้มี 3 กรณีคือ
• ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ เช่นจ้างให้ทำถนนเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นเพื่อผ่านไปถึงที่ของตนอันเป็นการละเมิด
• ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้ กล่าวคือแม้การงานที่สั่งให้ทำจะไม่เป็นละเมิดในตัวเอง แต่อาจสั่งให้ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นผลให้ผู้อื่นเสียหายก็ได้ คำสั่งที่ว่านี้ไม่เหมือนกับคำสั่งเมื่อกล่าวถึงในส่วนการงานที่สั่งให้ทำตอนก่อน เป็นเพียงคำแนะนำเท่านั้น เช่น แนะนำให้ช่างทำรางน้ำชายคาของบ้านใกล้ชิดกับแนวเขตดินข้างเคียงของผู้อื่น เวลาฝนตกน้ำไหลตกลงในที่ดินใกล้เคียง
• ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง คือจ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือระมัดระวังอันควรแก่สภาพของการงานที่จ้างให้ทำจึงเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยละเมิด เช่นจ้างสร้างบ้านทำด้วยไม้ไปจ้างผู้ที่เข้าตัวไม้ไม่แน่นหนาจึงเป็นผลให้บ้านทรุดพังลงมาถูกทรัพย์สินของบุคคลอื่นเสียหาย แต่หากไม่รู้เชื่อโดยสุจริตตามผู้ที่รับจ้างอวดอ้างว่าตัวมีความชำนาญเป็นอย่างดีก็ไม่ใช่ความผิดในการเลือก
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ มิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของเป็นความรับผิดของผู้ว่าจ้างในการกระทำของตนเองตามกฎเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 420
ความรับผิดของมารดาบิดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริต และความรับผิดของครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือคนวิกลจริตในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 420 คือจะต้องกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อที่จะถือว่าเป็นการกระทำต้องมีความเคลื่อนไหวในอริยาบทโดยรู้สำนึกในความเคลื่อนไหวนั้น
ตัวอย่าง น้อยอายุ 10 ขวบขณะที่อยู่กับนิด ซึ่งเป็นมารดาเกิดทะเลาะกับปู ซึ่งเป็นเพื่อนเด็กด้วยกัน น้อยได้ใช้ไม้ไล่ตีปูบาดเจ็บ ดังนี้น้อยต้องรับผิดตอบปู เพราะการใช้ไม้ไล่ตีเป็นการทำละเมิดตามมาตรา 420 ซึ่งนิดเป็นมารดาจึงต้องร่วมรับผิดด้วยตามมาตรา 429 เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
สิทธการไล่เบี้ยของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล
เมื่อบิดามารดาหรือผู้นุบาลได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากผู้เยาว์ หรือบุคคลวิกลจริตและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้ (มาตรา 431 และมาตรา 426) ไม่ใช่เรียกได้ตามส่วนเท่าๆกันอย่างในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 296
ครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ หรือชั่วคราวต้องรับผิดร่วมกับคนไร้ความสามารถในการทำละเมิดซึ่งได้กระทำลงในระหว่างอยู่ในความดูแลของตน
ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล
ตัวอย่าง ในตอนเช้าครูประจำชั้นของเด็กผู้ทำละเมิดเห็นเด็กนักเรียนเอากระบอกพลุมาเล่นกันเกรงจะเกิดอันตรายให้เก็บไปทำลายและห้ามเด็กไม่ให้เล่นต่อไปแต่เด็กยังใช้ยิงกันในเวลาหยุดพักกลางวันและนอกห้องเรียนถือว่าได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว
• สิทธิไล่เบี้ยของครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลไร้ความสามารถ
เมื่อครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลในความสามารถได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากบุคคลไร้ความสามารถและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
ว่าการพิจารณาว่าการทำละเมิดของลูกจ้างได้เกิดขึ้นในทางการจ้างหรือไม่
• ต้องดูชนิดของงานหรือประเภทของงานก่อน
• ต้องพิจารณาว่าขณะที่มีการทำละเมิดนั้นลูกจ้างได้ปฎิบัติตามที่จ้างมาหรือเกี่ยวข้องกับงานที่จ้างไหม
• ลูกจ้างต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของนายจ้าง
• ความรับผิดของนายจ้างจะมีอยู่เฉพาะเมื่อลูกจ้างได้กระทำความเสียหายระหว่างที่ปฎิบัติตามหน้าที่
• การที่ลูกจ้างได้กระทำไปนั้นต้องเป็นการปฏิบัติให้ลุล่วง
ตัวอย่าง แดงเป็นลูกจ้างของดำ ดำใช้ให้แดงขับรถไปส่งของให้ขาวลูกค้า ด้วยความไม่พอใจดำนายจ้าง แดงจึงแกล้งขับรถตกหลุมทำให้รถเสียหายหรือของลูกค้าเสียหายแล้วขับรถชนคนโดยประมาทอีกด้วย ดำก็ต้องรับผิดต่อขาวลูกค้าและคนที่แดงขับรถชน
วิธีการปฏิบัติ : ในการสั่งให้กระทำนั้นถ้านายจ้างไม่ได้แจกแจงวิธีการกระทำลูกจ้างใช้วิธีตามที่เห็นพอสมควรเพื่อให้กิจการลุล่วงและสมประโยชน์ของนายจ้าง นายจ้างก็ต้องรับผิดแม้ลูกจ้างจะกระทำกิจส่วนตัวในขณะเดียวกันก็ถือว่าเป็นเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นในขณะที่จ้างหรือ กรณีที่นายจ้างมีคำสั่งห้าม ก็ไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จะทำให้นายจ้างไม่ต้องรับผิด